วันเวลาปัจจุบัน 16 มิ.ย. 2024, 05:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 20:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย โอกาสนี้ผมก็ขอแนะนำตัวเลยแล้วกัน ผมอายุ17ปี ได้เรียนรู้ธรรมมาก็มาก ทั้งศึกษาเอง ทั้งได้ฟังมา ฯลฯ ก็พอมีภูมิรู้ภูมิธรรมพอสมควรแก่วัย;เรื่องปริยัตินั้นผมไม่ได้มีความลังเลสงสัยสิ่งใดหรอก แต่เรื่องของการปฏิบัตินี่สิ ผมรู้สึกเหมือนกับย่ำอยู่กับที่ ทั้งที่รู้แนวทางการปฏิบัติ มาตั้งแต่ยังเด็กๆ แต่เวลานั่งสมาธิกับไม่ค่อยเห็นผลเลย เรื่ององค์ฌานผมเข้าใจนะ เรื่องอารมณ์สมถะ40ผมก็พยายามลองปฏิบัติ(ค้นหาให้ถูกกับจริต) เรื่องวิปัสนา ความรู้แจ้งเห็นจริง ถึงไตรลักษณ์ผมก็รู้ก็เข้าใจ(อธิบายได้เป็นฉากๆเลย) แต่่เรื่องการทำสถมะนั้นผมไม่ได้เลย ที่ผมรู้สึกว่าได้ก็คือ สตินี่แหละ ผมรู้สึกตัว รู้ลมหายใจอยู่แทบจะทั้งวัน เวลาคิดเรื่องอะไรก็พยายามดึงมาๆ คือผมสามารถจัดการกับอารมณ์ได้สบายๆ
แต่ผมต้องการอารมณ์สมถะ ผมอยากรู้(ธรรมฉันทะ) จริงๆว่า ที่ตำราเขาบอกเขากล่าวว่า สุขเป็นอย่างนี้ เอกกัคตาเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างไรกันแน่ พอมาถึงปีติก็จบทุกที เรื่องภวังค์ผมก็เคยเจอมาพอสมควรให้ผมนั่งสมาธิเต็มที่ก็ไม่เกิน40นาที ก็มักเบื่อ ร้อนใจ หลายท่านบอกว่าให้กำหนดว่าเบื่อหนอๆ ;เมื่อเบื่อก็ให้รู้ว่าเบื่อ เมื่อความเบื่อดับก็ให้กำหนดรู้ว่ามันดับไป แต่เอาเข้าจริงทำไม่ได้ ที่คิดว่าเคยได้มากที่สุดคือขณะเข้าภวังค์นั้นมีความรู้สึกตัว ครั้งนี้จึงขอแนวทางการปฏิบัติจากท่านทั้งหลายด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2011, 02:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้และการปฏิบัติของคุณก็มองเห็นว่าเป็นคนที่มีความตั้งใจอยู่ คือรักษาระดับของตัวเอง มีความเพียร ตัวผมเองก็ไม่ได้มีความรู้มากไปกว่าคุณหรือท่านอื่นๆที่มีความตั้งใจอยู่ คงต้องหมั่นทำความเพียรต่อไป ดูทิฏฐิของตัวเราเองว่าเราพร้อมที่จะแสวงหาครูบาอาจารย์หรือยัง หรือว่าเรายังมีความมั่นใจอยู่ในธรรมของเราอยู่ สำรวจอาสวะ4ว่าตัวเราเป็นอย่างไร ตัวผมเองยังคงไม่พร้อมที่จะสละทางโลก ยังคงมีความเห็นเข้าข้างศาสนาพุทธอยู่ นี่คือตัวอย่างที่ตัวผมเองยังคงเป็นอยู่ หากตั้งใจในความเจริญทางปัญญาถึงขั้นอริยมรรค ต้องมีมากกว่านี้ต้องสละมากกว่านี้ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2011, 04:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ได้ยินมาว่า สมถะ ให้ฤทธิ์
แต่วิปัสสนา ให้พ้นทุกข์

ก่อนจะมีวิปัสสนา พระพุทธเจ้า ทรงเชี่ยวชาญด้านสมถะมาก่อนบรรลุธรรม

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2011, 09:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:

แต่ผมต้องการอารมณ์สมถะ ผมอยากรู้(ธรรมฉันทะ) จริงๆว่า ที่ตำราเขาบอกเขากล่าวว่า สุขเป็นอย่างนี้ เอกกัคตาเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างไรกันแน่ พอมาถึงปีติก็จบทุกที เรื่องภวังค์ผมก็เคยเจอมาพอสมควรให้ผมนั่งสมาธิเต็มที่ก็ไม่เกิน40นาที ก็มักเบื่อ ร้อนใจ


มันแปลกนะ....ทีรู้ลมหายใจ...ก็รู้ได้แทบจะทั้งวัน

แล้วงั้ยว่า...ทำสมถะไม่ได้เลย...

รู้ลมหนึ่งครั้ง...มีสติ
รู้ลมหลาย ๆ ครั้ง...มีสติ..สติ..สติ
มีสติต่อเนื่อง....เรียกว่ามีสมาธิ

สมาธิ..ไม่ได้มีแต่ท่าหลับตา...นะ

ปัญหา..อาจจะอยู่ที่ตรงความ..อยากได้อารมณ์สมถะ...มากเกินไปก็ได้...อุตส่าไปท่องไปจำตำรับตำราจนขึ้นใจ...

ฌาน1...เป็นยังงั้นยังงี้
ฌาน 2..เป็นนี้..ๆ..ๆ
ฌาน 3 4...จะเป็นอย่างนี้.ๆ นะ

รู้มาก...รู้เกิน..เกินอารมณ์ปัจจุบันไป...เรียกว่าไปดักรอผล...เพราะความอยากได้ผล...มันมีมาก

พอมีปิติหน่อย...ก็ว่าถึงนั้นถึงนี้แล้ว....นี้สติมันก็ถอนออกมาแล้ว

วัยรุ่นก็อย่างนี้...อยากได้ผลทันตา...อย่าว่าแต่วัยรุ่นเลย..แก่ ๆ ก็เป็น :b13:

เคยได้ยินมั้ย??...คนอยากได้..ไม่ได้..คนไม่ได้อยากได้..กลับได้

เวลาทำสมาธิก็หัดลืม ๆ ความรู้ความจำไปเสียบ้าง..ว่าฌาน 1 2 3 4...มันเป็นยังงัย...สมาธิตอนนี้ถึงไหนก็ชั่งมัน...รู้แต่ว่าตอนนี้ทำอะไรอยู่....บริกรรมภาวนาอยู่..หรือ..จะรู้ลมหายใจอยู่..หรือจะรู้อะไรก็แล้วแต่ให้จิตมันเกาะอยู่ได้...ไม่ส่งออกไปข้างนอก....

ให้เตือนตนเสมอว่านี้คือการฝึก....เฉย ๆ ...ไม่ได้ต้องการผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2011, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่มั่นท่านเคยกล่าวไว้ในหนังไว้ว่า ให้เอาความรู้ที่เรียนมานั้นเก็บเข้าตู้เสียก่อน แล้วมาหัดสติให้เป็นมหาสติ เมื่อคุณรู้ลมหายใจเข้าออกได้แล้วก็ดีแล้วนี่ก็ทำต่อไปเรื่อยๆจะกี่ปีก็ปล่อยมัน อย่าพยายามอยากรู้อย่าพยายามเอาไปเชื่อมโยงในหนังสือ มันเป็นนิวรณ์ การเข้าพะวงพะวังอะไรปล่อยมันก่อน ให้กำหนดอยู่ในฐานนั้นแหละกำหนดไปเรื่อยๆถ้ามันได้เดี๋ยวมันได้เองไม่ต้องเร่งรีบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2011, 17:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย โอกาสนี้ผมก็ขอแนะนำตัวเลยแล้วกัน ผมอายุ17ปี

:b12: งั๊นก็เรียกป้าได้นะจ๊ะ อิอิ :b12: :b12:

ได้เรียนรู้ธรรมมาก็มาก ทั้งศึกษาเอง ทั้งได้ฟังมา ฯลฯ ก็พอมีภูมิรู้ภูมิธรรมพอสมควรแก่วัย;

ดี ดี ตอนอายุขนาดนี้ป้ายังไม่ยอมก้มลงกราบพระทุกประเภทเลย
ไม่สวดมนต์ ไม่ตักบาตร เรื่องพิธีกรรมต่าง ๆ ไม่แตะเลย
แต่เอาหลักธรรมที่ดูมีเหตุผลมาปฏิบัติเฉย ๆ


เรื่องปริยัตินั้นผมไม่ได้มีความลังเลสงสัยสิ่งใดหรอก แต่เรื่องของการปฏิบัตินี่สิ ผมรู้สึกเหมือนกับย่ำอยู่กับที่

รู้สึก ก็ให้รู้

ทั้งที่รู้แนวทางการปฏิบัติ มาตั้งแต่ยังเด็กๆ แต่เวลานั่งสมาธิกับไม่ค่อยเห็นผลเลย

เพราะถ้าไม่รู้เสียแล้ว มันจะจับโนน่จับนี่มาปรุงแต่งอย่างนี้ล่ะ

เรื่ององค์ฌานผมเข้าใจนะ เรื่องอารมณ์สมถะ40ผมก็พยายามลองปฏิบัติ(ค้นหาให้ถูกกับจริต) เรื่องวิปัสนา ความรู้แจ้งเห็นจริง ถึงไตรลักษณ์ผมก็รู้ก็เข้าใจ(อธิบายได้เป็นฉากๆเลย)

และมันจะเที่ยวสาวหาเหตุ ไปต่าง ๆ นานา

แต่่เรื่องการทำสถมะนั้นผมไม่ได้เลย ที่ผมรู้สึกว่าได้ก็คือ สตินี่แหละ ผมรู้สึกตัว รู้ลมหายใจอยู่แทบจะทั้งวัน เวลาคิดเรื่องอะไรก็พยายามดึงมาๆ คือผมสามารถจัดการกับอารมณ์ได้สบายๆ

จัดการกับอารมณ์ได้สบาย ๆ
แต่อารมณ์ที่มีปัญหาข้างต้น จัดการไม่ได้
เพราะเห็นว่าเป็น อารมณ์ที่นำไปในทางเจริญทางธรรม


แต่ผมต้องการอารมณ์สมถะ ผมอยากรู้(ธรรมฉันทะ) จริงๆว่า ที่ตำราเขาบอกเขากล่าวว่า สุขเป็นอย่างนี้ เอกกัคตาเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างไรกันแน่ พอมาถึงปีติก็จบทุกที

จบที่เบื่อ ร้อนใจเหร๋อ

ที่คิดว่าเคยได้มากที่สุดคือขณะเข้าภวังค์นั้นมีความรู้สึกตัว ครั้งนี้จึงขอแนวทางการปฏิบัติจากท่านทั้งหลายด้วย

ขณะเข้า ให้เข้าใจว่า ขณะเข้านะ ไม่ใช่ขณะในภวังค์นะ
แล้วตอนออกมาล่ะ
เสียการทรงตัวเหร๋อ จึงต้องไปเริ่มต้น วิตก วิจารณ์ ใหม่

ต้องถามก่อนว่า เราใช้องค์กรรมฐานใด เพราะบางองค์กรรมฐาน
มันก็ไม่ใช่วิถีที่จะ เหวี่ยงไปสุข เอกคัตะ ได้
และบางทีก็ติดการจับองค์กรรมฐานไว้แน่นไป
หรือองค์กรรมฐานที่เราใช้ เราไม่รู้วิธีชำระองค์กรรมฐาน
ซึ่งแรงส่งมันมาแค่นั้น แล้วเมื่อเข้าสู่ภวังค์วิถี ไม่มีองค์กรรมฐานต่อไปมารองรับ
จิตเสียการทรงตัว ก็กลับมายังที่ฐานหนึ่งใหม่

องค์กรรมฐานที่รองรับ สุขได้ คือ พรหมวิหาร
ป้าพอจะจำได้ ว่าเคยเจออาการในลักษณะนี้
ตอนจะเข้าสู่ฐานสาม สุข
อารมณ์ที่มีลักษณะเจตสิกคล้ายพรหมวิหารจะมีความเด่น
เจตสิกจะมีลักษณะ นิ่ง ใส ผ่อน คลาย กระจาย
เราลอง เอาพรหมวิหารสี่ มาใช้ในชีวิตประจำวันนะ
เพื่อกระตุ้นวิถีการกระจายอารมณ์ออก ฝึกวิถีจิตให้เข้าไปเกาะสุข(เจตสิก)ได้
จริง ๆ อรรถประโยชน์ของพรหมวิหารสี่ ป้าเอามาใช้ที่ฐานอื่น
แต่เห็นว่าเจตสิกมีลักษณะคล้ายกันอาจจะใช้ในการน้อมเข้าสู่ฐานสามได้

คือ ตอนที่ป้าติด ก็ปรากฎว่ามีเสียงมาอ่านพระสูตรเรื่องการฝึกวัวให้ฟัง
ว่า ไม่ต้องลงแซ่ ไม่ต้องบังคับ มันแล้ว ลองปล่อยมันเดิน
ปล่อยให้มันเดิน แล้วเราแค่ค่อย ๆ คอยตามดูมันอยู่ห่าง ๆ

ป้าก็ลองปล่อย เอ้อ มันผ่านมาแบบฟลุ๊ค ๆ

ถ้าหากว่าเราจะลองวิชาฟลุ๊ค
ก่อนนั่งก็ อาราธนาคุณพระรัตนตรัยงาม ๆ :b16: :b12:

แต่จริง ๆ เราลองสังเกตุอาการที่เกิดในขณะสมาธิ
ว่า วิถีจิตต่อจากภวังค์มันส่งต่อไปไม่ได้ด้วยอาการอย่างไร

เหมือนเราเขวี้ยงหินไป แล้วจิตหล่นตุ๊บ หรือ กระดอนกลับ
อันนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ และถ้าเห็นลักษณะการล่มของวิถี
แล้วไปปรึกษาคณาจารย์กรรมฐาน ท่านจะรู้วิธีแก้ให้หลานอย่างถูกจุด

ขอให้โชคดีเจอทางออกนะจ๊ะ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2011, 19:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


ป้าครับ ป้าพูดเหมือนมานั่งปฏิบัติกับผมเลย ;ใช่แล้วครับผมรู้ขณะเข้า แล้วมารู้อีกทีก็ตอนออกนี่แหละ มันตก มันวูบๆ แล้วมันก็ต้องมาเริ่มใหม่ทุกทีเลย แต่มักจะไปอีกรอบไม่ได้ภายในวันนั้น ที่ผมติดบริกรรมก็คือพุทโธ ครับ แต่เป็นพุทโธที่มีลักษณะของลมหายร่วมด้วย ;แต่หลังๆผมได้ฟังพระมิตซูโอะเทศ เรื่องเกี่ยวกับความสบายใจ ความเมตตา อ่ะครับ ท่านก็ให้นึกหายใจเข้าก็สบายใจ หายใจออกก็มีความสุขเผื่อแผ่ไปให้คนรอบข้าง ให้นึกอย่างนี้ๆ ผมก็ทำได้นะครับ แล้วก็รู้สึกดีด้วย แต่ผมไม่คิดว่าความสบายใจอย่างที่พระมิตซูโอะสอนสามารถหน่วงอารมณ์ฌานได้ ผมนึกแค่ว่าทำให้สบายใจเฉยๆ อย่างไรเสียผมก็ต้องขอบคุณป้าและทุกๆคนนะครับ ที่อุตส่าห์แนะนำผม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2011, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติหรือคือการฝึกจิต การฝึกจิต เริ่มใหม่ๆเปรียบก็เหมือนเด็กน้อยเริ่มหัดเดิน (ตั้งไข่) พอจะเดินก็ล้ม ล้มก็ลุก ลุกทำท่าเดินก็ล้ม ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล้วๆเล่าๆ จนวันคืนผ่านไป เด็กนั้นเติบโตขึ้นร่างกายแขนขาแข็งแรงขึ้น เขาก็เดินไปโดยไม่ล้ม แถมยังวิ่งก็ได้ฉันใด

การฝึกจิตก็ฉันนั้น ต้องฝึกฝนคือทำบ่อยๆ โดยมีกรรมฐานเป็นที่ทำงานของมัน

ว่างๆก็ไปหาอ่านที่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=29.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2011, 23:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
แต่หลังๆผมได้ฟังพระมิตซูโอะเทศ เรื่องเกี่ยวกับความสบายใจ ความเมตตา อ่ะครับ ท่านก็ให้นึกหายใจเข้าก็สบายใจ หายใจออกก็มีความสุขเผื่อแผ่ไปให้คนรอบข้าง ให้นึกอย่างนี้ๆ ผมก็ทำได้นะครับ แล้วก็รู้สึกดีด้วย แต่ผมไม่คิดว่าความสบายใจอย่างที่พระมิตซูโอะสอนสามารถหน่วงอารมณ์ฌานได้ ผมนึกแค่ว่าทำให้สบายใจเฉยๆ


:b12: มันเป็นเรื่องของเจตสิกน่ะจ๊ะ

อยากได้อะไรแบบไหนในสมาธิ
ถ้าศึกษาเข้าใจเทคนิค
มันออกแบบได้ :b4: :b4:
แต่ไม่ว่าจะออกแบบให้เป็นเช่นไร
ป้าก็ยังไม่เห็นมีเจตสิกใดที่ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้นะ
มีแต่เราคอยแต่หลงใช้มันเป็นที่ยึดเกาะอาศัยชั่วคราว
(ก็ไม่รู้ว่า ไอ้ที่ไม่เห็นเพราะป้าตาถั่วไปเพราะความเฒ่ารึเปล่า)
ยกเว้น ทำปัญญาให้เกิด
ประมาณแค่ ฟ้าผ่าแว๊บเดียวในคืนเดือนมืด
แล้วทำให้คนที่เดินหลงทางอยู่นั้น เห็นทางไปทันทีน่ะ
อันนี้ ป้าอุปปมาอุปไมยนะจ๊ะ หลานที่น่ารัก
ไม่ใช่ แนะนำให้หลานไปเที่ยวยืนล่อฟ้าจริง ๆ นะจ๊ะ :b13: :b13: อิอิ

หลานหาครูบาอาจารย์ กัลยาณมิตรไว้นะจ๊ะ
ป้าเองก็เฒ่ามากแล้ว แม้ใจอยากจะอยู่คอยดูแลหลานวัยละอ่อน
แต่ด้วยความเฒ่า สายตาฝ้าฟาง สมองเลอะเลือน
การจะระลึกสิ่งใดมาแสดงความเห็นนั้น
บางเรื่องมันก็เป็นสิ่งที่ล่วงเลยมาแล้วน๊านนานแต่ชาติปางก่อนก็ไม่ปาน
ป้าคงอยู่ดูแลหลานได้ไม่นาน :b14: :b13: :b13:

อิอิ บันเทิ๊ง บันเทิง วันละนิดจิตแจ่มใสในธรรม นะจ๊ะ
อิอิ

:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 00:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32:
เข้าใจทำ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 18:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


เปิดน้ำก๊อกใส่กะละมังดูนะครับ ถ้าเปิดไว้อย่างต่อเนื่องยังไงมันก็ต้องเต็ม หรือจะเป็นตุ่มเป็นโอ่งใบใหญ่ๆยังไงมันก็เต็ม ที่ไม่เต็มเพราะไปปิดก๊อกเสียด้วยความรีบร้อน ธรรมของพระพุทธเจ้าด่วนๆ เร็วๆไวๆก็จริง แต่ไม่ได้หมายถึงรีบร้อน รีบร้อนเกินความจริงก็ไม่ได้ดั่งใจเกิดทุกข์เปล่าๆ ที่ว่ามีสติระลึกได้ รู้ตัวอยู่สบายๆนั้นก้ดีแล้วครับ รู้เห็นอย่างนั้นก็ทรงไว้ เวลานาทีเขาเดินไปก็ชั่งเขา ส่วนตัวเรานั้นได้ผลกำไรมากน้อยแค่ไหนกับความปราถนาที่ตั้งไว้ อันนี้ต่างหากที่ควรดึงมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


อยากได้อารมณ์สมถะเหรอ... อารัมมณูปนิชฌาน ซินะ

s004 s004 s004 เอางี้...

ใช้อานาปานสติ ทีนี้ เวลาฝึกอานาปานสติมันฝึกได้หลายแบบ ให้ใช้แบบ ดูลมหายใจ ดูลมเข้าลมออก ไม่ต้องไปดูกาย ดูไปดูมาเดี๋ยวก็ได้สมถะเอง ดูลมที่ปลายจมูกก็ได้

อนึ่ง อารมณ์สมถะขั้นสุขในฌาณ จะถึงได้ต้องเห็นแสงสว่างก่อน ถ้ายังมืดตึดตื๋อ แสดงว่ายังไปไม่ถึง ก็ดูลมต่อไป... และก็มีโอกาสตกภวังค์ได้อยู่ แต่จริงๆ แล้ว ถ้าสติเข้มแข็ง โอกาสจะตกภวังค์มีน้อยนะ ยกเว้นก็ตอนไปสุดทางคือ จะเข้าถึงอรูปฌาณ เป็นภวังค์ที่เรียกว่า ภวังคุปัจเฉท หรืออารัมมณูปนิชฌาน จัดเป็นสมาธิขั้นสูงในฝ่ายสมถะ

ส่วนภวังค์อื่นๆ ไม่จัดว่าเป็นฌาณสมาธินะ

ส่วนถ้าฝึกอานาปานสติ โดยการรู้กาย รู้ความเคลื่อนไหวของกาย จะเข้าทางวิปัสสนามากกว่า ถ้าไปถึงขั้นสุด ก็จะได้ฌาณอีกแบบคือ ลักขณูปนิชฌาน

ถ้าฝึกจนคล่องทั้งฝ่ายสมถะและวิปัสสนา ตำราว่า จะสามารถเข้าถึงนิโรธสมาบัติได้ ท่านว่า เป็นที่สุดของสมาธิแล้ว ไม่มีอะไรจะเกินไปจากนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 20:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


สุดยอดเลยครับทุกคน;ผมรู้สึกว่าตอนนี้ผมไม่ได้ปฏิบัติคนเดียวอีกต่อไปแล้ว เพราะผมได้มีกัลยาณมิตรในเว็บนี้ให้คำปรึกษาอย่างเต็มที่ ขอบคุณคุณป้า คุณmurano และทุกๆคนที่ให้คำแนะนำ ต่อจากนี้ผมขอเก็บตัว ปฏิบัติให้ได้ผลเสียก่อนที่จะเข้ามาเว็บนี้ใหม่ หากมีความคืบหน้าหรือข้อสงสัยใด ผมจะมารายงานให้ทุกท่านทราบครับ



...........................ด้วยจิตคารวะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 20:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32:
เข้าใจทำ....


อิอิ

สุขกันเถอะเรา เฒ่าไปทำไม ... อิอิ



rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 23:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes rolleyes
ช่าย...ช่าย...

เราจะไม่แก่ไม่เฒ่า...กันแล้ว

อีกไม่นาน... :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron