วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ค. 2025, 18:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2016, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ใดใครก็ตามที่คิดหรือเข้าใจ รูปนาม รูปธรรม นามธรรม กาย-ใจ ร่างกาย-จิตใจ ทำนองโฮฮับ

ขอบอกเลยว่า ไม่มีวันไม่มีทางจะฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 ข้อ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ได้เลย ไม่สามารถปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นต้น เข้าใจได้เลย ไม่ว่าจะชาตินี้หรือชาติไหนๆ :b13: ถ้าไม่เชื่อขืนฝึกขืนทำ คงมีโอกาสทุบป้อมตำรวจเป็นแท้

พอแระม้าง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2016, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ภาษาที่เราพูดกันทั่วๆไปเรียกว่า "ร่างกาย" บ้าง เรียกสั้นๆว่า "กาย" บ้าง อันเดียวกันนั่นแหละโฮฮับ

ร่างกาย ไม่ใช่กาย
แต่ร่างกายคือ กายใจ


กรัชกาย เขียน:
(เช่น กาย เวทนา จิต ธรรม) (จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน พูดเป็นไทยๆ = ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)


กาย เวทนา จิต ธรรม....กายในที่นี้หมายถึง มหาูติรูปสี่

จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน......กายในที่นี้หมายถึง กายายตนะ


กรัชกาย เขียน:
ศัพท์เหล่านี้ "จิต ใจ มโน วิญญาณ มน" เป็นไวพจน์กัน ใช้แทนกันได้ ใช้ตัวไหนก็มีความหมายเดียวกัน

คนที่ไม่รู้ลักษณะที่แท้จริงของพุทธพจน์ หาทางออกไม่ได้ก็เลยดำน้ำบอกว่า...เป็นไวพจน์กันใช้แทนกันได้
ซึ่งในความเป็นจริง มันมีลักษณะที่ต่างกัน

กรัชกาย เขียน:
โฮฮับพูดมีถูกอยู่ตัวหนึ่ง (มั่วถูก) กาย+ใจ อาศัยกัน แต่กรัชกายจะพูดกลับกันให้โฮฮับฮงเสียว่า ร่างกาย กับ จิตใจ อาศัยกันและกันจึงดำเนินไปได้


ดำเนินอะไร ขนาดพูดให้ฟังแล้วยังมั่วดำน้ำอีกแน่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2016, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: คุณโฮฮับ ที่เพื่อนในลานคิดถึง กลับมาแล้ว

ในชั้นปริจเฉท บอกจุดสำคัญ แต่ว่าพอไปฟังชั้นคัมภีร์ก็ขยายต่อไปอีกค่ะ

ในคัมภีร์ยมก
กาโย ธรรมที่ชื่อว่า กายะ(กาย) มีองค์ธรรมหรือสภาวธรรมได้แก่
๑. นามกาย คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ นิพพาน
๒. รูปกาย คือ รูป ๒๗(เว้นกายปสาท)
๓. บัญญัติกาย คือ สมูหบัญญัติ เช่น กองช้าง กองม้า กองทัพ เป็นต้น
๔. กายายตนะ คือ กายปสาท

ส่วนกายายตนํ ธรรมที่ชื่อว่า กายายตนะ มีองค์ธรรมหรือสภาวธรรมได้แก่ กายปสาท

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2016, 11:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
natipakorn เขียน:

ผิดพลาดขออภัยด้วยครับ


จขกทพูดธรรมผิดอย่างแรงครับ
ดูก็รู้ว่ายังขาดความเข้าใจแม้ธรรมเบื้องต้นครับ


ขอบคุณครับที่มาร่วมสนทนา


ผมขอถามว่าคุณ โฮฮับ มีจริงๆไหมครับ?

ขอถามว่าคุณ โฮฮับ มีจริงๆไหมครับ?

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2016, 11:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ทุกอย่างในโลกนี้มีจริงแต่ก็เป็นของไม่เที่ยง ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
บางอย่างมีจริงแต่ก็เป็นของเที่ยง ได้แก่ พระนิพพาน
บางอย่างไม่มีจริงแต่เป็นของเที่ยง ได้แก่ บัญญัติ



สวัสดีครับ

ขอบคุณครับคุณลุงหมาน ขอโทษที่หายไปนาน

ผมขอถามว่าคุณลุงหมานมีจริงๆไหมครับ?

ผมขอถามว่าคุณลุงหมานมีจริงๆไหมครับ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2016, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:
โฮฮับ เขียน:
natipakorn เขียน:

ผิดพลาดขออภัยด้วยครับ


จขกทพูดธรรมผิดอย่างแรงครับ
ดูก็รู้ว่ายังขาดความเข้าใจแม้ธรรมเบื้องต้นครับ


ขอบคุณครับที่มาร่วมสนทนา


ผมขอถามว่าคุณ โฮฮับ มีจริงๆไหมครับ?

ขอถามว่าคุณ โฮฮับ มีจริงๆไหมครับ?

ขอบคุณครับ


มีจริงซิครับ! แล้วที่จริงก็คือ ขันธ์ห้าของนายโฮฮับ
โฮฮับบอกให้รู้ว่า ขันธ์ห้านี่เป็นของนายโฮฮับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2016, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
:b1: คุณโฮฮับ ที่เพื่อนในลานคิดถึง กลับมาแล้ว

ด้วยความเป็นกัลยาณมิตร
ถ้ามีคำพูดบางคำที่ไม่พอใจต้องขออภัยไว้ลวงหน้านะครับ(อย่าถือสา)

SOAMUSA เขียน:
ในชั้นปริจเฉท บอกจุดสำคัญ แต่ว่าพอไปฟังชั้นคัมภีร์ก็ขยายต่อไปอีกค่ะ
ในคัมภีร์ยมก
กาโย ธรรมที่ชื่อว่า กายะ(กาย) มีองค์ธรรมหรือสภาวธรรมได้แก่

กายะ(กาย ) มีองค์ธรรมที่เป็นสภาวธรรมเรียกว่า ชีวิตินทรีย์ ครับ
ชีวิตินทรีย์มิได้เป็นแค่องค์ธรรมของกายะเพียงอย่างเดียว แต่เป็นองค์ร่วมของ หทย(ใจ)ด้วย
พูดให้ชัดก็็คือ กายะและหทยเป็น อัญญมัญญปัจจัย ของ ชีวิตินทรีย์

SOAMUSA เขียน:
๑. นามกาย คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ นิพพาน

คำว่านามกายมีความหมายว่า นามที่มีกายเป็นเหตุให้เกิดครับ
และนามกาย ไม่ใช่จิต เจตสิกหรือนิพพานครับ
นามกายคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานครับ

SOAMUSA เขียน:
๒. รูปกาย คือ รูป ๒๗(เว้นกายปสาท)

รูปกายหมายถึง ธรรมชาติที่รวมกันจนเกิดเป็นรูปครับ รูปที่ว่าก็คือธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ

ส่วนรูป๒๗ที่คุณว่า แท้จริงมันเป็นรูปขันธ์ครับ
ท่านเรียกว่า อุปาทายรูป และไม่ได้มี๒๗แบบที่คุณว่า

SOAMUSA เขียน:
๓. บัญญัติกาย คือ สมูหบัญญัติ เช่น กองช้าง กองม้า กองทัพ เป็นต้น

บัญญัติกายไม่มีครับ บัญญัติที่เป็นพุทธพจน์มีเพียงสมมติและปรมัตถ์ครับ
กายก็เป็นบัญญัติหนึ่งในสมมติ
ส่วนกองม้า กองช้าง กองทัพ ก็เป็นบัญญัติแต่ไม่ใช่พุทธพจน์ เป็นบัญญัติในลักษณะของโวหารครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 04:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
natipakorn เขียน:
โฮฮับ เขียน:
natipakorn เขียน:

ผิดพลาดขออภัยด้วยครับ


จขกทพูดธรรมผิดอย่างแรงครับ
ดูก็รู้ว่ายังขาดความเข้าใจแม้ธรรมเบื้องต้นครับ


ขอบคุณครับที่มาร่วมสนทนา


ผมขอถามว่าคุณ โฮฮับ มีจริงๆไหมครับ?

ขอถามว่าคุณ โฮฮับ มีจริงๆไหมครับ?

ขอบคุณครับ


มีจริงซิครับ! แล้วที่จริงก็คือ ขันธ์ห้าของนายโฮฮับ
โฮฮับบอกให้รู้ว่า ขันธ์ห้านี่เป็นของนายโฮฮับ


การเจริญสัญญาเช่นนี้เป็นอุบายให้จิต ไม่ยึดติดกับความวิจิตรของโลก เบื่อหน่ายในโลก

จะจัดว่าเป็น สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ได้ไหมครับคุณโฮฮับ?

ผิดถูกยินดีน้อมรับข้อโต้แย้งครับ

" สัพพโลเกอนภิรตสัญญา " (สับ - พะ - โล -เก - อะ - นะ -พิ - ระ - ตะ - สัน - ยา)

สำหรับสัญญาที่ ๔ คือ การเจริญ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา คือไม่เห็นว่าสิ่งใดๆ ในโลกเป็นที่น่ายินดี ย่อมทำให้จิตหวนหลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรของโลก หรือความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก ซึ่งตามปกติแล้ว จะยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลกซึ่งเพิ่มขึ้นทุกวันตามความคิดที่วิจิตรขึ้นนะ บางท่านตื่นเช้า อ่านรายการสินค้าแล้วนะว่าที่ประเทศไหน ผลิตสินค้าอย่างไหน แล้วก็จะออกจำหน่ายเมื่อไร เริ่มตั้งแต่เช้าทีเดียว ก็เริ่มมีรายการสินค้าต่างๆ ซึ่งวิจิตรยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ของใช้ต่างๆ แต่ถ้าเป็นผู้ที่เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ไม่เห็นว่าสิ่งใดๆ ในโลกเป็นที่น่ายินดี ไม่ได้เป็นผู้ที่สนใจที่จะต้องตามความวิจิตรของโลก

เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการเจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น คือไม่เห็นว่าสิ่งใดๆ ในโลกเป็นที่ยินดี ตามที่ชาวโลกกำลังยินดี ไปตามความวิจิตรที่เพิ่มขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:

สวัสดีครับ

ขอบคุณครับคุณลุงหมาน ขอโทษที่หายไปนาน

ผมขอถามว่าคุณลุงหมานมีจริงๆไหมครับ?

ผมขอถามว่าคุณลุงหมานมีจริงๆไหมครับ?


สวัสดีครับยินดีสนทนาพูดคุยกันครับ ผิดถูกยังไงก็ว่ากันไป

ดังที่ถามนั้น "ลุงหมานมีจริงไหม" ขอตอบว่า ลุงหมานมีจริง แต่มีโดยการสมมุติขึ้น
เรียกว่าสมมุติสัจจะ โดยการการบัญญัติขึ้นว่าลุงหมานเพื่อจะสื่อสารพูดคุยเรียกกันว่าคนนั้นคนนี้ชื่อนี้
หรือบัญญัติให้เป็นตัวแทนในการเรียกพูดคุยหรืออ้างถึง ทำไมจึงเรียกว่ามีจริง ก็เพราะว่าวัตถุหรือสิ่งใดๆ
จะต้องมีขึ้นก่อนแล้วจึงจะสมมุติบัญญัติขึ้นภายหลัง เป็นของที่มีจริง ที่เรียกว่า สมมุติบัญญัติ
ซึ่งจะเป็นสัจจะหนึ่ง

แต่ถ้าโดยปรมัตถ์สัจจะ "ลุงหมาน" ไม่มีจะมีเป็นเพียงธาตุ ที่เรียกว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น
ฉะนั้น ลุงหมานจึงไม่มีในด้านของปรมัตถ์สัจจะ
หรือแม้ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ก็เป็นบัญญัติ แต่เป็นปรมัติถบัญญัติที่องค์ธรรมรับรอง
ที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้รับรองว่าเป็นของที่มีจริง สัจจะจึงมีอยู่ด้วยกัน ๒ นัย สมมุติสัจจะ และ ปรมัตถสัจจะ

ขอตอบตามความรู้เท่าที่ยังพอมีอยู่เท่านั้น ได้โปรดแสดงความเห็นที่ลึกซึ้งได้โดยไม่ต้องเกรงใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
natipakorn เขียน:

สวัสดีครับ

ขอบคุณครับคุณลุงหมาน ขอโทษที่หายไปนาน

ผมขอถามว่าคุณลุงหมานมีจริงๆไหมครับ?

ผมขอถามว่าคุณลุงหมานมีจริงๆไหมครับ?


สวัสดีครับยินดีสนทนาพูดคุยกันครับ ผิดถูกยังไงก็ว่ากันไป

ดังที่ถามนั้น "ลุงหมานมีจริงไหม" ขอตอบว่า ลุงหมานมีจริง แต่มีโดยการสมมุติขึ้น
เรียกว่าสมมุติสัจจะ โดยการการบัญญัติขึ้นว่าลุงหมานเพื่อจะสื่อสารพูดคุยเรียกกันว่าคนนั้นคนนี้ชื่อนี้
หรือบัญญัติให้เป็นตัวแทนในการเรียกพูดคุยหรืออ้างถึง ทำไมจึงเรียกว่ามีจริง ก็เพราะว่าวัตถุหรือสิ่งใดๆ
จะต้องมีขึ้นก่อนแล้วจึงจะสมมุติบัญญัติขึ้นภายหลัง เป็นของที่มีจริง ที่เรียกว่า สมมุติบัญญัติ
ซึ่งจะเป็นสัจจะหนึ่ง

แต่ถ้าโดยปรมัตถ์สัจจะ "ลุงหมาน" ไม่มีจะมีเป็นเพียงธาตุ ที่เรียกว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น
ฉะนั้น ลุงหมานจึงไม่มีในด้านของปรมัตถ์สัจจะ
หรือแม้ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ก็เป็นบัญญัติ แต่เป็นปรมัติถบัญญัติที่องค์ธรรมรับรอง
ที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้รับรองว่าเป็นของที่มีจริง สัจจะจึงมีอยู่ด้วยกัน ๒ นัย สมมุติสัจจะ และ ปรมัตถสัจจะ

ขอตอบตามความรู้เท่าที่ยังพอมีอยู่เท่านั้น ได้โปรดแสดงความเห็นที่ลึกซึ้งได้โดยไม่เกรงใจ


มีคำถามนิดหนึ่งครับ

เสียงของลุงหมานที่เปล่งออกมา อะไรคือสมมุติสัจจะ?
อะไรคือปรมัตถ์สัจจะ?

นอกจากตัวลุงหมานเองครับ

ความเห็นผม เสียงที่เปล่งออกมาเป็นปรมัติสัจจะโดยความเป็นรูปในขันธ์5ของผู้ฟัง

แต่เป็นสมมุติสัจจะโดยความเป็นสัญญาในขันธ์5ของผู้ฟัง

ความยึดถือในเสียงเพราะเหตุคือความหลงเป็นกิเลส

อันนี้เพี้ยนจากหลักธรรมไหมครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:

มีคำถามนิดหนึ่งครับ

เสียงของลุงหมานที่เปล่งออกมา อะไรคือสมมุติสัจจะ?
อะไรคือปรมัตถ์สัจจะ?

นอกจากตัวลุงหมานเองครับ

ความเห็นผม เสียงที่เปล่งออกมาเป็นปรมัติสัจจะโดยความเป็นรูปในขันธ์5ของผู้ฟัง

แต่เป็นสมมุติสัจจะโดยความเป็นสัญญาในขันธ์5ของผู้ฟัง

ความยึดถือในเสียงเพราะเหตุคือความหลงเป็นกิเลส

อันนี้เพี้ยนจากหลักธรรมไหมครับ


เสียงที่เปล่งออกมาเป็นปรมัตถ์สัจจะ
ในเสียงนั้นยังมีอัตถะบัญญัติหรือเนื้อความในเสียง เป็นสมมุติสัจจะ

ถ้าถามปรมัตถ์สัจจะกับสมมุติสัจจะ ก็ยังไม่มีกิเลสเข้าเกี่ยวข้อง
แต่ถ้าเข้าไปยึดถือในเสียงนั้นที่มีเนื้อความอันเป็นที่รักและไม่น่าปราถนาตรงนี้มีกิเลสเข้าไปเกี่ยวข้อง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 10:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณ ลุงหมาน

ลุงหมานเข้าใจถูกต้องแล้วครับ :b8:
แต่มีคำถามนิดหน่อย คุณลุงหมานมักจะเน้นกับ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สัญญาตัวอื่นๆไม่ค่อยกล่าวถึงนัก อยากทราบว่าเพราะเหตุใด

ด้วยความเคารพครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:
สวัสดีครับคุณ ลุงหมาน

ลุงหมานเข้าใจถูกต้องแล้วครับ :b8:
แต่มีคำถามนิดหน่อย คุณลุงหมานมักจะเน้นกับ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สัญญาตัวอื่นๆไม่ค่อยกล่าวถึงนัก อยากทราบว่าเพราะเหตุใด

ด้วยความเคารพครับ


ในปรมัตถธรรม ๔ ได้แก่
จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง
เจตสิก ๕๒ มี เวทนา ๑ สัญญา ๑ สังขาร ๕๐
รูป ๒๘ และนิพพาน

ดังนั้นสัญญามีเพียง ๑ ดวง ตัวอื่นๆ มันไม่มีจึงไม่ต้องกล่าว

ชักจะไม่แน่ใจเสียแล้วว่าเข้ามาถาม หรือเข้าตรวจสอบลองภูมิกันแน่ครับใช้คำพูด
เหมือนกับใครคนหนึ่งในในเว็บนี้ ที่หายหน้าไปแล้วแแปลงกายเข้ามาใหม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 22:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับลุงหมาน

ผมเป็นคนที่เข้ามาใหม่จริงๆครับ พบเว็บไซต์นี้มาจาก Google ครับ
ไม่มุสาวาทครับ ลองเช็ค IP Address ดูได้ครับ

สัญญาที่ผมได้พูดถึงนั้น ไม่ใช่สัญญา6ครับ แต่เป็นสัญญา10 ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ
ให้เจริญมากขึ้นครับ ที่ผมถามลุงหมานนั้น คือสัญญาเหล่านี้ที่ยกมาให้ดูครับ
ไม่ได้ลองภูมิลุงหมาน แต่มาสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจและประสพการณ์ซึ่งกันและกัน

จะขอ copy มาให้ดูนะครับ

สัญญา 10

อนิจจสัญญา พิจารณาว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้เป็นอนิจจัง
อนัตตสัญญาพิจารณาว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ เป็นอนัตตา

อสุภสัญญาพิจารณากายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้
อาทีนวสัญญาพิจารณาว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ พิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้

ปหานสัญญาไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า ที่เกิดขึ้นแล้ว (พิจารณาเห็นว่าวิตกทั้งสองคือกามวิตก และพยาบาทวิตกคือการจองเวรเป็นเหตุให้จิตยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดและอวิหิงสาเป็นเหตุให้รับวิบากกรรมในขณะเวียนว่ายตายเกิด)

วิราคสัญญาพิจารณาว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง (อุปธิ = ที่ตั้งแห่งทุกข์ ) ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ (ซึ่งก็คือสภาวะของพระนิพพานที่สัมผัสได้ในขณะที่มีชีวิตอยู่นั่นเอง )

นิโรธสัญญาพิจารณาว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ (วิราคะ และนิโรธ ล้วนเป็นชื่อหนึ่งของพระนิพพาน โดยวิราคะเน้นที่ความสำรอกกิเลส คือการไม่ปรุงแต่งในสิ่งภายนอกราบเรียบเสมอกัน ส่วนนิโรธเน้นที่ความดับไม่เหลือของกิเลส คือการไม่ยึดติดในสิ่งภายในว่าไม่ใช่ตัวกูของกู)

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา การกำหนดหมายในความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ละอุบายและอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิตย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น (การเห็นสิ่งที่ไม่งดงาม แต่สำคัญว่างดงามเพราะจิตเข้าไปปรุงแต่ง)

สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาการกำหนดหมายในความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง ความอึดอัด ระอา เกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง (การเห็นสิ่งทั้งปวงมีแต่แตกกระจายไป)

อานาปานสติ การนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2016, 04:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:
การเจริญสัญญาเช่นนี้เป็นอุบายให้จิต ไม่ยึดติดกับความวิจิตรของโลก เบื่อหน่ายในโลก
จะจัดว่าเป็น สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ได้ไหมครับคุณโฮฮับ?
ผิดถูกยินดีน้อมรับข้อโต้แย้งครับ


คุณnatipakornครับ อยากบอกว่า คุณอ่านพระธรรมไม่รู้เรื่องครับ
สัญญา๑๐ประการที่คุณหยิบยกมาอ้าง มันไม่เกี่ยวอะไรกับหัวกระทู้ที่คุณอธิบายเลย
และยิ่งไกลห่างกับความเห็นผม พูดให้ชัดก็คือแย้งคนละเรื่อง

ผมจะอธิบายคำว่า "สัพพโลเกอนภิรตสัญญา"ให้ฟัง คำๆนี้มีความหมายว่า.....
ความยินดียินร้ายเรื่องต่างๆในโลกคือสัญญา ซึ่งสัญญาที่ว่า เป็นสัญญาขันธ์

การพิจารณาให้เรื่องมันตรงกับกระทู้ที่คุณตั้งและตรงกับความเห็นที่ผมแย้ง
นั้นก็คือ......ต้องรู่ว่า อะไรเป็นสมมติบัญญัติ และอะไรเป็นปรมัตถบัญญัติ

"สัพพโลเกอนภิรตสัญญา" ที่กล่าวไว้ในพระสูตร ล้วนเป็นสมมติบัญญัติ
แล้วอะไรคือปรมัตถบัญญัติของ "สัพพโลเกอนภิรตสัญญา"ก็ต้องไปดูที่พระอภิธรรมครับ
นั้นก็คือ สัญญาขันธ์(ในขันธ์ห้า)

ปล.ฟังแล้วคุณอาจจะงง นั้นก็เพราะคุณไปหยิบเอาเรื่องที่มันไม่เกี่ยวกับความเห็นผม
คือเอาเรื่องคนละเรื่องมาอ้าง ผมจำเป็นต้องชี้แนะเรื่องที่ถูกต้องให้ฟัง



แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร