วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ค. 2025, 18:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2015, 00:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
asoka เขียน:
s006
ลุงหมานครับ ผมสงสัยว่าจิต 1 ดวงจะมีเจตสิกเกิดพร้อมหรือย้อมจิตได้ครั้งละ 1 ดวงเท่านั้น แต่จิตแต่ละดวงมันเกิดดับเร็วมาก จนดูเหมือนจิตที่เกิดขึ้นดวงเดียวนั้นมีเจตสิกเกิดขึ้นมาประกอบได้ตั้งหลายสิบดวงอย่างภาพที่หลุงหมานยกมา

เช่นจิตดวงที่ 1 เกิด มีวิญาณเกิดขึ้นรู้ ดับไป
มีจิตดวงที่ 2 พร้อมสตินทรีย์เจตสิกรู้ทัน ดับไป
จิตดวงที่ 3 เกิดมีปัญญินทรีย์เจตสิก(สัมมาทิฏฐิ)เกิดขึ้น ดู เห็น รู้ ดับไป
จิตดวงที่ 3 มีปัญญินทรีย์เจตสิก(สัมมาสังกัปปะ)เกิดขึ้นสังเกต พิจารณาอารมณ์ ดับไป
s004


ที่ว่าสงสัยนั้นน่ะมันไม่ใช่สงสัยนะครับ แต่มันเป็นความเห็นส่วนตัว
แต่มันไม่ไปตามหลักเกณที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้

จิตเกิดขึ้นแล้วดับอย่างรวดเร็วก็จริง แต่เป็นการเกิดดับที่สืบต่อเนื่องกันไป
เช่นว่า จิตเกิดรู้เห็นรูปแล้วดับไปอย่างรวดเร็วเราก็จะไม่รู้เรื่องราวที่เห็นเลยเพราะมันดับแล้ว
การที่เรารู้เรื่องราวในการเห็นนั้นได้ก็โดยอาศัยการเกิดดับที่สืบต่อกัน จนสิ้นสุดวิถีของจิต
หรือเหมือนหนึ่งว่าขณะที่เราดีใจหรือโกรธทำไมมันจึงดีใจอยู่ได้นานหรือโกรธอยู่ได้นานๆ

:b12:
ได้ช่องแล้ว ๆๆ
ได้เหตุปัจจัยที่จะถามต่อแล้วครับลุงหมาน
tongue
ในลานธรรมจักรแห่งนี้ผู้ที่อธิบายเรื่องอภิธรรมได้ดีละเอียดลึกซึ้ง มีความรู้มากก็เห็นมีลุงหมานนี้แหละที่แสดงตัวเด่นชัด ผมจึงเรียนถามและศึกษาเรื่องในระดับอภิธรรมกับลุงหมานเพิ่มขึ้นเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจด้านอภิธรรมนี้ไปด้วย
ต้องกราบขออภัยนะครับถ้ามีคำถามแปลกๆ และขออนุญาตสนทนาและสงสัยตามแบบของคนไม่ได้เรียนอภิธรรมด้วยนะครับ
smiley
อ้างคำพูด:
ที่ว่าสงสัยนั้นน่ะมันไม่ใช่สงสัยนะครับ แต่มันเป็นความเห็นส่วนตัว
แต่มันไม่ไปตามหลักเกณที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้

s004
มีหลายสิ่งที่ไม่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แต่มันมีอยู่ในธรรมชาติจริงๆ มันเป็นธรรม เช่นกัน ผู้มีความรู้ลึกซึ้งในคัมภีร์และการปฏิบัติจริงน่าจะสามารถนำเอาความรู้นั้นมาประยุกต์อธิบาย เปรียบเทียบให้ฟังได้บ้างกระมังครับ
s006
อ้างคำพูด:
จิตเกิดขึ้นแล้วดับอย่างรวดเร็วก็จริง แต่เป็นการเกิดดับที่สืบต่อเนื่องกันไป เช่นว่า จิตเกิดรู้เห็นรูปแล้วดับไปอย่างรวดเร็วเราก็จะไม่รู้เรื่องราวที่เห็นเลยเพราะมันดับแล้ว

s006
ตรงประเด็นที่ผมอ้างอิงคำพูดของลุงหมานที่ยกมานี้นะครับ
ผมขอถามต่อไปตามตัวอย่างสมมุติที่จะยกมาต่อไปนี้ว่า

เสียงด่ากระทบหู หลังจากนั้นจะมีจิตและเจตสิกอย่างไรเกิดขึ้นและดับไปบ้างตามปฏิกิริยาลูกโซ่ที่จะเกิดขึ้นในใจปุถุชนคนธรรมดาจนจบเรื่องทั้งหมดที่จะเกิดตามมาด้วยอำนาจของเสียงด่า

และถ้าเสียงด่านั้นไปกระทบหูของคนที่เป็นนักปฏิบัติธรรมที่กำลังเจริญสติปัฏฐาน 4 อยู่ ปฏิกิริยาลูกโซ่ที่จะเกิดตามมาจนจบเรื่องที่จะเกิดขึ้นด้วยอำนาจของเสียงด่านั้นจะเป็นอย่างไรเมื่ออธิบายตามหลักอภิธรรมที่ลุงหมานอ้างว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้

ลำดับของปฏิกิริยาลูกโซ่ที่จะเกิดขึ้นกับปุถุชนที่ได้รับเสียงด่าเท่าที่คนธรรมดาสามัญที่พอรู้ธรรมบ้างอย่างงูๆปลาๆอย่างผมพอจะนึกลำดับได้จะเป็นลักษณะคร่าวๆอย่างนี้นะครับ

หูกระทบเสียงด่า
จิต(วิญญาณ)รับรู้เสียง
จิต สัญญา จำหมายได้ว่า นี้คือเสียงด่า
จิตสอบถามว่า "ด่าใคร"
จิตตอบว่าด่า ฉัน (กู)
จิตเวทนา ตอบโต้ขึ้นมาทันที เป็นทุกข์
จิตไม่ชอบ
จิตขุ่นมัวเกิด
จิตโกรธ
จิตอยากตอบโต้ด่ากลับ หรือสอบถามว่า "มาด่าฉัน(กู)ทำไม?"

:b3:
ดังตัวอย่างที่ยกมานี้ถ้าอธิบายตามหลักอภิธรรม มันจะเกิดจิตและเจตสิกอะไรขึ้นมาบ้างเรียงตามลำดับตามธรรม

แล้วถ้าเป็นจิตของนักปฏิบัติธรรมหรือนักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เขาจะต้องทำอย่างไร? เพราะจะต้องมี สตินทรีย์เจตสิก ปัญญินทรีย์เจตสิก สมาธินทรีย์เจตสิก
และเจตสิกอื่นๆอีกหลายดวงเกิดขึ้นมาทำงาน เพราะเหตุกระทบเสียงด่าครั้งนี้

กรุณาวิเคราะห์และอธิบายให้ฟังเป็นธรรมทานหน่อยจะได้ไหมครับ?
ขอบพระคุณล่วงหน้ามาเป็นอย่างยิ่งครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2015, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ขออ้างอิงกระทู้มาหรอกมันยาวเสียเวลาอ่านซ้ำ
อ่านสำนวนของอโสกะแล้วพอมีแววฉายได้บ้างในเรื่องพระอภิธรรม(ไม่ได้ชมให้หลง)
เมื่อเราเองอยู่ในที่มืดสนิท แต่ก็ยังมีดวงดาวที่มองได้ชัดที่สุดในขณะนั้น

จริงๆ แล้วสำนวนที่ลุงหมานเอากล่าวนั้นไม่มีในพระไตรปิฏก เป็นเพียงข้ออุปมาอุปมัย
ให้เห็นภาพหรือสภาวะตามความเป็นจริง ก็เพื่อจะให้เข้าใจธรรมได้ง่ายขึ้น และสุดท้ายของมัน
ก็จะไปจบลงตรงอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในพระไตรปิฏก

ทีนี้ตรงประเดนที่ถาม
เมื่อนักปฏิบัติได้ศึกษามาอย่างดี เมื่อได้ยินเสียงคนด่าจะเข้าใจทันทีว่า
หู กับ เสียง มากระทบกันทำให้จิตมาอาศัยหู รู้เสียง ที่เราเรียกว่าเกิด "ผัสสะ"
(หู-เสียง-จิต)ถ้าเข้าใจตรงนี้จะไม่มี "ทิฏฐิ" ไม่มี "อัตตา" ไม่มีอะไรที่เป็นของเราทันที

มันเป็นของธรรมชาติ ที่นี้เมื่อผัสสะเกิดขึ้นแล้วยังมีธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า"สังขารเจตสิก"
มาปรุงแต่งจิตให้รู้เรื่องราวในเสียงนั้นว่าดีหรือไม่ดี เสียงสรรญเสริญหรือนินทาด่าว่าร้ายอย่างไร
หรือเข้าไปรู้สิ่งที่บัญญัติในเสียงนั้น(อัตถบัญญัติ)

ตามธรรมชาติที่จริงๆแล้วหูเขามีหน้าที่กระทบกับเสียงเท่านั้นหูไม่มีหน้าที่รู้เรื่องราวต่างเลย
ที่รู้เรื่องราวๆต่างได้นั้นก็คือ"จิต"ไม่ใช่หูจริงไหม จะขออุปมานะเช่นว่าคนตายมีหูไหม?
ก็ต้องตอบว่า มี และขณะนั้นเสียงมีอยู่ไหม? ก็ต้องตอบว่ามี แต่ถามว่าคนที่ตายมีทั้งหู
และก็มีเสียงในขณะนั้นคนตายได้ยินเสียงไหม? ก็ตอบว่าไม่ได้ยินเสียงจริงไหม?
ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด? ก้เพราะว่าคนตายไม่มีจิตไปอาศัยหูเกิดใช่หรือไม่ ?
เมื่อเข้าใจตรงนี้ได้แล้วทวารอื่นๆ ก็เป็นไปทำนองเดียวกัน

ดังนั้นจึงมีคนเข้าใจผิดกันเยอะ เช่นพูดว่ากูได้ยินมากับหูเลยเป็นต้น(คำพูดตรงนี้มีตัวกูเข้าไปแล้ว
มีทิฏฐิเข้าไปแล้ว) เเลยเพิ่มอัตตาและทิฏฐิเข้าไปอีก แต่ถ้านักปฏิบัติได้ศึกษามาดีแล้วจะเข้าใจ
ธรรมชาติ เพื่อลดอัตตาและทิฏฐิได้จริงเพราะความเข้าใจธรรมชาติ

และก็ใช่ว่า สติเกิดที ปัญญาเกิดที สัญญาเกิดที เวทนาเกิดที เหล่านี้เป็นต้น
เขาจะเกิดไปพร้อมๆกัน ต่างแต่ว่าหน้าของแต่ละอย่างมีหน้าที่ไม่เหมือนกันก็ทำไป
ที่เป็นในวงจรในปฏิจจสมุปบาท หรือในวิถีจิตเป็นแถวเป็นแนวนั้น พระองค์อุปมาอุปมัยลักษณะ
จิตที่เกิดขึ้นและดับไปในลักษณะเช่นนั้น จะต้องคำนึงถึงว่าจิตนั้นเกิดได้ทีละดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2016, 06:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
จะต้องคำนึงถึงว่าจิตนั้นเกิดได้ทีละดวง

:b4:

ข้อความของลุงหมานที่ผมอ้างอิงมานี่แหละครับเป็นเงื่อนให้เกิดคำถามเกือบทั้งหมดเพราะ

มีคำอธิบายไว้ว่า "เจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกับจิต ดับไปพร้อมกับจิต เหมือนเงาตามตัว"

ดังนั้น เจตสิกที่ไปเกิดขึ้นปรุงย้อมจิตย่อมจะเกิดทีละอย่างๆและดับไปทีละเรื่อง
แต่เอามาต่อการเป็นดวงๆหรือเป็นกลุ่มๆ จึงทำให้เป็นเรื่องเป็นราวที่เราเรียกว่า "สังขาร" ขึ้นมา

ถ้าเข้าใจตรงกันอย่างนี้ก็ย่อมจะเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์คือหลักของเหตุและผลหรืออริยสัจ 4 ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั่นเอง

ตอนที่เห็นลุงหมานมาสรุปว่าจิตที่เกิดขึ้น 1 ดวง มีเจตสิกมาประกอบพร้อมกันตั้งหลายสิบดวงมันจึงเห็นค้านอยู่ในใจ มันต้อง 1 ต่อ 1 ดังคำสรุปที่อ้างมาจึงจะยอมรับได้ลงใจครับ


ผิดถูกยังไงกรุณาชี้แนะต่อด้วยครับท่าน อภิธรรมธร ขอบพระคุณ
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2016, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 61.62 KiB | เปิดดู 2857 ครั้ง ]
ลักษณะของจิตดวงหนึ่งที่มีเจตสิกเกิดขึ้นหลายดวงดังยกตัวอย่างมาในภาพ
วงกลมใหญ่นั้นหมายถึงจิต ภายในวงกลมนั้นหมายถึงเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต อุปมา
เหมือนน้ำที่อยู่แก้วเปรียบเหมือนจิต แต่สิ่งที่อยู่ในน้ำนั้นคือเจตสิกที่ปะปนอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2016, 05:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ลักษณะของจิตดวงหนึ่งที่มีเจตสิกเกิดขึ้นหลายดวงดังยกตัวอย่างมาในภาพ
วงกลมใหญ่นั้นหมายถึงจิต ภายในวงกลมนั้นหมายถึงเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต อุปมา
เหมือนน้ำที่อยู่แก้วเปรียบเหมือนจิต แต่สิ่งที่อยู่ในน้ำนั้นคือเจตสิกที่ปะปนอยู่

smiley
เป็นอันว่าลุงหมานรู้มาอย่างนี้จึงยืนยันตามนี้

ผมรับทราบว่าลุงหมานเห็นอย่างนี้ ซึ่งยังไม่ลงใจได้ตามกฏของเหตุและผลดังที่ผมคาดเดาไว้

อ้างคำพูด:
ตอนที่เห็นลุงหมานมาสรุปว่าจิตที่เกิดขึ้น 1 ดวง มีเจตสิกมาประกอบพร้อมกันตั้งหลายสิบดวงมันจึงเห็นค้านอยู่ในใจ มันต้อง 1 ต่อ 1 ดังคำสรุปที่อ้างมาจึงจะยอมรับได้ลงใจครับ


ผมจึงคงต้องขวานขวายหาอภิธรรมท่านอื่นต่อไปอีก ซึ่งสงสัยต้องเป็นอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขต เสียละกระมัง หรืออาจจะมีศิษย์เอกของท่านอยู่ในลานฯ นี้บ้างก็กรุณามาช่วยให้ความเห็นหน่อยครับ ขอบพระคุณ

s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2016, 16:51 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2901


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2016, 10:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยืนยันว่าคุณ ลุงหมาน กล่าวได้ถูกต้องแล้วครับ
จิตเกิดขึ้นพร้อมด้วยเจตสิก อย่างน้อยที่สุด7ดวง ซึ่งเรียกว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิกครับ

เจตสิกเหล่านี้แหละที่ทำหน้าที่ของมันแตกต่างกันไป จึงทำให้เรารับรู้ โต้ตอบกับเหตุการณ์
ในชีวิตประจำวันได้ทัน เป็นคนที่ฉลาดหรือโง่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของชนิดของจิตและเจตสิกนี้แหละ
การศึกษาอภิธรรมนั้นให้ความรู้ที่กว้างขวางไม่มีจำกัดขอบเขตเลย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเข้าใจลึกซึ้ง
มากแค่ไหน

อย่างที่คุณ asoka เข้าใจนั้น ถ้าเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมๆกับจิตได้เพียงทีละดวงแล้ว คนนั้นก็จะเป็นคนพิการปัญญาอ่อนมากๆ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย แม้ว่าสัตว์เดรฉานยังมีเจตสิกเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งดวงครับ
ขึ้นอยู่ว่าจะเป็นสัตว์ชั้นต่ำหรือสูง

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก7

เจตสิกที่ทั่วไปแก่จิตทั้งปวง หมายถึง เจตสิก ๗ ดวงที่เป็นสาธารณะคือ ต้องเกิดกับจิตทุกดวง จิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ก็ต้องมีเจตสิก ๗ ดวงนี้ คือ
๑. ผัสสเจตสิก เป็นสภาพที่กระทบอารมณ์
๒. เวทนาเจตสิก เป็นสภาพที่รู้สึก หรือเสวยอารมณ์
๓. สัญญาเจตสิก เป็นสภาพที่จดจำ หรือคุ้นเคยในอารมณ์
๔. เจตนาเจตสิก เป็นสภาพที่ตั้งใจ จงใจ บงการสัมปยุตธรรมให้กระทำกิจของตน ๆ
๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นสภาพที่ทำให้จิตตั้งมั่น เป็นหนึ่งในอารมณ์
๖. ชีวิตินทริยเจตสิก เป็นสภาพที่รักษาสัมปยุตธรรมให้มีชีวิตอยู่ได้
๗. มนสิการเจตสิก เป็นสภาพที่สนใจ ทำให้จิตมุ่งตรงต่ออารมณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2016, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นไหมล่ะได้เพิ่มเพื่อนใหม่อีกหนึ่งท่าน ที่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
ผมคิดว่าคุณเนติปกรณ์ท่านนี้คงได้ศึกษาพระอภิธรรมมาเป็นอย่างดีที่กล้ายืนยัน
ช่วยๆกันแบ่งปันความรู้กันนะครับ หรือมีความเห็นขัดแย้งก็แสดงความเห็นมาได้เลยครับ

คุณอโสกะท่านว่าเจตสิกเหมือนเงาของจิต อันนี้ก็ไม่ใช่อีกนั่นแหละ
เพราะจิตเจตสิกเป็นธรรมชาติที่เกิดร่วมกันพร้อมกันและดับพร้อมกัน การเกิดพร้อมกันเหมือน
กับจตุมธุรส มีน้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลตะโหนด ขันฑตสกร เมื่อรวมกันแล้วจะแยกแยะไม่ออกเลยว่า
นั้นเป็นน้ำผึ้ง นั้นน้ำอ้อย นั้นน้ำตาลตะโหนด นั้นขันฑตสกร แม้จะด้วยลิ้มรสแล้วก็ตาม
ไม่เหมือนกับแกงหรือกับข้าว เราสามารถแยกแยะได้ด้วยการลิ้มรส

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2016, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เห็นไหมล่ะได้เพิ่มเพื่อนใหม่อีกหนึ่งท่าน ที่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
ผมคิดว่าคุณเนติปกรณ์ท่านนี้คงได้ศึกษาพระอภิธรรมมาเป็นอย่างดีที่กล้ายืนยัน
ช่วยๆกันแบ่งปันความรู้กันนะครับ หรือมีความเห็นขัดแย้งก็แสดงความเห็นมาได้เลยครับ

คุณอโสกะท่านว่าเจตสิกเหมือนเงาของจิต อันนี้ก็ไม่ใช่อีกนั่นแหละ
เพราะจิตเจตสิกเป็นธรรมชาติที่เกิดร่วมกันพร้อมกันและดับพร้อมกัน การเกิดพร้อมกันเหมือน
กับจตุมธุรส มีน้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลตะโหนด ขันฑตสกร เมื่อรวมกันแล้วจะแยกแยะไม่ออกเลยว่า
นั้นเป็นน้ำผึ้ง นั้นน้ำอ้อย นั้นน้ำตาลตะโหนด นั้นขันฑตสกร แม้จะด้วยลิ้มรสแล้วก็ตาม
ไม่เหมือนกับแกงหรือกับข้าว เราสามารถแยกแยะได้ด้วยการลิ้มรส


ขอพิมพ์จากหนังสือคู่มือปรมัตถธรรม ๔ มาให้อ่านเพิ่มเติมค่ะ

๑. จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ (อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ)
หมายความว่า ได้รับอารมณ์อยู่เสมอนั้นเอง จึงเรียกว่ารู้อารมณ์

๒. เจตสิก ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด (จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ)
เจตสิกนี้เมื่อเกิดขึ้น จะต้องเกิดในจิตเสมอ

๓. รูป ธรรมชาติที่เสื่อมสลายไปเพราะวิโรธิปัจจัย (รูปฺปนลกฺขณํ)
หมายความว่ารูปนี้เมื่อถูกวิโรธิปัจจัย คือปัจจัยที่ไม่ถูกกัน ซึ่งได้แก่ ความเย็นและความร้อน เป็นต้น
แล้วย่อมเปลี่ยนแปลงสลายไป

๔. นิพพาน ธรรมชาติทีสงบจากรูปนามขันธ์๕ (สนฺติลกฺขณํ)

:b8: :b8: :b8:

เจตสิกนี้ เกิดพร้อมกันกับจิต ดับพร้อมกันกับจิต มีอารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยวัตถุเดิียวกันกับจิต
และในลักษณะ ๔ ประการของเจตสิกนี้ จิตกับเจตสิกนั้นแม้จะเกิดพร้อมกัน แต่จิตจะเป็นประธานส่วนเจตสิกจะอาศัยจิตเกิด เจตสิกทำหน้าที่ปรุง จิตเป็นตัวบอกว่าเรายังมีชีวิตอยู่ เรามีชีวิตินทรีย์เจตสิกรักษาจิต เรามีจิตเกิดับตลอดเวลา เจตสิกที่มีควบคู่กันตลอดพร้อมกันคือสัพพเจตสิก ๗ ดวง เจตสิกที่เหลือก็มาเป็นกลุ่ม แล้วแต่กลุ่มใดจะมา ขึ้นอยู่กับจิตว่าขณะนั้นจิตเป็นประเภทใด โทสมูลจิตเกิดก็มีเจตสิกในกลุ่มโทสะเกิดพร้อมจิต คำว่ามูลนี้เป็นรากเหง้าหมายถึงเจตสิก

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2016, 21:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2016, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
ขอพิมพ์จากหนังสือคู่มือปรมัตถธรรม ๔ มาให้อ่านเพิ่มเติมค่ะ

๑. จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ (อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ)
หมายความว่า ได้รับอารมณ์อยู่เสมอนั้นเอง จึงเรียกว่ารู้อารมณ์

๒. เจตสิก ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด (จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ)
เจตสิกนี้เมื่อเกิดขึ้น จะต้องเกิดในจิตเสมอ

๓. รูป ธรรมชาติที่เสื่อมสลายไปเพราะวิโรธิปัจจัย (รูปฺปนลกฺขณํ)
หมายความว่ารูปนี้เมื่อถูกวิโรธิปัจจัย คือปัจจัยที่ไม่ถูกกัน ซึ่งได้แก่ ความเย็นและความร้อน เป็นต้น
แล้วย่อมเปลี่ยนแปลงสลายไป

๔. นิพพาน ธรรมชาติทีสงบจากรูปนามขันธ์๕ (สนฺติลกฺขณํ)

:b8: :b8: :b8:

เจตสิกนี้ เกิดพร้อมกันกับจิต ดับพร้อมกันกับจิต มีอารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยวัตถุเดิียวกันกับจิต
และในลักษณะ ๔ ประการของเจตสิกนี้ จิตกับเจตสิกนั้นแม้จะเกิดพร้อมกัน แต่จิตจะเป็นประธานส่วนเจตสิกจะอาศัยจิตเกิด เจตสิกทำหน้าที่ปรุง จิตเป็นตัวบอกว่าเรายังมีชีวิตอยู่ เรามีชีวิตินทรีย์เจตสิกรักษาจิต เรามีจิตเกิดับตลอดเวลา เจตสิกที่มีควบคู่กันตลอดพร้อมกันคือสัพพเจตสิก ๗ ดวง เจตสิกที่เหลือก็มาเป็นกลุ่ม แล้วแต่กลุ่มใดจะมา ขึ้นอยู่กับจิตว่าขณะนั้นจิตเป็นประเภทใด โทสมูลจิตเกิดก็มีเจตสิกในกลุ่มโทสะเกิดพร้อมจิต คำว่ามูลนี้เป็นรากเหง้าหมายถึงเจตสิก


ต้องขอขอบคุณที่คุณโสมได้เข้ามาอ่านและช่วยออกความเห็นในโพสท์เพื่อให้การสนทนาธรรมเกิดขึ้น
ถ้าอ่านแล้วอนุโมทนาอย่างเดียว กระทู้ก็จะเกิดการสะดุดไปสามารถเดินต่อไปได้

ที่ลุงหมานเขียนในลักษณะแบบนี้นั้นก็เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจธรรมะที่ลึกซึ้ง ต้องอุปมาอุปมัย
เพื่อจะเข้าใจแบบบ้านๆไปก่อน ไม่ใช่เนื้อหาที่เขียนจะผิดหลักความจริงและก็ยังเชื่อมโยงกันอยู่
พระพุทธองค์ก็ใช้หลักการนี้เหมือนกัน ลองไปอ่านอนุปุพพิกถา ซึ่งจะเป็นการเทศนาไปตามลำดับ
หรือแม้แต่พระสารีบุตรที่ไปโปรดมารดาที่เรือนคลอดก็เช่นเดียวกัน ท่านหาอุบายต่างๆ
ให้มารดามีความเห็นคล้อยตามก็เพื่อละความเห็นผิดที่มีอยู่เดิม

หรือแม้แต่เด็กอ่อนๆ เรายังต้องป้อนอาหารที่พอกลืนกินได้ ถ้าให้อาหารที่แข็งไปเด็กอ่อนก็กินไม่ได้
จะเกิดอาการเข็ดขยาดกลัวไม่อยากเข้าใกล้อาหารนั้นอีก จำเป็นต้องป้อนอาหารที่เขาพอรับได้ไปก่อน
ใช่ว่าจะยื่นอาหารจานโปรดแล้วบอกว่าจานนี้มีคุณค่าทางโภชนาการมากควรกินแบบนี้อย่างมาก
นั่นหมายถึงทำให้เขาเสียโอกาสอย่างน่าเสียดาย คือคำถามจะไม่เกิดขึ้นเลย จะถูกต่อต้าน
หรือคำที่ถูกเพิกเฉยขึ้นมาแทน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2016, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
SOAMUSA เขียน:
ขอพิมพ์จากหนังสือคู่มือปรมัตถธรรม ๔ มาให้อ่านเพิ่มเติมค่ะ

๑. จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ (อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ)
หมายความว่า ได้รับอารมณ์อยู่เสมอนั้นเอง จึงเรียกว่ารู้อารมณ์

๒. เจตสิก ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด (จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ)
เจตสิกนี้เมื่อเกิดขึ้น จะต้องเกิดในจิตเสมอ

๓. รูป ธรรมชาติที่เสื่อมสลายไปเพราะวิโรธิปัจจัย (รูปฺปนลกฺขณํ)
หมายความว่ารูปนี้เมื่อถูกวิโรธิปัจจัย คือปัจจัยที่ไม่ถูกกัน ซึ่งได้แก่ ความเย็นและความร้อน เป็นต้น
แล้วย่อมเปลี่ยนแปลงสลายไป

๔. นิพพาน ธรรมชาติทีสงบจากรูปนามขันธ์๕ (สนฺติลกฺขณํ)

:b8: :b8: :b8:

เจตสิกนี้ เกิดพร้อมกันกับจิต ดับพร้อมกันกับจิต มีอารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยวัตถุเดิียวกันกับจิต
และในลักษณะ ๔ ประการของเจตสิกนี้ จิตกับเจตสิกนั้นแม้จะเกิดพร้อมกัน แต่จิตจะเป็นประธานส่วนเจตสิกจะอาศัยจิตเกิด เจตสิกทำหน้าที่ปรุง จิตเป็นตัวบอกว่าเรายังมีชีวิตอยู่ เรามีชีวิตินทรีย์เจตสิกรักษาจิต เรามีจิตเกิดับตลอดเวลา เจตสิกที่มีควบคู่กันตลอดพร้อมกันคือสัพพเจตสิก ๗ ดวง เจตสิกที่เหลือก็มาเป็นกลุ่ม แล้วแต่กลุ่มใดจะมา ขึ้นอยู่กับจิตว่าขณะนั้นจิตเป็นประเภทใด โทสมูลจิตเกิดก็มีเจตสิกในกลุ่มโทสะเกิดพร้อมจิต คำว่ามูลนี้เป็นรากเหง้าหมายถึงเจตสิก


ต้องขอขอบคุณที่คุณโสมได้เข้ามาอ่านและช่วยออกความเห็นในโพสท์เพื่อให้การสนทนาธรรมเกิดขึ้น
ถ้าอ่านแล้วอนุโมทนาอย่างเดียว กระทู้ก็จะเกิดการสะดุดไปสามารถเดินต่อไปได้

ที่ลุงหมานเขียนในลักษณะแบบนี้นั้นก็เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจธรรมะที่ลึกซึ้ง ต้องอุปมาอุปมัย
เพื่อจะเข้าใจแบบบ้านๆไปก่อน ไม่ใช่เนื้อหาที่เขียนจะผิดหลักความจริงและก็ยังเชื่อมโยงกันอยู่
พระพุทธองค์ก็ใช้หลักการนี้เหมือนกัน ลองไปอ่านอนุปุพพิกถา ซึ่งจะเป็นการเทศนาไปตามลำดับ
หรือแม้แต่พระสารีบุตรที่ไปโปรดมารดาที่เรือนคลอดก็เช่นเดียวกัน ท่านหาอุบายต่างๆ
ให้มารดามีความเห็นคล้อยตามก็เพื่อละความเห็นผิดที่มีอยู่เดิม

หรือแม้แต่เด็กอ่อนๆ เรายังต้องป้อนอาหารที่พอกลืนกินได้ ถ้าให้อาหารที่แข็งไปเด็กอ่อนก็กินไม่ได้
จะเกิดอาการเข็ดขยาดกลัวไม่อยากเข้าใกล้อาหารนั้นอีก จำเป็นต้องป้อนอาหารที่เขาพอรับได้ไปก่อน
ใช่ว่าจะยื่นอาหารจานโปรดแล้วบอกว่าจานนี้มีคุณค่าทางโภชนาการมากควรกินแบบนี้อย่างมาก
นั่นหมายถึงทำให้เขาเสียโอกาสอย่างน่าเสียดาย คือคำถามจะไม่เกิดขึ้นเลย จะถูกต่อต้าน
หรือคำที่ถูกเพิกเฉยขึ้นมาแทน


สาธุค่ะลุง ดีงามแล้วค่ะ การยกตัวอย่างของลุง ถูกต้องเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
หนูเลยพิมพ์หลักสูตรเพิ่มเติมและคุยให้นิดหน่อยค่ะ :b20:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2016, 13:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
อ้างคำพูด:
จิตมีสภาพเป็นไตรลักษณ์เกิดขึ้นดับไปต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ช่วงลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับถึงแสนโกฏิ ขณะ

หลักฐานจาก จิตปรมัตถ์ ปริเฉทที่1

1โกฏิ = 10 ล้าน
แสนโกฏิ = 100,000,000

s006
ผมไปค้นดูตำราที่กล่าวถึงเรื่องเจตสิก หลายฉบับ ก็กล่าวอย่างเดียวกันว่า
จิต 1 ดวงสามารถเกิดเจตสิกร่วมได้หลายดวง คงมีผู้สอนกันไว้ได้แค่นี้ในคัมภีร์อภิธรรม
:b7:
ก็เลยยังยืนยันสงสัยไว้อยู่ว่า จิต 1 ดวง ประกอบเจตสิกได้ 1 ดวงเหมือนเดิม
เพราะเมื่อไปดูเรื่องการเกิดดับของจิตแล้ว จิตเกิดดับเร็วมากดังอ้างอิง การที่จะเป็น 1 เจตสิกต่อจิต 1 ดวงจึงเป็นไปได้สูงกว่า น่าจะใช่กว่า

การที่จิต 1 ดวงจะประกอบเจตสิกได้เป็นสิบๆดวง โดยธรรมน่าจะเป็นไปไม่ได้และไม่ใช่ แต่มีผู้อธิบายบอกไว้เป็นบัญญัติได้แค่นั้น

ต้องมีผู้รู้และปฏิบัติได้จริงจนสามารถอ่านนับการเกิดดับของจิตได้คล้ายพระพุทธเจ้ามาตอบจึงจะคลายสงสัยได้

เลยขอทิ้งไว้ให้ช่วยกันค้นหาผู้ที่จะตอบได้ด้วยกันนะครับ

:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2016, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s004
อ้างคำพูด:
จิตมีสภาพเป็นไตรลักษณ์เกิดขึ้นดับไปต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ช่วงลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับถึงแสนโกฏิ ขณะ

หลักฐานจาก จิตปรมัตถ์ ปริเฉทที่1

1โกฏิ = 10 ล้าน
แสนโกฏิ = 100,000,000

s006
ผมไปค้นดูตำราที่กล่าวถึงเรื่องเจตสิก หลายฉบับ ก็กล่าวอย่างเดียวกันว่า
จิต 1 ดวงสามารถเกิดเจตสิกร่วมได้หลายดวง คงมีผู้สอนกันไว้ได้แค่นี้ในคัมภีร์อภิธรรม
:b7:
ก็เลยยังยืนยันสงสัยไว้อยู่ว่า จิต 1 ดวง ประกอบเจตสิกได้ 1 ดวงเหมือนเดิม
เพราะเมื่อไปดูเรื่องการเกิดดับของจิตแล้ว จิตเกิดดับเร็วมากดังอ้างอิง การที่จะเป็น 1 เจตสิกต่อจิต 1 ดวงจึงเป็นไปได้สูงกว่า น่าจะใช่กว่า

การที่จิต 1 ดวงจะประกอบเจตสิกได้เป็นสิบๆดวง โดยธรรมน่าจะเป็นไปไม่ได้และไม่ใช่ แต่มีผู้อธิบายบอกไว้เป็นบัญญัติได้แค่นั้น

ต้องมีผู้รู้และปฏิบัติได้จริงจนสามารถอ่านนับการเกิดดับของจิตได้คล้ายพระพุทธเจ้ามาตอบจึงจะคลายสงสัยได้

เลยขอทิ้งไว้ให้ช่วยกันค้นหาผู้ที่จะตอบได้ด้วยกันนะครับ

:b38:

ยังจะพอมีโอกาสอยู่นะ เพราะยังมีพระพุทธเจ้าอีกหนึ่งพระองค์เกิดขึ้นในโลกใบนี้ รอๆๆ ถามนะ
แต่ไม่แน่ใจว่าจะได้มาเกิดและได้ถามหรืออีกเปล่า เพราะปกติก็พลาดมาแล้วหลายพระองค์
หรือจะให้ไปถามพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ไม่มีใครที่จะสามารถไปถามได้ ท่านคงเหลือไว้
ในพระไตรปิฏกและในคัมภีร์ของอรรถกาจารย์ให้เราได้ศึกษากันเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2016, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าอโสกะยังมีความเชื่อว่าจิตมีเจตสิกประกอบได้ ๑ ดวง นั่นหมายถึงเป็นการคัดค้าน
คำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน อย่างไม่หวั่นเกรงใดๆทั้งสิ้น ซึ่งจะเป็นการสวนทาง
ที่พระพุทธเจ้าที่ทรงสอนเรื่องหนทางสายเดียว คือ องค์มรรค ๘ ที่เกิดสมังคีย์ในจิตดวงเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร