วันเวลาปัจจุบัน 22 พ.ค. 2025, 16:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่อริยมรรคสมังคี ผู้ปฎิบัติจะต้องถึงเป็นผู้ฉลาดและเป็นผู้ชำนาญ ในธรรมทั้งสองคือทั้งสมถ และวิปัสสนา
จึงชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในฌานทั้งสอง สมถก็เป็นสมถพละ วิปัสสนาก็เป็นวิปัสสนาพละ การที่มีจิตตั้งมั่นย่อมเห็นแจ้ง (สมถ)เมื่อเห็นแจ้งอยู่ย่อมมีจิตตั้งมั่น(วิปัสสนา) ดังปฎิสัมภิทามรรคที่ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 51
“...หากว่าพระโยคีบุคคลมีจิตตั้งมั่นย่อมเห็นแจ้งได้โดยประการใดไซร้,
และหากพระโยคีบุคคลเมื่อเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีจิตตั้งมั่นได้โดยประการนั้น,
ในกาลนั้น วิปัสสนา และสมถะเป็นธรรมมีส่วนเสมอกัน เป็นธรรมคู่กันเป็นไป.

เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า
ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺา ธมฺมฏฺิติาณ แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย
เป็นธัมมัฏฐิติญาณดังนี้ไว้ ก็เพื่อจะให้รู้ว่า

ตราบใดที่อริยมรรคยังไม่ละสมาธิทำสมาธิกับปัญญาให้เป็นธรรมคู่กัน,
พระโยคีบุคคลก็จำต้องขวนขวายอยู่ตราบนั้น.”


ใน พลกถา

“...ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑- ปัญญาวิมุตติ๒- อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน๓- การที่ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้า
ถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้วยืนยันฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท นี้ตถาคตพละ ๑๐ ...”

“... ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ
ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรรวมจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น
ชื่อว่าขันติพละ เพราะเนกขัมมะเป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้นนั้น
ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น
ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น
ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น
ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรย่อมอธิษฐานจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น

ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะพระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น
ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้น
ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว
ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น
ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะฤทธิ์ย่อมสำเร็จด้วยการอธิษฐานเป็นต้นด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ เป็นปัจจัย
ชื่อว่าตถาคตพละเพราะมีสภาวะมีกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้”


จากพระสูตรที่อ้างมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการแสดงการเจริญสมถวิปัสสนาไปด้วยกันนั้น เป็นไปด้วยในขณะแห่งมรรคเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีพระนิพพานเป็นโคจร ด้วยอาการ ๑๖ ซึ่งต้องเป็นปัญญาที่เป็น
มรรคฌาน ผลฌาน ขณะละอวิชชาและกิเลสทั้งหมดเป็นสมุทรเฉท ของพระอริยบุคคลอุภโตภาควิมุตบุคคล โดยเฉพาะ
เพราะท่านหลุดพ้นทั้งสองส่วน
ชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกราคะ (สมาธิสัมปยุตด้วยมรรค )
ชื่อว่า ปัญญาวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชา (ปัญญาสัมปยุตด้วยมรรค )



ในมาติกา ก็กล่าวถึงปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสองเป็นมรคญาณ ผลญาณอันเป็นอริยมรรค ว่า

“...ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑
ปัญญาในการระงับประโยคเป็นผลญาณ ๑
ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ”

http://84000.org/tipitaka/read/bypage.p ... agebreak=1


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


จากข้อความที่ปรากฏในปฎิปทาการเจริญสมถวิปัสสนาคู่กันไปที่กล่าวว่า
“...เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา ...”

“...เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน...”



แสดงให้เห็นถึงการละอุทธัจจะ และ อวิชชา อันเป็นสังโยชน์เบื้องสูงตัวสุดท้าย
เพราะเมื่อละอวิชชาได้ก็จะสามารถละกิเลสอาสวะได้ทั้งหมดเห็นวิชชาแล้ว
และจากประโยคที่ว่า
การมีนิโรธเป็นอารมณ์ นิโรธถ้าตามความเข้าใจก็คือ การมีนิพพานเป็นอารมณ์
จะไม่สามารถมีได้ด้วยการคิดหรือการตรึก การมีนิพพานเป็นอารมณ์ต้องเกิดจากปัญญาที่ละกิเลสอาสวะ ได้หมดแล้ว
ละอวิชชาได้แล้วเท่านั้น
ดังนั้นการเจริญสมถวิปัสสนาคู่กันไป จะเป็นขั้นตอนของ มรรค ผล นิพพาน เป็นสภาวะอริยมรรคสมังคีเพือละ และเพื่อสละอวิชชา และ ละกิเลสทั้งหมด โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ และมีพระนิพพานเป็นโคจร

เมื่อออกจากกิเลสและอวิชชา เมื่อด้วยความหลีกไปจากกิเลสและอวิชชา โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีพระนิพพานเป็นโคจร
(ในมาติกา แสดง ปัญญาในความสลัดออกเป็นวิโมกขวิวัฎญาณ)
และในวิวัฎฎฌานนักกนิทเทส แสดงไว้ว่า

“...ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง เป็นเจโตวิวัฏฏ-
*ญาณอย่างไร ฯ…เมื่อพระโยคาวจรคิดถึง
ความที่อรหัตมรรคเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ ฯ…”

“...ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ…เมื่อพระ-
*โยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า หูว่างเปล่า ฯลฯ จมูกว่างเปล่า
ลิ้นว่างเปล่า กายว่างเปล่า ใจว่างเปล่า จากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรปรวนเป็น
ธรรมดา ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาใน
ธรรมอันว่างเปล่า จึงเป็นญาณวิวัฏฏญาณ ฯ…”

“...ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ...สลัดกิเลส
ทั้งปวงออกด้วยอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสลัดออก (แต่ละอย่าง)
จึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ (แต่ละอย่าง) ฯ...”
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นธรรมละเอียดเป็นธรรมประณีตคือ
ในสังฆสูตร อธิบายธรรมละเอียดและประณีต ไว้ดังนี้

“...ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตดำรงอยู่ในภายใน
สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ สมัยนั้น สมาธินั้นเป็นธรรมละเอียด ประ-
*ณีต ได้ความสงบระงับ ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีการห้ามการข่มกิเลส
ด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง และภิกษุนั้นจะโน้มน้อมจิตไป เพื่อทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ เธอย่อม
สมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เรา
พึงแสดงฤทธิ์หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็น
คนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุกำแพงภูเขาไปได้ไม่
ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดิน
บนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบ
คลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อ
เหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงฟังเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และ
เสียงมนุษย์ ทั้งในที่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของ
มนุษย์ เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้า
ภิกษุนั้นหวังว่าเราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือ
จิตมีราคะพึงรู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะก็พึงรู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจาก
โทสะ จิตมีโมหะก็พึงรู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็พึงรู้ว่า จิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็พึงรู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็พึงรู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคตก็พึงรู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็พึงรู้ว่า จิต
ไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่น
ยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตเป็นสมาธิ
หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิต
หลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น เธอย่อมสมควร
เป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึง
ระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ
บ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติ
บ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง
พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมาก ตลอดวิวัฏกัปเป็น
อันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพ
โน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ
อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง
เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนๆ ได้
เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมสมควร
เป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึง
เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่ง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโน-
*ทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อ
ตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ
ยึดถือการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เรา
พึงเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่ง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรม
นั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ
ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อ
เหตุมีอยู่เป็นอยู่ ฯ”
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0

สภาวธรรมละเอียดและประณีตนี้ เอาไว้ท่านไหนปฎิบัติถึงเจริญถึงก็จะรู้เองเห็นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 12:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนของการละอวิชชา ไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะสิ้นไป การข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชาและขันธ์ ด้วยอาการ ๑๖ ร่วมกันนี้ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีพระนิพพานเป็นโคจรนั้น โดยสภาวะเมื่อผู้ที่ละอวิชชาได้แล้ว จะรู้ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ของขันธ์ทั้ง ๕ เพราะละอุปทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว กิเลสที่เคยวิปัสสนาออกไปด้วยความยากลำบากก็จะหมดไปพร้อมๆ กับการละอวิชชา การรู้อนัตตา การได้วิชชา ว่าขันธ์ท้ง ๕ นั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่เรา แต่อย่างใด ความรู้ทั้งหมดนี้นั้นจะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีนิพพานเป็นโคจร ในช่วงได้วิชชานี้ค่ะ


ส่วนว่าด้วยเป็นธรรมไม่มีนิมิต ด้วยความไม่มีที่ตั้งนั้นกล่าวคือ เป็นสภาวะหลังจากบรรลุโคตรภูฌานในการออกจากนิมิตทั้งปวงได้แล้ว การมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ จะไม่มีนิมิตใดๆ ปรากฏ เพราะเหตุนั้น และด้วยธรรม ๒ คือสมถวิปัสสนาเป็นธรรมคู่กันด้วย อีกทั้งด้วยสภาวะไม่มีที่ตั้ง คือสภาวะในร่างกายจะมีสภาพโล่งกลวงภายในอก ไร้ซึ่งที่ตั้งทั้งปวง เพราะปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ แล้ว จึงไร้ซึ่งที่ตั้งภายในสกลกายนั้น สภาวะที่รู้คือสภาวะสุญญตา สภาวะที่ดับผัสสะ ดับวิญญาณขันธ์(ตัวผู้รู้) ดับอายตนะได้แล้ว การตามดูภายในสกลกายก็จะรู้เพียงลมหายใจเข้าออกที่กระทบหน้าอกอันแสดงให้เห็นถึงการยังมีไออุ่น การมีชีวิตอยู่ การคิดการพิจารณาจะใช้สมองใคร่ครวญแก้ไขไปตามเหตุ ปัจจัยที่มากระทบเท่านั้น
(ตามความคิดเห็นของผู้เขียน
เห็นว่าสภาวะในการดับผัสสะ ดับอายตนะ ดับกิเลสจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความต่างของบุคคล ทั้ง ๗ บุคคล)

สภาวะด้วยความว่างเปล่าที่ได้จากมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีพระนิพพานเป็นโคจร คือ สภาวะสุญญตา มีพระสูตรแสดงไว้โดยเฉพาะ ขอคัดมาเฉพาะที่รู้เห็นในสภาวะและมีความเข้าใจแล้ว ดังนี้

ยุคนัทธวรรค สุญกถา
“...พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่
เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตน
และสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
รูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จักขุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่
เนื่องด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ
กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญ
จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
โลกสูญ ฯ…”
“...สิ่งที่สูญสูญเป็นไฉน จักษุสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
หูสูญ ฯลฯ จมูกสูญ ลิ้นสูญ กายสูญ ใจสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้สิ่งที่สูญสูญ ฯ

“...วิกขัมภนสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้วและ
สูญไป พยาบาทอันความไม่พยาบาทข่มแล้วและสูญไป ถีนมิทธะอันอาโลก
สัญญาข่มแล้วและสูญไป อุทธัจจะอันความไม่ฟุ้งซ่านข่มแล้ว และสูญไป
วิจิกิจฉาอันการกำหนดธรรมข่มแล้วและสูญไป อวิชชาอันญาณข่มแล้วและสูญไป
อรติอันความปราโมทย์ข่มแล้วและสูญไป นิวรณ์อันปฐมฌานข่มแล้วและสูญไป
ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคข่มแล้วและสูญไป นี้วิกขัมภนสูญ ฯ…”
“... สมุจเฉทสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะตัดแล้วและ
สูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานตัดแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรค
ตัดแล้วและสูญไป นี้สมุจเฉทสูญ ฯ…”
“... ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน จักษุภายในและรูป
ภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความ
ยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายในและเสียง
ภายนอก ฯลฯ จมูกภายในและกลิ่นภายนอก ลิ้นภายในและรสภายนอก
กายภายในและโผฏฐัพพะภายนอก ใจภายในและธรรมารมณ์ภายนอก ทั้งสอง
นั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง
และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ทั้งภายในและภายนอกสูญ ฯ
[๖๔๘] ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนเสมอ
กันและสูญไป อายตนะภายนอก ๖ ... หมวดวิญญาณ ๖ ... หมวดผัสสะ ๖
... หมวดเวทนา ๖ ... หมวดสัญญา ๖ ... หมวดเจตนา ๖ เป็นส่วนเสมอกัน
และสูญไป นี้ส่วนเสมอกันสูญ ฯ…”
“... อีกประการหนึ่ง เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
*นิพพานธาตุ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุ
อื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นไป
แห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความ
เป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล
สูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ”
จบสุญกถา
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 12:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


4.ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมีอย่างไร ฯ

“...[๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี
อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึก
ถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ
ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดย
ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิต
ที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ
ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร)
อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุ
นึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความ
ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความ
เป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
เป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม
ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้ง
มั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิด
อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส
ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความ
เป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึก
ถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ
[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อ
ภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส
ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบ
อยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อม
เกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อม
สิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ
จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก
ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ
๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
นึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึง
ความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจาก
จิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป
จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่
ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย
ฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด
แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ
ฉะนี้แล ฯ”
จบยุคนัทธกถา
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 12:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำบางส่วนขออรรถกถามาวางไว้เพราะอธิบายไว้ชัดเจนแล้วในส่วนของวิปัสสนูกิเลส ๑๐ นี้

อรรถกถาธรรมุทธัจจวารนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในธรรมุทธัจจวาระดังต่อไปนี้.
“...หากว่า การสอบสวนเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรแม้ผู้มีจิตเศร้าหมองด้วยความพอใจ พระโยคาวจรนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ธรรมดาวิปัสสนามีสังขารเป็นอารมณ์ มรรคและผลมีนิพพานเป็นอารมณ์ แม้จิตเหล่านี้มีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น โอภาสนี้มิใช่มรรค อุทยัพพยานุปัสสนาเท่านั้นเป็นมรรคของนิพพาน…”
“...ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุ
ผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งธรรมโดย
ชอบ แต่กาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาความเกิดและ
ความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งหลาย แต่กาลนั้นๆ ภิกษุย่อม
ได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้นเป็นอมตะ
ของภิกษุผู้รู้แจ้งทั้งหลาย…”

“...ความสงบแห่งกายและจิตสัมปยุตด้วยวิปัสสนา พร้อมด้วยความเป็นของเบาเป็นต้น ยังความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์นี้ให้สำเร็จย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น.
...สุขย่อมเกิดขึ้น คือสุขสัมปยุตด้วยวิปัสสนาอันยังสรีระทั้งสิ้นให้ชุ่มชื้น ย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้นแก่ภิกษุนั้น…”
บทว่า อธิโมกฺโข อุปฺปชฺชติ อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ย่อมเกิดขึ้น คือศรัทธาสัมปยุตด้วยวิปัสสนาอันเป็นความเลื่อมใสอย่างแรงของจิตและเจตสิกย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้นแก่ภิกษุนั้น.
บทว่า ปคฺคาโห อุปฺปชฺชติ ปัคคาหะ (ความเพียร) ย่อมเกิดขึ้น คือความเพียรสัมปยุตด้วยวิปัสสนาอันประคองไว้ดีแล้ว ไม่ย่อหย่อนและไม่ตึงจนเกินไป ย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้นแก่ภิกษุนั้น.
บทว่า อุปฏฺฐานํ อุปฺปชฺชติ อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) ย่อมเกิดขึ้น คือสติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ตั้งไว้ด้วยดีแล้ว ฝังแน่น ไม่หวั่นไหว เช่นกับภูเขาหลวงย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้นแก่ภิกษุนั้น.
ภิกษุนั้นย่อมนึกถึง รวบรวม ทำไว้ในใจ พิจารณาถึงฐานะใดๆ ฐานะนั้นๆ แล่นออกไป ย่อมปรากฏแก่ภิกษุนั้นด้วยสติดุจปรโลก ปรากฏแก่ผู้ได้ทิพยจักษุฉะนั้น.
บทว่า อุเปกฺขา คือ ความวางเฉยด้วยวิปัสสนาอันเป็นกลางในสังขารทั้งปวง มีกำลังย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้น แม้ความวางเฉยด้วยการพิจารณา ย่อมเกิดในมโนทวาร.
จริงอยู่ ความวางเฉยด้วยการพิจารณานั้นเมื่อภิกษุนั้นพิจารณาถึงฐานะนั้นๆ เป็นความกล้าแข็ง ย่อมนำไปดุจวชิระของพระอินทร์ที่ปล่อยออกไป และดุจลูกศรเหล็กอันร้อนที่แล่นออกไปที่ภาชนะใบไม้. ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคอย่างนี้.
อนึ่ง ในบทนี้ว่า วิปสฺสนูเปกฺขา อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ได้แก่ อุเบกขา คือวางตนเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ สัมปยุตด้วยวิปัสสนา.
จริงอยู่ เมื่อยึดถือวิปัสสนาญาณ ก็จะมีโทษด้วยคำพูดอีกว่า ญาณ ย่อมเกิด เพราะวิปัสสนาญาณมาถึงแล้ว.
...เพราะฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงอุเบกขา คือ ความเป็นกลางในอารมณ์นั้น สัมปยุตด้วยวิปัสสนาจึงไม่มีโทษในการพูดอีก และสมด้วยการพรรณนาตติยฌาน…
...นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น คือความพอใจมีอาการสงบ สุขุมทำความอาลัยในวิปัสสนาอันประดับด้วยโอภาสเป็นต้นอย่างนี้ย่อมเกิดขึ้น ความพอใจใดไม่อาจแม้กำหนดลงไปว่าเป็นกิเลส ดุจในโอภาส เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น.
พระโยคาวจรคิดว่าญาณเห็นปานนี้ ไม่เคยเกิดแก่เรามาก่อนจากนี้ ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข์ ปัคคหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ เห็นปานนี้เคยเกิดแล้ว เราเป็นผู้บรรลุมรรค เราเป็นผู้บรรลุผลแน่นอน แล้วถือเอาสิ่งมิใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งมิใช่ผลว่าเป็นผล...
...เพราะพระโยคาวจรผู้ไม่ฉลาด ไม่เปรื่องปราชญ์ด้วยอำนาจแห่งอุปกิเลส ๓๐ ดังกล่าวแล้วในบทก่อน ย่อมหวั่นไหวในโอภาสเป็นต้น ย่อมพิจารณาโอภาสเป็นต้นอย่างหนึ่งๆ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา…
… อนึ่ง เพราะพระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต เปรื่องปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยความรู้ เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้น ย่อมกำหนด ย่อมสอบสวนโอภาสนั้นด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็โอภาสนั้นแลเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายราคะเป็นธรรมดา มีการดับกิเลสเป็นธรรมดาด้วยประการดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรนั้นมีความดำริอย่างนี้.
หากโอภาสพึงเป็นตัวตน พึงควรที่จะถือเอาว่าเป็นตัวตน แต่โอภาสนี้มิใช่ตัวตน ยังถือกันว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรเมื่อเห็นว่า โอภาสนี้มิใช่ตัวตน เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ จึงถอนทิฏฐิเสียได้.
หากว่า โอภาสพึงเป็นสภาพเที่ยง พึงควรเพื่อถือเอาว่าเป็นสภาพเที่ยง แต่โอภาสนี้เป็นสภาพไม่เที่ยง ยังถือกันว่าเป็นสภาพเที่ยง เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนี้เมื่อเห็นว่าเป็นสภาพไม่เที่ยง เพราะมีแล้วไม่มีย่อมถอนมานะเสีย.
หากว่า โอภาสพึงเป็นความสุข พึงควรถือเอาว่า เป็นความสุข แต่โอภาสนี้เป็นความทุกข์ ยังถือเอาว่าเป็นความสุข เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนี้เมื่อเห็นว่าเป็นความทุกข์ เพราะเกิดขึ้นสิ้นไปและบีบคั้น ย่อมถอนความพอใจ ดุจในโอภาส.
แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น.
พระโยคาวจรครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นโอภาสว่า นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่กวัดแกว่ง ไม่หวั่นไหว ในโอภาสเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระอานนทเถระเมื่อแสดงความนั้น จึงกล่าวคาถาว่า อิมานิ ทส ฐานานิ ฐานะ ๑๐ ประการเหล่านี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทส ฐานานิ คือ มีโอภาสเป็นต้น.
บทว่า ปญฺญายสฺส ปริจฺจิตา ภิกษุนั้นกำหนดด้วยปัญญา คือ กำหนดถูกต้อง อบรมบ่อยๆ ด้วยปัญญา พ้นจากอุปกิเลส.
บทว่า ธมฺมุทฺธจฺจกุสโล โหติ เป็นผู้ฉลาด ในความนึกถึงโอภาสเป็นต้น อันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน คือพระโยคาวจรเป็นผู้กำหนดฐานะ ๑๐ อย่างด้วยปัญญา เป็นผู้ฉลาดด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงแห่งธรรมุทธัจจะ มีประการดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.
บทว่า น จ สมฺโมหคจฺฉติ ย่อมไม่ถึงความหลงใหล คือไม่ถึงความหลงใหลด้วยการถอนตัณหา มานะและทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจะ…”
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 12:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ในอรรถกถาอธิบายละเอียดและชัดเจนแล้ว โอภาสที่เกิดขึ้นในตติยฌาน อันเกิดจากการพิจารณาวิปัสสนาขันธ์ ๕ โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมเกิดมีขึ้นได้ พระโยคาวจรที่ฉลาดจะต้องนำโอภาสนั้นมาพิจารณาวิปัสสนาอีกด้วยว่า โอภาสนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่เราแต่อย่างใด ด้วยเป็นต้น
ขอนำข้อมูล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หมายถึง อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ อย่าง คือ
• โอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)
• ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้
• ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ
• ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็น
• สุข หมายถึง ความสุขสบายใจ
• อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ
• ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี
• อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด
• อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง
• นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจ
เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาสามารถยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ที่ละอย่างๆ จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เกิดเป็นวิปัสสนาญาณอ่อนๆ (หรือตรุณวิปัสสนา เช่น ในช่วงอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ) ในช่วงนี้ก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมา…”

อุปกิเลสที่เกิดจากการวิปัสสนาเหล่านี้ เช่น แสงสว่าง จะเกิดขึ้นเต็มส่วนหน้าผากเต็มทั้งหมด พอหลับตาปุ๊ปแสงจ้าเกิดขึ้นทันที ครั้งแรกที่เห็นโยคาวจรที่ฉลาดจะต้องพิจารณาวิปัสสนาแสงสว่างนั้นด้วย ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
หลังจากเกิดแสงสว่างในฌานนั้นทำให้ไปรู้ไปเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น เห็นเทวดาและวิมานของท่าน อันเป็นผลจากฌาน
ทำให้หยั่งรู้สิ่งต่างๆ ได้ก็ให้นำ ราหุลสูตร ๒ มาวิปัสสนาเพื่อเมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล ใจจึงจะ
ปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก
เป็นของก้าวล่วงด้วยดีในส่วนแห่งมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว

“ ราหุลสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้การเห็นที่ทำให้ปราศจากอหังการมมังการและมานานุสัย
[๒๓๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอ ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิต ภายนอก เป็นของก้าวล่วงด้วยดี ในส่วนแห่งมานะ
สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือ
ในที่ใกล้ บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเราแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใด
อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ บุคคลพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
แล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น. ดูกรราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล ใจจึงจะ
ปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก
เป็นของก้าวล่วงด้วยดีในส่วนแห่งมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว.”
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=0

ส่วนปิติ ความสงบ เย็นใจ ความน้อมใจเชื่อ ความมีสติที่คมชัด ย่อมเกิดขึ้นพระโยคาวจรที่ฉลาดก็ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น
ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเราเป็นของเรา เพราะมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์เมื่อมันปรวนแปรไป และเป็นอนัตตา ก็เท่านั้น
สำหรับอุเบกขา ถึงแม้จะเป็นกุศลทั้งหมด อุเบกขาก็ยังเป็นสังขาร ก็ต้องนำมาพิจารณาวิปัสสนาว่า อุเบกขานี้ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเช่นกันแล้วอุปกิเลสแห่งจิตเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น ก็จะเจริญขึ้นเป็นสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในฌาน ๔ ได้ง่ายๆ เพื่อสัมมาญานะ เพื่อสัมมาวิมุติ

หรือถ้าดูจากวิสุทธิ 7 จะเห็นว่าเป็นช่วงการปฎิบัติเพื่อเข้าถึง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
เปรียบดังการนั่งรถ ๗ ผลัดเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 12:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


รถวินีตสูตร
“...สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ
ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ
กังขาวิตรณวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ
ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน
ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน…”

ตัวอย่างที่เกิดจากสภาวะที่ปฎิบัติเมื่อแสงหรือโอภาสเกิด แสงจะปรากฏพุ่งออกมาจากหน้าผากเต็มส่วนหน้าผากส่วนบน
เมื่อเราหลับตาภาวนาเหมือนเราลืมตาเข้าสู่โลกอีกโลกหนึ่งซึ่งสว่างเวิ้งว้างไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา เหมือนมันคอยภาพมาปรากฎ และก็มีนิมิตมาปรากฏมากมาย เช่นภพภูมิเทวดา หรือภาพนิมิตพระพุทธรูปนั่งปรางสมาธิ สีทองอร่ามทั้งองค์
แสงสีทองเข้าตาวาบ ลอยนิ่งอยู่ตรงหน้าอย่างนั้นก็มี และเมื่อออกจากสมาธิภาวนาแล้ว ขณะลืมตาตื่นขึ้นมา นิมิตพระพุทธรูปสีทองอร่ามนั้นยังลอยอยู่ข้างหน้าเราตลอดเวลาทั้งวันขณะปฎิบัติภารกิจประจำวันก็มี การละนิมิตเหล่านี้ก็ละง่ายๆ ก็นำรูป นำแสงหรือโอภาส นำปิติ สุข ฯลฯ นั้นมาพิจารณาวิปัสสนาไปว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ดังคำสอนของพระพุทธองค์ในราหุลสูตร ที่ว่า
“...รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือ
ในที่ใกล้ บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเราแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใด
อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ บุคคลพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
แล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น. ดูกรราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล ใจจึงจะ
ปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก
เป็นของก้าวล่วงด้วยดีในส่วนแห่งมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว.”

การวิปัสสนาอุปกิเลสทั้ง ๑๐ นี้ ตัวหลักๆ ก็คือแสง โอภาสนี้ และนิมิต รวมทั้งนิมิตที่เกิดจากการเจริญสติปัฎฐาน ๔
คือ รูปนิมิตอาการ ๓๒ อสุภ อสุภา ต่างๆ ก็ให้นำมาพิจารณาว่าเป็นเพียงธาตุ สักแต่ว่าธาตุเท่านั้น มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา นิมิตทั้งนอกและในนี้ก็จะดับไปพรึบ ป่นเป็นธาตุดิน เป็นฝุ่นผงสีดำ สลายเป็นธาตุดินไปทั้งหมด พิจารณาอย่างไรๆ ก็ไม่ปรากฏนิมิตกายนี้อีกต่อไป สมาธิก็จะบรรลุสัมมาสมาธิ อันมีอุเบกขาอันเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เพื่อสัมมาญานะ และสัมมาวิมุติ อันเป็นการดับสังโยชน์ได้ทั้งหมด
ละอวิชชา ละกิเลสอาสวะได้หมดสิ้น อันเป็นการเจริญญาณที่เป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน
สติก็จะเป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค สมาธิก็จะเป็นสมาธินทรีย์ เป็นสมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคค่ะ เพื่อบรรลุนิพพาน อันเป็นที่สิ้นสุดวัธทุกข์ เพราะขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๓ นี้ล้วนทุกข์ ไม่เที่ยง และเป็นอนัตตา

ผู้เขียนได้อธิบายถึงสภาวะโดยนำพระไตรปิฎกอันเป็นคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้ามาประกอบไว้ เพื่อจะได้ไม่ปฎิบัติผิดไปจากพระธรรมที่พระองค์ท่านทรงตรัสสอนไว้ และถ้า ผู้เขียนเขียนผิด อธิบายผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดขอผู้รู้ ครูอาจารย์ทุกท่าน
ช่วยอนุเคราะห์ผู้เขียนเข้ามาแก้ไขในสิ่งถูกให้ด้วยค่ะ น้อมกราบขอบพระคุณค่ะ

ด้วยผู้เขียนแม้สภาวะจะอยู่กับความว่างเปล่า แต่ก็ยังมีภาระที่สำคัญอยู่ อันเป็นสิ่งที่ผู้เขียนตั้งใจไว้สูงสุดคือ ตอบแทนพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ของผู้เขียนเอง เพื่อให้ท่านพบสุขในทางโลก และ พบสุขทางธรรมด้วย
คุณพ่อคุณแม่ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่มากๆ ท่านเริ่มนั่งสมาธิภาวนาแล้วเพราะพระอาจารย์ในหมู่บ้านสอนท่านว่าการตักบาตรจนบาตรรั่วยังไม่เท่าภาวนา ท่านเริ่มภาวนาแล้วค่ะ
และท่านก็นำมาเล่า มาคุยกับผู้เขียน ภาระทั้งทางโลกในกิจการงานต่างๆ ผู้เขียนก็ร่วมช่วยท่านทำให้เป็นสัมมาชีพ
ทำให้ท่านมีความสุขในโลกที่ท่านอยู่ และคอยดูแลในทางธรรมด้วยค่ะ จึงไม่มีเวลามากนัก จึงขอลาทุกท่าน ณ ที่แห่งนี้ไปด้วยเลยนะคะ อีกหลายๆ ปี เมื่อผู้เขียนหมดภาระแล้วจะมาร่วมสนทนาธรรม อันเป็นบุญ เป็นกุศล กับทุกท่านนะคะ
ความรู้ที่ผู้เขียนมีก็เขียนเล่าไปทั้งหมดแล้วค่ะ สิ่งที่สำคัญคือพระธรรมที่ท่านสอนไว้ในพระไตรปิฎก ที่ครอบครุมไว้ทุกสิ่งทุกอย่างไว้หมดแล้ว ควรแก่การกราบไหว้ บูชา เป็นหลักในการปฎิบัติต่อไป อีกทั้งพระอริยเจ้าทั้งหลายที่ท่าน สละเวลา
ของท่านมามอบธรรม ความรู้สั่งสอนก็มีอยู่มากมาย ขอน้อมกราบพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กราบสาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 12:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue :b46: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 23:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แก้วเก้า เขียน:
ด้วยผู้เขียนแม้สภาวะจะอยู่กับความว่างเปล่า แต่ก็ยังมีภาระที่สำคัญอยู่ อันเป็นสิ่งที่ผู้เขียนตั้งใจไว้สูงสุดคือ ตอบแทนพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ของผู้เขียนเอง เพื่อให้ท่านพบสุขในทางโลก และ พบสุขทางธรรมด้วย
คุณพ่อคุณแม่ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่มากๆ ท่านเริ่มนั่งสมาธิภาวนาแล้วเพราะพระอาจารย์ในหมู่บ้านสอนท่านว่าการตักบาตรจนบาตรรั่วยังไม่เท่าภาวนา ท่านเริ่มภาวนาแล้วค่ะ
และท่านก็นำมาเล่า มาคุยกับผู้เขียน ภาระทั้งทางโลกในกิจการงานต่างๆ ผู้เขียนก็ร่วมช่วยท่านทำให้เป็นสัมมาชีพ
ทำให้ท่านมีความสุขในโลกที่ท่านอยู่ และคอยดูแลในทางธรรมด้วยค่ะ จึงไม่มีเวลามากนัก จึงขอลาทุกท่าน ณ ที่แห่งนี้ไปด้วยเลยนะคะ อีกหลายๆ ปี เมื่อผู้เขียนหมดภาระแล้วจะมาร่วมสนทนาธรรม อันเป็นบุญ เป็นกุศล กับทุกท่านนะคะ
ความรู้ที่ผู้เขียนมีก็เขียนเล่าไปทั้งหมดแล้วค่ะ สิ่งที่สำคัญคือพระธรรมที่ท่านสอนไว้ในพระไตรปิฎก ที่ครอบครุมไว้ทุกสิ่งทุกอย่างไว้หมดแล้ว ควรแก่การกราบไหว้ บูชา เป็นหลักในการปฎิบัติต่อไป อีกทั้งพระอริยเจ้าทั้งหลายที่ท่าน สละเวลา
ของท่านมามอบธรรม ความรู้สั่งสอนก็มีอยู่มากมาย ขอน้อมกราบพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กราบสาธุ สาธุ สาธุ


:b1: :b1: :b1:

...ค่ะ...


:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2017, 07:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อนุโมทนาสาธุกับคุณแก้วเก้าในประสบการณ์ธรรมที่มีค่ายิ่งและอ้างอิงคำสอนของพระบรมศาสดาดังมีมาในคัมภีร์ได้อย่างตรงประเด็นและแม่นยำ เป็นแบบอย่างที่ดี ติดใจอยู่นิดหนึ่งกับคำพูดของคุณแก้วเก้าที่ว่า

อ้างคำพูด:
ด้วยผู้เขียนแม้สภาวะจะอยู่กับความว่างเปล่า


ความว่างเปล่า

กับ

ความไม่มีอะไร

สองคำนี้อันไหนน่าจะลึกซึ้งกว่ากันในความเป็นสภาวะครับ? :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2017, 07:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
อนุโมทนาสาธุกับคุณแก้วเก้าในประสบการณ์ธรรมที่มีค่ายิ่งและอ้างอิงคำสอนของพระบรมศาสดาดังมีมาในคัมภีร์ได้อย่างตรงประเด็นและแม่นยำ เป็นแบบอย่างที่ดี ติดใจอยู่นิดหนึ่งกับคำพูดของคุณแก้วเก้าที่ว่า

อ้างคำพูด:
ด้วยผู้เขียนแม้สภาวะจะอยู่กับความว่างเปล่า


ความว่างเปล่า

กับ

ความไม่มีอะไร

สองคำนี้อันไหนน่าจะลึกซึ้งกว่ากันในความเป็นสภาวะครับ? :b20:


มาอวดโง่อีกแหละ

ถามก็ถามแบบโง่ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2017, 07:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
asoka เขียน:
:b8:
อนุโมทนาสาธุกับคุณแก้วเก้าในประสบการณ์ธรรมที่มีค่ายิ่งและอ้างอิงคำสอนของพระบรมศาสดาดังมีมาในคัมภีร์ได้อย่างตรงประเด็นและแม่นยำ เป็นแบบอย่างที่ดี ติดใจอยู่นิดหนึ่งกับคำพูดของคุณแก้วเก้าที่ว่า

อ้างคำพูด:
ด้วยผู้เขียนแม้สภาวะจะอยู่กับความว่างเปล่า


ความว่างเปล่า

กับ

ความไม่มีอะไร

สองคำนี้อันไหนน่าจะลึกซึ้งกว่ากันในความเป็นสภาวะครับ? :b20:


มาอวดโง่อีกแหละ

ถามก็ถามแบบโง่ๆ

:b11:
คนทั้งท้วงยิ่งโง่ไปใหญ่หรือโง่สุดๆ เพราะมีจิตใจอันหยาบกร้าน ไม่รู้ซึ้งถึงความละเอียดอ่อนของบัญญัติคำพูดที่ใช้แต่ละคำว่ามีความหมายต่างกันในส่วนของรายละเอียดและสภาวะธรรม
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2017, 07:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ธรรมมา เขียน:
asoka เขียน:
:b8:
อนุโมทนาสาธุกับคุณแก้วเก้าในประสบการณ์ธรรมที่มีค่ายิ่งและอ้างอิงคำสอนของพระบรมศาสดาดังมีมาในคัมภีร์ได้อย่างตรงประเด็นและแม่นยำ เป็นแบบอย่างที่ดี ติดใจอยู่นิดหนึ่งกับคำพูดของคุณแก้วเก้าที่ว่า

อ้างคำพูด:
ด้วยผู้เขียนแม้สภาวะจะอยู่กับความว่างเปล่า


ความว่างเปล่า

กับ

ความไม่มีอะไร

สองคำนี้อันไหนน่าจะลึกซึ้งกว่ากันในความเป็นสภาวะครับ? :b20:


มาอวดโง่อีกแหละ

ถามก็ถามแบบโง่ๆ

:b11:
คนทั้งท้วงยิ่งโง่ไปใหญ่หรือโง่สุดๆ เพราะมีจิตใจอันหยาบกร้าน ไม่รู้ซึ้งถึงความละเอียดอ่อนของบัญญัติคำพูดที่ใช้แต่ละคำว่ามีความหมายต่างกันในส่วนของรายละเอียดและสภาวะธรรม
:b38:


ละเอียดขนาดไหนว่ามาหน่อย จะได้หายโง่กะเขามั่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2017, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ขอแสดงความคิดเห็น
ไม่รู้คือกิเลสมีมากมาย
สมถะคือสงบจากอกุศล
วิปัสสนานี่คือสติตรงจริง
คือการปฏิบัตที่เข้าถึงจริง
ได้แก่สมาธิที่จิตตั้งมั่นคง
ไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งที่เห็น
แต่เป็นสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว
ที่กายใจตนตรงปัจจุบันขณะซึ่ง
เป็นไปเพื่อการละความไม่รู้เพื่อรู้
แล้วรู้นั้นละไม่รู้เองตรงตามคำจริง
ที่ระลึกได้ตามคำสั่งสอนของตถาคต
เพราะไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน...แต่เป็น
สภาพธรรมที่เกิดดับตามเหตุตามปัจจัย
แล้วหมดไปทุกขณะจนกว่าจะรู้ความจริง
:b53: :b55: :b53:
onion onion onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร