วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 05:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:03
โพสต์: 26


 ข้อมูลส่วนตัว


อยากทราบว่าจะต้องอาศัยความรู้หรือธรรมะข้อใด

ในการที่จะเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

ขอรับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การละสักกายทิฐิ เป้นสมรรถนะของจิตที่บรรลุธรรมสำคัญที่เรียกว่าขั้นโสดาบัน
โสดาบันเป็นสภาวะทางจิต
เมื่อเราเจริญสติปัฏฐานไปจนถึงสภาวะนั้น เราจะละได้เองครับ

ถามว่าวิธีคืออะไร ก็คือเจริญสติปัฏฐานครับผม เป็นวิธีเดียว ทางเดียว ทางเอก (เอกายนมรรค)
ไม่มีวิธีอื่น
ให้ค้นคว้าเรื่องวิธีการปฏิบัติเจริญสติปัฏฐานให้เข้าใจ หาที่เหมาะกับตัวเองให้เจอ
ส่วนเรื่องบรรลุธรรมนั้น หากเราปฏิบัติตรงแล้ว มันจะเกิดเองครับ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 21 ม.ค. 2009, 13:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


สมพล เขียน:
อยากทราบว่าจะต้องอาศัยความรู้หรือธรรมะข้อใด

ในการที่จะเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

ขอรับ

:b8:


ท่านทั้งหลาย และเจ้าของกระทู้ หากได้อ่านข้อแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าแล้ว อย่าได้คิดเป็นอย่างอื่น ให้คิดตามความเป็นจริง ดังที่ข้าพเจ้าจักได้อธิบายดังต่อไปนี้.-

คำว่า " สักกายทิฎฐิ นั้น มีความหมาย ตามพจนนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก ว่า " ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)

และสังโยชน์ 10 หมายถึง " กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา " (คัดความจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก)

ดังนั้น ทั้ง สักกายทิฎฐิ หรือ สังโยชน์ 10 นั้น เป็นเพียง คำอธิบาย ถึง ลักษณะ ของ ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือเรียกรวมกันว่า กิเลส หากจะอธิบายให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ สังโยชน์ 10 นั้น คือ รายละเอียด หรือ เป็นผลแห่งการได้สัมผัส ทางอายตนะ ฯลฯ แล้วเกิด ความคิด กลายเป็น อารมณ์ ความรู้สึก หรือ สภาพสภาวะจิตใจ
จะนำมาพิจารณาก็ดี ไม่นำมาพิจารณา ก็ดี หากนำมาพิจารณา ก็จักสามารถเกิดความเข้าใจว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นอย่างไรบ้าง แต่ก็ต้องคิดพิจารณาว่า อันไหน เป็น ความหลง อันไหนเป็นความโลภ อันได้ เป็นความโกรธ หรือ อันไหน ผสมรวมกัน คือเป็น ทั้ง ความโลภ ความหลง หรือ รวมกันทั้ง 3 อย่าง

การจะละกิเลสได้ หรือจะขจัดกิเลสได้ ต้องมีความรุ้ ความเข้าใจ ในหลายๆเรื่อง หลายปัจจัย ไม่ใช่จะมาอธิบายกันเพียงไม่กี่บรรทัดแล้วจะเกิดความเข้าใจได้ ยกเว้น ท่านทั้งหลาย ได้เรียนรุ้ หลักธรรมคำสอน และเกิดความเข้าใจดีแล้ว นั่นแหละ ไม่ต้องอธิบายอะไรเลย เพราะหลักธรรม คำสอน หรือตัวหลักการ ชัดเจน ชัดแจ้ง อยู่แล้วว่า เป็นทั้ง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ไปพร้อมกัน
ธรรมชาติ ของสรรพสิ่งที่มีชีวิต ล้วนย่อมยึดถือความเป็นตัวตน เป็นธรรมดา การยึดถือ ความคิด ความรู้สึก หรือยึดถือตัวตัวว่าเป็นของตนนั้น เป็นหลักการอันหนึ่ง ที่จักทำให้เกิดทุกข์ ได้ แต่ก็ย่อมทำให้เกิดความหลุดพ้นจากทุกข์ได้เช่นกัน และในแง่ปุถุชนคนทั่วไป หากไม่ยึดถือตัวตน ความทุกข์ อาจเกิดขึ้นมากกว่าการยึดถือตัวตนด้วยซ้ำ ทั้งนี้ก็เพราะความจำเป็นในการดำรงชีวิต ในสังคมสิ่งแวดล้อม นั่นเอง
ดังนั้น การจะละกิเลสในข้อสักกายทิฎฐินี้ มีวิธีเดียว คือ ขจัดความคิด ขจัดกิเลส อันเป็นการปฏิบัติ ตั้งแต่ชั้น โสดาบัน เป็นต้นไปจึงจะกระทำได้
อนึ่งต้องทำความเข้าใจว่า การขจัดกิเลส ต่างจากการละกิเลส เพราะการละกิเลสนั้น เป็นเพียง ชั้นปุถุชน ซึ่งกิเลสเหล่านั้น จะถูกเก็บกดไว้ ข่มไว้ แต่การขจัดกิเลส จะเป็นการขับเอาคลื่นความคิด ความจำ อารมณ์ ความรุ้สึก ออกจากร่างกาย
ดังนั้น การที่บุคคลจะต้องการละหรือขจัด สักกายทิฎฐิ จึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดเลย แต่หากจะต้องการละสักกายทิฎฐิให้เบาบางลงหรือต้องการให้เกิดความสักกายทิฎฐิ พอประมาณ หรือ ให้เป็นไปตามปกติ ก็เพียงแค่ เรามีหลักธรรม พรหมวิหารสี่ ก็สามารถข่ม ละ ความถือตัวตน ลงได้ ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2004, 08:57
โพสต์: 154


 ข้อมูลส่วนตัว


โปรดพิจารณาดูครับ

แนบไฟล์:
A22_03-5.jpg
A22_03-5.jpg [ 49.38 KiB | เปิดดู 4028 ครั้ง ]


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: รสมน และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร