วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2025, 18:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 20:15
โพสต์: 45


 ข้อมูลส่วนตัว


นิมิต




นิมิต หรือ นิมิตต์ หมายถึง เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน ภาพที่เห็นในใจอันเป็นตัวแทนของสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน นิมิตมี ๓ อย่าง คือ


๑. บริกรรมนิมิต คือ นิมิตแห่งบริกรรม นิมิตตระเตรียม หรือ นิมิตแรกเริ่ม ได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่กำหนดเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกเป็นอารมณ์ว่าอยู่ในใจ เป็นต้น บริกรรมนิมิตได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐


๒. อุคคหนิมิต คือ นิมิตที่ใจเรียน นิมิตติดตา ได้แก่ บริกรรมนิมิตนั้น ที่เพ่งหรือนึกกำหนดจนเห็นแม่นในใจ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งจนติดตา หลับตามองเห็น เป็นต้น อุคคหนิมิตได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐


๓. ปฏิภาคนิมิต คือ นิมิตเสมือน นิมิตเทียบเคียง ได้แก่นิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิตนั้น แต่เป็นสิ่งที่เกิดจากสัญญา เป็นเพียงอาการปรากฏแก่ผู้ได้สมาธิ จึงบริสุทธิ์จนปราศจากสีเป็นต้น และไม่มีมลทินใดๆ ทั้งสามารถนึกขยายหรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา


ปฏิภาคนิมิตนี้ได้เฉพาะในกรรมฐาน ๒๒ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ และอานาปานัสติ ๑ เมื่อเกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น จิตย่อมตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ จึงชื่อว่าปฏิภาคนิมิตเกิดพร้อมกับอุปจารสมาธิ เมื่อเสพปฏิภาคนิมิตนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิ ก็จะสำเร็จเป็นอัปปนาภาวนา



---->>> อย่างไรก็ตาม นิมิตที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเกิดของสมาธินั้น ไม่ใช่นิมิตในความหมายที่กล่าวข้างต้น แต่เป็นนิมิตที่หมายถึงภาพที่เห็นในใจ ซึ่งมีความหมายกว้างมาก กล่าวคือ เป็นภาวะจิตหนึ่งที่ไม่ตื่นตัวเต็มที่ คนที่อยู่ในภาวะจิตเช่นนี้จึงอาจจะเห็นภาพในใจซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งของจิตได้ หรือไม่ก็เป็นภาพที่เกิดจากสัญญา (สัญญาในที่นี้หมายถึงภาพของสิ่งเก่าๆ ที่จิตเคยกำหนดหมายจำไว้) คือ อาจเป็นภาพที่เกิดจากสัญญาเก่าหรือภาพที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ซึ่งโดยทั่วไปจะได้ประสบมากที่สุด ก็คือในภาวะหลับที่ไม่สนิท จะมีนิมิตปรากฏขึ้นมาที่เรียกเต็มๆ ว่า สุบินนิมิต แปลว่า ภาพในฝัน สุบินนิมิตนี้จะเกิดในลักษณะที่เรียกว่าตื่นอยู่ก็ไม่ใช่ หลับอยู่ก็ไม่เชิง หรือจะเรียกว่า ครึ่งหลับครึ่งตื่นก็ได้ กล่าวคือเป็นภาวะจิตที่ไม่ถึงกับหลับ แต่เป็นภาวะอีกอย่างหนึ่งที่ไม่อยู่ในภาวะตื่นเต็มที่


คนที่ฝึกสมาธิก็สามารถจะเกิดนิมิตดังกล่าวนี้ได้เช่นกัน คือเกิดภาพในใจขึ้น ถ้าหากเป็นภาพนิมิตที่เป็นปกติธรรมดา ก็คือภาพที่เกิดจากสิ่งที่ตนกำหนด เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธินั้น (คือเป็นบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวข้างต้น) หรือเกิดจากการที่ตนเอาจิตไปจดจ่อกับมันกลายเป็นสัญญากำหนดหมายจำเกิดเป็นนิมิต เป็นภาพในใจ แต่ทีนี้มันไม่ใช่เท่านั้น คือมันมีการปรุงแต่งต่อ หรือว่าจิตไม่ได้อยู่กับสิ่งที่กำหนดนั้น เกิดภาพอื่นเข้ามา เช่น ภาพที่ตนไปพบไปเห็นไว้เป็นความจำเก่าๆ ผุดขึ้นมาในจิตใจ ลักษณะเช่นนี้แสดงว่า ขณะนี้จิตเริ่มจะเขว คือ จิตไม่จดจ่ออยู่กับอารมณ์ที่กำหนดหรืออารมณ์กรรมฐาน แต่กลับมีภาพของสิ่งอื่นเกิดขึ้นมาเป็นนิมิต เรียกว่า --> นิมิตนอกตัวกรรมฐาน <-- จึงอาจเห็นภาพต่างๆ ภาพเหล่านี้ก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการฝึกสมาธิ



ภาพนิมิตเหล่านี้อาจเป็นภาพสวยๆ งามๆ เป็นแสงสีอะไรต่างๆ ที่ถูกใจ พอใจ ชื่นชม อาจจะเป็นสีที่สดใสสวยงาม ชวนให้เพลิดเพลินเจริญใจ ติดใจ หรือเป็นภาพของสถานที่ บุคคล สิ่งที่น่ารักน่าชมก็ได้ จิตใจก็จะไปติดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เมื่อจิตใจไปติดเพลินก็คือการที่ออกจากการฝึกสมาธิแล้ว จิตเวลานั้นก็จะไม่เป็นสมาธิ จะไปหลงเพลิดเพลินอยู่กับภาพนิมิตนั้นในลักษณะนี้จึงเรียกว่า ปัญหา เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการฝึกสมาธิ



ในทางตรงข้าม ถ้าภาพที่เห็นนั้น ไม่ได้เป็นภาพที่สวยงาม แต่กลับเป็นภาพของสิ่งน่าเกลียดน่ากลัว เพราะว่าตนเคยมีความทรงจำอะไรบางอย่างหรือจิตผูกพันกับอะไรบางอย่างที่ตนปรุงแต่ง เป็นภาพที่น่ากลัว เป็นต้นว่าเห็นเป็นงูจะมากัด เป็นภาพผีสางอะไรต่างๆ สุดแล้วแต่จะเกิดขึ้นก็ทำให้ตกใจด้วยคิดว่าเป็นความจริง ถ้าร้ายแรงก็อาจจะทำให้สติวิปลาสหรือเสียจริตไปก็ได้ นี้ก็เป็นปัญหาแก่การฝึกสมาธิ --->>> เพราะฉะนั้นจะต้องรู้เท่าทันว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงภาพนิมิตและหันกลับมากำหนดสิ่งที่เป็นอารมณ์กรรมฐานต่อไป...



การเจริญอานาปานัสสติกรรมฐาน มีนิมิต ๓ อย่าง คือ


๑. บริกรรมนิมิต ได้แก่ลมหายใจเข้าออก

๒. อุคคหนิมิต ได้แก่ ลมหายใจเข้าออกปรากฏดุจสายน้ำ เปลวควัน ปุยสำลี ไม้ค้ำ พวงดอกไม้ ดอกบัว ล้อรถ ลมต้าน

๓. ปฏิภาคนิมิต ได้แก่ ลมหายใจเข้าออกปรากฏดุจดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดวงแก้วมณี ดวงแก้วมุกดา


การตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออกในขณะที่มีบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งมีสมาธิอยู่ ๓ อย่าง คือ


๑. บริกรรมภาวนาสมาธิ ได้แก่สมาธิในขณะที่มีบริกรรมนิมิตและอุคคหนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์อยู่

๒. อุปจารภาวนาสมาธิ ได้แก่ การตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออกที่มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ในระหว่างที่ยังไม่เข้าถึงรูปฌาณ

๓. อัปปนาภาวนาสมาธิ ได้แก่ การตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออกที่มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ที่เข้าถึงรูปฌาณแล้ว


ดังนั้น ไม่ว่าจะเจริญอานาปานัสสติ หรือแนวกสิณก็ย่อมเป็นเรื่องของการใช้บริกรรมนิมิตในการเจริญสมาธิเบื้องต้นทั้งนั้น และได้ผลปฏิบัติในขั้นนิมิต ๓ และภาวนา ๓ ได้เหมือนกัน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า นิมิต นี้

เป็นคำที่มีหลากหลายความหมาย

เพียงในระดับพระสูตร ก็มีหลายนัยยะความหมายแล้ว

พอมาถึงคัมภีร์รุ่นหลัง ยิ่งมีหลายนัยยะความหมายเข้าไปอีก

พอมาถึงยุคปัจจุบัน .... เหมือน ต่างสำนัก ต่างพูดกันคนล่ะเรื่อง ไปเลย :b6:


จาก พจนานุกรม

อ้างคำพูด:
นิมิต
1. เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา,
วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ
2. (ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ
3. เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน,
ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน,
ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ
๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน
๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น
๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา
4. สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง;
ดู เทวทูต



จาก ระดับ พระสูตรเท่าที่เคยผ่านตา จะเป็น ข้อ1 2 4


และ ในพระสูตร ก็มีที่ตรัสถึง อนิมิตตสมาธิ คือ

อ้างคำพูด:
อนิมิตตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
คือ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ
(ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)



ส่วน คำว่า บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ผมเคยค้นในพระไตรปิฎกแล้ว ไม่พบ(ใครพบบอกด้วยครับ)
เป็นคำที่อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลท่านประมวลขึ้นมาภายหลัง


มันก็คง คล้ายๆกับ คำว่า
สมถยานิก-วิปัสสนายานิก
ขณิก-อุปจาร-อัปปานา สมาธิ

และ ๆลๆ
ซึ่งพอย้อนไปหาว่า อยู่ตรงไหนในชั้นพระสูตร ก็ต้องเทียบเคียงกันให้ดีๆ บางครั้งความหมายก็ตรงกับในพระสูตร บางครั้งไม่ค่อยจะตรงกับในพระสูตรก็มี บางครั้งในระดับพระสูตรไม่มีเลยก็มี

ดังนั้น เวลาที่จะคุยกันในเรื่องนี้ ต้องบอกด้วยน่ะครับ ว่าท่านกำลังกล่าวอ้างอิงจากระดับไหน

ด้วยว่า ปัจจุบัน บางสำนักจะให้ความสำคัญกับคัมภีร์รุ่นหลังมากๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พูดถึง นิมิต ที่เป็น บริกรรม-อุคคห-ปฏิภาค ก่อน



ลองย้อนไปดู ในระดับพระสูตร เช่น อานาปานสติสูตร

พระพุทธองค์ ท่านไม่ได้บอกให้เพ่งลมหายใจเลยน่ะครับ... ไม่มี คำว่า เพ่งลมหาใจ เลย

ท่านสอน ให้ใช้สติกำหนดลมหายใจ ด้วยคำวที่ว่า"รู้ชัด"

เป็นการกำหนดรู้ตามจริง


http://www.larnbuddhism.com/grammathan/ ... t/ana.html

เธอย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น


ซึ่งที่แท้จริงนี้ คือ การใช้สติกำหนด...ไม่ใช่ลักษณะการเพ่ง

อีกทั้ง ไม่มีการกล่าวถึง บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ใดๆเลย.... ในอานาปานสติสูตร



นอกจากนี้

ในพระสูตรที่ตรัสบรรยายถึง สัมมาสมาธิ(ในสัจจบรรพ มหาสติปัฏฐานสูตร)
ก็ไม่มีการกล่าวถึง นิมิต ที่เป็น บริกรรม-อุคคห-ปฏิภาค ใดๆเลย

มีแต่กล่าวถึงว่า

http://www.larnbuddhism.com/grammathan/ ... /sati.html

สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่


ซึ่งก็ตรัสแต่เพียง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม (ปราศจากนิวรณ์)
หลังจากนั้น ก็ตรัสรายละเอียดแห่งองค์ฌานที่๑ ๒ ๓ ๔.....



ปัจจุบัน ชาวพุทธบางกลุ่ม กลับไปใส่ใจในคำว่า บริกรรม-อุคคห-ปฏิภาคนิมิต ตามตำรารุ่นหลัง
มากกว่า จะไปสนใจในรายละเอียดแห่ง สัมมาสมาธิ(โลกุตรฌาน) ที่เป็นพุทธพจน์ดั้งเดิม

และ ในทางตรงกันข้าม บางกลุ่ม เมื่อกล่าวถึง สัมมาสมาธิ ว่าในสมัยพุทธกาลเรียกว่า (โลกุตร)ฌาน ก็เหมือนจะไม่ค่อยเชื่อเสียอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาถึง นิมิต ในการภาวนา
ตามภาษาของคนในยุคปัจจุบัน

ที่มักชอบกล่าวกันว่า เห็นนิมิต เช่นนั้น เช่นนี้



คำว่า นิมิตภาวนา ในลักษณะนี้

ผมมองว่า มันจะเกี่ยวข้องกับ สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อญาณทัศนะ

(สมาธิภาวนามี4ประเภท ตามพุทธพจน์

1.สมาธิภาวนาเพื่อสุขในปัจจุบัน
2.สมาธิภาวนาเพื่อญาณทัศนะ
3.สมาธิภาวนาเพื่อสติสัมปชัญญะ เช่น ที่ทรงตรัสสรรเสริญอานาปานสติว่า เมื่อเจริญให้มากจะยังให้สติปัฏฐานสี่บริบูรณ์
4.สมาธิภาวนาเพื่อความสิ้นอาสวะ หรือ สัมมาสมาธิ)

พึงสังเกตุน่ะครับ...
สมาธิภาวนาเพื่อญาณทัศนะ ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกับ สมาธิภาวนาเพื่อสติสัมปชัญญะ น่ะครับ
ผู้มีญาณทัศนะ ไม่ได้หมายถึงว่า จะต้องเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะน่ะครับ....
ต่อให้ เป็นผู้มีญาณทัศนะที่แม่นยำ ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีสัมมาสติน่ะครับ อาจเป็นผู้ขาดสัมมาสติก็ได้ เช่น หมอไสยศาสตร์บางท่านที่สามารถเห็นระยะไกลได้อย่างแม่นยำ... นี้ คือ มิจฉาสมาธิ นั่นเอง

ดังนั้น นิมิต หรือ ญาณทัศนะ นี้ มันไม่ได้บอกว่า จะเป็นสัมมาสมาธิ หรือ มิจฉาสมาธิ อะไรเลย

และ ไม่ใช่สิ่งจำเป็นต้องมีอะไรเลย




บางท่าน ไปใส่ใจ ในเรื่องเหล่านี้มาก... จน เพี้ยนหลุดโลกไปเลยก็มี
และ เวลาหลง มันจะหลงมาก...ยิ่งรับรู้ได้แม่นยำเท่าใด ยิ่งหลงตนเอง มากเท่านั้น
บางท่าน ขนาด ครูบาอาจารย์เตือน ยังไม่ยอมฟังเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร