วันเวลาปัจจุบัน 20 พ.ค. 2025, 03:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


สนทนาสมถวิปัสสนาจากการปฎิบัติ
ขอน้อมกราบพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กราบสาธุ สาธุ สาธุ
ขอน้อมกราบครู อาจารย์ทุกท่านที่มีพระคุณให้คำชี้แนะแนวทางการปฎิบัติที่ถูกต้องด้วยความเมตตา กรุณา เสมอมาด้วยค่ะ
และขออนุโมทนาสาธุผู้เจริญอริยมรรค ๘ ปฎิบัติธรรม ๒ สมถและวิปัสสนาด้วย สาธุ กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่ออธิบายธรรม๒
คือสมถ วิปัสสนา ในส่วนของสภาวะอันเกิดจากการปฎิบัติให้ละเอียดขึ้นเพื่อความเข้าใจสภาวะที่เกิดในแต่ละมรรค ในมรรคทั้ง ๔

เริ่มจากการนำพระสูตร ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา มาศึกษา ที่ท่านกล่าวถึงการพยากรณ์อรหัตด้วยมรรค ๔ มรรค ทั้งหมด
หรือ ด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๔ มรรคนี้
1.เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
“… ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้
สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ
เป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วง
เกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ
สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด ...
คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น ...
รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพ
พิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่า
เสพ ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่
ชื่อว่าเสพ ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพ
กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ เจริญ
ธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อม
เสพอย่างนี้ ฯ
คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่า
เจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ
คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร ฯ
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้ ฯ

คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป อย่างไร ฯ
ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
*ปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วย
โสดาปัตติมรรค ฯ
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วน
หยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ
ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วน
ละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ
ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อม
สิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ…”
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0

อรรถกถาอธิบายเพิ่มเติมไว้ดังนี้
“...ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น คือเจริญวิปัสสนาทำสมถะให้เป็นเบื้องต้น คือให้ไปถึงก่อน.
ความว่า ยังสมาธิให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง.
...มรรคย่อมเกิด คือโลกุตรมรรคย่อมเกิดก่อน.
...ภิกษุนั้นย่อมเสพมรรคนั้น ชื่อว่าการเสพเป็นต้นของมรรค อันมีขณะจิตเดียวย่อมไม่มี ภิกษุยังทุติยมรรคเป็นต้นให้เกิด ท่านกล่าวว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น.
...ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป คือย่อมละสังโยชน์ทั้งปวงได้ตามลำดับตลอดถึงอรหัตมรรค อนุสัยย่อมสิ้นไป.
...อนุสัยปราศจากไปโดยไม่เกิดขึ้นอีก…”
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นมรรคที่ผู้เจริญจะเป็นผู้ที่มากไปด้วยสมาธิ
นำธรรมที่เกิดในสมาธิฌานนั้นที่เห็นด้วยฌานจักษุ ทั้งเรื่อง ธาตุ ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) อายตนะ ปจิตสมุทบาท ฯลฯ ที่เห็นได้จากจักษุฌานนั้นๆ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เพื่อละกิเลสอาสวะและอวิชชา

ขันธ์ที่ปรากฏส่วนรูป เช่นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อาการ 32 ต่างๆ อสุภ อสุภา หรือรูปที่ไกล รูปที่ใกล้ก็ตาม
ผู้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นก็เจริญเช่นนี้จนกระทั่งส่วนของรูปนี้ดับไปกลายเป็นธาตุดิน ดับไปเป็นเพียงฝุ่นสีดำไป
พิจารณาอย่างไรๆ ก็ไม่ปรากฏนิมิตขึ้นได้อีกดับพลึบไปเป็นต้น

ในพระสูตรอื่นได้มีคำสอนเรื่องอินทรีย์สังวร สังวรปธารความเพียรระวังเห็นรูปด้วยจักษุ ไม่ถือนิมิต ไม่ถือพยัญชนะ
ให้สำรวม ผัสสะทางอื่นอีกรวมหกทางนี้ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตก็ให้สำรวม สิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นต้น


ในส่วนของนาม คือเวทนา ๓ ทุกข์เวทนา สุขเวทนา ไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนา ก็ให้มองโดยสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนกระทั่งเวทนา ๓ ดับไป เป็นต้นหลังจากท่านละเวทนาได้สภาวะที่รู้สึกได้คือสามารถแยกเวทนาที่เกิดกับกาย กับเวทนาที่เกิดกับจิตได้
สภาวะในเรื่องเวทนาคือ มีวันหนึ่งเป็นทุกข์มากเพราะอยากบวช แต่ครอบครัวไม่เห็นด้วย
คิดว้าวุ่นในทุกข์ทั้งวัน จนกระทั่งเย็นๆ มีเสียงสอนขึ้นมาเบาๆ ว่า”เป็นอนัตตา” พอได้ยินเช่นนั้น
ทุกข์ที่คิดมาทั้งวันหายไปอย่างปลิดทิ้ง
แล้วก็พิจารณาขึ้นมาเองว่าแล้วความสุขที่ได้รับในทุกวันนี้มันก็อนัตตาเช่นกันสิ พอพิจารณาได้ จิตมันก็ลอยเฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนาก็เกิดขึ้นมาให้รับรู้ จิตลอยเฉยๆ ให้ผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนาอยู่เช่นนั้นอยู่ประมาณหนึ่งเดือน จิตที่เห็นได้ในขณะนั้นยังไม่ปักแน่นลอยกระเพื่อมๆ ในอกตลอดเวลาให้รับรู้ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนา ให้รู้ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหลับไป และก็ดับไป ทำให้รู้ว่าไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนาก็ดับไปได้เช่นกันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา สภาวะนี้ก็คือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาในสติปัฎฐาน ๔ และพิจารณาวิปัสสนาไปโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำให้ละเวทนา ๓ ได้ในที่สุด

สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นกัน ก็ให้พิจารณาไปเช่นเดียวกัน ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมที่เนื่องด้วยจิต
ท่านก็จะพิจารณาเห็นจิตในจิต ก็พิจารณาไป สัญญาการจำได้หมายรู้ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต
สังขารจิต จิตปรุงกิเลส กิเลสปรุงจิต ก็นำมาพิจารณาโดยสภาพของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
นำเรื่องกรรม และโลกธรรม ๘ มาพิจารณาด้วยทำให้จิตปักแน่นขึ้นไม่กระเพื่อมไหวไปมาทั้งวันแล้ว
จิตมีราคะ(เกิดขึ้นในลักษณะกิเลสปรุงจิต) จิตมีโมหะ จิตมีโทสะ (จะเกิดขึ้นในลักษณะจิตปรุงกิเลสให้เห็นชัดเจน)
มีสติอยู่กับจิตที่รู้เห็นนั้นทุกวินาทีตลอดเวลาที่ลืมตาตื่น ให้พิจารณาจิตกับกิเลส จิตมีราคะ โทสะ โมหะนี้ว่ามันไม่ใช่เรา
ไม่เป็นเรา มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นอนัตตาค่ะ
ในช่วงนี้ยังต้องพิจารณาจิตกับกิเลสนี้ รบกับกิเลสนี้ทั้งวัน ทุกๆ วัน เพราะสติสัมปชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหลับไป พิจารณาวิปัสสนาไปทุกๆ วัน
(เมื่อจิตเห็นจริงตามสภาพที่มันเป็นจริงๆ แล้วนั้น มันจะเลิกปรุงในที่สุด ทำให้จิตปักแน่น จิตเฉย เป็นอุเบกขา จะอธิบายในช่วงถัดไปค่ะ)

ส่วนของศีล ช่วงนี้จะเกิดหิริ-โอตัปปับ ขึ้นมาในจิต ทำให้ทราบความรู้สึกของการเกรงกลัวต่อบาป ความละอายต่อบาป
ทำให้ศีลตั้งมั่นเป็นอริยศีล วิจิกิจฉา ความสงสัยในธรรมเริ่มหมดไปเพราะผลของการปฎิบัติ และส่งผลให้เป็นไปตามที่มีปรากฏในพระสูตรนี้คือ เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากย่อมละสังโยชน์ ๓ ได้

“…ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
*ปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วย
โสดาปัตติมรรค ฯ…”


อารมณ์จิตอยู่ที่นิพพานในครั้งแรก
เกิดสภาวะจิตว่างผัสสะใดๆ ไม่กระทบกับจิต จิตจะมีสภาวะว่าง จะมีแต่จิตว่างเป็นผู้รู้ เป็นผู้ดูความว่าง
จิตว่างนี้ ว่างจากอายตนะ ว่างจากผัสสะ ว่างจากทุกสิ่งอยู่นิ่งเฉย จิตจะไม่กระทบกับอะไรๆ เลย อยู่กับสภาวะว่างอยู่อย่างนั้นสองสัปดาห์ ผัสสะไม่กระทบกับจิต และเกิดจิตรู้ผุดขึ้นมาว่านี่คือสภาวะนิพพาน
ฌานรู้นี้ รู้ได้ยังไงไม่รู้ คงเป็นการรู้ด้วยฌาน รู้ด้วยความรู้สึกในฌานบอกเช่นนั้น
และต่อจากนั้นอีกสองสัปดาห์จากจิตว่าง
ก็จะเป็นจิตเฉย ผัสสะไม่กระทบกับจิตเหมือกัน การรู้สภาวะนิพพานนี้รู้ได้รวมระยะเวลาถึงหนึ่งเดือน

(จะไม่ใช่จิตเฉยที่เป็นอุเบกขา เพราะอุเบกขาผัสสะทั้งภายนอกและภายในยังมากระทบอยู่ในระยะใกล้ๆ อยู่ แต่มันมีลักษณะคล้ายจะร่วงหล่นอยู่ข้างๆ กาย ไม่กระทบกับจิต จิตจะอยู่เฉยเป็นอุเบกขา
จิตอยู่ที่อารมณ์พระนิพพานนี้ก็เป็นสภาวะเริ่มแรกที่รู้จัก ก่อน
ที่จะเข้าถึงอุเบกขาฌานในลำดับต่อไปอีกประมาณหนึ่งเดือน)


หลังจากออกจากสภาวะจิตว่างจิตเฉยนี้ ความรู้สึกที่มีต่อขันธ์ ๕ ในขณะนั้นคือรู้สึกเหมือนเราเป็นหอย ตัวเราก็คือจิต
หรือตัวผู้รู้นี้ ร่างกายในส่วนรูปเราไม่หวงแหนแล้วเพราะนั่นไม่ใช่เรา
เพราะบางครั้งเกิดเวทนาทางกาย กายจะกระทบอย่างเดียว จิตไม่กระทบ จิตก็ไม่เวทนาไปด้วย จิตมันไม่กระทบ รู้สึกเช่นนั้น
สภาวะนี้คิดว่าได้ละสักกายอันตะ(ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน)ได้แล้ว
(สภาวธรรมในช่วงนี้จะเป็นช่วงอุทยัพพยานุปัสสนาญาน ภังคานุปัสสนาญาน ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ
นิพพิทานุปัสสนาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ก่อนที่จะบรรลุอุเบกขาฌาน สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ )


“...อันตะ ๓ อย่าง
๑. สักกายอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน]
๒. สักกายสมุทยอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน]
๓. สักกายนิโรธอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน]…”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


การละนิวรณ์ ๕ และสัมมาสติ สัมมาสมาธิ และสังขารุเปกขาฌาน
ช่วงนี้จะเป็น ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และสังขารุเปกขาญาณ
ธรรมที่ควรจะนำมาโยนิโสมนสิการในช่วงนี้นำมาเจริญ เช่น
อุเปกขูปวิจาร ๖ อย่าง
๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอัน
เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา ฯ
ในสังคีติยสูตรนี้มีคำสอน นิสารณีธาตุ ๖ ไว้ สรุปย่อๆ คือ
1. เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตา ทำให้เป็นฌานแล้ว เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท
2. เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยกรุณา ทำให้เป็นฌานแล้ว เป็นเครื่องสลัดออกวิเหสา(ความเบียดเบียน)
3. เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุฑิตา ทำให้เป็นฌานแล้วเป็นเครื่องสลัดออกอรติฯ
(อรติคือความไม่ยินดี ความอิจฉาริษยา เป็นเหตุที่ทำให้เกิดถีนมิทธะ ความหดหู่ใจ)
4. เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขา ทำให้เป็นฌานแล้ว เป็นเครื่องสลัดออกราคะ(สัมมาสมาธิในฌาน ๔)
5. เจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิต ทำให้เป็นฌานแล้ว เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งนิมิตทุกอย่าง
6. การถือว่าเรามีอยู่นี้ เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย ฯ

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0

ในสันทกสูตร และการเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่างใน มหาราหุโลวาทที่ ๒ มีสอนเรื่องการละนิวรณ์ ๕ ไว้อย่างชัดเจนอีกทั้งวิธีเจริญสมาธิเพื่อละนิมิต ดีมากๆ (อ่านเพิ่มเติมจะดีอย่างยิ่ง)

การละนิวรณ์ ๕ ได้ไม่ยากเพราะเกิดจากก่อนนั่งสมาธิจะแผ่เมตตาไม่มีประมาณทุกครั้ง ทำให้เกิดฌานที่สรคตด้วยเมตตา หรือ เมตตาฌานไม่มีประมาณเมตตาอย่างอ่อนหวานในจิต เมตตาอยู่อย่างนั้นทั้งชั่วโมงที่เจริญกรรมฐาน

กรุณาไม่มีประมาณ จิตที่สรคตด้วยกรุณาฌาน หลังจากออกจากสมาธิที่เกิดเป็นฌานแล้ว ตลอดทั้งเดือนจะเกิดสภาวะ
จิตรู้สึกสงสาร จิตเปี่ยมไปด้วยความสงสารในทุกสิ่ง ทำให้ช่วยลดกิเลสได้มากในช่วงนี้ได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะเรื่องของเราและตัวเรา จะไม่มีของๆเราและ ตัวเราที่เห็นแก่ตัวแต่อย่างใด สภาวะจิตแบบนี้ที่มีกรุณาเป็นฌานจิตนี้
ทำให้เรียนรู้ว่า ทุกๆ คนในสังสารวัฎฎ์คือญาติกรรมของเราเอง มุฑิตาฌานจะเป็นองค์ธรรมที่นำมาใช้เมื่อเกิดจักษุฌานเห็นพวกกายทิพย์อันสวยงานตามแต่กุลศลผลบุญของส่วนที่เป็นทิพย์เหล่านั้นจะมาแสดงให้เห็น เราก็มีมุฑิตาจิตและกำหนดสติเพื่อสำรวมรูปที่รู้ที่เห็นนั้นมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาไปค่ะ ทำให้เกิดมุฑิตาฌานได้ค่ะ
การปฎิบัติสมาธิที่เห็นนิมิตด้วยจักษุแล้วทำความสำรวมพิจารณาว่านั่นไม่ใช่เราเป็นอนัตตา มีส่วนช่วยเรื่องการละนิวรณ์ ๕ ได้อย่างรวดเร็ว ผู้เขียนเลยหาพระสูตรมาวางไว้ให้ เช่น มหาราหุโลวาทที่ ๒
การเสพ การเจริญ มากขึ้นๆ ทำให้เกิดสติตลอดเวลา ทำให้บรรลุสัมมาสมาธิอันมีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธ์อยู่ได้


การละนิวรณ์ ๕ และอุเบกขา
การพิจารณาในช่วงนี้เมื่อตากระทบรูปหรือทางอื่นๆอีกทุกทาง พิจารณาว่าเป็นเพียงสักแต่ว่ารู้สักแต่ว่าเห็น เพื่อไม่ให้จิตไปรับอารมณ์ ยกจิตขึ้นมาพิจารณาวิปัสสนาไปว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา จิตจะเริ่มเฉยต่อผัสสะที่มากระทบได้มากขึ้นๆ

จิตฟุ้งซ่าน จิตมีกิเลส จิตปรุงกิเลส ก็ใช้การพิจารณาว่าเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา
ถ้าจิตว้าวุ่นหนักๆ ก็หลบเข้าสู่สมาธิเพื่อพักจิต พอจิตสงบจากสมาธิเลิกปรุง ก็พิจารณาเห็นการเกิดและการดับของจิตที่ปรุงกิเลสนั้นๆ

กิเลสปรุงจิตคือ กิเลสที่เกิดกับกายพวกกามราคะนุสัยสังโยชน์ทั้งหยาบและละเอียด
(สกทาคามิมรรค และอนาคามีมรรค) มาแย็บๆ ให้เห็นตลอดเวลา
เป็นช่วงๆ แต่เนื่องด้วยการที่สามารถแยกอารมณ์ที่เกิดกับกาย กับอารมณ์ที่เกิดกับจิตได้ ทำให้กิเลสปรุงจิตในแทบไม่กระทบกับจิตเลย เพราะจิตมีปัญญารู้แล้วว่าส่วนที่ถือเป็นกายตนนั้นไม่ใช่เราแล้ว
การละการปรุงของกิเลสปรุงจิตนี้จึงไม่ยากเย็นนัก อันเป็นผลจากการพิจารณาแล้วรู้ได้ด้วยปัญญาว่าส่วนกายตนนี้นั้น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเราแต่อย่างใด
สรุปกิเลสปรุงจิตจะเป็นกิเลสที่เกิดขึ้นกับกายมาปรากฏให้รู้ให้เห็นแต่การดับของกิเลสที่เกิดกับกายดับง่ายๆ เพราะจิตมันจะไม่ฟุ้งตาม กิเลสที่เกิดกับกายก็อยู่ส่วนที่เกิดกับกายไม่กระทบจิต

ในส่วนของจิตปรุงกิเลส อันเกิดจากปฎิฆสังโยชน์ ทั้งหยาบในขณะสกทาคามิมรรค และละเอียด ในขณะอนาคามีมรรค
การพิจารณาธรรมในธรรมในช่วงนี้หนักมาก
ปฎิฆานุสัยเริ่มจากหยาบมาถึงละเอียดทำให้ฟุ้งซ่านในจิตได้ตลอดเวลา การนำเรื่องกรรม โลกธรรม ๘ เข้ามาพิจารณาและ การพิจารณากายสักว่าเป็นธาตุ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเป็นเพียงธาตุ ไม่ใช่เราประการใด)
เห็นกิเลสที่อยู่กับจิต ไม่ใช่เรา รวมๆ คือการวิปัสสนาทั้งหมดว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา กิเลสที่เห็นในแต่ละวันก็เริ่มคลายไป และหมดไป ไม่เกิดการปรุงขึ้นมาอีกเลย สุดท้าย จิตก็ตั้งมั่นปักแน่นขึ้น
เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันมีเรื่องอะไรมากระทบเริ่มไม่กระทบกับจิต จิตจะเฉยเป็นอุเบกขา อันเป็นเหตุและผลให้

บรรลุอุเบกขาฌาน(สัมมาสติ) และบรรลุ อัปมัญฌานทั้ง ๔ และบรรลุสัมมาสมาธิภาวนา ในฌาน ๔
การตัดทุกข์ อันเกิดแต่กายและจิตของตัวเองและของผู้อื่นรอบข้างได้
จิตเฉยสงบนิ่ง เรื่องราวทั้งภายในภายนอกไม่มากระทบได้เลย เรื่องราวที่เกิดขึ้นผัสสะมีอยู่ แต่จะไม่นำมากระทบกับจิต เรื่องราวทั้งภายนอกและภายในที่เกิดขึ้นในแต่ละวันที่มากระทบมันจะร่วงหล่นอยู่ข้างๆ กายอย่างเดียว
ไม่ว่าใครจะเอาอะไรมาเล่าให้ฟัง หรือเห็นสิ่งที่เป็นทั้งกุศล และอกุศลใด จิตจะเฉยเป็นอุเบกขา
นี้คือบรรลุสังขารุเปกขาญาณ ทำให้ละสังโยชน์เบื้องต้นได้ทั้ง ๕ ตัวแล้ว และสังโยชน์เบิ้องบนอีกสองตัวอันเป็นผลจากอนาคามีมรรค คือละปฎิฆสังโยชน์ กามราคะสังโยชน์ ทั้งหยาบและละเอียดได้แล้วนั่นเอง
บางท่านอาจสามารถบรรลุสัจจานุดลมิกญาณ(ความหยั่งรู้อริยสัจ)ไว้กล่าวถึงในส่วนต่อไป


“...ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถ
ว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราค-
*สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ย่อมออก
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิต
ภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้น
การระงับประโยคนั้นเป็นผลของมรรค ฯ
[๑๕๐] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถ
ว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราค-
*สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมออก
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิต
ภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้น
การระงับประโยคที่ออกนั้นเป็นผลของมรรค ฯ
[๑๕๑] ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น
ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ ถีนมิทธะ อวิชชา ภวราคานุสัย มานานุสัย อวิชชานุสัย
ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยค
ที่ออกไปนั้น การระงับประโยคที่ออกนั้นเป็นผลของมรรค ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถรู้ว่าชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการระงับประโยคที่ออกนั้น เป็นผลญาณ ฯ”http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=1698&Z=1732&pagebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


บรรลุ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญานะ เพื่อสัมมาวิมุติ
ขอนำพระสูตรมหามาลุงโกฺยวาทสูตร

รูปฌาน ๔
[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละ
อกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ ๑- จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
ความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกร-
*อานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.
ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.
ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.
ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เธอพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น ฯลฯ
เพื่อละสังโยชน์
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
จากพระสูตรมหามาลุงโกฺยวาทสูตร แสดงไว้อย่างชัดเจนว่าบุคคลสามารถละโอรัมภาคิยะสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องบน ๕)
ได้ในปฐมฌาน ทิติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน(ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔)ส่วนอรูปฌานขอนำไปกล่าวถึงช่วงหลังค่ะ

และมีตรัสสอนไว้อีกหลายพระสูตร อาทิ ฌานสูตร ลฑุกิโกกปัมสูตร อัฎฐกนาครสูตร ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ (หรือตัวรู้) ซึ่งปรากฏให้เห็นตลอดเวลา(อันเนื่องจากมรรคที่เพียรปฎิบัติจนเป็นสัมมามรรค
ก็ให้พิจารณาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หรือตามคำสอนที่สอนไว้ในแต่ละพระสูตรตามความถนัดของแต่ละท่าน

จนสามารถดับวิญญาณตัวรู้ได้ ดับอวิชชาได้ กิเลสอาสวะหมดสิ้นไป ท่านก็จะเป็นปัญญาวิมุตบุคคล
ซึ่งท่านอาจจะบรรลุได้ตั้งแต่ ฌาน ๑ หรือ ฌาน ๒ หรือ ฌาน ๓ หรือ ฌาน ๔ ฌานไหนก็ได้ตามแต่อินทรีย์ของแต่ละท่าน

หรือบางท่านจะละกิเลสบางส่วนไปได้เพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญา ก็เป็นทิฎิฐิปัตตบุคคล หรือสัทธาวิมุตบุคคล
หรือธัมมานุสารีบุคคล หรือสัทธานุสารีบุคคล ทั้งนี้เพราะกิเลส บางส่วนของท่านได้หมดไปเพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญา
โดยท่านจะบรรลุมรรคผลได้ตั้งแต่ฌาน ๑ หรือฌาน ๒ หรือ ฌาน ๓ หรือ ฌาน ๔ ก็ได้ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของท่านและมรรคที่เจริญจะเกิดผลขณะใด

“...สมถะเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
วิปัสสนาเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
สมถะและวิปัสสนาเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน...”
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0



และในสังคีติยสูตร ได้อธิบาย
ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง ดังนี้
“...๑. อุภโตภาควิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง]
๒. ปัญญาวิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา]
๓. กายสักขิ [ท่านผู้สามารถด้วยกาย]
๔. ทิฏฐิปัตต [ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น]
๕. สัทธาวิมุตต [ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา]
๖. ธัมมานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามธรรม]
๗. สัทธานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา]…”
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
กีฏาคิริสูตร พระสูตรนี้สรุปย่อๆ คือ
กล่าวถึงบุคคล ๗ จำพวก อุภโตภาควิมุติบุคคล และ ปัญญาวิมุตบุคคล บุคคลสองกลุ่มนี้
อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น(อริยสัจ) ด้วยปัญญา
กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมไม่มีกับสองบุคคลนี้
ส่วนบุคคลที่เหลือคือ กายสักขีบุคคล ทิฎฐิปัตตบุคคล สัทธาวิมุตบุคคล ธัมมานุสารีบุคคล และ สัทธานุสารีบุคคล นั้น
อาสวะ บางเหล่า ของท่านนั้นสิ้นไปเพราะเห็น(อริยสัจ) ด้วยปัญญา
กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมมีแก่ภิกษุนี้
http://84000.org/tipitaka/atita100/v.ph ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อรูปฌาน
(ท่านที่ไม่สนใจให้ข้ามไปเลยก็ได้ค่ะ ที่ต้องเขียนอธิบายส่วนนี้เพราะในเนื้อหาการเจริญวิปัสสนามีสมถเป็นเบื้องต้นนั้นกล่าวถึง
อรูปฌานไว้ด้วย อวิชชา อนุสัย๓ ด้วยอีกทั้งผู้เขียนเคยเขียนเล่าสภาวะนี้ให้ครูอาจารย์อ่านมาครั้งหนึ่งแล้ว)

ตามอรรถที่พระสูตรแสดงไว้ขอนำมาอ้างอิง ในส่วนท้ายกล่าวถึงการเจริญวิปัสสนามีสมถเป็นเบื้องต้นคือ
“...ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ…”
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0

ขอยกข้อความที่เกี่ยวกับอรูปฌานและการละสังโยชน์เบื้องบน ๕ จากมหามาลุงโกฺยวาทสูตร กล่าวคือ
อรูปฌาน
“... ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศ
ไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นคือ เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่ง
มีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วย
ธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่า
นั้นมีอยู่ นั่นประณีต คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ
ดับสนิท นิพพาน เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่บรรลุ จะเป็นโอปปาติกะ
@๑ พระอนาคามี
ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ด้วยความเพลิดเพลินในธรรมนั้น ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้
ปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่. เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น
คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์.

อานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่.
เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น โดยความ
ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น
เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น เธอ
รั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่า นั่นมีอยู่
นั่นประณีต คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ วิราคะ นิโรธ
นิพพาน ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ
จะเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิย-
*สังโยชน์ ๕ เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดีในธรรมนั้นนั่นแล. ดูกรอานนท์
มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕…”
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะการเจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติและการก้าวล่วง
เมื่อบรรลุสัมมาสมาธิแล้ว บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยบริกรรมว่า “ อากาศไม่มีที่สิ้นสุด”
ในขณะที่เข้าได้นั้นจะมีสภาวะเหมือนฝาบ้านทั้ง 4 ด้านพับพาบลงไปทุกทิศ เหมือนสามารถทำลายสิ่งกีดขวางอันเป็นวัตถุคือฝาบ้านได้
ไกลออกไปภูเขาลูกเล็กๆ เป็นลูกๆ ให้ราบเรียบไปเป็นที่ราบเรียบ สิ่งกีดกั้นใดๆ ที่มีอยู่ในขณะนั้นราบเรียบไปหมด
ว่างเวิ้งว้างไปหมด สิ่งไกลๆ ก็สามารถโน้มกายไปดูให้ใกล้เข้ามาใกล้ๆ เห็นสถานที่ที่ห้างไกลนั้นมาอยู่ใกล้ๆ ให้ผู้เข้าฌานนี้มองเห็นได้
เห็นสถานที่นั้น ไปสู่สถานที่นั้นได้อย่างรวดเร็วอย่างง่ายดาย เห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างชัดเจน
ซึ่งก็คือสภาวะวงอากาศเกิดเป็นนิมิตว่างเวิ้งว้างสุดลูกหูลูกตา สามารถย่อนิมิตอากาศให้สั้นเข้ามาหรือขยายออกไปได้
สำหรับผู้ปฎิบัติก็ให้นำสภาวะที่ปรากฏนี้มาพิจารณาว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และไม่ให้ทำความอาลัยยินดีในสภาวะที่ได้ให้ก้าวล่วงเสียทันที ถึงจะเป็นสัมมาฌาน ผู้เขียนก็เช่นกันพิจารณาวิปัสสนาและก้าวล่วงฌานนี้ทันที
และแม้จะไม่ทำความอาลัยแต่การได้ซึ่งฌานนี้ก็ส่งผลต่อการเข้าสมาธิต่อๆ มาทุกๆ ครั้งก็ จะเห็นสภาพแวดล้อมโดยรอบกว้างไกลขึ้น
มองทลุสิ่งต่างๆ ไปได้ อย่างง่ายดายเป็นปกติโดยไม่ต้องบริกรรมอะไรเลย นิ่งสมาธิเฉยๆ ก็เข้าได้โดยอัตโนมัติ
พระสูตรที่อธิบายสภาวะคล้ายอากาสานัญจายตนสมาบัตินี้คือ
อิทธิ กถาฯ ในปฎิสัมภิทามรรค ปรากฎคำอธิบายว่า
“...คำว่า ทะลุฝา ทะลุกำแพง ฯลฯ เหมือนไปในอากาศก็ได้ อธิบายว่า
ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อากาสกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขา แล้ว
อธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นที่ว่าง” ก็เป็นที่ว่างได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นย่อมทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตย่อมทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปกติไปในที่ไม่มีอะไรปิดบังกั้นไว้โดยไม่ติดขัด ฉะนั้น…”
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m ... 31&siri=80
ซึ่งหลักการปฎิบัติคือสภาวะต่างๆ เหล่านี้ก็ให้นำมาพิจารณาว่า เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ของๆ เราแต่อย่างใด
(ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา) เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไปได้






ในพระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ มีธรรมเป็นกุศลที่ปรากฎสภาวะในช่วงนี้ดังนี้

“โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัส-
*สามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ
โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ
สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล…”

“...[๒๓๙] กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิ
มีในสมัยนั้น.
[๒๔๐] จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งวิญญาณขันธ์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.
[๒๔๑] กายลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายลหุตา มีในสมัยนั้น.
[๒๔๒] จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น.
[๒๔๓] กายมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายมุทุตา มีในสมัยนั้น.
[๒๔๔] จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น.
[๒๔๕] กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน แห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.
[๒๔๖] จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน แห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.
[๒๔๗] กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น.
[๒๔๘] จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น.
[๒๔๙] กายุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ แห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายุชุกตา มีในสมัยนั้น.
[๒๕๐] จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ แห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น…”
http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญวิญญานัญญายตนสมาบัติและการก้าวล่วง
เข้าด้วยการเข้าสมาธิและบริกรรมคำว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด”
สภาวะที่ปรากฏจะแตกต่างจากอากาศไม่มีที่สิ้นสุดคือ วิญญาณตัวรู้ที่ออกไปรู้สิ่งที่อยู่ภายนอกจะวิ่งกลับเข้ามารู้ภายในร่างกายของเราเอง
บริเวณอก การวิ่งออกและกลับเข้ามาของวิญญาณขันธ์นั้นจะเป็นไปด้วยความเบา ความรวดเร็ว รวดเร็วมากๆ
เป็นสภาวะที่แสดงถึงความปราดเปรียวว่องไวของวิญญาณขันธ์ อย่างเห็นได้ชัด รู้ได้ชัด ให้รู้ถึงตำแหน่งที่ตัวรู้หรือวิญญาณขันธ์นี้อยู่
คือบริเวณอก อย่างชัดแจ้ง
รู้อยู่อย่างนั้น เห็นชัดถึงตำแหน่งวิญญาณตัวรู้นั้นอาศัยอยู่อย่างชัด และแสดงถึงความรู้สึกของวิญญาณตัวรู้ให้รู้สึกชัด รู้สึกอย่างนั้นชัดเจน และความว่องไวของมันขณะอยู่ในฌานนี้
หลังจากออกจากสมาธิฌาน ในชีวิตประจำวันทุกวินาที สติที่รู้ชัดนี้จะรู้ชัดถึงความเบา ความรวดเร็วแห่งวิญญาณขันธ์
การเจริญสมาธิในช่วงดังกล่าวนี้ สามัญผลสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ก็จะมาเกิดสภาวะให้รับรู้ เช่น สัญญาการจำได้หมายรู้ในภพชาติในสังสารวัฎฎ์ จตุปปาตฌาน อิทธิฤทธิ์อันเกิดจากสมาธิต่างๆ เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้ให้พิจารณาว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาค่ะ อย่ายึดติดกับมัน
มีพระสูตรกล่าวไว้หลายพระสูตร พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ว่า ฤทธิเกิดก่อนอาสวขยฌาน ให้จำไว้อย่าได้ติดใจในสิ่งเหล่านี้
หรือให้ใช้ โคตรภูฌานนิเทศ ก็ได้ค่ะ
“...[๑๓๖] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็นโคตร-
*ภูญาณอย่างไร ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าครอบงำความเกิดขึ้น ครอบงำความ
เป็นไป ครอบงำนิมิต ครอบงำกรรมเครื่องประมวลมา ครอบงำปฏิสนธิ
ครอบงำคติ ครอบงำความบังเกิด ครอบงำอุบัติ ครอบงำชาติ ครอบงำชรา
ครอบงำพยาธิ ครอบงำมรณะ ครอบงำความเศร้าโศก ครอบงำความรำพัน
ครอบงำความคับแค้นใจ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
อรรถว่า แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอัน
เป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่
นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ครอบงำความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอัน
ไม่มีความเป็นไป ฯลฯ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอัน
เป็นที่ดับ ฯ…”
http://84000.org/tipitaka//attha/v.php? ... agebreak=0

หรือในโมคคัลลานสูตร ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้สรุปได้คือธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่นเพื่อละตํณหาและทิฎฐิและอายตนะ
และในปรมัฎฐกสุตตนิทเทศที่ ๕ ที่ทรงตรัสสอนเรื่องการไม่ถือมั่นเพื่อละตัณหาและทิฎฐิและอายตนะ เช่นท่านพระพาหิยะรุจีหรือ
“...ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษา
อย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็น
สักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง

ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร
พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ
ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง

ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ...”

“... ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด
ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์
ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี
ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ ๔) รู้แล้ว
ด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์ ฯ”
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0
จะเห็นได้ว่าท่านพระพาหิยะหลุดพ้นจากรูปและอรูป(ส่วนท้ายพระสูตรมีปรากฏไว้ชัดเจน) จากสุขและทุกข์เพราะไม่ถือมั่น
และ สภาวะไม่มีนั้นคือสภาวะสุญญตา
แล้วจะอธิบายสภาวะนั้นโดยละเอียดอีกครั้งช่วงหลังอันจะต่อเนื่องกับในมรรคสมถและวิปัสสนาคู่กันไปเพราะในมรรคนั้นกล่าวถึง
เรื่องสุญญตา เพราะมีพยัญชนะแสดงไว้ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญอากิญจัญายตนสมาบัติและการก้าวล่วง
การเจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติด้วยบริกรรมคำว่า “อะไรอะไรน้อยหนึ่งไม่มี”
สภาวะคือ ความรู้ชัดของการวิ่งเข้ามาสู่ภายในบริเวณในอกของวิญญาณขันธ์(ตัวรู้หรือผู้รู้) วิ่งเข้ามามุดพลุบ(เสียงดังพลุบ)
อย่างรวดเร็วและมุดเข้าไปในบริเวณหัวใจบริเวณหน้าอกเสียงดังพลุบ ชัดเจน คล้ายมุดเข้าไปในบริเวณหัวใจ
จะรู้สึกได้อย่างชัดเจน

ผู้เข้าฌานนี้จะรู้สึกเหมือนอวัยวะบริเวณหน้าอกคือหัวใจ ถูกเปิดออก รู้สึกโล่งกลวงบริเวณในอกไปหมด
เป็นสภาวะว่างกลางอกกลวงๆ ไม่มีอะไรๆ เลยในบริเวณกลางอกนี้ หลังจากออกจากสมาธิแล้ว
สภาวะว่างกลางอกกลวงๆ ไม่มีอะไรๆ เลยในกลางอกกลวงๆ นี้ก็ยังปรากฏให้รู้ชัดเห็นชัดอยู่ตลอดเวลา
ความรู้สึกโล่งกลางอกกลวงๆ บริเวณอกคล้ายการปราศจากรูป ภาวะไร้รูป หรืออรูป แต่ก็มีตัวเราอยู่(วิญญาณขันธ์)
อยู่ในบริเวณอกกลวงๆ โล่งๆ นั้นอยู่ และมีสังโยชน์มาแสดงให้ทราบได้อย่างชัดเจนคือมานะ และการยึดติดกับอรูปที่ได้นั้น
( เพราะเป็นสภาวะที่สติรู้ชัดอันเป็นผลของการบรรลุสัมมาสมาธิ และการเจริญโพชฌงค์ ๗แล้วในขั้นนี้)

การติดในอรูปและติดในมานะ และการยังมีอัตตาตัวตนอยู่หนึ่งวันกับหนึ่งคืนหลังจากบรรลุอากิญจัญายตนฌาน
การติดในอรูปและติดในมานะและการยังมีอัตตาตัวตนอยู่หนึ่งวันกับหนึ่งคืนหลังจากบรรลุอากิญจัญายตนนี้
การเกิดสภาวะว่างกลางอกกลวงๆ และมีมานะติดค้างในใจอยู่นั่นแหละว่าเรารรู้แล้วว่าอรูปคืออะไร
ไม่ว่าจะไปไหน ไปทำอะไรก็เกิดมานะและเกิดการยึดติดในอรูปที่พึ่งได้นั้นทั้งวัน
รู้สึกอยู่ทุกขณะจิต การติดมานะสังโยชน์ อรูปสังโยชน์ และอวิชชา นี้พร้อมๆ กัน
รู้สึกได้อย่างชัดเจน จนกระทั่งเปิดพระสูตรฌานสูตรและอฎฐกนาคสูตร นำคำตรัสสอนพระพุทธองค์มาพิจารณาวิปัสสนา
อรูปทุกอย่างนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ทุกสิ่งมีเกิดขึ้นตั้งอยู่และก็ดับไป
พอยกจิตขึ้นพิจารณาวิปัสสนาไปนั้น การติดในอรูปและมานะนี้ก็หลุด มันหลุดผึงออกไปเลย



การรู้อนัตตาเป็นดังนี้
(จริงๆ แล้วในสภาวะช่วงนี้ เป็นการเจริญสมถวิปัสสนาคู่กันไปแล้วเพราะเป็นขณะแห่งมรรค ผล นิพพาน แต่เพื่อความต่อเนื่องจึงขออธิบายให้จนถึงการละกิเลสอาสวะ การละอวิชชา การรู้อริยสัจ และสุญญตาสมาบัติไปด้วยเลยนะคะ)
เกิดขึ้นหลังจากวิปัสสนาสภาวะที่ติดมานะ อรูป และ อวิชชา ทำให้ละสังโยชน์ได้ทั้งหมด ทำให้รู้อนัตตา
ความรู้สึกในเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ก็ปรากฏชัดแจ้งขึ้น
สิ่งที่เดิน กิน นั่งคิดนี้ ก็เป็นเพียงการประชุมกันของธรรมธาตุเท่านั้น ความรู้สึกที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ที่รู้จากสัญญามานาน
มารู้ชัดประจักษ์จริงด้วยตัวเองก็ขณะนั้น
ต่อจากนั้นมาความรู้สึกทุกๆ ขณะคือ รู้ถึงความว่างที่อยู่กลางอก ไม่มีเราอยู่ในความว่าง ไม่มีเราอยู่ในรูป และในรูปไม่มีเรา เป็นความรู้สึกที่เด่นชัดเกิดขึ้น การหวงจิตที่เคยมีมาแต่เดิมก็หลุดไป
แต่เดิมความรู้สึกตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งเริ่มเจริญมรรค ๘ ก็คิดว่าเราคือร่างกายนี้
เมื่อเริ่มเจริญมรรคและเห็นจิตในจิตที่ก็เปลี่ยนมารู้สึกว่าจิตคือตัวของเรา เพราะความรู้สึกว่ามีจิตอยู่กลางอกอยู่ตลอดเวลาที่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหลับไป และรู้สึกว่าจิตที่รู้สึกอยู่นั้นคือตัวตนของเรา รู้อย่างนั้นอยู่ตลอดเพราะยังมีอวิชชาอยู่ ยังไม่สามารถละอวิชชาได้
เมื่อละอวิชชาได้ ก็เป็นความรู้สึกที่ไม่มีวิญญาณขันธ์( ขันธ์ทั้ง ๕ ล้วนเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ) ในเวลานี้ จะรู้สึกถึงความว่างที่อยู่กลางอก รู้สึกถึงความรู้สึกความ ไม่มีวิญญาณขันธ์ หรือผู้รู้ อยู่ในนั้นเหมือนที่เคยรู้สึก
จะมีเพียงความรู้สึกว่างเปล่า เหมือนไม่มีที่ตั้ง ไร้ซึ่งตัณหาใดๆ
จึงทำให้ไม่ยึดติดสังขารทั้งรูปและนาม มีแต่ความว่างเปล่าเท่านั้น ไม่ว่าอะไรๆ มากระทบก็ไม่กระทบ
ทั้งผัสสะได้ดับไปหรือสูญไปจากขันธ์จริงๆ วิญญาณขันธ์สูญไปจากขันธ์ อนัตตาชัดมากๆ ให้รู้สกทุกๆ ลมหายใจเข้าออก ลมเข้าลมออกก็เห็นแต่ลมที่กระทบรูปอยู่ในรูปกายนี้เท่านั้นเป็นเพียงธาตุปราศจากตัวตนบุคคลเราเขาแต่อย่างใด มีเพียงลักษณะการมีชีวิต ของลมที่เข้าและออก
สภาวะนี้คงเรียกว่ารู้อนัตตารู้วิชชาวิมุต ดับอวิชชาได้
ผัสสะสูญ อายตนะสูญ วิญญาณดับ ผัสสะดับ อายตนดับ
มีพระสูตร ปริวัฎฎสูตร อธิบายสภาวะนี้ไว้ลองเปรียบเทียบดูค่ะ
“...ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ. ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
ความดับแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งเหตุเกิดแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
อย่างนี้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อม
หยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่ง
วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง
ข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลาย
กำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุด
พ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มี
กำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความ
วนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.”
http://84000.org/tipitaka//pitaka2/v.ph ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


การละกิเลสในอาสวะขยฌาน
กิเลสที่พยายามวิปัสสนาให้หมดไปจากจิตได้อย่างยากละบากในครั้งก่อนนั้นก็หมดไปพร้อมกับการรู้อนัตตา
ความรู้สึกในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าไม่ใช่เรา ไม่มีอยู่ในเรา แล้วกิเลสที่มีอยู่จะเป็นเราเป็นของเราได้อย่างไร
พอรู้สึกได้เช่นนั้น กิเลสก็ค่อยๆ หมดไป จนรู้สึกว่าไม่มีกิเลสที่เป็นของเราเหลืออยู่อีกแล้ว นี่คงเป็นอาสวะขยฌาน
กิเลสค่อยๆ หมดไปพร้อมกับการรู้อนัตตา การละอวิชชาทำให้สามารถวิปัสสนาตัดกิเลสออกไปได้ทั้งหมด ด้วยการรู้ชัดในอนัตตา อันเนื่องมาจากการละอวิชชารู้ถึงความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

เป็นอาสวักขยฌาน คือ รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลส และอาสวะ สามารถดับกามสวะ (กิเลสที่หมักหมมในกาม)
ภวาสวะ(กิเลสที่หมักหมมในภพ) และ อวิชชาสวะ (กิเลสที่หมักหมมในความมืดบอดของจิตลงได้)
นี่คือสภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล
ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ที่ต่างกัน บางท่านที่กิเลสบางส่วนหมดไปเพราะเห็นอริยสัจจน์ดด้วยปัญญา ก็จะเป็นกายสักขีบุคคล ส่วนท่านที่ปัญญินทรีย์และสมาธินทรีย์เข้มแข็งก็จะเป็นอุภโตภาควิมุติเพราะจะหลุดพ้นสองส่วนคือเจโตวิมุตและปัญญาวิมุติ
(ดังนั้นจึงขออธิบายถึงการเจริญเนวสัญญานาสัญญาสมาบัติในส่วนสุดท้ายไว้ เผื่อไว้สำหรับผู้ที่มีอินทรีย์ต่างๆ กัน อาจจะพ้นจากอาสวะกิเลสเมื่อล่วงสมาบัตินั้นก็ได้)

บรรลุสุญญตวิหารสมาบัติ และอยู่ด้วยสุญญตวิหารธรรม
ก่อนอธิบายถึงสภาวะสุญญตา ขอนำข้อความบางส่วนใน จูฬสุญญตสูตร(๑๒๑) ที่ว่า
“...ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม...”
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0

ขอยกข้อความบางส่วน พระสูตร ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
พระสูตรนี้ทรงตรัสสอน เพื่อภิกษุให้ไม่มีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง
หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ได้ ทรงตรัสถามถึงธรรมที่พระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมใด
“...ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ด้วยวิหาร
ธรรมคือสุญญตสมาบัติแลเป็นส่วนมากในบัดนี้ ฯ…”
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0

ยุคนัทธวรรค สุญกถา
“...ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่
เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตน
และสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
รูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จักขุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่
เนื่องด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ
กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญ
จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
โลกสูญ ฯ…”

“...ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนเสมอ
กันและสูญไป อายตนะภายนอก ๖ ... หมวดวิญญาณ ๖ ... หมวดผัสสะ ๖
... หมวดเวทนา ๖ ... หมวดสัญญา ๖ ... หมวดเจตนา ๖ เป็นส่วนเสมอกัน
และสูญไป นี้ส่วนเสมอกันสูญ ฯ…”
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0

สภาวะ ผัสสะสูญไปจากตน ผัสสะดับ อายตนะดับสูญไป รู้สึกเพียงความว่าง ว่างจากตัวตน รู้สึกถึงความรู้สึกที่มากระทบ
อยู่เหนือออกไปจากทั้งทุกข์และสุข สิ่งที่เกิดขึ้นทุกสิ่งทุกอย่างมันคือโลกกับธรรม ซึ่งอยู่ด้วยกันง่ายๆ ไม่มีอะไรยาก รู้สึกว่าการเจริญอริยมรรค ๘ ถ้าได้สุขเท่านี้คือ การที่ผัสสะดับ สภาวะที่อยู่เหนือทุกข์และสุข อยู่กับว่าง สิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ มันเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นมารอบๆ สังขารกายเท่านั้น มันไม่กระทบเพราะผัสสะดับไปแล้ว อายตนะสูญไปแล้ว มันเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ สังขารกายที่ตั้งอยู่นี้ เฉยๆ
ผัสสะสูญหายไปจากตน ที่รู้สึกว่าว่างนี้ว่างจากตัวตน รู้สึกตลอดเวลา รู้สึกถึงความรู้สึกที่อยู่เหนือสิ่งที่มากระทบ
มันอยู่เหนือออกไปจากทั้งทุกข์และสุข ทุกลมหายใจเข้าออกในขณะนั้นไม่รู้ว่าความรู้สึกนั้นมาเกิดได้อย่างไร คือ
จะคิดถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก
พร้อมกับรู้ถึงความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน รู้สึกถึงว่าง และอนัตตาชัดมากๆ รู้อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
และทุกลมหายใจเข้าออกที่สติระลึกรู้ถึงมรณานุสติ
ลมเข้าก็คิดถึงความตาย ลมออกก็คิดถึงความตาย ไม่ได้อยากตาย หรืออยากอยู่
แต่เป็นอารมณ์ความรู้สึกถึงเรื่องตายในลักษณะอริยสัจจ์ เป็นสัจจธรรมที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ทำให้รู้ถึงอริยสัจจ์ในเรื่องนี้เด่นชัดขึ้น เป็นมรณานุสติทุกลมหายใจเข้าออก (ทั้งๆ ที่ไม่เคยเจริญมรณานุสติมาก่อนเลย อยู่ๆ ก็ได้มรณานุสติขึ้นมา)นี่คงจะเป็นสภาวะรู้อริยสัจด้วยปัญญาในช่วงต้นก่อน
ภายในสังขารกายนี้มันจะมีเพียงความว่างเปล่าเท่านั้น ผัสสะไม่กระทบ ผัสสะดับ ผัสสะได้สูญไปจากขันธ์ อันเป็นการบรรลุสุญญตาสมาบัติ
ทำให้รู้สึกว่างกลางอกกลวงๆ รู้ถึงความไม่มี รู้สึกถึงผัสสะได้ดับไป วิญญาณดับไป อายตนะดับไป รู้สึกอยู่ตลอดเวลา
และยังรู้สึกเช่นนี้อยู่จนถึงปัจจุบันนี้(ซึ่งผ่านมาหลายปีแล้ว)
ในขณะนั่งสมาธิ ก็จะพบเพียงสุญญตาสมาบัติ อยู่กับว่าง ความรู้สึกที่พยายามมองความรู้สึกว่าง กลางอกกลวงๆ ออกมา ผ่านอกถึงผิวหนังหน้าอก ผ่านท่อนแขนถึงผิวหนังรอบๆ แขน คือความรู้สึกถึงความไม่มี ทำให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสสอนท่านพระพาหิยะที่ว่า “...ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มีใน ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์...”
การเห็นอริยสัจ ๔ การรู้อริยสัจ ๔ และมีอารมณ์จิตอยู่ที่นิพพาน
หลังจากอยู่กับว่างที่ผัสสะไม่กระทบและรู้สึกเป็นสุขกับชีวิตมากๆ ที่ทั้งโลกและธรรมลงตัวในชีวิต
ผ่านไปประมาณสองสัปดาห์ ประมาณสองวันที่อริยสัจ ของพระพุทธองค์มาแสดงให้เห็นชัดๆ คือ
รู้สึกเป็นไข้ปวดกระดูกทั้งตัว ทั้งๆ ที่เวทนากายไม่กระทบกับเวทนาจิต แต่ก็ทำให้รู้ถึงสภาวะทุกข์อริยสัจ
ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้มากขึ้น ตราบใดที่เรายังมีกายสังขารอยู่นี้ เราจะหนีจากสภาวะทุกข์เป็นไปไม่ได้
ทุกข์ที่เกิดจากกายที่เจ็บป่วย ซึ่งเป็นไปตามสังขารกายนั้นมนุษย์ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อยู่แล้ว
อริยสัจ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้จึงเป็นสัจธรรมที่เป็นจริงอย่างยิ่ง ทำให้รู้จักทุกข์อันเกิดจากสังขารกายที่เจ็บป่วย
เห็นในทุกข์ เข้าใจในทุกข์ในสังขารกายที่เกิดขึ้นอยู่ประมาณสองวันอย่างหนัก รู้เหตุแห่งทุกข์
และคิดถึงทางที่จะดับทุกข์ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ ทำให้เรียนรู้มากกว่าครั้งก่อนๆ คือ
เริ่มจะนึกถึงสภาวะนิพพานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นสภาวะที่พ้นไปจากสังขารทั้งหลาย
ทำให้นึกถึงนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว แต่อารมณ์จิตก็ยังเป็นสภาวะว่างที่ทุกลมหายใจเข้าออกยังเป็นมรณานุสติ
และสภาวะว่างที่อนัตตามาปรากฏชัดให้รู้สึกอย่างชัดเจนทุกย่างก้าว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญเนวสัญญานาสัญญาสมาบัติ
การเข้าด้วยการบริกรรมคำว่า “จะมีสัญญาก็ไม่ไช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่” และอธิฐานขอเข้าขณะจิตเดียว สภาวะที่เข้าฌานนี้ได้ คือ รู้เฉพาะคำว่าสัญญา รู้ว่ายังมีสัญญาอยู่แต่พยายามคิดต่อจากนั้นว่ามีสัญญาเรื่องอะไร และมีรายละเอียดอย่างไรกลับคิดไม่ออกเลย
แต่ถ้าว่าจะไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เพราะยังคิดคำว่าสัญญาได้ สภาพรู้ จะรู้เพียงคำว่าสัญญาอยู่เพียงเท่านั้น ถ้าผู้ที่เข้าฌานนี้แล้วหลังจากออกจากฌาน
มาพิจารณาวิปัสสนาก็ให้พิจารณาถึงสัญญานั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ให้สำคัญหมายในสภาวะนั้น ให้ก้าวล่วงมาเสีย เพราะนั่นไม่ใช่เรา ไม่เป็นเราแต่อย่างใด เพราะถ้าปฎิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่มีปรากฏในพระไตรปิฎกแล้ว ท่านสอนแต่สัมมาสมาธิ สัมมาญานะ เพื่อสัมมาวิมุต เท่านั้น ท่านสอนแต่การเจริญโลกุตระฌาน ท่านไม่สรรเสริญโลกียฌานแต่อย่างใด ไม่ว่าฌานใดๆ ถ้าบรรลุแล้วให้ก้าวล่วงเสียอย่าได้ติดใจ สำคัญหมายว่าเป็นของเรา เราทำได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ขันธ์ ๓ ในโลกนี้ล้วนเป็นทุกข์
ลองศึกษาให้เข้าใจพระสูตรทั้งหมดแล้วจะพบว่าการที่กลัวเรื่องสมาธิเห็นเป็นทางที่จะติดกับวิปัสสนูกิเลสนั้น ถ้านำพระสูตรท่านมาศึกษาและปฎิบัติตามคำสอนเป็นไปไม่ได้เลยที่จะติดในวิปัสสนูกิเลสทั้งหลายไม่มีฐานะจะเป็นไปได้(แล้วจะอธิบายอีกครั้งในมรรคสุดท้ายที่มีโอภาสเกิดขึ้น และวิธีจัดการกับวิปัสสนูกิเลส ๑๐ ค่ะ)
บางท่านเจริญสมาธิก็กลัวไปติดในอรูปพรหมก็เป็นไปไม่ได้เลยถ้าปฎิบัติสัมมาสมาธิตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้เพราะทุกพระสูตรท่านตรัสสอนไว้ทั้งสมถและวิปัสสนา การเกิดไปเป็นรูปพรหมนั้นเป็นสมาธินอกพุทธศาสนา
ไม่ใช่สมาธิที่ทรงสั่งสอนโดยพระศาสดาของเราองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนแต่โลกุตรฌานเท่านั้น
ถ้าบางท่านคิดว่าการเจริญสมาธิจะเป็นหนทางล่าช้าในการพ้นทุกข์ ส่วนตัวผู้เขียนเองละกิเลสและละอวิชชาทั้งหมดนี้ได้ด้วยระยะเวลาประมาณสองปีกว่าๆ เท่านั้น อันเป็นผลมาจากความเมตตา กรุณาของครู อาจารย์ทุกท่านที่นี่ที่ให้ความอนุเคราะห์สั่งสอนผู้เขียนเมื่อครั้งยังนั่งสมาธิและปฎิบัติธรรมไม่เป็น จนทำให้ผู้เขียนมีความมั่นคงในสมาธิภาวนา ขอกราบขอบพระคุณครู อาจารย์ ทุกท่านด้วยเศียรเกล้า ขอบพระคุณค่ะ

“... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ นี้เรียกว่าอสังขตะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ

[๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทาง
ที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
[๖๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สุญญต-
*สมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
[๖๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สติปัฏ-
*ฐาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
[๖๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สัมมัป-
*ปธาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
[๖๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อิทธิบาท๔
นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
[๖๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อินทรีย์ ๕
นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
[๖๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน พละ ๕
นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
[๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน โพชฌงค์ ๗
นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
[๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึง
อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดา
ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเรา
อาศัยความอนุเคราะห์กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้
นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้
เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
จบนิพพานสังยุตต์ ปฐมวรรค
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


2เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
“...วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วย
อรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
เป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์
และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนา
มีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนา
เป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็น
ที่เสพ ฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมี
การปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์
เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่า
มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ…”
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
ส่วนของอรรถกถาอธิบายไว้ดังนี้
“...ย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น คือ
ภิกษุเจริญสมถะ ทำวิปัสสนาให้เป็นเบื้องต้น คือให้ไปถึงก่อน.
ความว่า ยังวิปัสสนาให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญสมาธิภายหลัง…”
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534

การเจริญสมถมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นนั้น เริ่มต้นด้วย การ พิจารณาเห็น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ชรา มรณะ วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิการเจริญมากๆ ขึ้นๆ มรรคย่อมเกิดย่อมละสังโยชน์ ได้

การที่ผู้มากด้วยวิปัสสนาเช่นนี้ทำให้สมาธิเกิดในภายหลัง
จะเห็นว่า เป็นท่านที่มากด้วยวิปัสสนา เมื่อทำให้สมาธิหรือสมถเกิดขึ้นในภายหลังได้แล้วในฌานหนึ่งฌานใดก็ได้ ถ้าท่านละกิเลสอาสวะได้หมด ละอวิชชาได้ ท่านก็จะเป็น ปัญญาวิมุตบุคคล

แต่ถ้าอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญา
ก็จะเป็น ทิฎฐิปัตตบุคคล สัทธาวิมุตบุคคล ธัมมานุสารีบุคคล หรือ สัทธานุสารีบุคคล ตามแต่ท่านจะเป็นผู้มากด้วย ทิฎฐิ หรือ มากด้วยศรัทธา หรือเป็นผู้ประพฤติตามธรรม หรือท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา

บางท่าน ยังวิปัสสนาให้เกิดก่อน แล้วท่านเจริญสมาธิภายหลัง แต่ปรากฏว่าอินทรีย์ทางภาวนาท่านมีมากท่านก็จะใช้ปฎิปทาเจริญวิปัสสนามีสมถเป็นเบื้องต้น และ ปฎิปทาเจริญสมถและวิปัสสนาคู่กันไป ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ( การละอุปกิเลส ๑๐) เพิ่มขึ้นภายหลัง ด้วยมรรคทั้ง ๔ ด้วย ก็ได้
ท่านก็จะเป็นบุคคลที่มีปฎิปทาที่เจริญด้วยมรรคหลายมรรค ท่านก็จะเป็นอุภโตภาควิมุตบุคคล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญวิปัสสนาไปก่อนแล้วจะได้สมถทีหลัง ในปัจจุบันมีหลายแบบหลายที่ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยผู้เขียน
มิได้ใช้มรรคปฎิปทานี้จึงขอนำคำสอนของสำนักวิปัสสนามาลงเพื่อเป็นความรู้ขอนำมาลงไว้บางส่วนค่ะ ขอน้อมกราบพระอริยสงฆ์ทั้งหมด กราบสาธุ สาธุ สาธุ เช่น การปฎิบัติตามแนวสติปัฎฐาน ๔ ของหลวงพ่อจรัญ

เวลานอน
เวลานอนค่อย ๆ เอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตามไปว่า “นอนหนอ ๆ ๆ ๆ” จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับ อยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้วให้เอาสติมาจับที่ท้อง แล้วกำหนดว่า “พอง หนอ” “ยุบ หนอ” ต่อไปเรื่อย ๆ ให้คอยสังเกตให้ดีว่า จะหลับไปตอนพอง หรือตอนยุบ
อิริยาบถต่าง ๆ การเดินไปในที่ต่าง ๆ การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทานอาหาร และการกระทำกิจการงานทั้งปวง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะในอาการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง คือ มีสติ สัมปชัญญะ เป็นปัจจุบัน อยู่ตลอดเวลา
หมายเหตุ การเดินจงกรมนั้น กระทำการเดินได้ถึง ๖ ระยะ แต่ในที่นี้อธิบายไว้เพียงระยะเดียว การเดินระยะต่อไปนั้นจะต้องเดินระยะที่ ๑ ให้ถูกต้อง คือ ได้ปัจจุบันธรรมจริง จึงจะเพิ่มระยะต่อไป ตามผลการปฏิบัติของแต่ละบุคคล
สรุปการกำหนดต่าง ๆ พอสังเขป ดังนี้
๑. ตาเห็นรูป จะหลับตาหรือลืมตาก็แล้วแต่ ให้ตั้งสติไว้ที่ตา กำหนดว่า เห็นหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้ ถ้าหลับตาอยู่ ก็กำหนดไปจนกว่าภาพนั้นจะหายไป
๒. หูได้ยินเสียง ให้ตั้งสติไว้ที่หู กำหนดว่า เสียงหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าเสียง ก็สักแต่ว่าเสียง ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
๓. จมูกได้กลิ่น ตั้งสติไว้ที่จมูก กำหนดว่า กลิ่นหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่ากลิ่น ก็สักแต่ว่ากลิ่น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้้
๔. ลิ้นได้รส ตั้งสติไว้ที่ลิ้น กำหนดว่า รสหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่ารส ก็สักแต่ว่ารส ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
๕. การถูกต้องสัมผัส ตั้งสติไว้ตรงที่สัมผัส กำหนดตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
๖. ใจนึกคิดอารมณ์ ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า คิดหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าความนึกคิดจะหายไป
๗. อาการบางอย่างเกิดขึ้น กำหนดไม่ทัน หรือกำหนดไม่ถูกว่า จะกำหนดอย่างไร ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า รู้หนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาการนั้นจะหายไป
การที่เรากำหนดจิต และตั้งสติไว้เช่นนี้ เพราะเหตุว่าจิตของเรา อยู่ใต้บังคับของความโลภ ความโกรธ ความหลง เช่น ตาเห็นรูป ชอบใจ เป็นโลภะ ไม่ชอบใจ เป็นโทสะ ขาดสติไม่ได้กำหนดเป็นโมหะ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกต้องสัมผัสก็เช่นเดียวกัน
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยเอาสติเข้าไปตั้งกำกับตาม อายตนะนั้น เมื่อปฏิบัติได้ผลแก่กล้าแล้ว ก็จะเข้าตัดที่ต่อของอายตนะต่าง ๆ เหล่านั้นมิให้ติดต่อกันได้ คือว่า เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่ทำความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง ให้เกิดความพอใจหรือความไม่พอใจ ในสิ่งที่ปรากฏให้เห็นและได้ยินนั้น รูปและเสียง ที่ได้เห็นและได้ยินนั้นก็จะดับไป เกิด และดับ อยู่ที่นั้นเอง ไม่ไหลเข้ามาภายใน อกุศลธรรมความทุกข์ร้อนใจที่คอยจะติดตาม รูป เสียง และอายตนะภายนอกอื่น ๆ เข้ามาก็เข้าไม่ได้้
สติที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น นอกจากจะคอยสกัดกั้นอกุศลธรรม และความทุกข์ร้อนใจที่จะเข้ามาทางอายตนะแล้ว สติเพ่งอยู่ที่ รูป นาม เมื่อเพ่งเล็งอยู่ก็ย่อมเห็นความเกิดดับของ รูป นาม ที่ดำเนินไปตามอายตนะต่าง ๆ อย่างไม่ขาดสาย การเห็นการเกิดดับของรูปนามนั้น จะนำไปสู่การเห็น พระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ และความไม่มีตัวตนของสังขาร หรือ อัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง
จากหนังสือระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
http://www.jarun.org




ซึ่งโดยสรุปจะเป็นการเจริญสติ

โดยการใช้การเดินจงกลม แล้วแต่ว่าแต่ละที่จะใช้คำว่าอะไรกำกับเพื่อให้เกิดสติ เช่น พุธ – โธ หรือ ย่าง ยก หนอ เป็นต้น
เพื่อให้เกิดสติ

เจริญอาณาปานสติ วิธีการก็แยกแยะกันไปหลายรูปแบบ อาทิ
ดูลมหายใจเข้าออก
ดูการกระทบของลม เช่น กลุ่มที่ปฎิบัติด้วยคำว่าหนอ
ดูแบบนิ่งรู้นิ่งสังเกต เป็นต้น

.เจริญสัมปชัญญะ การคู้เข้า เหยียดออก ต่างๆ ยืน เดิน นั่ง นอน ทำกิจวัตรต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
เพียรเจริญ เพียรเสพ ให้มาก เสพเนืองๆ ร่างกายมีเย็น มีร้อน อ่อน แข็ง ที่มากระทบใจอย่างไร ก็ใช้คำภาวนามากำกับสติ
เช่นยืนหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ ฯลฯ หรือการกำหนดว่ารู้ หรือนิ่งรู้นิ่งสังเกต พอรู้แล้วกำกับสติได้แล้ว
ก็พิจารณาวิปัสสนาไปว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ผัสสะกระทบก็สักแต่ว่ารู้ กิน เดิน ก็เป็นเพียงสักแต่ว่า เพื่อมิให้ยินดี ยินร้าย ในสิ่งที่มากระทบ
การกำกับสติด้วยการใช้คำว่าหนอ หรือ สักแต่ว่า หรือเฉยๆ เพื่อละอภิชฌาและ โทมนัส(ความยินดียินร้าย) เพื่อให้บรรลุอุเบกขา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนาในเวทนา
เมื่อเคลี่อนไหว มีเวทนา มีปวด มีเจ็บ เมื่อย ได้รับทุกข์เวทนา หรือสบายได้รับสุขเวทนา ก็ให้พิจารณาว่า
มีเวทนาเหล่านี้เกิดมาได้แล้วก็ดับไป มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อเสพ เจริญ มากๆ เนืองๆ ก็จะสามารถละทุกเวทนาเพราะเห็นความไม่เที่ยง ละสุขเวทนาเพราะความปรวนแปรไป ไม่ใช่เราเป็นอนัตตา แล้วก็จะทำให้มีสติสัมปชัญญะรู้
ไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนาขึ้นมา และไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนานี้ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นกัน ก็จะทำให้ละไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนาได้ค่ะ

จิตในจิต
การเห็นจิตมีราคะ โทสะ โมหะ เกิดลักษณะจิตปรุงกิเลส กิเลสปรุงจิต ก็ให้พิจารณาไปว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ธรรมในธรรม
เป็นการพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ปฎิจสมุทปบาท ทั้งหมดว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

การฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร ทั้งรูปธรรม นามธรรมทั้งหมดแยกพิจารณาเป็นขันธ์ๆ เริ่มจาก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ชรา มรณะ(ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปฎิจสมุทบาท)
กำหนดด้วยพระไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพียรปฎิบัติซึ่งส่วนใหญ่จะใช้
สัมมัปปทาน ๔ มาเจริญร่วมด้วย มีความเพียร (อาตาปี) มีสัมปชัญญญะความรู้ตัวทั่วพร้อม (สัมปชาโน)
มีสติ(สติมา) กำจัดอภิชฌาความยินดี โทมนัสความยินร้ายในโลกเสีย (วิเนยย โลเก อภิชฌา โทมนัสสา)

โดยจุดประสงค์การเจริญเพื่อบรรลุวิปัสสนาฌานเป็นลำดับไปตั้งแต่อุทยัพพยานุปัสสนาฌาน จนครบ วิปัสสนาฌาน ๙ เพื่อละกิเลสอาสวะ ละอวิชชา อันเป็นการละสังโยชน์ได้ทั้งหมด




1. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
2. ภังคานุปัสสนาญาณ
3. ภยตูปัฏฐานญาณ
4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ
5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
6. มุญจิตุกัมยตาญาณ
7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
8.สังขารุเปกขาญาณ
9. สัจจานุโลมิกญาณ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=311

สัมมัปปธาน ๔ ที่นำมาใช้ก็จะเป็น ความเพียร(อาตาปี) ความเพียรชอบด้วย(อาตาปะ)ความเพียรเครื่องเผากิเลส วิปัสสนาด้วยสติสัมปชํญญะเพื่อกำจัดอภิชฌาและความโทมนัส เพื่อบรรลุสังขารุเปกขาญาณ และบรรลุสัจจานุโลมิกญาณ
เพื่อที่จะละสังโยชน์ทั้งหมด ละกิเลสอาสวะ ละอวิชชา เพื่อมรรค ผล นิพพาน
สัมมัปปธานสังยุต

“...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔
กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
เพื่อความตั้งอยู่เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑...”

“...ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนด
รู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล สัมมัปปธาน ๔
เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือน-
*หาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศล
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.”
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


ในมรรคที่สองที่ผู้เจริญเป็นผู้ที่หนักไปทางวิปัสสนานี้ขอกล่าวถึงแค่นี้เพราะผู้เขียนไม่ได้ศึกษามาด้วยมรรคปฎิปทานี้
ถ้าท่านใดมีความรอบรู้ขออนุเคราะห์ช่วยแนะนำเป็นวิทยาทานด้วยค่ะ ขออธิบายเพียงแค่นี้นะคะ สาธุค่ะ
(สำหรับความคิดเห็นของผู้เขียน ผู้เขียนเห็นว่าสำหรับท่านที่ถนัดในการเจริญวิปัสสนาเพื่อให้เกิดสมถในภายหลังที่
ปฎิบัติมายาวนานมากๆ อาจนับสิบปีก็ยังไม่พัฒนาไปมากนัก สิ่งที่ผู้ปฎิบัติน่าจะนำมาพิจารณาร่วมก็คือ ศีล
ของท่านมีหิริ โอตัปปะตั้งขึ้นหรือยังเพื่อให้ศีลเป็นอริยะศีล ก็จะทำให้เกิดเป็นสีลฌานสัมปยุตกับวิปัสสนาฌานจนทำให้เกิดฌานสมาธิฌานหนึ่งฌานใด เพื่อให้มรรคเกิด เป็นมรรคสมังคี จนประหารกิเลส ตัดอวิชชาได้)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


3 เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
“... ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ...
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะ
และวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้ ฯ
ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ
[๕๓๙] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความละอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอัน
ประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็น
โคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่
ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะ
และวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความ
ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วย
อวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกัน
และกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและ
วิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก
กิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มี
นิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไป
จากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไป ฯ
[๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรม
ละเอียดอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
เป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต
อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและ
วิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็น
ธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติ
เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
หลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
ด้วยความหลุดพ้น ฯ
[๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ
อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลส
อันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนา
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง
เกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
อันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน
และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯลฯ คำว่า มรรค
ย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
ด้วยความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยอาการ ๑๖
เหล่านี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันอย่างนี้ ฯ…”

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2017, 11:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสมถและวิปัสสนาคู่กันนี้ ในพระสูตรท่านกล่าวถึงขณะแห่งมรรคเลย โดยมีนิพพานเป็นอารมณ์ มีนิพพานเป็นโคจร ด้วยอาการ ๑๖ ด้วยความเป็นอารมณ์พระนิพพานเป็นอารมณ์เดียวกันและตั้งอยู่ในที่เดียวกันคือมีนิพพานเป็นโคจร
สมถะและวิปัสสนาเป็นไปเสมอไม่ล่วงเกินกันและกัน เพื่อทำประโยชน์ให้สำเร็จ.
ความที่สมถะและวิปัสสนานั้นเป็นธรรมคู่กันในขณะแห่งมรรคย่อมมีได้
เพราะเป็นธรรมคู่กันในขณะแห่งวิปัสสนาที่ให้ถึงมรรค (อันเป็นวุฏฐานคามินี) อันเป็นสภาวะของปัญญา คือ
“...ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ ชื่อ ว่าปรินิพพานญาณ (ญาณในปรินิพพาน)…”http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=1



ดังปรากฏในอรรถกถา ท่านอธิบายไว้ดังนี้
“...การเจริญธรรมที่เป็นคู่ อันได้โดยส่วนเดียวในขณะแห่งมรรค ...ด้วยอาการ ๑๖.
ในบทเหล่านั้น ธรรมคู่ที่ท่านยกขึ้นแสดงในที่สุดในอาการ ๑๗ อย่างมีอาทิว่า
...ด้วยความเป็นอารมณ์ละธรรมคู่นั้น เพราะตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเป็นบทมูลเหตุแล้วกล่าวว่า
...ด้วยอาการ ๑๖ ด้วยอำนาจแห่งอาการที่เหลือ.
...คือ ด้วยความหน่วงเหนี่ยว. อธิบายว่า ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์.
...ด้วยความเป็นอารมณ์ ... คือ ฐานะควรอาศัย.
... ด้วยความละ.
...ด้วยความสละ คือเมื่อการละมีอยู่แล้วก็ด้วยความไม่ยึดถือด้วยความเสียสละ.
...ด้วยความออก คือด้วยความออกไป.
...ด้วยความหลีกไป คือเมื่อการออกไปมีอยู่แล้วก็ด้วยการไม่หมุนกลับมาอีก ด้วยการกลับไป.
... ด้วยความเป็นธรรมสงบ คือด้วยความดับ.
... ด้วยความเป็นธรรมประณีต คือแม้เมื่อมีความดับอยู่แล้วก็ด้วยความเป็นธรรมสูงสุด หรือด้วยความเป็นธรรมไม่เดือดร้อน.
... ด้วยความหลุดพ้น คือด้วยความปราศจากเครื่องผูกพัน.
... ด้วยความไม่มีอาสวะ คือแม้เมื่อมีการพ้นจากเครื่องผูกพันแล้วก็ด้วยความปราศจากอาสวะอันทำอารมณ์ยังเป็นไปอยู่.
... ด้วยความเป็นเครื่องข้าม คือด้วยความไม่จมแล้วลอยไป.
... ด้วยความไม่มีนิมิต คือด้วยความปราศจากสังขารนิมิต.
... ด้วยความไม่มีที่ตั้งคือ ด้วยความปราศจากที่ตั้ง.
... ด้วยความว่างเปล่า คือด้วยความปราศจากเครื่องยึด.
...ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน คือด้วยกิจอย่างเดียวกัน.
... ด้วยความไม่ล่วงเกินกัน คือด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน.
... ด้วยความเป็นคู่กัน.
...เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ ละอวิชชา ท่านกล่าวด้วยสามารถการละะรรมเป็นปฏิปักษ์ของกรรมนั้นๆ ของพระโยคาวจร.
อนึ่ง นิโรธ ในที่นี้คือนิพพานนั้นเอง…
สมถะและวิปัสสนาทั้ง ๒ มีกิจอย่างเดียวกันด้วยกิจคือ การไม่ล่วงเกินกันและกันด้วยประการฉะนี้.
สมถะและวิปัสสนาเป็นไปเสมอไม่ล่วงเกินกันและกัน ย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จ. ความที่สมถะและวิปัสสนานั้นเป็นธรรมคู่กันในขณะแห่งมรรคย่อมมีได้ เพราะเป็นธรรมคู่กันในขณะแห่งวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี…
... หลีกไป.
...สมาธิพ้นจากกามาสวะ ท่านกล่าวเพราะสมาธิเป็นปฏิปักษ์ของกามฉันทะ.
... เพราะคลายราคะ… อนึ่ง เพราะคลายอวิชชา.
บทว่า เจโตวิมุตฺติ คือ สมาธิสัมปยุตด้วยมรรค.
บทว่า ปญฺญาวิมุตฺติ ปัญญาสัมปยุตด้วยมรรค.
บทว่า ตรโต คือ ผู้ข้าม...
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534

นอกจากนี้ในมรรคฌาน ขณะที่อริยมรรคสมังคี มีพระสูตรที่กล่าวถึงการเป็นธรรมคู่ของสมถและวิปัสสนาคือ

มรรคฌานนิเทศ
“...อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วย
โลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
โลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิ
ต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ถ้าพระ
โยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้วย่อมเห็นแจ้งฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็
พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น

สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
ความเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออก
จากธรรมทั้งสอง ย่อมถูกต้องอมตบท

พระโยคาวจรผู้ฉลาดในความเป็นต่างกัน
และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์
เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ
เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ฉะนี้แล ฯ…”
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร