วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ค. 2025, 18:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35 ... 62  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2014, 14:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


พอเจอบทความที่เขากล่าวไว้อย่างละเอียดละออเป็นลำดับกว่า
ไม่วกวนสับสนป่ายไปป่ายมา
ก็ทำเฉไฉ ไปอื่น...

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2014, 15:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
พอเจอบทความที่เขากล่าวไว้อย่างละเอียดละออเป็นลำดับกว่า
ไม่วกวนสับสนป่ายไปป่ายมา
ก็ทำเฉไฉ ไปอื่น...

:b1:

:b12: :b12:
ไม่เฉไฉไปไหนหรอก มันยาวมาก ตาลาย อ่านคร่าวๆแล้วก็สรุปลงเหมือนกับที่อโศกะทำสั้นๆให้อ่านกันนั่นแหละดูดีๆ

ถ้าเห็นว่ามีอะไรแตกต่างชัดเจนจนเป็นนัยยะ ก็คัดเฟ้นออกมาแสดงให้ดูสั้นๆ นะ เอก้อน
:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2014, 16:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าใจแล้ว เอกอนพลาดเอง
ท่านอโศกะมีความเห็นเข้าใจในเรื่องนี้ชัดเจนถูกต้องเหมาะสมแล้ว

คงไม่มีความถูกต้องชัดเจนอันไหนจะมาทัดทานท่านได้แล้วล่ะ

นอกนั้นท่านก็สนทนากับท่านอื่นไปตามประสาเถอะ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2014, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


อันที่จริงคุนน้องมีข้อสังเกตุอยู่อย่างนึงหลังจากตรวจสอบทานตนเอง
สมมติเมื่อตากระทบรุป แล้วมีความทรงจำว่านั่นเป็น กบ แต่เราไม่มีเครื่องข้องไม่มีอาสวกิเลศ ไม่ได้มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งต่อผัสสะนั้น มันจะเป็นตัณหาเป็นอุปทานไปได้อย่างไรเจ้าค่ะ ยกตัวอย่างเมื่อ ตากระทบรูป แลเห็นเป็น กบสัตว์ครึงบกครึงน้ำ เห็นแล้วก็วางเฉย ไม่ได้มีความรู้สึกหรือปรุงแต่งต่อ มันก็แค่ตากระทบรูปเกิดดับไปตามเหตุปัจจัย ก็ในเมื่อเราไม่ได้ไปสร้างเหตุ วงจรปฏิจสมุปบาทจะทำงานได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีการกระทำหรือ กรรมเกิดขึ้น ผลก็คือสูญญ
สมมติ ตากระทบรูป แลเห็นเป็นกบ แล้วเกิดอุปทานว่านั่นเป็นกบ เกิดตัณหาขึ้นคือความอยาก(อุปทาน) อยากจับมากิน นี่ตะหากคือการเกิดอุปทาน ถ้ามีการสร้างเหตุออกไปคือ กายกรรม จับกบ นี่คือวงจรปฏิจทำงาน s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2014, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool เห็นตัวอะไรตัวหนึ่ง กระโดดดึ๊บๆ ออกมา... เราเคยเห็นมันมาก่อน เลยจำมันได้ อันนี้เป็น สัญญา. ทีนี้ มันมีคำที่เขาตั้งขึ้นมา สำหรับเรียกเจ้าตัวนั้นว่า กบ, คำเรียกคือ บัญญัติ ไม่ใช่อะไรๆ อื่นใดทั้งนั้น, แต่ถ้าบางคนจะแงะอย่างละเอียด ว่าบัญญัติคือ สัญญา มันก็พอจะกล่อมแกล้มได้. แต่ปกติ เขาไม่ถือว่าเป็นสัญญา.

:b6: เมื่อเห็นกบแล้ว รู้สึกว่า มันน่าจะอร่อย นี่เป็น สังขาร, เป็นการปรุงแต่ง.
เช่นเดียวกัน เห็นรถเบนซ์เป็นรถเบนซ์ ย่อมไม่ใช่อุปาทาน เพราะมันเป็นรถเบนซ์จริงๆ, เห็นเป็นรถถัง จะเรียกว่า ประสาท.
พอเห็นแล้ว รู้สึกว่ามันหะรูหะรา น่าหะหลงหะไหล นั่นเป็นการปรุงแต่ง เป็นสังขารขันธ์.

:b6: จะเห็นได้ว่า ไม่มีตรงไหนที่เป็น สัญญูปาทานขันธ์ (อุปทานในสัญญา) แล้วมันคืออะไร.

onion สัญญูปาทานขันธ์ ก็คือตัวเดียวกับ อัตตวาทุปาทาน
แล้วทำไมไม่ใช้คำนี้เลยล่ะ. ก็เพราะ สัญญูปาทานขันธ์ มันเป็นการไล่เรียงอุปาทานตามองค์ประกอบของ ขันธ์ 5, ส่วน อัตตวาทุปาทาน เป็นการแยกองค์ประกอบของอุปาทาน 4

ยกตัวอย่างเช่น กามุปาทาน ในอุปทาน 4 ก็เป็นการร่วมกันของ รูปูปาทานักขันธ์ เวทนูปาทานักขันธ์ และวิญญาณูปาทานักขันธ์
แต่ละอุปทาน ก็จะประกอบไปด้วยอุปทานขันธ์ชนิดต่างๆ. ยกเว้น อัตตวาทุปาทาน จะมีเพียง สัญญูปาทานขันธ์ เท่านั้น

เห็นกบ รู้ว่าเป็นกบ, อัตตวาทุปาทาน ไม่เกิด.
ไม่เห็นกบ แต่ได้ยินคำว่า กบ, อัตตวาทุปาทาน เกิด.

อาเมน onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2014, 20:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เข้าใจแล้ว เอกอนพลาดเอง
ท่านอโศกะมีความเห็นเข้าใจในเรื่องนี้ชัดเจนถูกต้องเหมาะสมแล้ว

คงไม่มีความถูกต้องชัดเจนอันไหนจะมาทัดทานท่านได้แล้วล่ะ

นอกนั้นท่านก็สนทนากับท่านอื่นไปตามประสาเถอะ

:b8: :b8: :b8:

smiley
ดีแล้ว อนุโมทนา ทางใครทางมัน
เดี๋ยวก็รู้ดีกันเองถ้าไม่ละความเพียร
:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2014, 21:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
eragon_joe เขียน:
เข้าใจแล้ว เอกอนพลาดเอง
ท่านอโศกะมีความเห็นเข้าใจในเรื่องนี้ชัดเจนถูกต้องเหมาะสมแล้ว

คงไม่มีความถูกต้องชัดเจนอันไหนจะมาทัดทานท่านได้แล้วล่ะ

นอกนั้นท่านก็สนทนากับท่านอื่นไปตามประสาเถอะ

:b8: :b8: :b8:

smiley
ดีแล้ว อนุโมทนา ทางใครทางมัน
เดี๋ยวก็รู้ดีกันเองถ้าไม่ละความเพียร
:b4:


:b1: :b1: :b1:

คือ...ก็ถ้าไม่ละความเพียรในการที่จะละอาสวะ...เน๊อะ...

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/i ... part5.html

อ้างคำพูด:
๑๑๗. ต้องเป็นผู้รู้ ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้

"พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ผู้เห็น ไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ไม่เห็น. รู้อะไร? เห็นอะไรเล่า? ความสิ้นอาสวะจึงมีได้. รู้เห็นโยนิโสมนสิการ (การทำไว้ในใจโดยแยบคาย) และอโยนิโสมนสิการ (การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย). เมื่อทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย อาสวะที่ยังไม่เกิด ก็ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น. เมื่อทำไว้ในใจโดยแยบคาย อาสวะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ก็จะละเสียได้."
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยทัสสนะ (การเห็น) ก็มี อาสวะที่พึงละได้ด้วยสังวร (ความสำรวม) ก็มี อาสวะที่พึงละได้ด้วยปฏิเสวนะ (การใช้สอย, การบริโภค) ก็มี, อาสวะที่พึงละได้ด้วยอธิวาสนะ (การอดทน หรือข่มไว้) ก็มี อาสวะที่พึงละได้ด้วยปริวัชชนะ (การงดเว้น) ก็มี อาสวะที่พึงละได้ด้วยวิโนทนะ (การบรรเทา หรือการทำให้น้อยลง) ก็มี อาสวะที่พึงละได้ด้วยภาวนา (การอบรม คือลงมือปฏิบัติให้เกิดผล) ก็มี."

(๑) อาสวะที่พึงละได้ด้วยทัสสนะ(การเห็น)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการเห็น เป็นไฉน? ปุถุชน (คนผู้ยังมากด้วยกิเลส) ในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ ผู้มิได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า มิได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า มิได้เห็นสัตบุรุษ (คนดี) ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรทำไว้ในใจ (ควรใส่ใจ) ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรทำไว้ในใจ (ไม่ควรใส่ใจ). เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควรใส่ใจ และไม่ควรใส่ใจ จึงใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจ ไม่ใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจชนิดไหน ? คือชนิดที่เมื่อใส่ใจเข้า กามาสวะ (กิเลสที่หมักดอกสันดานคือกาม) ภวาสวะ (กิเลสที่หมักดองสันดานคือความยินดีในภพ๑) อวิชาสวะ (กิเลสที่หมักดองสันดานคืออวิชาความไม่รู้จริง) ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาไม่ใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจชนิดไหน ? คือชนิดที่ เมื่อใส่ใจเข้า กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ ที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิด ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะละเสียได้. เพราะการใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจ และการไม่ใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจของบุคคลผู้นั้น อาสวะที่ยังไม่เกิด ก็ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น. ผู้นั้นย่อมใส่ใจโดยไม่แยบคาย อย่างนี้ว่า
"๑. เราได้เคยเกิดมาแล้ว ในอดีตกาลนานไกลหรือหนอ ?
๒. หรือว่าเราไม่ได้เคยเกิดมาแล้ว ในอดีตกาลนานไกล ?
๓. เราได้เคยเกิดเป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลนานไกล ?
๔. เราได้เคยเกิดเป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลนานไกล ?
๕. เราได้เคยเกิดเป็นอะไรแล้วเกิดเป็นอะไรอีกหนอ ในอดีตกาลนานไกล ? ๖. เราจักเกิดหรือหนอ ในอนาคตกาลนานไกล ?
๗. หรือว่าเราจักไม่เกิด ในอนาคตกาลนานไกล ?
๘. เราจักเกิดเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลนานไกล ?
๙. เราจักเกิดเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลนานไกล ?
๑๐. เราจักเกิดเป็นอะไรแล้วเกิดเป็นอะไรอีกหนอ ในอนาคตกาลนานไกล ? หรือปรารภปัจจุบันกาลนานไกล ก็เกิดความสงสัยภายในขึ้นว่า

๑๑. เราเป็นหรือหนอ ๑๒. หรือว่าเราไม่ได้เป็น
๑๓. เราเป็นอะไรหนอ ๑๔. เราเป็นอย่างไรหนอ
๑๕. สัตว์นี้มาเกิดจากที่ไหนหนอ ๑๖. เราจักไปเกิดที่ไหนหนอ ?"

เมื่อเขาใส่ใจโดยไม่แยบคาย อย่างนี้ ทิฏฐิ(ความเห็น) ๖ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นคือ

๑. ความเห็นอย่างเป็นจริงอย่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "อัตตา (ตัวตน) ของเรามีอยู่."
๒. ความเห็นอย่างเป็นจริงอ่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "อัตตา (ตัวตน) ของเราไม่มี."
๓. ความเห็นอย่างเป็นจริงอย่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "เรายอมจำอัตตา(ตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ตัวตน) นี่เอง."
๔. ความเห็นอย่างเป็นจริงอย่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "เรายอมจำอนัตตา (สิ่งไม่ใช่ตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ตัวตน) นี่เอง."
๔. ความเห็นอย่างเป็นจริงอย่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "เรายอมจำอนัตตา (สิ่งไม่ใช่ตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ตัวตน)นี่เอง."
๕. ความเห็นอย่างเป็นจริงอย่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "เรายอมจำอัตตา (ตัวตน) ได้ด้วยอนัตตา (สิ่งไม่ใช่ตัวตน) นี่เอง."
๖. หรือผู้นั้นเกิดความเห็นอย่างนี้ว่า "อัตตา (ตัวตน) ของเรา เป็นผู้พูด เป็นผู้รู้ ย่อมเสวยผลแห่งกรรมดี กรรมชั่ว ในที่นั้น ๆ อัตตา(ตัวตน)ของเรา นั้นแหละ เป็นของเที่ยง ยั่งยืน เป็นอย่างนั้น ไม่แปรผัน จักตั้งอยู่อย่างนั้น เสมอด้วยสิ่งซึ่งคงทนทั้งหลาย."
"นี้แล ภิษุทั้งหลาย เรียกว่าทิฏฐิคตะ (ตัวทิฏฐิ) ทิฏฐิคหณะ (การยึดด้วยทิฏฐิ) ทิษฐิกันตาระ (ทางกันดารคือทิฏฐิ) ทิฏฐิวิสูกะ๒ (ความยอกย้อนแห่งทิฏฐิ) ทิฏฐิวิปผันทิตะ (ความผันผวนแห่งทิฏฐิ และทิฏฐิสังโยชนะ (เครื่องผูกคือทิฏฐิ)."
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชน ผู้มิได้สดับ ผู้ถูกเครื่องผู้กคือทิฏฐิผูกมัดแล้ว เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นไปจากคยามเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ไม่พ้นไปจากทุกข์ได้."
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้าได้รับการแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยเจ้า ผู้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมรู้จักธรรมที่ควรใส่ใจ และไม่ควรใส่ใจ. ผู้นัน เมื่อรู้จักธรรมที่ควรใส่ใจ ย่อมใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจ ย่อมใส่ใจในธรรมที่ควรใส่ใจ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาย่อมไม่ใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจชนิดไหน ? คือชนิดที่เมื่อใส่ใจเข้า กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะที่ยังไม่เกิด ก็จะเกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาย่อมใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจชนิดไหน ? คือชนิดที่ เมื่อใส่ใจเข้ากามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ย่อมละเสียได้. เพราะการไม่ใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจ เพราะการใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจของบุคคลนั้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ก็จะไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ก็จะละเสียได้ ผู้นั้นย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า นี้คือทุกข์, นี้คือเหตุให้ทุกข์เกิด, นี้คือความดับทุกข์, นี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. เมื่อบุคคลนั้นใส่ใจโดยแยคายอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ (กิเลสเครื่องผูกมัด) ๓ อย่างเสียได้ คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเหตุยึดถือว่ากายของเรา) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) สีลัพตปรามาส (ความยึดถือศีลและพรต ได้แก่ความติดในลัทธิพิธีต่าง ๆ). นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการเห็น."

(๒) อาสวะที่พึงละได้ด้วยสังวร (ความสำรวม)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยความสำรวม เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวม ระวัง อินทรีย์ (สภาพที่เป็นใหญ่) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, และใจ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมระวังแล้ว อาสวะ (กิเลสที่หมักดองสันดาน) ที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อสำรวมระวังแล้ว อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อน ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ดวยความสำรวม."

(๓) อาสวะที่พึงละได้ด้วยปฏิเสวนะ (การส้องเสพ, การใช้สอย, การบริโภค)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการส้องเสพ เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร (ผ้านุ่งห่ม) เพียงเพื่อบำบัดความหนาว ความร้อน บำบัดสัมผัส อันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ให้เกิดความละอาย."

"เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคบิณฑบาต (อาหาร) มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตกแต่ง เพียงเพื่อตั้งอยู่ได้แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังชีวิต เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ด้วยการบริโภคนี้ เราจักบำบัด (ทุกข) เวทนาเก่า ไม่ทำ (ทุกข) เวทนาใหม่ ให้เกิดขึ้น เราจักดำรงชีวิตได้. ความไม่มีโทษ และความอยู่เป็นผาสุกจักเกิดขึ้น."

"เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะ (ที่นอนที่นั่ง) เพียงเพื่อบำบัดความหนาว ความร้อน บำบัดสัมผัส อันเกิดจากเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เสือกคลาน เพื่อบรรเทาอันตรายอันเกิดแต่ฤดูกาล และเพื่อยินดีในความหลีกเร้น."

"เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคยารักษาโรค เพื่อบำบัดเวทนาเนื่องจากอาพาธต่าง ๆ อันเกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่มีความเจ็บไข้เป็นสำคัญ."

"เพราะเมื่อภิกษุไม่ต้องเสพปัจจัย ๔ อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น. เมื่อส้องเสพปัจจัย ๔ อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี. นี้แล ภิษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการส้องเสพ."

(๔) อาสวะที่พึงละได้ด้วยอธิวาสนะ (การอดทนหรือข่มไว้)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอดทน เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนได้ต่อหนาว ร้อน หิวระหาย ต่อสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ต่อถ้อยคำหยาบคายที่มากระทบ ต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น อันกล้าแข็งเจ็บปวด ไม่เป็นที่สำราญ ไม่เป็นที่พอใจ ขนาดจะทำลายชีวิตเสียได้."

"เพราะเมื่อภิกษุนั้นไม่อดทน อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออดทนอาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอดทน."

(๕) อาสวะที่พึงละได้ด้วยปริวัชชนะ (การงดเว้น)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการงดเว้น เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเว้นช้างดุ ม้าดุ โคดุ สุนัขดุ งู ตอไม้ ที่ที่มีหนาม บ่อน้ำ เหว น้ำครำ หลุมโสโครก ภิกษุนั่งในอาสนะอันไม่สมควร คบมิตรชั่ว ย่อมถูกเพื่อนพรหมจารี ผู้รู้ เข้าใจไปในฐานะอันชั่ว เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเว้นอาสนะอันไม่สมควรนั้น ที่เที่ยวไปอันไม่สมควร และมิตรชั่วเหล่านั้น. เพราะเมื่อเธอไม่เว้น อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอเว้นอาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการงดเว้น."

(๖) อาสวะที่พึงละได้ด้วยวิโนทนะ (การบรรเทา)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการบรรเทา (การทำให้น้อยลง) เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับไว้ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดไป ย่อมทำให้ตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งกามวิตก (ความตรึกในกาม) พยาบาทวิตก (ความตรึกในการปองร้าย) วิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียน) ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว. เพราะเมื่อภิกษุนั้นไม่บรรเทา อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอบรรเทาอาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่าอาสวะที่พึงละได้ด้วยการบรรเทา (การทำให้น้อยลง)."

(๗) อาสวะที่พึงละได้ด้วยภาวนา (การอบรม)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอบรม (การลงมือปฏิบัติให้เกิดผล) เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมอบรม (ลงมือปฏิบัติ) สัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญา เครื่องตรัสรู้) คือ (๑) สติ (ความระลึกได้) (๒) ธัมมวิจยะ (การเลือกเฟ้นธรรม) (๓) วิริยะ (ความเพียร) (๔) ปิติ (ความอิ่มใจในธรรม) (๕) ปัสสัทธิ (ความสงบใจ) (๗) อุเบกขา (ความวางเฉยในธรรม) อันอิงความสงัด อิงความคลายกำหนัด อิงความดับทุกข์ อันน้อมไปเพื่อความสละกิเลส. เพราะเมื่อภิกษุนั้น ไม่อบรม อาสวะ ที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออบรม อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอบรม."

(สรุปความ)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เนื่องจากอาสวะที่พึงละได้ด้วยการเห็น อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยความสำรวม อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการส้องเสพ อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอดทน อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการงดเว้น อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการบรรเทา อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอบรม อันเธอละได้แล้ว เธอจึงชื่อว่า ปิดกั้นแล้วด้วยการปิดกั้นอาสวะทั้งปวง ตัดขาดซึ่งตัณหา คลายได้ซึ่งเครื่องผูกมัด ทำที่สุดทุกข์ได้โดยชอบ เพราะตรัสรู้เรื่องของจิตใจ."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2014, 23:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เอาละ.....จะสัญญา..รึ.อุปาทาน...ผู้มีปัญญาดี...คงตัดสินใจได้แล้วละ...ตนจะเชื่อแบบไหน...

ผมเชื่อแบบของพระพุทธเจ้า...ก็แล้วกัน...

http://www.nkgen.com/7.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2014, 23:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. ปัญจขันธสูตร

ว่าด้วยขันธ์และอุปาทานขันธ์ ๕
         
[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.              

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็น ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วย อาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. นี้เรียกว่า. อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕. จบ สูตรที่ ๖             

 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๑๐๖๕ - ๑๐๘๒. หน้าที่ ๔๗. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0              
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=95              
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๗


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2014, 17:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กว่ามนุษย์จะหลุดจากบ่วง (คือรู้อริยสัจ)
( พระบาลีนี้ แสดงให้เห็นถึงการที่สามัญสัตว์ติดอยู่ในบ่วงของโลกอย่างไร
ในขั้นต้น แล้วจะค่อย ๆ รู้สึกตัวขึ้นมาตามลำดับอบย่างไร ดังต่อไปนี้ )
๑. เมื่อจมกามตามปกติ
๒. เมื่อจมกามครั้งที่สอง
๓. เมื่อเฉไปติดบ่วงทิฏฐิ
๔. เมื่อพ้นจากบ่วง
------------------------------------------------------
๑. เมื่อจมกามตามปกติ
ภิกษุทั้งหลาย! ชาวสวนผักมิได้ปลูกผักด้วยคิดว่า
"เนื้อในป่าทั้งหลายจะได้กินผักที่เราปลูกนี้แล้ว
จะได้มีอายุยืน รูปร่างสวยงาม มีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน" ดังนี้;
แต่ได้คิดดังนี้ว่า
"เนื้อในป่าทั้งหลาย จะเข้ามาสู่สวนผักอันเราปลูกแล้ว กินอยู่อย่างลืมตัว
ครั้นเข้ามากินอยู่อย่างลืมตัว จักถึงซึ่งความเลินเล่อ
ครั้นเลินเล่ออยู่ จักถึงซึ่งความประมาท
ครั้นประมาทแล้ว
จักเป็นสัตว์ที่เราพึงกระทำได้ตามความพอใจในสวนผักนั้น" ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาเนื้อทั้งหลาย ฝูงเนื้อพวกที่หนึ่งได้เข้าไปสู่สวนผัก
ที่ชาวสวนผักปลูกไว้ กินอยู่อย่างลืมตัว
เมื่อเข้าไปกินอยู่อย่างลืมตัว ก็ถึงซึ่งความเลินเล่อ
ครั้นเลินเล่อแล้ว ก็ถึงซึ่งความประมาท
ครั้นประมาทแล้ว
ก็เป็นสัตว์ที่เจ้าของสวนผักพึงกระทำได้ตามความพอใจในสวนผักนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
ฝูงเนื้อพวกที่หนึ่งเหล่านั้นก็ไม่พ้นไปจากกำมือแห่งเจ้าของสวนผัก.

ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งได้ เข้าไปสู่โลกามิส เหล่าโน้น
ซึ่งเป็นเหมือนกับสวนผักอันมาปลูกไว้ บริโภคอยู่อย่างลืมตัว
ครั้นเข้าไปบริโภคอยู่อย่างลืมตัว ก็ถึงซึ่งความมัวเมา
ครั้นมัวเมาอยู่ ก็ถึงซึ่งความประมาท
ครั้นประมาทอยู่
ก็เป็นผู้ที่มารพึงกระทำได้ตามความพอใจในโลกามิส
ซึ่งเป็นเหมือนกับสวนผักแห่งมารนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนี้ จึงไม่พ้นไปจากอิทธานุภาพแห่งมาร.

ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนี้
ว่ามีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่หนึ่งนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้มีเพื่อให้รู้เนื้อความนั้น :
คำว่า "สวนผัก" นั้นเป็นชื่อแห่งกามคุณทั้งห้า.
คำว่า "เจ้าของสวนผัก" นั้น เป็นชื่อของมารผู้มีบาป.
คำว่า "พวกพ้องของเจ้าของสวนผัก" นั้น เป็นชื่อของบริษัทแห่งมาร.
คำว่า "ฝูงเนื้อ" นั้น เป็นชื่อของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.
๒. เมื่อจมกามครั้งที่สอง
ภิกษุทั้งหลาย! เนื้อพวกที่สอง
(รู้ความวินาศของเนื้อจำพวกที่หนึ่งโดยประการทั้งปวงแล้ว) มาคิดกันว่า
"ถ้าอย่างไร เราเว้นการกินผักซึ่งเป็นโภชนะ
อันตรายเหล่านี้โดยประการทั้งปวงเสีย เข้าไปอยู่ในราวป่ากันเถิด" ดังนี้.

เนื้อเหล่านั้น เว้นการกินผัก ซึ่งเป็นโภชนะอันตรายเหล่านั้นโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าไปอยู่ในราวป่าแล้ว:

ครั้งถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนเป็นเวลาที่หมดหญ้าและน้ำ
ร่างกายก็ถึงซึ่งความซูบผอมอย่างยิ่ง
เมื่อมีร่างกายซูบผอมอย่างยิ่ง กำลังอันแกล้วกล้าก็หมดไป
เมื่อกำลังอันแกล้วกล้าหมดไป
ก็ย้อนกลับมาสู่ถิ่นแห่งสวนผักที่เจ้าของสวนผักปลูกไว้อีก.

ฝูงเนื้อเหล่านั้น ได้เข้าไป กินผักในสวนผักอย่างลืมตัว
เมื่อเข้าไปกินอยู่อย่างลืมตัวก็ถึงซึ่งความเลินเล่อ
เมื่อเลินเล่อก็ถึงซึ่งความประมาท
เมื่อประมาทก็เป็นสัตว์ที่เจ้าของสวนผักกระทำได้ตามความพอใจในสวนผักนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
ฝูงเนื้อพวกที่สองนั้นก็ไม่พ้นไปจากกำมือแห่งเจ้าของสวนผัก.

ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย สมณพราหมณ์จำพวกที่สอง
(รู้ความวินาศของสมณพราหมณ์จำพวกที่หนึ่งโดยประการทั้งปวงแล้ว)
มาคิดกันว่า
"ถ้ากระไร เราเว้นจากโลกามิสซึ่งเป็นเสมือนการบริโภคเหยื่อโดยประการทั้งปวงเสีย
เว้นจากโภชนะอันตราย แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ในราวป่ากันเถิด" ดังนี้.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น เว้นจากโลกามิส อันเป็นเสมือนการบริโภคเหยื่อ
โดยประการทั้งปวง เว้นโภชนะอันตราย พากันเข้าไปอยู่ในราวป่า แล้ว.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีผักสากะเป็นภักษาบ้าง มีผักสามากะเป็นภักษาบ้าง
มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีเปลือกไม้เป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง
มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีเมล็ดผักกาดเป็นภักษาบ้าง
มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเง่าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร
ยังอัตภาพให้เป็นไป เป็นผู้บริโภคผลตามที่มีอยู่โดยธรรมชาติ;

ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน เป็นเวลาที่หมดผักหมดหญ้าหมดน้ำ
ร่างกายก็ถึงซึ่งความซูบผอมอย่างยิ่ง
เมื่อมีร่างกายซูบผอมอย่างยิ่ง กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป
เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม
เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อม ก็ ย้อนกลับมาหาโลกามิส
ซึ่งเป็นเสมือนกับสวนผักอันมารปลูกไว้เหล่านั้นอีก.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น เข้าไปบริโภคอยู่อย่างลืมตัว
ครั้นเข้าไปบริโภคอยู่อย่างลืมตัว ก็ถึงซึ่งความมัวเมา
ครั้นมัวเมาอยู่ ก็ถึงซึ่งความประมาท
ครั้นประมาทแล้ว ก็เป็นผู้ที่มารพึงกระทำได้ตามความพอใจในโลกามิส
อันเป็นเสมือนสวนผักของมารนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
สมณพราหมณ์แม้พวกที่สองนี้ก็ไม่พ้นไปจากอิทธานุภาพแห่งมาร.

ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สองนี้
ว่ามีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่สองนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.
๓. เมื่อเฉไปติดบ่วงทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย! ฝูงเนื้อพวกที่สาม
(รู้ความวินาศของเนื้อจำพวกที่หนึ่งและจำพวกที่สอง โดยประการทั้งปวงแล้ว)
มาคิดกันว่า
"ถ้าอย่างไร เรา อาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ใกล้ ๆ สวนผัก ของเจ้าของผักนั้น
ครั้นอาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ใกล้ ๆ สวนผักนั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปกินผักนั้นอย่างลืมตัว
เมื่อไม่เข้าไปกินอย่างลืมตัวอยู่ ก็ไม่ถึงซึ่งความเลินเล่อ
เมื่อไม่เลินเล่ออยู่ ก็ถึงซึ่งความไม่ประมาท
เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่เป็นสัตว์ที่ใคร ๆ จะพึงทำอะไร ๆ ได้ตามความพอใจ
ในสวนผักของเจ้าของผักนั้น" ดังนี้.

ฝูงเนื้อเหล่านั้น (ก็ประพฤติกระทำความคิดนั้น).

ภิกษุทั้งหลาย! ความคิดได้เกิดแก่เจ้าของสวนผักกับบริวารเหล่านั้นว่า
"ฝูงเนื้อพวกที่สามเหล่านี้ คงจะมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกงเหมือนมีฤทธิ์เป็นแน่
ฝูงเนื้อพวกที่สามนี้ คงจะเป็นสัตว์พิเศษชนิดอื่นเป็นแน่
มันจึงมากินผักที่เราปลูกนี้ได้. และเราก็ไม่เข้าใจการมาการไปของมัน.
ถ้ากระไรเราพึงล้อมซึ่งที่นั้นโดยรอบ
ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลาย
เราคงจะได้เห็นที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สาม อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน" ดังนี้

ชนเหล่านั้นได้ทำการล้อมพื้นที่ปลูกผักนั้นโดยรอบ
ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลายแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าของสวนผัก และบริวาร
ก็หา พบที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สาม อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล ฝูงเนื้อแม้พวกที่สามนั้น
ก็ไม่พ้นไปจากกำมือของเจ้าของสวนผัก.

ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย สมณพราหมณ์จำพวกที่สาม
(รู้ความวินาศของสมณพรามหมณ์จำพวกที่หนึ่งและที่สอง โดยประการทั้งปวงแล้ว)
มาคิดกันว่า
"ถ้ากระไร เราจะ อาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ใกล้ ๆ โลกามิส
ซึ่งเปรียบเสมือนสวนผักของมาร
ครั้นอาศัยอยู่ในที่ซุ่มซ่อนนั้นแล้ว จักไม่เข้าไปบริโภคโลกามิส
อันเป็นเสมือนสวนผักแห่งมารนั้น อย่างลืมตัว
ครั้นไม่เข้าไปบริโภคอย่างลืมตัวอยู่ ก็ไม่ถึงซึ่งความมัวเมา
เมื่อไม่มัวเมาอยู่ ก็ไม่ถึงซึ่งความประมาท
เมื่อไม่ประมาทอยู่ ก็เป็นผู้ที่มารจะพึงกระทำตามความพอใจไม่ได้อยู่ในโลกามิส
อันเป็นเสมือนสวนผักแห่งมารนั้น" ดังนี้.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น (ก็ได้ประพฤติกระทำตามความคิดนั้น;)
ก็แต่ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้เป็นผู้มีทิฏฐิ ขึ้นมาแล้วอย่างนี้
ว่า "โลกเที่ยง" ดังนี้บ้าง;
ว่า "โลกไม่เที่ยง" ดังนี้บ้าง;
ว่า "โลกมีที่สุด" ดังนี้บ้าง;
ว่า "โลกไม่มีที่สุด" ดังนี้บ้าง;
ว่า "ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น" ดังนี้บ้าง;
ว่า "ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น" ดังนี้บ้าง;
ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก" ดังนี้บ้าง;
ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก" ดังนี้บ้าง;
ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี" ดังนี้บ้าง.;
ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้" ดังนี้บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล สมณพราหมณ์
แม้พวกที่สามนี้ ก็ไม่พ้นไปจากอิทธานุภาพแห่งมาร.

ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สามนี้ว่า
มีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่สามนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.
๔. เมื่อพ้นจากบ่วง
ภิกษุทั้งหลาย! ฝูงเนื้อพวกที่สี่
(รู้ความวินาศของเนื้อพวกที่หนึ่ง พวกที่สอง
และพวกที่สาม โดยประการทั้งปวงแล้ว) มาคิดกันว่า
"ถ้าอย่างไร เราอาศัยซุ่มซ่อนอยู่ในที่ซึ่งเจ้าของสวนผักและบริวารไปไม่ถึง
ครั้นอาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ในที่ซึ่งเจ้าของสวนผักและบริวารไปไม่ถึง
จะ ไม่ลืมตัวเข้าไปกินผัก ที่เจ้าของสวนผักปลูก จะไม่ถึงซึ่งความเลินเล่อ
เมื่อไม่เลินเล่อ จักไม่ถึงซึ่งความประมาท
เมื่อไม่ประมาทแล้ว ก็ไม่เป็นสัตว์ที่ใคร ๆ พึงทำอะไร ๆ ได้ตามความพอใจ
ในสวนผักของเจ้าของผักนั้น. ฝูงเนื้อเหล่านั้น (ก็ประพฤติกระทำตามความคิดนั้น)

ภิกษุทั้งหลาย! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เจ้าของสวนผักกับริวารเหล่านั้นว่า
"ฝูงเนื้อพวกที่สี่เหล่านี้ คงจะมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกงเหมือนมีฤทธิ์เป็นแน่
ฝูงเนื้อพวกที่สี่นี้คงจะเป็นสัตว์พิเศษชนิดอื่นเป็นแน่
มันจึงมากินผักที่เราปลูกนี้ได้. และเราก็ไม่เข้าใจการมาการไปของมัน.
ถ้ากระไร เราพึงล้อมซึ่งที่นั้นโดยรอบ
ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลาย
เราคงจะได้เห็นที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สี่ อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน" ดังนี้.

ชนเหล่านั้นได้ทำการล้อมพื้นที่ปลูกผักนั้นโดยรอบ
ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลายแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าของสวนผักและบริวารไม่ได้พบที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สี่
อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน.

ภิกษุทั้งหลาย! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เจ้าของสวนผักและบริวารว่า
"ถ้าเราทำฝูงเนื้อพวกที่สี่ให้แตกตื่นแล้ว มันก็จะทำให้ฝูงอื่นแตกตื่นด้วย
ด้วยการทำอย่างนี้ ฝูงเนื้อทั้งปวงก็เริศร้างไปจากผักที่เราปลูกไว้
ถ้ากระไรเราพึงทำความพยายามเจาะจง (ทำความแตกตื่น) แก่เนื้อพวกที่สี่" ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าของสวนผักและบริวาร
ได้ทำความพยายามเจาะจง (ทำความแตกตื่น) แก่ฝูงเนื้อพวกที่สี่แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
ฝูงเนื้อพวกที่สี่นั้นก็พ้นไปจากกำมือของเจ้าของสวนผัก.

ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สี่
(รู้ความวินาศของสมณพราหมณ์จำพวกที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม
โดยประการทั้งปวงแล้ว) มาคิดกันว่า
"ถ้ากระไร เรา อาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง
ครั้นอาศัยซุ่มซ่อนอยู่ในที่นั้นแล้ว จะ ไม่ลืมตัวเข้าไปบริโภคโลกามิส
ซึ่งเป็นเสมือนสวนผักที่มารปลูกไว้
เมื่อไม่ลืมตัวเข้าไปกิน ก็ไม่ถึงซึ่งความมัวเมา
เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ถึงซึ่งความประมาท
เมื่อไม่ประมาท ก็จักเป็นผู้ที่มารไม่ทำอะไร ๆ ได้ตามความพอใจในโลกามิส
ซึ่งเป็นเสมือนสวนผักที่มารปลูกไว้" ดังนี้.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น (ก็ได้ประพฤติกระทำตามความคิดนั้น)

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
สมณพราหมณ์พวกที่สี่นี้ ก็พ้นไปจากอิทธานุภาพของมาร.

ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สี่นี้ ว่า
มีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่สี่นั้น. ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย! ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึงนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
จึงเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า
ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย
มารกำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร
ไปแล้วสู่ที่ซึ่งมารผู้มีบาปมองไม่เห็น.

(ต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงการบรรลุ
ทุติยฌาน - ตติยฌาน - จตุตถฌาน - อากาสานัญจายตนะ
- วิญญาณัญจายตนะ - อากิญจัญญายตนะ - เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ว่า เป็นที่ซึ่งมารไปไม่ถึง โดยนัยเดียวกันกับปฐมฌาน เป็นลำดับไป,
จนกระทั่งถึงสัญญาเวทยิต-นิโรธโดยข้อความสืบต่อไปว่า :-)

ภิกษุทั้งหลาย! ยิ่งไปกว่านั้นอีก : ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง เข้าถึงซึ่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่,
และเพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็สิ้นไปรอบ.

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า
ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย
กำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร
ไปแล้วสู่ที่ซึ่งมารผู้มีบาปมองไม่เห็น
ได้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาในโลก, ดังนี้แล.

- มู. ม. ๑๒/๒๙๘-๓๑๑/๓๐๑-๓๑๑.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 02:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Quote Tipitaka:
กว่ามนุษย์จะหลุดจากบ่วง (คือรู้อริยสัจ)
( พระบาลีนี้ แสดงให้เห็นถึงการที่สามัญสัตว์ติดอยู่ในบ่วงของโลกอย่างไร
ในขั้นต้น แล้วจะค่อย ๆ รู้สึกตัวขึ้นมาตามลำดับอบย่างไร ดังต่อไปนี้ )
๑. เมื่อจมกามตามปกติ
๒. เมื่อจมกามครั้งที่สอง
๓. เมื่อเฉไปติดบ่วงทิฏฐิ
๔. เมื่อพ้นจากบ่วง
------------------------------------------------------
๑. เมื่อจมกามตามปกติ
ภิกษุทั้งหลาย! ชาวสวนผักมิได้ปลูกผักด้วยคิดว่า
"เนื้อในป่าทั้งหลายจะได้กินผักที่เราปลูกนี้แล้ว
จะได้มีอายุยืน รูปร่างสวยงาม มีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน" ดังนี้;
แต่ได้คิดดังนี้ว่า
"เนื้อในป่าทั้งหลาย จะเข้ามาสู่สวนผักอันเราปลูกแล้ว กินอยู่อย่างลืมตัว
ครั้นเข้ามากินอยู่อย่างลืมตัว จักถึงซึ่งความเลินเล่อ
ครั้นเลินเล่ออยู่ จักถึงซึ่งความประมาท
ครั้นประมาทแล้ว
จักเป็นสัตว์ที่เราพึงกระทำได้ตามความพอใจในสวนผักนั้น" ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาเนื้อทั้งหลาย ฝูงเนื้อพวกที่หนึ่งได้เข้าไปสู่สวนผัก
ที่ชาวสวนผักปลูกไว้ กินอยู่อย่างลืมตัว
เมื่อเข้าไปกินอยู่อย่างลืมตัว ก็ถึงซึ่งความเลินเล่อ
ครั้นเลินเล่อแล้ว ก็ถึงซึ่งความประมาท
ครั้นประมาทแล้ว
ก็เป็นสัตว์ที่เจ้าของสวนผักพึงกระทำได้ตามความพอใจในสวนผักนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
ฝูงเนื้อพวกที่หนึ่งเหล่านั้นก็ไม่พ้นไปจากกำมือแห่งเจ้าของสวนผัก.

ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งได้ เข้าไปสู่โลกามิส เหล่าโน้น
ซึ่งเป็นเหมือนกับสวนผักอันมาปลูกไว้ บริโภคอยู่อย่างลืมตัว
ครั้นเข้าไปบริโภคอยู่อย่างลืมตัว ก็ถึงซึ่งความมัวเมา
ครั้นมัวเมาอยู่ ก็ถึงซึ่งความประมาท
ครั้นประมาทอยู่
ก็เป็นผู้ที่มารพึงกระทำได้ตามความพอใจในโลกามิส
ซึ่งเป็นเหมือนกับสวนผักแห่งมารนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนี้ จึงไม่พ้นไปจากอิทธานุภาพแห่งมาร.

ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนี้
ว่ามีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่หนึ่งนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้มีเพื่อให้รู้เนื้อความนั้น :
คำว่า "สวนผัก" นั้นเป็นชื่อแห่งกามคุณทั้งห้า.
คำว่า "เจ้าของสวนผัก" นั้น เป็นชื่อของมารผู้มีบาป.
คำว่า "พวกพ้องของเจ้าของสวนผัก" นั้น เป็นชื่อของบริษัทแห่งมาร.
คำว่า "ฝูงเนื้อ" นั้น เป็นชื่อของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.
๒. เมื่อจมกามครั้งที่สอง
ภิกษุทั้งหลาย! เนื้อพวกที่สอง
(รู้ความวินาศของเนื้อจำพวกที่หนึ่งโดยประการทั้งปวงแล้ว) มาคิดกันว่า
"ถ้าอย่างไร เราเว้นการกินผักซึ่งเป็นโภชนะ
อันตรายเหล่านี้โดยประการทั้งปวงเสีย เข้าไปอยู่ในราวป่ากันเถิด" ดังนี้.

เนื้อเหล่านั้น เว้นการกินผัก ซึ่งเป็นโภชนะอันตรายเหล่านั้นโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าไปอยู่ในราวป่าแล้ว:

ครั้งถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนเป็นเวลาที่หมดหญ้าและน้ำ
ร่างกายก็ถึงซึ่งความซูบผอมอย่างยิ่ง
เมื่อมีร่างกายซูบผอมอย่างยิ่ง กำลังอันแกล้วกล้าก็หมดไป
เมื่อกำลังอันแกล้วกล้าหมดไป
ก็ย้อนกลับมาสู่ถิ่นแห่งสวนผักที่เจ้าของสวนผักปลูกไว้อีก.

ฝูงเนื้อเหล่านั้น ได้เข้าไป กินผักในสวนผักอย่างลืมตัว
เมื่อเข้าไปกินอยู่อย่างลืมตัวก็ถึงซึ่งความเลินเล่อ
เมื่อเลินเล่อก็ถึงซึ่งความประมาท
เมื่อประมาทก็เป็นสัตว์ที่เจ้าของสวนผักกระทำได้ตามความพอใจในสวนผักนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
ฝูงเนื้อพวกที่สองนั้นก็ไม่พ้นไปจากกำมือแห่งเจ้าของสวนผัก.

ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย สมณพราหมณ์จำพวกที่สอง
(รู้ความวินาศของสมณพราหมณ์จำพวกที่หนึ่งโดยประการทั้งปวงแล้ว)
มาคิดกันว่า
"ถ้ากระไร เราเว้นจากโลกามิสซึ่งเป็นเสมือนการบริโภคเหยื่อโดยประการทั้งปวงเสีย
เว้นจากโภชนะอันตราย แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ในราวป่ากันเถิด" ดังนี้.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น เว้นจากโลกามิส อันเป็นเสมือนการบริโภคเหยื่อ
โดยประการทั้งปวง เว้นโภชนะอันตราย พากันเข้าไปอยู่ในราวป่า แล้ว.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีผักสากะเป็นภักษาบ้าง มีผักสามากะเป็นภักษาบ้าง
มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีเปลือกไม้เป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง
มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีเมล็ดผักกาดเป็นภักษาบ้าง
มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเง่าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร
ยังอัตภาพให้เป็นไป เป็นผู้บริโภคผลตามที่มีอยู่โดยธรรมชาติ;

ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน เป็นเวลาที่หมดผักหมดหญ้าหมดน้ำ
ร่างกายก็ถึงซึ่งความซูบผอมอย่างยิ่ง
เมื่อมีร่างกายซูบผอมอย่างยิ่ง กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป
เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม
เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อม ก็ ย้อนกลับมาหาโลกามิส
ซึ่งเป็นเสมือนกับสวนผักอันมารปลูกไว้เหล่านั้นอีก.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น เข้าไปบริโภคอยู่อย่างลืมตัว
ครั้นเข้าไปบริโภคอยู่อย่างลืมตัว ก็ถึงซึ่งความมัวเมา
ครั้นมัวเมาอยู่ ก็ถึงซึ่งความประมาท
ครั้นประมาทแล้ว ก็เป็นผู้ที่มารพึงกระทำได้ตามความพอใจในโลกามิส
อันเป็นเสมือนสวนผักของมารนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
สมณพราหมณ์แม้พวกที่สองนี้ก็ไม่พ้นไปจากอิทธานุภาพแห่งมาร.

ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สองนี้
ว่ามีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่สองนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.
๓. เมื่อเฉไปติดบ่วงทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย! ฝูงเนื้อพวกที่สาม
(รู้ความวินาศของเนื้อจำพวกที่หนึ่งและจำพวกที่สอง โดยประการทั้งปวงแล้ว)
มาคิดกันว่า
"ถ้าอย่างไร เรา อาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ใกล้ ๆ สวนผัก ของเจ้าของผักนั้น
ครั้นอาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ใกล้ ๆ สวนผักนั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปกินผักนั้นอย่างลืมตัว
เมื่อไม่เข้าไปกินอย่างลืมตัวอยู่ ก็ไม่ถึงซึ่งความเลินเล่อ
เมื่อไม่เลินเล่ออยู่ ก็ถึงซึ่งความไม่ประมาท
เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่เป็นสัตว์ที่ใคร ๆ จะพึงทำอะไร ๆ ได้ตามความพอใจ
ในสวนผักของเจ้าของผักนั้น" ดังนี้.

ฝูงเนื้อเหล่านั้น (ก็ประพฤติกระทำความคิดนั้น).

ภิกษุทั้งหลาย! ความคิดได้เกิดแก่เจ้าของสวนผักกับบริวารเหล่านั้นว่า
"ฝูงเนื้อพวกที่สามเหล่านี้ คงจะมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกงเหมือนมีฤทธิ์เป็นแน่
ฝูงเนื้อพวกที่สามนี้ คงจะเป็นสัตว์พิเศษชนิดอื่นเป็นแน่
มันจึงมากินผักที่เราปลูกนี้ได้. และเราก็ไม่เข้าใจการมาการไปของมัน.
ถ้ากระไรเราพึงล้อมซึ่งที่นั้นโดยรอบ
ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลาย
เราคงจะได้เห็นที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สาม อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน" ดังนี้

ชนเหล่านั้นได้ทำการล้อมพื้นที่ปลูกผักนั้นโดยรอบ
ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลายแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าของสวนผัก และบริวาร
ก็หา พบที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สาม อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล ฝูงเนื้อแม้พวกที่สามนั้น
ก็ไม่พ้นไปจากกำมือของเจ้าของสวนผัก.

ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย สมณพราหมณ์จำพวกที่สาม
(รู้ความวินาศของสมณพรามหมณ์จำพวกที่หนึ่งและที่สอง โดยประการทั้งปวงแล้ว)
มาคิดกันว่า
"ถ้ากระไร เราจะ อาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ใกล้ ๆ โลกามิส
ซึ่งเปรียบเสมือนสวนผักของมาร
ครั้นอาศัยอยู่ในที่ซุ่มซ่อนนั้นแล้ว จักไม่เข้าไปบริโภคโลกามิส
อันเป็นเสมือนสวนผักแห่งมารนั้น อย่างลืมตัว
ครั้นไม่เข้าไปบริโภคอย่างลืมตัวอยู่ ก็ไม่ถึงซึ่งความมัวเมา
เมื่อไม่มัวเมาอยู่ ก็ไม่ถึงซึ่งความประมาท
เมื่อไม่ประมาทอยู่ ก็เป็นผู้ที่มารจะพึงกระทำตามความพอใจไม่ได้อยู่ในโลกามิส
อันเป็นเสมือนสวนผักแห่งมารนั้น" ดังนี้.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น (ก็ได้ประพฤติกระทำตามความคิดนั้น;)
ก็แต่ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้เป็นผู้มีทิฏฐิ ขึ้นมาแล้วอย่างนี้
ว่า "โลกเที่ยง" ดังนี้บ้าง;
ว่า "โลกไม่เที่ยง" ดังนี้บ้าง;
ว่า "โลกมีที่สุด" ดังนี้บ้าง;
ว่า "โลกไม่มีที่สุด" ดังนี้บ้าง;
ว่า "ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น" ดังนี้บ้าง;
ว่า "ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น" ดังนี้บ้าง;
ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก" ดังนี้บ้าง;
ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก" ดังนี้บ้าง;
ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี" ดังนี้บ้าง.;
ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้" ดังนี้บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล สมณพราหมณ์
แม้พวกที่สามนี้ ก็ไม่พ้นไปจากอิทธานุภาพแห่งมาร.

ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สามนี้ว่า
มีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่สามนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.
๔. เมื่อพ้นจากบ่วง
ภิกษุทั้งหลาย! ฝูงเนื้อพวกที่สี่
(รู้ความวินาศของเนื้อพวกที่หนึ่ง พวกที่สอง
และพวกที่สาม โดยประการทั้งปวงแล้ว) มาคิดกันว่า
"ถ้าอย่างไร เราอาศัยซุ่มซ่อนอยู่ในที่ซึ่งเจ้าของสวนผักและบริวารไปไม่ถึง
ครั้นอาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ในที่ซึ่งเจ้าของสวนผักและบริวารไปไม่ถึง
จะ ไม่ลืมตัวเข้าไปกินผัก ที่เจ้าของสวนผักปลูก จะไม่ถึงซึ่งความเลินเล่อ
เมื่อไม่เลินเล่อ จักไม่ถึงซึ่งความประมาท
เมื่อไม่ประมาทแล้ว ก็ไม่เป็นสัตว์ที่ใคร ๆ พึงทำอะไร ๆ ได้ตามความพอใจ
ในสวนผักของเจ้าของผักนั้น. ฝูงเนื้อเหล่านั้น (ก็ประพฤติกระทำตามความคิดนั้น)

ภิกษุทั้งหลาย! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เจ้าของสวนผักกับริวารเหล่านั้นว่า
"ฝูงเนื้อพวกที่สี่เหล่านี้ คงจะมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกงเหมือนมีฤทธิ์เป็นแน่
ฝูงเนื้อพวกที่สี่นี้คงจะเป็นสัตว์พิเศษชนิดอื่นเป็นแน่
มันจึงมากินผักที่เราปลูกนี้ได้. และเราก็ไม่เข้าใจการมาการไปของมัน.
ถ้ากระไร เราพึงล้อมซึ่งที่นั้นโดยรอบ
ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลาย
เราคงจะได้เห็นที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สี่ อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน" ดังนี้.

ชนเหล่านั้นได้ทำการล้อมพื้นที่ปลูกผักนั้นโดยรอบ
ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลายแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าของสวนผักและบริวารไม่ได้พบที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สี่
อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน.

ภิกษุทั้งหลาย! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เจ้าของสวนผักและบริวารว่า
"ถ้าเราทำฝูงเนื้อพวกที่สี่ให้แตกตื่นแล้ว มันก็จะทำให้ฝูงอื่นแตกตื่นด้วย
ด้วยการทำอย่างนี้ ฝูงเนื้อทั้งปวงก็เริศร้างไปจากผักที่เราปลูกไว้
ถ้ากระไรเราพึงทำความพยายามเจาะจง (ทำความแตกตื่น) แก่เนื้อพวกที่สี่" ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าของสวนผักและบริวาร
ได้ทำความพยายามเจาะจง (ทำความแตกตื่น) แก่ฝูงเนื้อพวกที่สี่แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
ฝูงเนื้อพวกที่สี่นั้นก็พ้นไปจากกำมือของเจ้าของสวนผัก.

ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สี่
(รู้ความวินาศของสมณพราหมณ์จำพวกที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม
โดยประการทั้งปวงแล้ว) มาคิดกันว่า
"ถ้ากระไร เรา อาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง
ครั้นอาศัยซุ่มซ่อนอยู่ในที่นั้นแล้ว จะ ไม่ลืมตัวเข้าไปบริโภคโลกามิส
ซึ่งเป็นเสมือนสวนผักที่มารปลูกไว้
เมื่อไม่ลืมตัวเข้าไปกิน ก็ไม่ถึงซึ่งความมัวเมา
เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ถึงซึ่งความประมาท
เมื่อไม่ประมาท ก็จักเป็นผู้ที่มารไม่ทำอะไร ๆ ได้ตามความพอใจในโลกามิส
ซึ่งเป็นเสมือนสวนผักที่มารปลูกไว้" ดังนี้.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น (ก็ได้ประพฤติกระทำตามความคิดนั้น)

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
สมณพราหมณ์พวกที่สี่นี้ ก็พ้นไปจากอิทธานุภาพของมาร.

ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สี่นี้ ว่า
มีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่สี่นั้น. ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย! ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึงนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
จึงเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า
ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย
มารกำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร
ไปแล้วสู่ที่ซึ่งมารผู้มีบาปมองไม่เห็น.

(ต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงการบรรลุ
ทุติยฌาน - ตติยฌาน - จตุตถฌาน - อากาสานัญจายตนะ
- วิญญาณัญจายตนะ - อากิญจัญญายตนะ - เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ว่า เป็นที่ซึ่งมารไปไม่ถึง โดยนัยเดียวกันกับปฐมฌาน เป็นลำดับไป,
จนกระทั่งถึงสัญญาเวทยิต-นิโรธโดยข้อความสืบต่อไปว่า :-)

ภิกษุทั้งหลาย! ยิ่งไปกว่านั้นอีก : ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง เข้าถึงซึ่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่,
และเพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็สิ้นไปรอบ.

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า
ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย
กำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร
ไปแล้วสู่ที่ซึ่งมารผู้มีบาปมองไม่เห็น
ได้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาในโลก, ดังนี้แล.

- มู. ม. ๑๒/๒๙๘-๓๑๑/๓๐๑-๓๑๑.


:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 02:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทาน เป็นยังไง

อะไรก็ตามผ่านเข้ามา ถ้าชอบจะพยายามเอา รวมถึงพยายามรั้งไว้ไม่อยากจะให้หายไป ถ้าไม่ชอบ จะพยายามหนี เลยไปถึงวิตกกังวลกลัวว่าสิ่งที่ไม่ชอบจะเกิดกับตัวเองอีก แม้มันจะยังไม่เกิดเลยก็ตาม ใจมีแรงดึงดูดแรงต่อต้าน แบบนี้มีอุปาทาน

แต่ถ้าอะไรก็ตามผ่านเข้ามา ชอบไม่ชอบก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องรับก็รับ ถ้าไม่จำเป็นต้องรับ ก็ดูเอาว่าสมควรจะรับ หรือไม่รับ แบบไหนมีประโยชน์กว่า ประเมินเป็นกรณีๆไป อารมณ์ชอบใจเข้ามา แม้จะมีแรงดึงดูดกระทำที่ใจแต่ใจไม่วิ่งเข้าหา หรืออารมณ์ไม่ชอบใจเข้ามา แม้จะมีแรงผลักมากระทำที่ใจแต่ใจไม่ขยับหนี แบบนี้เป็นอาการของใจที่ไม่มีอุปาทานในเรื่องที่ผ่านเข้ามา (ผัสสะ) นั้น

ตัวอย่างเช่น ใครว่าอะไร ถ้าชอบใจจะพูดดีๆตอบ จะชม จะเชียร์ แต่ถ้าใครว่าอะไรไม่ชอบใจ จะโกรธ จะด่า จะต่อว่า เป็นต้น แบบนี้ก็มีอุปาทาน ทั้งในอารมณ์ที่เข้ามา (กามุปาทาน) และในความเห็นของตน (ทิฏฐุปาทาน) มีครบอยู่ในตัวในเวลาเดียวกัน

แต่ถ้าใครว่าอะไร ไม่ว่าจะชอบใจหรือไม่ชอบใจก็ตาม จะฟังก่อน แล้วประเมินด้วยเหตุผล เอาความจริงเข้าวัด ถ้าเป็นที่ชอบใจแต่ไม่เกิดประโยชน์ ก็เฉยเสีย หรือถ้าไม่เป็นที่ชอบใจแต่เกิดประโยชน์ ก็รับส่วนที่มีประโยชน์ไปใช้ เป็นต้น แบบนี้ไม่มีอุปาทาน

สรุป

อุปาทาน เอาใจตัวเองเป็นหลัก เป็นสภาวะ default ของคนเราตามปกติ

ในกรณีคนที่ฝึกตัวเองมาแล้ว ถ้าอุปาทานดับไปแล้วด้วยปัญญา จะเอาเหตุผล เอาความจริงเป็นหลัก (ต้องดับด้วยปัญญาด้วยนะ ไม่ใช่ด้วยสมถะข่มไว้ หรือด้วยการ ignore มัน) แม้บางเรื่องจะขัดใจ บางเรื่องถูกใจ ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะใจที่รู้ทันจะไม่ตอบสนองต่อแรงดูดแรงผลัก จะทำให้มีช่องว่างให้ใช้ปัญญา ใช้เหตุผลประเมินสถานการณ์ได้ คนแบบนี้จะสามารถเลือกการตอบสนองให้เหมาะกับกาลเทศะได้ ต่างกับคนที่ต้องไหลตามความเคยชินอันเนื่องมาจากอนุสัย ตัณหา อุปาทาน ต้องมีอาการเดิมๆกับเรื่องเดิมๆ ทุกครั้ง ทุกครั้งไป

ไม่ว่าอะไรเข้ามา เอาใจตัวเองวัด ไม่รับฟังความจริง แบบนี้อาการของอุปาทาน

ไม่ว่าอะไรเข้ามา เอาความจริงวัด แบบนี้ไม่มีอุปาทาน

สรรพสิ่งทั้งหลาย รวมถึงธรรมะด้วย ล้วนเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามใจเราอยากให้เป็น

รู้เยอะแค่ไหนก็ไร้ค่า ถ้าทำให้ตัวเองทุกข์

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 09:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
๖. ปัญจขันธสูตร

ว่าด้วยขันธ์และอุปาทานขันธ์ ๕
         
[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.              

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็น ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วย อาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. นี้เรียกว่า. อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕. จบ สูตรที่ ๖             

 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๑๐๖๕ - ๑๐๘๒. หน้าที่ ๔๗. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0              
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=95              
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๗

:b11:
Applied หน่อย คุณกบ ๆ........

คือยกตัวอย่างจริงๆที่เกิดในชีวิตประจำวันให้ดูหน่อย ว่าอุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญา สังขาร วิญญาณ อย่างไร

ลอกคัมภีร์มาทั้งดุ้นมันดูเข้าใจยากนะครับ
s006
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 09:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
อุปาทาน เป็นยังไง

อะไรก็ตามผ่านเข้ามา ถ้าชอบจะพยายามเอา รวมถึงพยายามรั้งไว้ไม่อยากจะให้หายไป ถ้าไม่ชอบ จะพยายามหนี เลยไปถึงวิตกกังวลกลัวว่าสิ่งที่ไม่ชอบจะเกิดกับตัวเองอีก แม้มันจะยังไม่เกิดเลยก็ตาม ใจมีแรงดึงดูดแรงต่อต้าน แบบนี้มีอุปาทาน

แต่ถ้าอะไรก็ตามผ่านเข้ามา ชอบไม่ชอบก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องรับก็รับ ถ้าไม่จำเป็นต้องรับ ก็ดูเอาว่าสมควรจะรับ หรือไม่รับ แบบไหนมีประโยชน์กว่า ประเมินเป็นกรณีๆไป อารมณ์ชอบใจเข้ามา แม้จะมีแรงดึงดูดกระทำที่ใจแต่ใจไม่วิ่งเข้าหา หรืออารมณ์ไม่ชอบใจเข้ามา แม้จะมีแรงผลักมากระทำที่ใจแต่ใจไม่ขยับหนี แบบนี้เป็นอาการของใจที่ไม่มีอุปาทานในเรื่องที่ผ่านเข้ามา (ผัสสะ) นั้น

ตัวอย่างเช่น ใครว่าอะไร ถ้าชอบใจจะพูดดีๆตอบ จะชม จะเชียร์ แต่ถ้าใครว่าอะไรไม่ชอบใจ จะโกรธ จะด่า จะต่อว่า เป็นต้น แบบนี้ก็มีอุปาทาน ทั้งในอารมณ์ที่เข้ามา (กามุปาทาน) และในความเห็นของตน (ทิฏฐุปาทาน) มีครบอยู่ในตัวในเวลาเดียวกัน

แต่ถ้าใครว่าอะไร ไม่ว่าจะชอบใจหรือไม่ชอบใจก็ตาม จะฟังก่อน แล้วประเมินด้วยเหตุผล เอาความจริงเข้าวัด ถ้าเป็นที่ชอบใจแต่ไม่เกิดประโยชน์ ก็เฉยเสีย หรือถ้าไม่เป็นที่ชอบใจแต่เกิดประโยชน์ ก็รับส่วนที่มีประโยชน์ไปใช้ เป็นต้น แบบนี้ไม่มีอุปาทาน

สรุป

อุปาทาน เอาใจตัวเองเป็นหลัก เป็นสภาวะ default ของคนเราตามปกติ

ในกรณีคนที่ฝึกตัวเองมาแล้ว ถ้าอุปาทานดับไปแล้วด้วยปัญญา จะเอาเหตุผล เอาความจริงเป็นหลัก (ต้องดับด้วยปัญญาด้วยนะ ไม่ใช่ด้วยสมถะข่มไว้ หรือด้วยการ ignore มัน) แม้บางเรื่องจะขัดใจ บางเรื่องถูกใจ ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะใจที่รู้ทันจะไม่ตอบสนองต่อแรงดูดแรงผลัก จะทำให้มีช่องว่างให้ใช้ปัญญา ใช้เหตุผลประเมินสถานการณ์ได้ คนแบบนี้จะสามารถเลือกการตอบสนองให้เหมาะกับกาลเทศะได้ ต่างกับคนที่ต้องไหลตามความเคยชินอันเนื่องมาจากอนุสัย ตัณหา อุปาทาน ต้องมีอาการเดิมๆกับเรื่องเดิมๆ ทุกครั้ง ทุกครั้งไป

ไม่ว่าอะไรเข้ามา เอาใจตัวเองวัด ไม่รับฟังความจริง แบบนี้อาการของอุปาทาน

ไม่ว่าอะไรเข้ามา เอาความจริงวัด แบบนี้ไม่มีอุปาทาน

สรรพสิ่งทั้งหลาย รวมถึงธรรมะด้วย ล้วนเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามใจเราอยากให้เป็น

รู้เยอะแค่ไหนก็ไร้ค่า ถ้าทำให้ตัวเองทุกข์

:b8:
คุณคนธรรมดาก็เข้าใจเรื่องอุปาทานได้ละเอียดอ่อนดี และรู้หลักวิธีการละได้อย่างถูกทางแล้วนี่ ไม่ต้องลอกคำสอนในคัมภีร์มาอ้างด้วย เหมือนพูดจากประสบการณ์จริงแล้วนำมาสรุปให้ฟัง โมทนาสาธุด้วย ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

มีข้อสังเกตนิดหนึ่งบนข้อความท่อนที่คาดแดง ที่ลงท้ายว่า อย่างนี้ไม่มีอุปาทาน ตรงนี้น่าจะนำไปวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งอีกสักหลายๆรอบนะครับ
:b39:
การสลายอุปาทานนั้น ต้องฝึกสลายให้หมดจดทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อเปลี่ยนคำสั่งใหม่ หรือทำให้เกิด OS ตัวใหม่ที่ไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยอำนาจของกิเลส ตัณหา อัตตา มานะทิฏฐิ ที่เรียกว่า "สักแต่ว่า" หรือ "กิริยาจิต"

"นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ จนดับไปต่อหน้าต่อตา"......นี่คือคำสรุปของการสลายอุปาทานที่่มีปฏิกิริยาทั้งปวง

หลังจากนั้นก็จะเกิดอุปาทานใหม่ที่ไร้ปฏิกิริยาเ้กิดขึ้นมาแทนที่ และเป็น OS ตัวใหม่ของ จิตวิญญาณดวงที่พัฒนาการไปถึงที่สุดแล้วนี้
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2014, 10:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อนุโมทนากับคุณเอก้อนด้วยที่ เชี่่ยวชาญในคัมภีร์ และมีความแม่นยำในการเลือกเฟ้นข้อธรรมมาใช้ให้ถูกกับเหตุการณ์ งาน กาละ เทศะและบุคคล

คำสอนของพระบรมศาสดานั้นสุดยอดแล้วสำหรับผู้ที่ฉลาดและสามารถเข้าใจความหมายได้อย่างถูกต้องตามธรรม

คุณเอก้อน สะดวกและง่ายดายในทางสายนี้ก็จงใช้ประโยชน์จากความสามารถเฉพาะตัวอันนี้พัฒนาตนเองไปให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์โดยเร็วเถิด

งานของอโศกะ อาจจะเป็นเป็นถนนคนละเส้นแต่มุ่งไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน อาจเห็นทิวทัศน์ข้างทางไม่เหมือนกัน ก็อย่าสงสัยขัดใจเลย มาแชร์กันได้เสมอเพื่อเป็นธรรมทัศนะ

อโศกะมีปณิธาณที่จะทำยากให้เป็นง่าย ให้ผู้คนเข้าใจธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ในภาษาและอุปมาอุปมัยที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงในปัจจุบันที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงอาจขัดใจนักวิชาการผู้มั่นในตำราและคัมภีร์ทั้งหลาย ต้องขออภัย ทางใครทางมันนะครับ


ไม่ใช่สัทธัมปฏิรูป...แต่เป็นสัทธัมปริยาย ทำให้ง่ายและไม่มากมายจนเกินรู้เกินจำครับ
onion onion
เจริญสุข เจริญธรรม
:b37: :b37:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35 ... 62  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร