วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 03:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 21:39
โพสต์: 3

ที่อยู่: 247 ม.4 อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากทราบว่าหลักธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจ มีหลักธรรมอะไรบ้าง ใครทราบช่วยตอบที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระวิษณุ เขียน:
อยากทราบว่าหลักธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจ มีหลักธรรมอะไรบ้าง ใครทราบช่วยตอบที


หลักธรรม ในการพัฒนา เศรษฐกิจ
เจริญสุขท่านทั้งหลาย บทความนี้ เป็นบทความอันเกี่ยวกับหลักธรรมะ กับการพัฒนาเศรษฐกิจ อันเกี่ยวเนื่องกับการเมืองการปกครอง ซึ่ง
การเมือง การปกครอง การเศรษฐกิจ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน ชนิดที่เรียกว่า จะแตกแยก กันไม่ได้
เพราะหากมีพฤติกรรม หรือปฏิบัติกิจ เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงส่วนอื่นๆ ความเสียหายวุ่นวายก็จะเกิดขึ้น
ในเรื่องความสัมพันธ์ และเกี่ยวโยงกันในแต่ละฝ่ายนั้น ข้าพเจ้าเคยได้เขียนสอนไปเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ในตอนนั้น กำลังศึกษาที่ มสธ. เป็นปีแรก ให้รัฐบาลในตอนนั้น ได้รู้ได้เข้าใจว่า ทุกภาคส่วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน แยกกันไม่ได้
การเมืองการปกครองนั้น หากเป็นในหลักวิชาการสมัยใหม่แล้ว ย่อมประกอบไปด้วยหลักวิชาการหลายสาขา ซึ่งท่านที่ได้ศึกษาตั้งแต่ระดับ มัธยมตอนปลาย เป็นต้นไป คงพอที่จะได้เรียนรู้กันเป็นพื้นฐานอยู่บ้างแล้ว ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง
แต่หากจะถามถึง หลักธรรม ในอันที่จะพัฒนา เศรษฐกิจ ซึ่ง ระบบเศรษฐกิจ นั้น เป็นสาขาวิชาหนึ่งในการปกครองบ้านเมือง ในการบริหารการใช้จ่าย และการจัดการนับตั้งแต่ตัวบุคคล ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับโลก เพราะปัจจุบันนี้ ทุกประเทศ ล้วนต้องปฏิสัมพันธ์กันพึ่งพาอาศัยกัน ในหลายๆด้าน ดังที่ท่านทั้งหลายได้รู้ ได้เห็น จากข่าวสารต่างๆอยู่แล้ว

เศรษฐกิจ หมายถึง "งานอันเกี่ยวกับการ ผลิต การจำหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆในชุมชน และในสังคมทั่วไป" (คัดความจากพจนานุกรมไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน)

หากท่านทั้งหลายที่เคยได้เรียน ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองมาบ้าง และได้พิจารณา ถึงความหมายของคำว่า "เศรษฐกิจ" ก็จะรู้ว่า ความหมายของคำว่า "เศรษฐกิจ" และ “การเมือง” นั้น แทบจะเป็นอันเดียวกัน เหมือนกัน
ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะ การเมือง การปกครอง ย่อมต้องประกอบด้วยปัจจัย หรือหลักวิชาการ ในหลายด้านประกอบกัน

หลักธรรมในการพัฒนาการเมืองการปกครอง หรือ พัฒนาเศรษฐกิจ หรือวิชาการอื่นใด อันเกี่ยวข้องกับการเมือง การปกครอง ฯ. ย่อมต้องใช้หลักธรรม อันเป็น หลักการหรือหลักธรรมที่เป็นหัวข้อหลัก ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะหากไม่ใช้หลักการหรือหลักธรรม อันเป็นหัวข้อหลัก ความสับสน และไม่เป็นไปตามหลักความจริง ก็จะเกิดขั้น
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเสนอ และแนะนำ ให้ นักการเมือง นัก เศรษฐศาสตร์ นักนิติศาสตร์ ,และอื่นๆอีกหลายด้าน ได้เรียนรู้ จดจำ นำเอาหลักธรรม หรือหลักการที่ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปนี้ ไปเป็นเครื่องประกอบ หรือเป็นหัวข้อในการพิจารณาพัฒนา บ้านเมืองในทุกๆด้าน ดังนี้.-

1. การครองเรือน
2. การให้ทาน (ตามการครองเรือนนั้น หรือตามสรรพอาชีพนั้นๆ)
3. การรู้คุณ
4. การเจรจา หรือการติดต่อสื่อสาร
5. สรรพอาชีพ
6. ประพฤติ (ตามการครองเรือน ,ตามอาชีพ ตามการรู้คุณ,ฯลฯ)
7 ระลึก (การระลึกนึกถึงในความรู้ ประสบการณ์ และอื่นๆ)
8. ดำริ ( การคิด การปรุงแต่ง )

ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ ล้วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ตามธรรมชาติ แยกกันไม่ได้ เพียงทำความเข้าใจ ในความหมายของแต่ละข้อให้สัมพันธ์กัน การพัฒนาในทุกฝ่าย ก็จะเกิดขึ้น
ข้าพเจ้าจะไม่อธิบายในรายละเอียด เพราะความหมายชัดเจน ชัดแจ้งอยู่แล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับสมองสติปัญญาของแต่ละบุคคล
หากบุคคลใด คิดว่า จะใช้หลักธรรมอื่นๆ ก็จงคิดพิจารณาให้ดีว่า ไม่ว่าหลักธรรมใดใดที่มีอยู่เดิมนั้น ล้วนเกิดจากหลักธรรม หรือหลักการ ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป
หลายๆท่าน อาจจะสงสัยว่า หลักธรรมเหล่านั้น จะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้จริงหรือ
ข้าพเจ้ารับรองได้เลยว่า หากนักการเมือง หรือผู้เกี่ยวข้อง รวมไปถึง ประชาชนคนทั้งหลาย ได้รู้ได้เข้าใจ ในหลักธรรมหรือหลักการเหล่านั้นแล้ว ย่อมสามารถพัฒนาได้เองโดยอัตโนมัติ เพราะหากนักการเมือง รู้จักตัวเอง รู้ว่าควรประพฤติอย่างไร ให้ทานอย่างไร ระลึก ดำริ อย่างไร ไม่ใช่เรื่องยากที่จะพัฒนา
เพราะจุดสำคัญของการพัฒนาการเมืองการปกครอง อันหมายรวมไปถึง การพัฒนาในทุกสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองนั้น คือความรู้ ความเข้าใจ ถ้าเกิดความรู้ ความเข้าใจแล้ว ไม่มีปัญหา
ยกตัวอย่างเรื่อง นมดิบ ที่ยุติไปแล้วนั้น หากมีการอธิบายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง แม้การรับซื้อนบดิบจะลดราคาลง ก็ไม่มีปัญหา พวกเขาจะขายนมดิบให้ได้มาก หรือจะขายนมดิบได้น้อยลง แค่นี้พวกเขาก็พิจารณาได้ อย่างนี้เป็นต้น
ดังนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจ และหมายรวมไปถึง การเมือง การปกครอง และการบริหารงานในด้านต่างๆ ล้วนสามารถนำเอาหลักธรรม ไปเป็นต้นแบบ หรือไปเป็นปัจจัยประกอบในการพัฒนา หรือในทางกลับกัน หลักธรรมทางพุทธศาสนา ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น 4 คู่ 8 ข้อ นั้น ย่อมสามารถใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาตามหลักวิชาการในแขนงวิชานั้นได้เป็นอย่างดียิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร