วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 13:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มี.ค. 2016, 06:12
โพสต์: 9

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวคือ ผมเป็นผู้รอบวช(ปะขาว) โดยได้อยู่ศึกษากับ สมณรูปหนึ่ง ซึ่งจากการสัมผัสตลอด 2 เดือน ก็มั่นใจในศีล ในวัตร ของท่าน แต่ปัญหาคือ การอบรม สั่งสอน และการตีความ พระสูตร หรือพยัญชนะ ในการอ่านศึกษาพระไตรปิฏก ซึ่งมักขัดกับความรู้สึก หรือความเข้าใจของตัวผม ทำให้จิตเกิดความคิดเป็นอกุศล ต่อต้าน แง่ลบ ซึ่งก็เกรงว่าจะเกิดบาป โดยบางครั้งได้เคยแสดงความเห็นแย้งไปบ้าง แต่ผลสะท้อนกลับมาไม่ดีเลย จึงหยุดได้แต่เก็บไว้ในใจ บ้างครั้งคิดว่าเราอาจเข้าใจผิดเอง แต่ก็ไม่ทำให้ดีขึ้นใจยังหยุดคิดไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น "การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่าไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ" แต่ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ ท่านก็แจ้งให้ผมไปใคร่ครวญใหม่ หรือ อ่านบทที่ พระพุทธเจ้าอุปมาว่า บุรุษจะข้ามแม่น้ำ โดยเห็นว่าฝั่งโน้นน่าจะอยู่สบาย ฝั่งนี้น่าจะมีอันตราย แต่ไม่มีเรือ ไม่มีสะพาน จึงหาหญ้า เศษไม้ ใบไม้ต่อเป็นแพ ใช้มือ และเท้าพุยน้ำข้ามไป" ท่านให้ผมไปพิจารณาใคร่ครวญว่า แสดงว่านิพพาน ทางพ้นทุกข์ไม่ได้อยู่ห่างใกล้เกินไป หรือยากเกินกว่าที่แพต่อเองด้วยกิ่งไม้จะข้ามไปได้ เปรียบเป็นแม่น้ำแคบ ไม่ใช่มหาสมุทรกว้างใหญ่. ซึ่งในบทพยัญชนะนี้ มุ่งหมายว่า คือบุคคลนี้เมื่อข้ามน้ำได้แล้วกลับ มีความคิดว่า แพนี้มีคุณแก่เรา เราจะยกแพนี้ขึ้นเทินหัวแบกไปด้วย เป็นความคิดที่ถูกหรือฯลฯ ยังมีอีกหลายบทที่ท่านตีความทำนองนี้....ปัญหาหาคือ ความรู้สึกที่ติด ที่แย้งในใจ ก่อกวน ทำให้วิตก ในบาปอกุศล ทำให้บ้างครั้งการเจริญ สติ สมาธิ ไม่ก้าวหน้า จะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร เพราะต้องอยู่กับท่านอีกเป็นปีๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


นัตถิ เขียน:
กล่าวคือ ผมเป็นผู้รอบวช(ปะขาว) โดยได้อยู่ศึกษากับ สมณรูปหนึ่ง ซึ่งจากการสัมผัสตลอด 2 เดือน ก็มั่นใจในศีล ในวัตร ของท่าน แต่ปัญหาคือ การอบรม สั่งสอน และการตีความ พระสูตร หรือพยัญชนะ ในการอ่านศึกษาพระไตรปิฏก ซึ่งมักขัดกับความรู้สึก หรือความเข้าใจของตัวผม ทำให้จิตเกิดความคิดเป็นอกุศล ต่อต้าน แง่ลบ ซึ่งก็เกรงว่าจะเกิดบาป โดยบางครั้งได้เคยแสดงความเห็นแย้งไปบ้าง แต่ผลสะท้อนกลับมาไม่ดีเลย จึงหยุดได้แต่เก็บไว้ในใจ บ้างครั้งคิดว่าเราอาจเข้าใจผิดเอง แต่ก็ไม่ทำให้ดีขึ้นใจยังหยุดคิดไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น "การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่าไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ" แต่ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ ท่านก็แจ้งให้ผมไปใคร่ครวญใหม่ หรือ อ่านบทที่ พระพุทธเจ้าอุปมาว่า บุรุษจะข้ามแม่น้ำ โดยเห็นว่าฝั่งโน้นน่าจะอยู่สบาย ฝั่งนี้น่าจะมีอันตราย แต่ไม่มีเรือ ไม่มีสะพาน จึงหาหญ้า เศษไม้ ใบไม้ต่อเป็นแพ ใช้มือ และเท้าพุยน้ำข้ามไป" ท่านให้ผมไปพิจารณาใคร่ครวญว่า แสดงว่านิพพาน ทางพ้นทุกข์ไม่ได้อยู่ห่างใกล้เกินไป หรือยากเกินกว่าที่แพต่อเองด้วยกิ่งไม้จะข้ามไปได้ เปรียบเป็นแม่น้ำแคบ ไม่ใช่มหาสมุทรกว้างใหญ่. ซึ่งในบทพยัญชนะนี้ มุ่งหมายว่า คือบุคคลนี้เมื่อข้ามน้ำได้แล้วกลับ มีความคิดว่า แพนี้มีคุณแก่เรา เราจะยกแพนี้ขึ้นเทินหัวแบกไปด้วย เป็นความคิดที่ถูกหรือฯลฯ ยังมีอีกหลายบทที่ท่านตีความทำนองนี้....ปัญหาหาคือ ความรู้สึกที่ติด ที่แย้งในใจ ก่อกวน ทำให้วิตก ในบาปอกุศล ทำให้บ้างครั้งการเจริญ สติ สมาธิ ไม่ก้าวหน้า จะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร เพราะต้องอยู่กับท่านอีกเป็นปีๆ



ท่านอุปมาให้ฟังได้ดีมากๆครับ
การจะข้ามฝั่งให้ถึงพระนิพพาน ก็ต้องอาศัยบุญกุศลข้ามไปก็เปรียบเหมือนแพ
ในเมื่อถึงฝั่งพระนิพพานแล้ว บุญกุศลก็หมดความจำเป็น เมื่อหมดความจำเป็นเราก็ไม่รู้
จะแบกมันไว้ทำไม ภาระก็ได้วางลงหมดแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นัตถิ เขียน:
กล่าวคือ ผมเป็นผู้รอบวช (ปะขาว) โดยได้อยู่ศึกษากับ สมณรูปหนึ่ง ซึ่งจากการสัมผัสตลอด 2 เดือน ก็มั่นใจในศีล ในวัตร ของท่าน แต่ปัญหาคือ การอบรม สั่งสอน และการตีความ พระสูตร หรือพยัญชนะ ในการอ่านศึกษาพระไตรปิฏก ซึ่งมักขัดกับความรู้สึก หรือความเข้าใจของตัวผม ทำให้จิตเกิดความคิดเป็นอกุศล ต่อต้าน แง่ลบ ซึ่งก็เกรงว่าจะเกิดบาป โดยบางครั้งได้เคยแสดงความเห็นแย้งไปบ้าง แต่ผลสะท้อนกลับมาไม่ดีเลย จึงหยุดได้แต่เก็บไว้ในใจ บ้างครั้งคิดว่าเราอาจเข้าใจผิดเอง แต่ก็ไม่ทำให้ดีขึ้นใจยังหยุดคิดไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น "การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่าไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ" แต่ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ ท่านก็แจ้งให้ผมไปใคร่ครวญใหม่ หรือ อ่านบทที่ พระพุทธเจ้าอุปมาว่า บุรุษจะข้ามแม่น้ำ โดยเห็นว่าฝั่งโน้นน่าจะอยู่สบาย ฝั่งนี้น่าจะมีอันตราย แต่ไม่มีเรือ ไม่มีสะพาน จึงหาหญ้า เศษไม้ ใบไม้ต่อเป็นแพ ใช้มือ และเท้าพุยน้ำข้ามไป" ท่านให้ผมไปพิจารณาใคร่ครวญว่า แสดงว่านิพพาน ทางพ้นทุกข์ไม่ได้อยู่ห่างใกล้เกินไป หรือยากเกินกว่าที่แพต่อเองด้วยกิ่งไม้จะข้ามไปได้ เปรียบเป็นแม่น้ำแคบ ไม่ใช่มหาสมุทรกว้างใหญ่. ซึ่งในบทพยัญชนะนี้ มุ่งหมายว่า คือบุคคลนี้เมื่อข้ามน้ำได้แล้วกลับ มีความคิดว่า แพนี้มีคุณแก่เรา เราจะยกแพนี้ขึ้นเทินหัวแบกไปด้วย เป็นความคิดที่ถูกหรือฯลฯ ยังมีอีกหลายบทที่ท่านตีความทำนองนี้....ปัญหาหาคือ ความรู้สึกที่ติด ที่แย้งในใจ ก่อกวน ทำให้วิตก ในบาปอกุศล ทำให้บ้างครั้งการเจริญ สติ สมาธิ ไม่ก้าวหน้า จะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร เพราะต้องอยู่กับท่านอีกเป็นปีๆ


การตีความถ้อยคำพระสูตร (พระสูตรท่านแปลมาจากบาลีให้เราอ่าน แล้วเรามาตีความซ้ำอีก ต้องระวัง) สำคัญมากๆ จะให้ดีผู้นั้นต้องมีพื้นฐานทางภาษาบาลีมั่ง ไม่ยังงั้นแล้ว ตีไปตีมาจะเกิดความ :b1:


อ้างคำพูด:
การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่า ไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ


อันนี้ผิดล้าน % ถ้าแปลเสียใหม่ว่า "ออกบวชจากบ้าน เป็นผู้ไม่มีบ้าน" ล่ะหายสงสัยเลย (ศัพท์ อคาร แปลว่า บ้าน ,เรือน) คือออกจากบ้านไปอยู่อาราม, ไปอยู่วัด แค่นี้เอง

ยังไม่ถึงนี่หรอก
อ้างคำพูด:
ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ


นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นัตถิ เขียน:

ท่านก็แจ้งให้ผมไปใคร่ครวญใหม่ หรือ อ่านบทที่ พระพุทธเจ้าอุปมาว่า บุรุษจะข้ามแม่น้ำ โดยเห็นว่าฝั่งโน้นน่าจะอยู่สบาย ฝั่งนี้น่าจะมีอันตราย แต่ไม่มีเรือ ไม่มีสะพาน จึงหาหญ้า เศษไม้ ใบไม้ต่อเป็นแพ ใช้มือ และเท้าพุยน้ำข้ามไป"

ท่านให้ผมไปพิจารณาใคร่ครวญว่า แสดงว่านิพพาน ทางพ้นทุกข์ไม่ได้อยู่ห่างใกล้เกินไป หรือยากเกินกว่าที่แพต่อเองด้วยกิ่งไม้จะข้ามไปได้ เปรียบเป็นแม่น้ำแคบ ไม่ใช่มหาสมุทรกว้างใหญ่. ซึ่งในบทพยัญชนะนี้ มุ่งหมายว่า คือบุคคลนี้ เมื่อข้ามน้ำได้แล้วกลับ มีความคิดว่า แพนี้มีคุณแก่เรา เราจะยกแพนี้ขึ้นเทินหัวแบกไปด้วย เป็นความคิดที่ถูกหรือฯลฯ



จะวางให้ดู ค่อยๆทำความเข้าใจครับ :b1:

มรรค ในฐานะอุปกรณ์สำหรับใช้ มิใช่สำหรับยึดถือหรือแบกโก้ไว้

"ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่าหวาดระแวง น่ากลัวภัย แต่ฝั่งข้างโน้น ปลอดโปร่ง ไม่มีภัย ก็แล เรือ หรือสะพาน สำหรับข้ามไปฝั่งโน้น ก็ไม่มี บุรุษนั้นพึงดำริว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่ ฝั่ง ข้างนี้ น่าหวาดระแวง...ถ้ากระไร เราพึงเก็บรวมเอาหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามเอาด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี"

"คราวนั้น เขาจึง...ผูกแพ...ข้ามถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี ครั้น เขาได้ข้ามไป ขึ้นฝั่งข้างโน้นแล้ว ก็มีความดำริว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้ เราอาศัยแพนี้...ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นเทินบนหัว หรือแบกขึ้นบ่าไว้ ไปตามความปรารถนา"


"ภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเห็นเป็นเช่นไร ? บุรุษนั้น ผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น หรือไม่?"

(ภิกษุทั้งหลาย ทูลตอบว่า ไม่ถูก จึงตรัสต่อไปว่า)

"บุรุษนั้นทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น ? ในเรื่องนี้ บุรุษนั้น เมื่อได้ข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว มีความดำริว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้... ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นไว้บนบก หรือผูกให้ลอยอยู่ในน้ำ แล้วจึงไปตามปรารถนา บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น นี้ฉันใด"

"ธรรมก็มีอุปมาเหมือนแพ เราแสดงไว้ เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือไว้ ฉันนั้น เมื่อเธอทั้งหลาย รู้ทั่วถึงธรรม อันมีอุปมาเหมือนแพที่เราแสดงแล้ว พึงละเสียแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใยถึงอธรรมเล่า"

(ม.มู.12/280/270)

"ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ (หลักการ ความเข้าใจธรรม) ที่บริสุทธิ์ถึงอย่างนี้ ผุดผ่องถึงอย่างนี้ ถ้าเธอทั้งหลาย ยังยึดติดอยู่ เริงใจกระหยิ่มอยู่ เฝ้าถนอมอยู่ ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่ เธอทั้งหลาย จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม ที่เราแสดงแล้ว เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือเอาไว้ ได้ละหรือ"

(ม.มู.12/445/479)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ทั้งสองแห่งนี้ นอกจากเป็นเครื่องเตือนไม่ให้ยึดมั่นในธรรมทั้งหลาย (แม้ที่เป็นความจริง ความถูกต้อง) โดยมิได้ถือเอาประโยชน์จากธรรมเหล่านั้นตามความหมาย คุณค่า และประโยชน์ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ข้อที่สำคัญยิ่งก็คือ เป็นการย้ำให้มองเห็นธรรมทั้งหลาย ในฐานะเป็นอุปกรณ์ หรือวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย มิใช่สิ่งลอยๆ หรือจบในตัว

ด้วยเหตุนี้ เมื่อปฏิบัติธรรมข้อใดข้อหนึ่ง จะต้องรู้ตระหนักชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ของธรรมนั้น พร้อมทั้งความสัมพันธ์ของมันกับธรมอย่างอื่นๆ ในการดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์นั้น

วัตถุประสงค์ในที่นี้ มิได้หมายเพียงวัตถุประสงค์ทั่วไปในขั้นสุดท้ายเท่านั้น แต่หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะตัวของธรรมข้อนั้นๆ เป็นสำคัญ ว่าธรรมข้อนั้นปฏิบัติ เพื่อช่วยสนับสนุนหรือให้เกิดธรรมข้อใด จะไปสิ้นสุดลงที่ใด มีธรรมใดรับช่วงต่อไป ดังนี้เป็นต้น

เหมือนการเดินทางไกลที่ต่อยานพาหนะหลายทอด และอาจใช้ยานพาหนะต่างกัน ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ จะรู้คลุมๆ เพียงว่าจะไปสู่จุดหมายปลายทางที่นั่นๆ เท่านั้นไม่ได้ จะต้องรู้ด้วยว่า ยานแต่ละทอดแต่ละอย่างนั้น ตนกำลังอาศัยเพื่อไปถึงที่ใด ถึงที่นั้นแล้ว จะอาศัยยานใดต่อไป ดังนี้ เป็นต้น

การปฏิบัติธรรมที่ขาดความตระหนักในวัตถุประสงค์ ความเป็นอุปกรณ์ และความสัมพันธ์กับธรรมอื่นๆ ย่อมกลายเป็นการปฏิบัติที่เลื่อนลอย คับแคบ ตัน และที่ร้ายยิ่งคือ ทำให้เขวออกนอกทาง ไม่ตรงจุดหมาย และกลายเป็นธรรมที่เฉื่อยชา เป็นหมัน ไม่แล่นทำการ ไม่ออกผลที่หมาย

เพราะการปฏิบัติอย่างไร้จุดหมายเช่นนี้ ความไขว้เขว และผลเสียหายต่างๆ จึงเกิดขึ้นแก่หลักธรรมสำคัญๆ เช่น สันโดษ อุเบกขา เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นัตถิ เขียน:

...ปัญหาหาคือ ความรู้สึกที่ติด ที่แย้งในใจ ก่อกวน ทำให้วิตก ในบาปอกุศล ทำให้บ้างครั้งการเจริญ สติ สมาธิ ไม่ก้าวหน้า จะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร เพราะต้องอยู่กับท่านอีกเป็นปีๆ


วัดหรือสำนักอะไรครับที่ จขกท.อยู่ ส่งหลังไมค์ให้ได้ไหมครับ อยากรู้เฉยๆ

พูดกว้างๆให้ตัดสินใจเอง

คือ ถ้าเราเองไม่มั่นใจในการตีความพระสูตรของท่าน ก็ข้ามจุดนั้นเสีย พอเลี่ยงได้ไหม

เป้าหมายเรา คือเจริญสติ สมาธิ ช่วงสั้นๆที่บวชอยู่ใช่ไหมล่ะ หรือยังไง :b14:

อ้างคำพูด:
ท่านให้ผมไปพิจารณาใคร่ครวญว่า แสดงว่า นิพพาน ทางพ้นทุกข์ไม่ได้อยู่ห่างใกล้เกินไป หรือยากเกินกว่าที่แพต่อเองด้วยกิ่งไม้จะข้ามไปได้ เปรียบเป็นแม่น้ำแคบ ไม่ใช่มหาสมุทรกว้างใหญ่. ซึ่งในบทพยัญชนะนี้ มุ่งหมายว่า คือบุคคลนี้ เมื่อข้ามน้ำได้แล้วกลับ มีความคิดว่า แพนี้มีคุณแก่เรา เราจะยกแพนี้ขึ้นเทินหัวแบกไปด้วย เป็นความคิดที่ถูกหรือฯลฯ


ดูที่ท่านให้พิจารณาแล้ว ชอบกลอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 18:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มี.ค. 2016, 06:12
โพสต์: 9

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแก้ ไม่ใช่นิวรณ์ 5 หมายถึง กามรมณ์ รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพพะ. และทั้งวัด มีท่านรูปเดียว กับ ผมซึ่งเป็นผ้าขาว(เป็นวัดไม่ใช่สำนักสงฆ์ครับ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นัตถิ เขียน:
บ้างครั้งคิดว่าเราอาจเข้าใจผิดเอง แต่ก็ไม่ทำให้ดีขึ้นใจยังหยุดคิดไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น "การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่าไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ"


พระท่านก็พูดของท่านถูกแล้ว!
การออกบวชจากเรือน เรื่อนในที่นี้ก็หมายถึง ครอบครัว
และครอบครัวก็ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูกเมียและญาติพี่น้อง
การออกบวชก็เท่ากับการตัดขาดจากโลก สังคมและครอบครัว....มุ่งตรงต่อการปฏิบัติอย่างเดียว
การเฝ้าหวนคำนึ่งหาถึงคนในครอบครัว เป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุมรรคผล

นัตถิ เขียน:
แต่ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ ท่านก็แจ้งให้ผมไปใคร่ครวญใหม่ หรือ


เรือนที่หมายถึงครอบครัวเป็นคนละอย่างกับเรือนที่เป็นพุทธดำรัส
เรือนที่เป็นพุทธดำรัส(คำสอน) ไม่ใช่นิวรณ์แต่เป็นกาย
เคยได้ยินมั้ยเรือนกายเป็นที่อาศัยแห่งใจ


นัตถิ เขียน:
หรือ อ่านบทที่ พระพุทธเจ้าอุปมาว่า บุรุษจะข้ามแม่น้ำ โดยเห็นว่าฝั่งโน้นน่าจะอยู่สบาย ฝั่งนี้น่าจะมีอันตราย แต่ไม่มีเรือ ไม่มีสะพาน จึงหาหญ้า เศษไม้ ใบไม้ต่อเป็นแพ ใช้มือ และเท้าพุยน้ำข้ามไป" ท่านให้ผมไปพิจารณาใคร่ครวญว่า แสดงว่านิพพาน ทางพ้นทุกข์ไม่ได้อยู่ห่างใกล้เกินไป หรือยากเกินกว่าที่แพต่อเองด้วยกิ่งไม้จะข้ามไปได้ เปรียบเป็นแม่น้ำแคบ ไม่ใช่มหาสมุทรกว้างใหญ่. ซึ่งในบทพยัญชนะนี้ มุ่งหมายว่า คือบุคคลนี้เมื่อข้ามน้ำได้แล้วกลับ มีความคิดว่า แพนี้มีคุณแก่เรา เราจะยกแพนี้ขึ้นเทินหัวแบกไปด้วย เป็นความคิดที่ถูกหรือฯลฯ ยังมีอีกหลายบทที่ท่านตีความทำนองนี้...


นี่ท่านก็พูดถูกอีก! ความหมายง่ายๆและสั้นๆเลยว่า การจะบรรลุนิพพานได้ ต้องปล่อยวาง
ทุกสิ่งไม่มีข้อยกเว้น วางแม้กระทั้งธรรมที่เราศึกษานำทาง

นัตถิ เขียน:
....ปัญหาหาคือ ความรู้สึกที่ติด ที่แย้งในใจ ก่อกวน ทำให้วิตก ในบาปอกุศล ทำให้บ้างครั้งการเจริญ สติ สมาธิ ไม่ก้าวหน้า จะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร เพราะต้องอยู่กับท่านอีกเป็นปีๆ

ปัญหาของคุณคือ มีความคิดขัดแย้งกับคำสอนของพระหลวงพี่ แล้วคุณก็ด่วนสรุปเลยว่า พระท่านผิด
สิ่งที่คุณจะต้องทำก่อนที่จะลงความเห็น นั้นก็คือศึกษาถามไถ่ในข้อสงสัย อย่าเอาความคิดตนเป็นที่ตั้ง
ไม่ใช่ให้เชื่อเลย แต่ให้พิจารณาให้รู้จริงก่อนแล้วจึงตัดสินใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การตีความถ้อยคำพระสูตร (พระสูตรท่านแปลมาจากบาลีให้เราอ่าน แล้วเรามาตีความซ้ำอีก ต้องระวัง) สำคัญมากๆ จะให้ดีผู้นั้นต้องมีพื้นฐานทางภาษาบาลีมั่ง ไม่ยังงั้นแล้ว ตีไปตีมาจะเกิดความ :b1:

มันไม่เกี่ยวกับบาลีที่ไหน มั่วประจำ
มันเป็นธรรมะกึ่งภาษาศาสตร์ คำศัพท๋บางคำใช้ในการสื่อสารทางโลก
แต่คำศัพท์บางคำใช้ในการศึกษาธรรมะ.......ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเรียกธรรมะกถา
พูดให้ชัดก็คือเป็นโวหารที่ครูบาอาจารย์ท่านใช้สอนพระนวกะ(พระบวชใหม่)

กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่า ไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ


อันนี้ผิดล้าน % ถ้าแปลเสียใหม่ว่า "ออกบวชจากบ้าน เป็นผู้ไม่มีบ้าน" ล่ะหายสงสัยเลย (ศัพท์ อคาร แปลว่า บ้าน ,เรือน) คือออกจากบ้านไปอยู่อาราม, ไปอยู่วัด แค่นี้เอง ยังไม่ถึงนี่หรอก


ไม่รู้เรื่องแล้วมั่วไปเรื่อย ความหมายของเรือนที่พระหลวงพี่ท่านสอนคือ.......ครอบครัว

ก็เห็นอยู่แล้วว่า คำพูดท่านเป็นคำพูดอุปมาอุปไมย ท่านเปรียบเรือนเหมือนญาติพี่น้อง
เป็นเพราะจขกท ถือทิฐิไม่เข้าใจก็ไม่ยอมถามไถ่ในข้อสงสัยให้กระจ่าง...มีอาจารย์ดีๆอยู่ตรงหน้า
กลับไม่ถามหรือขอความรู้ ดันมาถามคนอย่างกรัชกาย
แทนที่จะได้ความรู้ กลับได้ความความขุ่นข้องหมองใจอาจาย์ตนเอง......มีทองอยู่กับตัวดันไม่รู้ค่า
เลือกที่จะเกลือกกลั่วก้อนขี้หมา ไม่ต้องบอกนะว่าใครเป็นทอง ใครเป็นก้อนขี้หมา :b32:

กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ

นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ


ถามอย่างตอบอย่าง เลือกที่จะตอบสิ่งง่ายๆที่เห็นกันดาดดื่น
ทำไมไม่อธิบายให้จขกทฟังละว่า.....เรือนในที่นี้หมายถึงอะไร :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


    นัตถิ เขียน
    ใจยังหยุดคิดไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น "การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่าไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ"

หมายความว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับวินัยสงฆ์
ออกจากบ้านไปบวช ก็ต้องไม่กลับไปพักที่บ้าน เหมือนที่เคยพัก เช่นวันนี้เบื่อนอนที่วัดจะกลับไปนอนบ้าน อย่างนี้ไม่ได้

และวัดก็ไม่ใข่ที่อาศัย เช่น ยึดวัดเป็นที่พักอาศัย เป็นบ้านหลังใหม่ของเรา ก็ไม่ได้ ต้องออกแสวงหาความรู้ ต้องเดินทาง ร่ำเรียน ใต้โคนต้นไม้บ้าง ป่าบ้าง เมืองนั้นบ้าง เมืองนี้บ้าง ไม่มีหลักแหล่งถาวร จึงจะตรงความหมายว่า เป็นผู้ไม่มีเรือน

การมีความคิดคัดค้าน เป็นความคิดคัดค้านผิดประเด็น จัดเป็นอกุศลที่เกิดแก่ใจนั่นเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นัตถิ เขียน
หรือ อ่านบทที่ พระพุทธเจ้าอุปมาว่า บุรุษจะข้ามแม่น้ำ โดยเห็นว่าฝั่งโน้นน่าจะอยู่สบาย ฝั่งนี้น่าจะมีอันตราย แต่ไม่มีเรือ ไม่มีสะพาน จึงหาหญ้า เศษไม้ ใบไม้ต่อเป็นแพ ใช้มือ และเท้าพุยน้ำข้ามไป"


เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ความศรัทธา(คิดว่าทางพ้นทุกข์มีจริง) และเป็นเรื่องของ หลักการฝึกตน
ในพุทธศาสนามีแนวทางฝึกตนคือ มรรค

ทางแก้ไขคือ การปรับทัศนคติของตน ในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ เป็นการฝึกตนประการหนึ่ง

ส่วนการปรับทิฏฐิความเห็นในทางธรรมะ เป็นการต่อสู้กับกิเลสตนเอง แม้จะอยู่บ้านหรืออยู่วัด เราก็จำเป็นต้องเอาชนะอกุศลให้ได้

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2016, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
การตีความถ้อยคำพระสูตร (พระสูตรท่านแปลมาจากบาลีให้เราอ่าน แล้วเรามาตีความซ้ำอีก ต้องระวัง) สำคัญมากๆ จะให้ดีผู้นั้นต้องมีพื้นฐานทางภาษาบาลีมั่ง ไม่ยังงั้นแล้ว ตีไปตีมาจะเกิดความ :b1:

มันไม่เกี่ยวกับบาลีที่ไหน มั่วประจำ
มันเป็นธรรมะกึ่งภาษาศาสตร์ คำศัพท๋บางคำใช้ในการสื่อสารทางโลก
แต่คำศัพท์บางคำใช้ในการศึกษาธรรมะ.......ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเรียกธรรมะกถา
พูดให้ชัดก็คือเป็นโวหารที่ครูบาอาจารย์ท่านใช้สอนพระนวกะ(พระบวชใหม่)

กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่า ไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ


อันนี้ผิดล้าน % ถ้าแปลเสียใหม่ว่า "ออกบวชจากบ้าน เป็นผู้ไม่มีบ้าน" ล่ะหายสงสัยเลย (ศัพท์ อคาร แปลว่า บ้าน ,เรือน) คือออกจากบ้านไปอยู่อาราม, ไปอยู่วัด แค่นี้เอง ยังไม่ถึงนี่หรอก


ไม่รู้เรื่องแล้วมั่วไปเรื่อย ความหมายของเรือนที่พระหลวงพี่ท่านสอนคือ.......ครอบครัว

ก็เห็นอยู่แล้วว่า คำพูดท่านเป็นคำพูดอุปมาอุปไมย ท่านเปรียบเรือนเหมือนญาติพี่น้อง
เป็นเพราะจขกท ถือทิฐิไม่เข้าใจก็ไม่ยอมถามไถ่ในข้อสงสัยให้กระจ่าง...มีอาจารย์ดีๆอยู่ตรงหน้า
กลับไม่ถามหรือขอความรู้ ดันมาถามคนอย่างกรัชกาย
แทนที่จะได้ความรู้ กลับได้ความความขุ่นข้องหมองใจอาจาย์ตนเอง......มีทองอยู่กับตัวดันไม่รู้ค่า
เลือกที่จะเกลือกกลั่วก้อนขี้หมา ไม่ต้องบอกนะว่าใครเป็นทอง ใครเป็นก้อนขี้หมา :b32:

กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ

นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ


ถามอย่างตอบอย่าง เลือกที่จะตอบสิ่งง่ายๆที่เห็นกันดาดดื่น
ทำไมไม่อธิบายให้จขกทฟังละว่า.....เรือนในที่นี้หมายถึงอะไร :b32:


เอาน่าค่อยๆดู

จขกท.ว่า เรือน หมายถึงนิวรณ์ 5 รูป รส เป็นต้น

อ้างคำพูด:
ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ


มันผิด จขกท.ก็แก้แล้ว

นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ

เรือนก็ มาจากศัพท์ "อคาร" บ้าน, เรือน ไม่รู้จักบ้าน, รู้จักเรือนหรา

นี่บ้าน เรือน

http://www.homedec.in.th/wp-content/upl ... B9%865.jpg

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2016, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
การตีความถ้อยคำพระสูตร (พระสูตรท่านแปลมาจากบาลีให้เราอ่าน แล้วเรามาตีความซ้ำอีก ต้องระวัง) สำคัญมากๆ จะให้ดีผู้นั้นต้องมีพื้นฐานทางภาษาบาลีมั่ง ไม่ยังงั้นแล้ว ตีไปตีมาจะเกิดความ :b1:

มันไม่เกี่ยวกับบาลีที่ไหน มั่วประจำ
มันเป็นธรรมะกึ่งภาษาศาสตร์ คำศัพท๋บางคำใช้ในการสื่อสารทางโลก
แต่คำศัพท์บางคำใช้ในการศึกษาธรรมะ.......ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเรียกธรรมะกถา
พูดให้ชัดก็คือเป็นโวหารที่ครูบาอาจารย์ท่านใช้สอนพระนวกะ(พระบวชใหม่)

กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่า ไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ


อันนี้ผิดล้าน % ถ้าแปลเสียใหม่ว่า "ออกบวชจากบ้าน เป็นผู้ไม่มีบ้าน" ล่ะหายสงสัยเลย (ศัพท์ อคาร แปลว่า บ้าน ,เรือน) คือออกจากบ้านไปอยู่อาราม, ไปอยู่วัด แค่นี้เอง ยังไม่ถึงนี่หรอก


ไม่รู้เรื่องแล้วมั่วไปเรื่อย ความหมายของเรือนที่พระหลวงพี่ท่านสอนคือ.......ครอบครัว

ก็เห็นอยู่แล้วว่า คำพูดท่านเป็นคำพูดอุปมาอุปไมย ท่านเปรียบเรือนเหมือนญาติพี่น้อง
เป็นเพราะจขกท ถือทิฐิไม่เข้าใจก็ไม่ยอมถามไถ่ในข้อสงสัยให้กระจ่าง...มีอาจารย์ดีๆอยู่ตรงหน้า
กลับไม่ถามหรือขอความรู้ ดันมาถามคนอย่างกรัชกาย
แทนที่จะได้ความรู้ กลับได้ความความขุ่นข้องหมองใจอาจาย์ตนเอง......มีทองอยู่กับตัวดันไม่รู้ค่า
เลือกที่จะเกลือกกลั่วก้อนขี้หมา ไม่ต้องบอกนะว่าใครเป็นทอง ใครเป็นก้อนขี้หมา :b32:

กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ

นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ


ถามอย่างตอบอย่าง เลือกที่จะตอบสิ่งง่ายๆที่เห็นกันดาดดื่น
ทำไมไม่อธิบายให้จขกทฟังละว่า.....เรือนในที่นี้หมายถึงอะไร :b32:


เอาน่าค่อยๆดู

จขกท.ว่า เรือน หมายถึงนิวรณ์ 5 รูป รส เป็นต้น

อ้างคำพูด:
ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ


มันผิด จขกท.ก็แก้แล้ว

นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ

เรือนก็ มาจากศัพท์ "อคาร" บ้าน, เรือน ไม่รู้จักบ้าน, รู้จักเรือนหรา

นี่บ้าน เรือน

http://www.homedec.in.th/wp-content/upl ... B9%865.jpg


รู้จักคำว่า...............อุปมาอุปไมยมั้ย

อุปมาอุปไมย .เป็นคำเปรียบเทียบ
อุปมา หมายถึง การอ้างเอามาเปรียบเทียบ
อุปไมย หมายถึง สิ่งที่ควรจะหาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ

ตัวอย่างเช่น คำสอนของหลวงพี่ ดีเลิศ เปรียบเหมือน ทอง
ความเห็นของกรัชกาย เลอะเทอะ เปรียบเหมือน ก้อนขี้หมา

แบบนี้แหล่ะท่านเรียกการอุปมาอุปไมย
หลวงพื่ท่านสอนธรรมแบบธรรมกถาโวหาร มันจึงมีคำอุปมาอุปไมยสอดแทรกอยู่ด้วย

เช่นเรือนที่จขกทอาศัยก่อนมาบวช ท่านเปรียบเหมือน ญาติหรือครอบครัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2016, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
การตีความถ้อยคำพระสูตร (พระสูตรท่านแปลมาจากบาลีให้เราอ่าน แล้วเรามาตีความซ้ำอีก ต้องระวัง) สำคัญมากๆ จะให้ดีผู้นั้นต้องมีพื้นฐานทางภาษาบาลีมั่ง ไม่ยังงั้นแล้ว ตีไปตีมาจะเกิดความ :b1:

มันไม่เกี่ยวกับบาลีที่ไหน มั่วประจำ
มันเป็นธรรมะกึ่งภาษาศาสตร์ คำศัพท๋บางคำใช้ในการสื่อสารทางโลก
แต่คำศัพท์บางคำใช้ในการศึกษาธรรมะ.......ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเรียกธรรมะกถา
พูดให้ชัดก็คือเป็นโวหารที่ครูบาอาจารย์ท่านใช้สอนพระนวกะ(พระบวชใหม่)

กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่า ไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ


อันนี้ผิดล้าน % ถ้าแปลเสียใหม่ว่า "ออกบวชจากบ้าน เป็นผู้ไม่มีบ้าน" ล่ะหายสงสัยเลย (ศัพท์ อคาร แปลว่า บ้าน ,เรือน) คือออกจากบ้านไปอยู่อาราม, ไปอยู่วัด แค่นี้เอง ยังไม่ถึงนี่หรอก


ไม่รู้เรื่องแล้วมั่วไปเรื่อย ความหมายของเรือนที่พระหลวงพี่ท่านสอนคือ.......ครอบครัว

ก็เห็นอยู่แล้วว่า คำพูดท่านเป็นคำพูดอุปมาอุปไมย ท่านเปรียบเรือนเหมือนญาติพี่น้อง
เป็นเพราะจขกท ถือทิฐิไม่เข้าใจก็ไม่ยอมถามไถ่ในข้อสงสัยให้กระจ่าง...มีอาจารย์ดีๆอยู่ตรงหน้า
กลับไม่ถามหรือขอความรู้ ดันมาถามคนอย่างกรัชกาย
แทนที่จะได้ความรู้ กลับได้ความความขุ่นข้องหมองใจอาจาย์ตนเอง......มีทองอยู่กับตัวดันไม่รู้ค่า
เลือกที่จะเกลือกกลั่วก้อนขี้หมา ไม่ต้องบอกนะว่าใครเป็นทอง ใครเป็นก้อนขี้หมา :b32:

กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ

นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ


ถามอย่างตอบอย่าง เลือกที่จะตอบสิ่งง่ายๆที่เห็นกันดาดดื่น
ทำไมไม่อธิบายให้จขกทฟังละว่า.....เรือนในที่นี้หมายถึงอะไร :b32:


เอาน่าค่อยๆดู

จขกท.ว่า เรือน หมายถึงนิวรณ์ 5 รูป รส เป็นต้น

อ้างคำพูด:
ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ


มันผิด จขกท.ก็แก้แล้ว

นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ

เรือนก็ มาจากศัพท์ "อคาร" บ้าน, เรือน ไม่รู้จักบ้าน, รู้จักเรือนหรา

นี่บ้าน เรือน

http://www.homedec.in.th/wp-content/upl ... B9%865.jpg


รู้จักคำว่า...............อุปมาอุปไมยมั้ย

อุปมาอุปไมย .เป็นคำเปรียบเทียบ
อุปมา หมายถึง การอ้างเอามาเปรียบเทียบ
อุปไมย หมายถึง สิ่งที่ควรจะหาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ

ตัวอย่างเช่น คำสอนของหลวงพี่ ดีเลิศ เปรียบเหมือน ทอง
ความเห็นของกรัชกาย เลอะเทอะ เปรียบเหมือน ก้อนขี้หมา

แบบนี้แหล่ะท่านเรียกการอุปมาอุปไมย
หลวงพื่ท่านสอนธรรมแบบธรรมกถาโวหาร มันจึงมีคำอุปมาอุปไมยสอดแทรกอยู่ด้วย

เช่นเรือนที่จขกทอาศัยก่อนมาบวช ท่านเปรียบเหมือน ญาติหรือครอบครัว


นี่แหละ คือ ธรรมะปฏิรูป นำมาเล่นกันจนเละ เข้าใจนะว่า ชมพูทวีปพุทธสูญแล้ว ต่อไปคือในไทยนี่แหละ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2016, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
การตีความถ้อยคำพระสูตร (พระสูตรท่านแปลมาจากบาลีให้เราอ่าน แล้วเรามาตีความซ้ำอีก ต้องระวัง) สำคัญมากๆ จะให้ดีผู้นั้นต้องมีพื้นฐานทางภาษาบาลีมั่ง ไม่ยังงั้นแล้ว ตีไปตีมาจะเกิดความ :b1:

มันไม่เกี่ยวกับบาลีที่ไหน มั่วประจำ
มันเป็นธรรมะกึ่งภาษาศาสตร์ คำศัพท๋บางคำใช้ในการสื่อสารทางโลก
แต่คำศัพท์บางคำใช้ในการศึกษาธรรมะ.......ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเรียกธรรมะกถา
พูดให้ชัดก็คือเป็นโวหารที่ครูบาอาจารย์ท่านใช้สอนพระนวกะ(พระบวชใหม่)

กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
การออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน" ท่านแปลว่า ไม่มีญาติ ไม่จำเป็นไม่ต้องติดต่อญาติ


อันนี้ผิดล้าน % ถ้าแปลเสียใหม่ว่า "ออกบวชจากบ้าน เป็นผู้ไม่มีบ้าน" ล่ะหายสงสัยเลย (ศัพท์ อคาร แปลว่า บ้าน ,เรือน) คือออกจากบ้านไปอยู่อาราม, ไปอยู่วัด แค่นี้เอง ยังไม่ถึงนี่หรอก


ไม่รู้เรื่องแล้วมั่วไปเรื่อย ความหมายของเรือนที่พระหลวงพี่ท่านสอนคือ.......ครอบครัว

ก็เห็นอยู่แล้วว่า คำพูดท่านเป็นคำพูดอุปมาอุปไมย ท่านเปรียบเรือนเหมือนญาติพี่น้อง
เป็นเพราะจขกท ถือทิฐิไม่เข้าใจก็ไม่ยอมถามไถ่ในข้อสงสัยให้กระจ่าง...มีอาจารย์ดีๆอยู่ตรงหน้า
กลับไม่ถามหรือขอความรู้ ดันมาถามคนอย่างกรัชกาย
แทนที่จะได้ความรู้ กลับได้ความความขุ่นข้องหมองใจอาจาย์ตนเอง......มีทองอยู่กับตัวดันไม่รู้ค่า
เลือกที่จะเกลือกกลั่วก้อนขี้หมา ไม่ต้องบอกนะว่าใครเป็นทอง ใครเป็นก้อนขี้หมา :b32:

กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:
ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ

นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ


ถามอย่างตอบอย่าง เลือกที่จะตอบสิ่งง่ายๆที่เห็นกันดาดดื่น
ทำไมไม่อธิบายให้จขกทฟังละว่า.....เรือนในที่นี้หมายถึงอะไร :b32:


เอาน่าค่อยๆดู

จขกท.ว่า เรือน หมายถึงนิวรณ์ 5 รูป รส เป็นต้น

อ้างคำพูด:
ผมแย้งว่าเรือนในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ 5 รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพผะ


มันผิด จขกท.ก็แก้แล้ว

นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ

เรือนก็ มาจากศัพท์ "อคาร" บ้าน, เรือน ไม่รู้จักบ้าน, รู้จักเรือนหรา

นี่บ้าน เรือน

http://www.homedec.in.th/wp-content/upl ... B9%865.jpg


รู้จักคำว่า...............อุปมาอุปไมยมั้ย

อุปมาอุปไมย .เป็นคำเปรียบเทียบ
อุปมา หมายถึง การอ้างเอามาเปรียบเทียบ
อุปไมย หมายถึง สิ่งที่ควรจะหาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ

ตัวอย่างเช่น คำสอนของหลวงพี่ ดีเลิศ เปรียบเหมือน ทอง
ความเห็นของกรัชกาย เลอะเทอะ เปรียบเหมือน ก้อนขี้หมา

แบบนี้แหล่ะท่านเรียกการอุปมาอุปไมย
หลวงพื่ท่านสอนธรรมแบบธรรมกถาโวหาร มันจึงมีคำอุปมาอุปไมยสอดแทรกอยู่ด้วย

เช่นเรือนที่จขกทอาศัยก่อนมาบวช ท่านเปรียบเหมือน ญาติหรือครอบครัว


นี่แหละ คือ ธรรมะปฏิรูป นำมาเล่นกันจนเละ เข้าใจนะว่า ชมพูทวีปพุทธสูญแล้ว ต่อไปคือในไทยนี่แหละ คิกๆๆ


อ้าว! ไหนบอกอินเดียไง ตอนนี้มาชมพูทวีปแล้ว :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร