วันเวลาปัจจุบัน 21 พ.ค. 2025, 04:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2016, 00:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
น่าน..


:b32: :b32: :b32:

อ้างคำพูด:

มิจฺฉาสติสฺส มิจฺฉาสมาธิ ปโหติ
สมฺมาสติสฺส สมฺมาสมาธิ ปโหติ
(อวิชชาสูตร ๑๙/๑)

ติดสุข หมายถึง การติดเพลินหรือติดใจอยากในความสุขความสบาย อันเกิดขึ้นจากอำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ สุขนี้จึงหมายถึงสุขที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสในข้อ ๕ และยังครอบคลุมถึงอาการเหล่านี้ด้วย คือ ติดปีติ หมายถึง ติดเพลินหรือติดใจอยากในความอิ่มเอิบหรือซาบซ่าน ติดอุเบกขา หมายถึง ติดเพลินหรือติดใจอยากในความสงบ หรือติดเอกัคคตารมณ์ หมายถึง จิตแช่นิ่งคือจิตจดจ่อหรือจดจ้องแช่นิ่งอยู่ภายใน ติดนิมิต คือติดเพลินยึดถือในนิมิตทั้งหลาย สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นอาการของการไปเสพจนติดใจอยากในผลอันเกิดแต่ฌานหรือสมาธิ จึงเกิดการกระทำทั้งโดยมีสติรู้ตัว รวมทั้งโดยไม่รู้ตัวโดยการเลื่อนไหลไปแม้ในวิถีจิตตื่น(ในชีวิตประจำวัน)อยู่เสมอๆ คือ การพยายามให้อาการขององค์ฌานสมาธิดังกล่าวคงอยู่ คงเป็น ดังเช่น อาการกระทำจิตส่งใน ล้วนเกิดขึ้นเพราะอวิชชาจึงเป็นไปอย่างผิดๆ และปัญหาใหญ่ยิ่งคือผู้ที่เป็นจะไม่รู้ตัว และเมื่อรู้ตัวก็แก้ไขไม่ได้เสียแล้ว อาการเหล่านี้ต้องใช้การโยนิโสมนสิการ กล่าวคือ ใช้ปัญญาพิจารณาโดยละเอียดอย่างแยบคาย หรือย้อนระลึกอดีตจึงจะทราบได้ ทั้งหมดนี้เรียกรวมๆกันว่า ติดสุขบ้าง ติดฌานบ้าง ติดสมาธิบ้าง หรือมิจฉาสมาธิบ้าง มิจฉาฌานบ้าง ดังนั้นฌานสมาธิอันดีงามที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติวิปัสสนาให้เกิดปัญญาญาณ จึงกลับกลายเป็นมิจฉาฌาน หรือมิจฉาสมาธิอันให้โทษ

....

สาเหตุก็คือ มักเกิดจากฝึกสติ แต่เป็นมิจฉาสติ จึงเกิดมิจฉาสมาธิขึ้น กล่าวคือ ตั้งใจฝึกสัมมาสติ แต่ไปจดจ่อกับอารมณ์เดียว ดำเนินอยู่เช่นนี้ทุกครั้งที่ปฏิบัติ จึงขาดการพัฒนาสติต่อไปในการระลึกรู้เท่าทันในสิ่งอื่นๆที่ท่านต้องการให้ระลึกรู้เท่าทันยิ่ง คือ เวทนา จิต ธรรม, จิตจึงไปแน่วแน่ในอารมณ์เดียวจนเป็นสมาธิจนเกิดการติดเพลินใน ปีติบ้าง สุขบ้าง ความสงบบ้าง จิตแช่นิ่งบ้าง จึงเป็นมิจฉาสมาธิเนื่องจากติดเพลินและขาดการวิปัสสนา กล่าวคือไม่ได้ใช้สติไปในทางปัญญาเพื่อให้เกิดนิพพิทา เมื่อถอนออกจากความสงบสบายจากฌานสมาธิแล้วนั่นเอง แต่กลับไปจดจ่อแช่นิ่งเลื่อนไหลไปในความสุขสงบสบายที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว, และอาจเกิดจากการเข้าใจผิดๆด้วยอวิชชา ดังเช่นว่า ได้ทำวิปัสสนาแล้ว แต่ไม่ได้ทำ เพียงแต่ทำสมาธิหรือการบริกรรมหรือท่องบ่นโดยไม่ได้ใช้สติปัญญาพิจารณาหาเหตุหาผลในธรรมอย่างจริงจังแต่อย่างใด หรือทำไปเพราะการหวังผลไปใช้ประโยชน์ในทางโลกๆโดยไม่รู้ตัว

....

สาเหตุใหญ่มักเป็นเพราะความไม่รู้ในคุณ,โทษอย่างแจ่มแจ้ง(อวิชชา) ดังนั้นเมื่อปฏิบัติฌานหรือสมาธิแล้ว เมื่อถอนจากวามสงบสบายออกมาแล้ว ก็ไม่ได้ดำเนินการวิปัสสนาหรือใช้ปัญญาพิจารณาธรรมอย่างจริงจังให้แจ่มแจ้งเลย อันมัวแต่คิดไปว่าการบริกรรมท่องบ่นในธรรมนั้นเป็นการพิจารณา จึงเกิดการติดเพลิน(นันทิ-อันเป็นตัณหา)เพราะเป็นความสุขความสบาย อันเป็นที่พึงพอใจโดยธรรมชาติอยู่แล้วของชีวิต และเมื่อปล่อยให้เกิดการเลื่อนไหลหรือจิตส่งในไปตามกําลังอํานาจของความสุขสบายต่างๆก็เพราะอวิชชา จึงเกิดเป็นตัณหาในที่สุดโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงย่อมดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท จนเป็นอาสวะกิเลสที่สั่งสมไว้ แล้วไปเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาจึงเกิดหรือจึงมีสังขารตามที่ได้สั่งสมนั้นโดยไม่รู้ตัวเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จึงกระทำเองโดยไม่ตั้งใจและไม่สามารถหยุดยั้งได้ สาเหตุใหญ่ๆก็มาจากความสุข ความสบาย ความสงบที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากความความเชื่อ,ความเข้าใจผิดๆว่าปฏิบัติแล้วได้บุญได้กุศลโดยตรง, หรือเพราะคิดว่าได้ปฏิบัติโดยถูกต้องแล้วคือตามความเชื่อความเข้าใจผิดๆที่ว่ายิ่งปฏิบัติมากยิ่งเกิดปัญญา ตามที่กล่าวอ้างสืบทอดกันมาว่า สมาธิยังให้เกิดปัญญา แต่ไปเข้าใจผิดคิดว่า ปฏิบัติฌาน,สมาธิแล้วปัญญาจักเกิดขึ้น ดังนี้เป็นต้น



http://www.nkgen.com/16.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2016, 04:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
5555
คุณกบ ไปถึงน่านแล้ว เดี๋ยวก็ได้เห็นดอกชมพูภูคา.........ไม่รู้เคยเห็นหรือยัง
:b48:
ส่วนคุณเอก้อน ข้อความที่ไปอ้างอิงมาแปะให้อ่านนี้ เป็นข้อความที่ดีมากๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ยังติดค้างอยู่ในวิปีสสนูกิเลส
อนุโมทนา
:b8:
แต่หัวข้อกระทู้ของเรานี้เป็นเรื่องของการวิเคราะห์คำพูดหรือสิ่งที่แปลความหมายมาจากธรรมที่เป็นบาลี หลายๆคำที่ทำให้พฤติกรรมและการปฏิบัติแตกต่างกันไปในข้อธรรมอันแม้จะเริ่มต้นมาจากที่เดียวกัน

ตัวอย่างที่ใหญ่โตมากและมีหลักฐานชัดเจนมาตลอดก็คือการเกิดนิกาย
มหาญาณ และนิกาย หีนญาณ

ตัวอย่างเล็กๆ แต่มีความหมายลึกๆ ที่มักเกิดบ่อยๆกับผู้ฝึกหัดปฏิบัติธรรมก็ดังเช่น

คำว่า "สันทิฏฐิโก"

"เอหิปัสสิโก"

"โอปนยิโก"

3 คำนี้ มีอยู่ในบทสวดธรรมคุณ 6 ประการ การแปลความหมายต่างกันไปทำให้เกิดการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป จนแทบจะเป็นคนละทิศละทางทั้งๆทีเป็นบัญญัติธรรมอันเดียวกัน ซึ่งจะได้วิเคราะห์แยกแยะ แจกแจง แสดงสู่กันฟัง และวิตกวิจารณ์กันต่อไป ให้เป็นเรื่อง ธัมวิจัยแบ่งปันกันฟังและพิจารณา

onion
โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2016, 21:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
5555
คุณกบ ไปถึงน่านแล้ว เดี๋ยวก็ได้เห็นดอกชมพูภูคา.........ไม่รู้เคยเห็นหรือยัง
:b48:
:b38:


ยังไม่เคยคับ...ถ้าไปจะลองไปชม...

อยากหาโอกาสไปเหนืออยู่แล้วคับ...

ไม่ได้ไปมานาน....คิดถึง..เหนือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2016, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 17:07
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
5555
คุณกบ ไปถึงน่านแล้ว เดี๋ยวก็ได้เห็นดอกชมพูภูคา.........ไม่รู้เคยเห็นหรือยัง
:b48:
:b38:


ยังไม่เคยคับ...ถ้าไปจะลองไปชม...

อยากหาโอกาสไปเหนืออยู่แล้วคับ...

ไม่ได้ไปมานาน....คิดถึง..เหนือ


อีกไม่กี่วัน อุตุฯ ว่าอุณหภูมิจะลดลงอีกรอบ
ก็ไปจิ่...^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2016, 06:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b2: :b2: :b2:

อยากไป....อยากไป...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2016, 23:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b2: :b2: :b2:

อยากไป....อยากไป...


ก็ถ้าไปแถว ๆ เหนือ อย่าลืมแวะไปสืบข่าวความคืบหน้า
สำนักอโศกมุนีแสงธรรมมาเผื่อด้วยนะ

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2016, 04:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ตื่นมาเงียบๆบีบเสียง
ขำจนไอ+น้ำตาไหล
อาการใช้1-2มือฉัน
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2016, 04:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
ขอถามอะไรหน่อยได้ไหม
ระหว่างพระพุทธพจน์กับ
พุทธวจนะกับพุทธวัจนะ
เหมือนหรือต่างกันไหม
ทั้งด้านภาษา+ตีความ
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2016, 06:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
:b2: :b2: :b2:

อยากไป....อยากไป...


ก็ถ้าไปแถว ๆ เหนือ อย่าลืมแวะไปสืบข่าวความคืบหน้า
สำนักอโศกมุนีแสงธรรมมาเผื่อด้วยนะ

:b1: :b1: :b1:


:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2016, 06:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha2_resize.gif
buddha2_resize.gif [ 37.14 KiB | เปิดดู 1979 ครั้ง ]
Rosarin เขียน:
rolleyes
ขอถามอะไรหน่อยได้ไหม
ระหว่างพระพุทธพจน์กับ
พุทธวจนะกับพุทธวัจนะ
เหมือนหรือต่างกันไหม
ทั้งด้านภาษา+ตีความ
onion onion onion

:b38:
พุทธ + พจน์
พุทธ = พระพุทธเจ้า = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
พจน์ = คำพูด เป็นประโยค เป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ
ประโยคคำพูดของพระพุทธเจ้า

เช่น"สัพเพธัมมา อนัตตา" "อโกเธนะ ชิโนโกธัง"

พุทธ+วัจนะ
พุทธ = พระพุทธเจ้า = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
วัจนะ = วจี = วาจา = คำพูดเป็นคำๆ
คำพูดแต่ละคำของพระพุทธเจ้า

เช่น สาธุ ภันเต ภิกขเว

วิเคราะห์ได้ประมาณนี้นะครับคุณ Rosarin

:b16:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2016, 05:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
มาวิเคราะห์คำแปลหรือความหมายของ คำพูดที่มีในธรรมคุณ 6 ประการที่เกิ่นไว้ข้างต้นกันต่อนะครับ จะได้เห็นว่าการแปล การจับประเด็นหรือตีความหมายในข้อธรรมจากบาลีนั้น มีผลต่อการลงมือปฏิบัติ รายละเอียดของการปฏิบัติและผลที่จะได้รับแตกต่าง แตกทิศทางกันออกไปมากเลยที่เดียวครับ

ธรรมคุณข้อที่ 1 บาลีท่านว่า

สวากขาโต ภัคควตาธัมโม ซึ่งแปลตามสำนวนนิยมว่า

พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น

ขยายความหมายออกมาได้ว่า

ธรรมะๆที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกเฟ้นมาสอนนั้นล้วนเป็นสิ่งที่ดีๆ

แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ในธรรมคุณบรรทัดที่ 1 หรือข้อที่ 1 นี้คือ ธรรมคุณข้อที่ 1 เป็นเหมือนคำถามที่ให้เราทั้งหลายถามตนเองและตอบให้ได้อย่างถูกต้องว่า

ธรรมะ ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกเฟ้นมาดีแล้วนำมาสอนนั้น คืออะไร?
s006
คำตอบจะอยู่ในธรรมคุณข้อที่ 2
โปรดติดตามตอนต่อไป
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2016, 06:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2016, 04:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
ธรรมคุณข้อที่ 2

สันทิฏฐิโก
สำนวนนิยมแปลว่า เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงรู้ได้ด้วยตนเอง

สังเกตให้ดีจะเห็นได้ว่าเป็นการแปลตามความหมายไม่ได้แปลตามตัวคำศัพท์บาลีตรงๆ เพราะไม่มีบาลีที่บอกว่า
ผู้ศึกษา
ผู้ปฏิบัติ
พึงเห็นได้ ด้วยตนเอง
อยู่ในนั้น

แต่บาลีของธรรมคุณข้อที่ 2 มีคำว่า สัน + คำว่าทิฏฐิ+ คำว่า โก

สัน=ทำให้ตรงให้ถูกต้อง
ทิฏฐิ=ความเห็น
โก = เป็นคำย้ำให้ทำ


ถ้าแปลความหมายให้ใกล้กับบาลีที่มีอยู่ที่สุดก็จึงควรแปลว่า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น

เป็นสิ่งที่ผู้มีความเห็นถูกต้อง หรือ ผู้ทำความเห็นให้ถูกต้องจักเห็นหรือรู้ได้ด้วยตนเอง

onion
เห็นถูกต้อง?

เห็นอย่างไรจึงจะเรียกว่าเห็นถูกต้อง?

ถ้าเอาตามบาลีมีในคัมภีร์ เห็นถูกต้อง หรือ สัมมาทิฏฐิก็คือเห็นตามอริยสัจ 4

แต่ถ้าจะสรุปให้สั้นที่สุดได้ใจความที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริง

สัมมาทิฏฐิ เห็นถูกต้องก็คือ "เห็นอนัตตา" หรือรู้ซึ้งอนัตตา คือรู้ด้วยใจมิใช่คิดรู้


เอาอะไรมาเป็นเหตุผลรับรอง

เอาพุทธพจน์ที่ตรัสว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา" มาเป็นหลักฐานรับรอง ซึ่งจะสอดคล้องเข้ากันได้กับธรรมคุณข้อที่ 1 ที่ให้เราทุกคนถามตัวเองว่า

ธรรมะหรือพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น......คืออะไร?

สังเกตดูให้ดี เน้นคำว่า "ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว" หรือ "ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอนนั้น คืออะไร?

ถ้าไม่จำกัดวงคำถามให้ชัดเจนหรือใครที่ไม่สังเกตเห็นคำจำกัดวงคำนี้ ย่อมจะพาลแปลความหมายของธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไปอย่างกว้างไกลไร้ขอบเขต และทำให้สอนกันปฏิบัติกันไปอย่างผิดเป้าหมาย ไม่ตรงประเด็น ทำให้ธรรมะที่ง่ายๆ กลายเป็นของยากและมากความยากแก่การเข้าใจ ยากแก่การปฏิบัติจริง

onion
อารัมภบทธรรมการแปลความหมายของธรรมคุณข้อที่ 2 มาเพียงเท่านี้ก่อนเผื่อจะมีผู้อยากสนทนา วิเคราะห์ ตีความหมาย หรือวิตกวิจารณ์ร่วมกันครับ
:b38:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร