วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 141 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ไม่ไดเจอกันนาน เป็นอรหันต์หรือยัง จ๊ะ

ขอบคุณจ้ะ bigtoo ที่ระลึกถึงกัน ^ ^

โฮฮับ เขียน:
กำลังเข้าใจอะไรผิดหรือปล่าครับ เรื่องการ รู้ทุกข์ เป็นแค่พระอริยะบุคคลก็รู้ทุกข์แล้ว
และไม่ใช่รู้ทุกข์อย่างเดียว ยังรู้เหตุแห่งทุกข์

ส่วนเรื่องการพ้นทุกข์ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่พ้นทุกข์แล้ว

โฮฮับ...สวัสดีจ้ะ
พระอรหันต์ พ้นทุกข์แล้ว
รู้ทุกข์ จึงไม่ทุกข์ ถูกแล้ว

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 11:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:
สวัสดีค่ะ คุณเทียนหยด
อ้างอิง:อยากถามว่า...รู้ทุกข์แต่ไม่ทุกข์...แบบนี้มีไหมคะ
รู้ทุกข์แต่ไม่ทุกข์...มีแน่นอนค่ะ..ถ้ารู้ในอริยสัจสี่
กำหนดรู้ทุกข์...สาวไปให้ถึงเหตุของทุกข์..เดินตามทางมรรคเพื่อละเหตุของทุกข์...แล้วความดับของทุกข์จะเกิดขึ้นเอง...
ก่อนอื่นต้องกำหนดรู้ทุกข์เสียก่อน...ถ้ายังหาทุกข์ไม่เจอก็ไม่พบเหตุของทุกข์ได้
ความทุกข์ที่คนส่วนใหญ่หมายกันคือเวทนาทางกายหรือทางใจ(การเสวยอารมณ์) ซึ่งเป็นหนึ่งในขันธ์ห้าเท่านั้น ดังนั้นคำว่าทุกข์ในที่นี้หมายถึงขันธ์ห้าทั้งหมดเป็นทุกข์เพราะมีลักษณะที่ตกอยู่ภายใต้ทุกขลักษณะคือมีความบีบคั้นไม่สามารถอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป...
ดังนั้นการกำหนดรู้ทุกข์ได้จึงต้องเจริญสติเพื่อเข้าไปเห็นการเกิดดับของรูปนาม(ขันธ์ห้า)เห็นความเป็นสามัญลักษณะหรือเรียกว่าไตรลักษณ์ของรูปนามแล้วสาวไปให้ถึงเหตุแห่งทุกข์(ศึกษาได้จากปฏิจจสมุปบาท)เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์แล้ว..ก็ให้ละเสียให้ได้ด้วยปัญญาคือมรรคมีองค์แปดแล้วนิโรธจะเกิดขึ้นเอง...
การศึกษาปริยัติเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นประสบการณ์ตรงที่พระพุทธเจ้าท่านทรงนำมาบอกกล่าว...เมื่อเราลงมือปฏิบัติหรือออกเดินทางสามารถนำมาเทียบเคียงหรือเป็นแผนที่เพื่อโฟกัสให้ถึงจุดหมายเร็วขึ้น...ไม่ออกนอกเส้นทางเมื่อหลงทางก็จะรู้ได้และไม่หลงนานสามารถเดินกลับเข้าเส้นทางสู่จุดหมายได้...

ขอเจริญในธรรมค่ะ :b41:


:b8: ขอบคุณคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2013, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธัมมุทธัจจ์ หรือ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ


๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน

๒. ญาณ ความหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว

๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆ เลย

๕ สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อยไม่ยิ่ง

๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการสงบ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2013, 14:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนูกิเลส...ไล่เรียงจากหยาบไปหาละเอียด...เป็นหลักกิโลเมตรอย่างดี..เป็นหลักที่พบเพื่อจาก...ใครเกาะไม่ปล่อยย่อม
ขาดโอกาสก้าวไปข้างหน้า

ใครเห็นบางตัวเข้าแล้ว...ย่อมเป็นนิมิตหมายอันดี...แต่อย่าเผลอเกาะไม่ปล่อยซะละ
ใครที่ยังไม่เห็นสักตัวเลย....ก็ควรตระหนักให้มากว่าตัวยังไปไม่ถึงไหน...

ส่วนตัวคิดว่า...วิปัสสนูกิเลส 10.เป็นด่านพระอรหันต์....
ปรมาจารย์ตั๊กม่อสร้าง...8 มนุษย์ทองคำคัดกรองผู้ที่จะออกจากวัดไปผจนภัยภายนอก

ไม่รู้เกี่ยวกันอ๊ะเปานะ...อิอิ...
:b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2013, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
วิปัสสนูกิเลส...ไล่เรียงจากหยาบไปหาละเอียด...เป็นหลักกิโลเมตรอย่างดี..เป็นหลักที่พบเพื่อจาก...ใครเกาะไม่ปล่อยย่อม
ขาดโอกาสก้าวไปข้างหน้า

ใครเห็นบางตัวเข้าแล้ว...ย่อมเป็นนิมิตหมายอันดี...แต่อย่าเผลอเกาะไม่ปล่อยซะละ
ใครที่ยังไม่เห็นสักตัวเลย....ก็ควรตระหนักให้มากว่าตัวยังไปไม่ถึงไหน...

ส่วนตัวคิดว่า...วิปัสสนูกิเลส 10.เป็นด่านพระอรหันต์....
ปรมาจารย์ตั๊กม่อสร้าง...8 มนุษย์ทองคำคัดกรองผู้ที่จะออกจากวัดไปผจนภัยภายนอก

ไม่รู้เกี่ยวกันอ๊ะเปานะ...อิอิ...
:b13: :b13:

จำได้ที่พระเอกต้องฝ่าด่านอรหันต์ทองคำ(เรื่องไรมะรู้ลืม :b5: ) :b12:
พี่กบจินตนากาณล้ำเลิศจริงๆ :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2013, 19:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ธัมมุทธัจจ์ หรือ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ


๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน

๒. ญาณ ความหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว

๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆ เลย

๕ สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อยไม่ยิ่ง

๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการสงบ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส


:b8: ขอบคุณที่มาให้ความรู้คะ

....ในส่วนตัวแล้ว ไม่รู้สึกอะไรที่ต้องเจอกับวิปัสสนูกิเลส ... ในเมื่อ เราเป็น

นักเดินทางยังไม่ถึงฝั่ง วิปัสสนูกิเลสจะหมดเมื่อเราเป็นพระอรหันต์เท่าั้นั้น

ในเมื่อเราเป็นปุถุชนคนธรรมดา...การเจอวิปัสสนูกิเลส จึงเป็นเรื่องปกติ แค่รู้

แค่ดู แค่แก้ แล้วเดินต่อไป ก็แค่นั้น...แก้ไม่ได้ ก็แก้ไหม่ แก้ได้ก็แก้ไป เพราะถึง

แม้ในวิปัสสนูที่เราต้องเจอนั้น ก็ยังมีระดับ หยาบ ระดับกลาง ระดับระเอียด ตามภาวะ

ของนักปฎิบัติที่เจอ....


...แต่ในอีกมุมที่มอง ก็มองได้อีกว่า ถึงแม้จะเป็นวิปัสสนูกิเลส

แต่ก็เป็นธรรมอย่างนึงเ่ช่นกัน เมื่อยังเดินทางก็เป็นธรรมดาที่เจอ ธรรมดาน่า...

อย่าได้ทำให้มันดูใหญ่เกินความเป็นจริง มันก็คือธรรม...คือกิเลส

ก็ไม่ต่างจากกิเลสตัวอื่นหรอก..ไม่ต่างจาก โกรธ ไม่ต่างจากโลภ ไม่ต่างจากหลง..

ซึ่งทั้งสามตัวนี้ก็คือกิเลสเ่ช่นกัน...ถ้าเราละตัวใดตัวนึงไม่ได้ ก็ทำให้เรานิพพานไม่ได้เช่นกัน

ซึ่ง วิปัสสนูกิเลสก็เหมือนกัน ละไม่ได้ ก็ไปนิพพานไม่ได้...แล้วมันจะต่างอะไร

เจอก็เจอ ก็แค่เจอ ไม่น่ากลัว..เมื่อเราตั้งใจจะเป็นนักรบในด้านทางธรรมอยู่แล้ว

กลัวอย่างไรก็ต้องเจอ ไม่กลัวอย่างไรก็ต้องเจอ..และดูให้มันเป็นธรรมดาที่เราต้องเจอ

มันก็ง่ายในการมองในสิ่งที่เจอ...ธรรมดา...เฉยๆ...และขอบคุณที่มาจี้ให้ดู :b8:


...ธรรมตัวใดก็ต้องละหมดนิ...ยึดเพื่อละ..ในเมื่อกำลังเดินทางจะยึดบ้างละบ้าง ละได้บ้าง

ไม่ได้บ้างก็เป็นธรรมดา...จะกดดันตัวเองทำไม ถึงเราจะรู้มีสติเห็น...หรือไม่รู้และไม่มีสติ

เห็น ธรรมมันก็ยังอยู่ อยู่นั่นแหละ อยู่ทีเราจะละได้ไม่ได้ก็เท่านั้นเอง...ละออกจากใจเราได้

ไหม ก็แค่นั้น...อย่าทำให้มันดูใหญ่กว่าความเป็นจริง ไม่ต่างกับกิเลสตัวอื่นหรอก...นี่ใน

มุมของเรานะ...แต่เราก็ดีใจที่มีเพื่อนที่มีคุณ ที่เอาความรู้มาให้เราพิจารณา เพื่อให้เรา

สำรวจตน เพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป....ขอบคุณนะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2013, 20:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมนิดนะ หลังจากพิจารณาข้อธรรมแล้ว

....ในส่วนตัวมองว่า..วิปัสสนูกิเลส เกิดจาก ความพอใจและไม่พอใจ เมื่อเราพอใจมันก็เป็นกิเลส

เป็นวิปัสสนูกิเลสทันที...แต่ถ้าเรา ไม่มีความรู้สึกที่ว่า...พอใจหรือไม่พอใจ...ธรรมเหล่านี้ก็ทำอะไร

ไม่ได้...ไม่ยึดก็ไม่จำเป็นต้องละ...เราคิดแบบนี้นะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2013, 05:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:
สวัสดีค่ะ คุณเทียนหยด
อ้างอิง:อยากถามว่า...รู้ทุกข์แต่ไม่ทุกข์...แบบนี้มีไหมคะ
รู้ทุกข์แต่ไม่ทุกข์...มีแน่นอนค่ะ..ถ้ารู้ในอริยสัจสี่
กำหนดรู้ทุกข์...สาวไปให้ถึงเหตุของทุกข์..เดินตามทางมรรคเพื่อละเหตุของทุกข์...แล้วความดับของทุกข์จะเกิดขึ้นเอง...
ก่อนอื่นต้องกำหนดรู้ทุกข์เสียก่อน...ถ้ายังหาทุกข์ไม่เจอก็ไม่พบเหตุของทุกข์ได้
ความทุกข์ที่คนส่วนใหญ่หมายกันคือเวทนาทางกายหรือทางใจ(การเสวยอารมณ์) ซึ่งเป็นหนึ่งในขันธ์ห้าเท่านั้น ดังนั้นคำว่าทุกข์ในที่นี้หมายถึงขันธ์ห้าทั้งหมดเป็นทุกข์เพราะมีลักษณะที่ตกอยู่ภายใต้ทุกขลักษณะคือมีความบีบคั้นไม่สามารถอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป...
ดังนั้นการกำหนดรู้ทุกข์ได้จึงต้องเจริญสติเพื่อเข้าไปเห็นการเกิดดับของรูปนาม(ขันธ์ห้า)เห็นความเป็นสามัญลักษณะหรือเรียกว่าไตรลักษณ์ของรูปนามแล้วสาวไปให้ถึงเหตุแห่งทุกข์(ศึกษาได้จากปฏิจจสมุปบาท)เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์แล้ว..ก็ให้ละเสียให้ได้ด้วยปัญญาคือมรรคมีองค์แปดแล้วนิโรธจะเกิดขึ้นเอง...
การศึกษาปริยัติเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นประสบการณ์ตรงที่พระพุทธเจ้าท่านทรงนำมาบอกกล่าว...เมื่อเราลงมือปฏิบัติหรือออกเดินทางสามารถนำมาเทียบเคียงหรือเป็นแผนที่เพื่อโฟกัสให้ถึงจุดหมายเร็วขึ้น...ไม่ออกนอกเส้นทางเมื่อหลงทางก็จะรู้ได้และไม่หลงนานสามารถเดินกลับเข้าเส้นทางสู่จุดหมายได้...

ขอเจริญในธรรมค่ะ :b41:

สาธุครับ...แจ่มแจ๋วครับ :b55: :b55: :b55:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2013, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


เทียนหยด เขียน:
เพิ่มเติมนิดนะ หลังจากพิจารณาข้อธรรมแล้ว

....ในส่วนตัวมองว่า..วิปัสสนูกิเลส เกิดจาก ความพอใจและไม่พอใจ เมื่อเราพอใจมันก็เป็นกิเลส

เป็นวิปัสสนูกิเลสทันที...แต่ถ้าเรา ไม่มีความรู้สึกที่ว่า...พอใจหรือไม่พอใจ...ธรรมเหล่านี้ก็ทำอะไร

ไม่ได้...ไม่ยึดก็ไม่จำเป็นต้องละ...เราคิดแบบนี้นะ :b8:


จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,

ดูก่อน จขกท. จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา

อนุโมทนาสาธุครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2013, 09:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เทียนหยด เขียน:
เพิ่มเติมนิดนะ หลังจากพิจารณาข้อธรรมแล้ว

....ในส่วนตัวมองว่า..วิปัสสนูกิเลส เกิดจาก ความพอใจและไม่พอใจ เมื่อเราพอใจมันก็เป็นกิเลส

เป็นวิปัสสนูกิเลสทันที...แต่ถ้าเรา ไม่มีความรู้สึกที่ว่า...พอใจหรือไม่พอใจ...ธรรมเหล่านี้ก็ทำอะไร

ไม่ได้...ไม่ยึดก็ไม่จำเป็นต้องละ...เราคิดแบบนี้นะ :b8:


จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,

ดูก่อน จขกท. จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา

อนุโมทนาสาธุครับ


:b8: ถึงดิฉันจะตีความหมายธรรมได้ไม่เก่งนัก แต่ดิฉันถือว่าเป็นพรอันประเสิรฐ

น้อมรับพรดีๆคะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2013, 09:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 19:33
โพสต์: 117


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน:
ธัมมุทธัจจ์ หรือ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ


๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน

๒. ญาณ ความหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว

๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆ เลย

๕ สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อยไม่ยิ่ง

๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการสงบ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส


อ้างคำพูด:
เทียนหยดเขียน
ขอบคุณที่มาให้ความรู้คะ

....ในส่วนตัวแล้ว ไม่รู้สึกอะไรที่ต้องเจอกับวิปัสสนูกิเลส ... ในเมื่อ เราเป็น

นักเดินทางยังไม่ถึงฝั่ง วิปัสสนูกิเลสจะหมดเมื่อเราเป็นพระอรหันต์เท่าั้นั้น

ในเมื่อเราเป็นปุถุชนคนธรรมดา...การเจอวิปัสสนูกิเลส จึงเป็นเรื่องปกติ แค่รู้

แค่ดู แค่แก้ แล้วเดินต่อไป ก็แค่นั้น...แก้ไม่ได้ ก็แก้ไหม่ แก้ได้ก็แก้ไป เพราะถึง

แม้ในวิปัสสนูที่เราต้องเจอนั้น ก็ยังมีระดับ หยาบ ระดับกลาง ระดับระเอียด ตามภาวะ

ของนักปฎิบัติที่เจอ....


...แต่ในอีกมุมที่มอง ก็มองได้อีกว่า ถึงแม้จะเป็นวิปัสสนูกิเลส

แต่ก็เป็นธรรมอย่างนึงเ่ช่นกัน เมื่อยังเดินทางก็เป็นธรรมดาที่เจอ ธรรมดาน่า...

อย่าได้ทำให้มันดูใหญ่เกินความเป็นจริง มันก็คือธรรม...คือกิเลส

ก็ไม่ต่างจากกิเลสตัวอื่นหรอก..ไม่ต่างจาก โกรธ ไม่ต่างจากโลภ ไม่ต่างจากหลง..

ซึ่งทั้งสามตัวนี้ก็คือกิเลสเ่ช่นกัน...ถ้าเราละตัวใดตัวนึงไม่ได้ ก็ทำให้เรานิพพานไม่ได้เช่นกัน

ซึ่ง วิปัสสนูกิเลสก็เหมือนกัน ละไม่ได้ ก็ไปนิพพานไม่ได้...แล้วมันจะต่างอะไร

เจอก็เจอ ก็แค่เจอ ไม่น่ากลัว..เมื่อเราตั้งใจจะเป็นนักรบในด้านทางธรรมอยู่แล้ว

กลัวอย่างไรก็ต้องเจอ ไม่กลัวอย่างไรก็ต้องเจอ..และดูให้มันเป็นธรรมดาที่เราต้องเจอ

มันก็ง่ายในการมองในสิ่งที่เจอ...ธรรมดา...เฉยๆ...และขอบคุณที่มาจี้ให้ดู


...ธรรมตัวใดก็ต้องละหมดนิ...ยึดเพื่อละ..ในเมื่อกำลังเดินทางจะยึดบ้างละบ้าง ละได้บ้าง

ไม่ได้บ้างก็เป็นธรรมดา...จะกดดันตัวเองทำไม ถึงเราจะรู้มีสติเห็น...หรือไม่รู้และไม่มีสติ

เห็น ธรรมมันก็ยังอยู่ อยู่นั่นแหละ อยู่ทีเราจะละได้ไม่ได้ก็เท่านั้นเอง...ละออกจากใจเราได้

ไหม ก็แค่นั้น...อย่าทำให้มันดูใหญ่กว่าความเป็นจริง ไม่ต่างกับกิเลสตัวอื่นหรอก...นี่ใน

มุมของเรานะ...แต่เราก็ดีใจที่มีเพื่อนที่มีคุณ ที่เอาความรู้มาให้เราพิจารณา เพื่อให้เรา

สำรวจตน เพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป....ขอบคุณนะ


สาธุในธรรมของท่านทั้งสองค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2013, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
...รู้ทุกข์และรู้วิธีดับทุกข์...นั่นแหละคือรู้ทุกข์แต่ไม่ทุกข์...
...ถ้าดับทุกข์ยังไม่ได้...ก็หมายถึงยังไม่รู้ในทุกข์...
...การเข้าถึงทุกข์คือการอยู่กับทุกข์แต่ไม่ทุกข์...
...เป็นการรู้จักปล่อยวางแล้วจิตใจก็จะเบา...
...ทุกข์ก็คือทุกข์นั่นแหละคือของจริง...
...จริงที่เห็นเป็นตัวตนอยู่กะทุกข์คือหลอกตัวเอง ส่วนของจริงคือนิ่ง ใบ้ สงบ...
...นิ่งคือจิตนิ่ง เป็นการทำให้จิตสงบจากความคิดทั้งหลายทั้งปวง...
...ใบ้คือทำจิตให้รู้เหมือนไม่รู้ เห็นเหมือนไม่เห็น ได้ยินเหมือนไม่ได้ยิน...
...สงบจากกิเลส เพื่อละตัวตน และจะลดกิเลสได้ต้องออกทางวิปัสสนาจริงๆนะ...
:b20: :b8:
:b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2013, 13:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
...รู้ทุกข์และรู้วิธีดับทุกข์...นั่นแหละคือรู้ทุกข์แต่ไม่ทุกข์...
...ถ้าดับทุกข์ยังไม่ได้...ก็หมายถึงยังไม่รู้ในทุกข์...
...การเข้าถึงทุกข์คือการอยู่กับทุกข์แต่ไม่ทุกข์...
...เป็นการรู้จักปล่อยวางแล้วจิตใจก็จะเบา...
...ทุกข์ก็คือทุกข์นั่นแหละคือของจริง...
...จริงที่เห็นเป็นตัวตนอยู่กะทุกข์คือหลอกตัวเอง ส่วนของจริงคือนิ่ง ใบ้ สงบ...
...นิ่งคือจิตนิ่ง เป็นการทำให้จิตสงบจากความคิดทั้งหลายทั้งปวง...
...ใบ้คือทำจิตให้รู้เหมือนไม่รู้ เห็นเหมือนไม่เห็น ได้ยินเหมือนไม่ได้ยิน...
...สงบจากกิเลส เพื่อละตัวตน และจะลดกิเลสได้ต้องออกทางวิปัสสนาจริงๆนะ...
:b20: :b8:
:b39:


:b8: สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2013, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ :b44: :b8: :b8: :b8: :b44:

http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn10.php
http://luongta.com/Inside1Html/tha/chapt8.htm
:b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2013, 16:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rotala เขียน:


:b8: ขอบคุณคะ

จริงๆ ตอนนี้ไม่พร้อมที่จะตอบเลย นึกได้คำเดียวคือ คำว่าขอบคุณจากใจ

ที่มีเพื่อนๆในลานให้ความเมตตามาให้ความรู้ เพื่อที่จะได้มีความรู้ประดับตัว

ไป...


...แต่ก็นะ...อืมม..ไม่รู้ว่าจะพูดยังไงดี...เพราะอาจจะดูกวนบาทาของเพื่อนๆก็ได้ :b5:

...แต่มันรู้แต่ว่า...มองหาธรรมที่อยู่ในกายในจิตเถิด..เมื่อเรามองเข้าไปในกายใจจิต

ธรรมมันก็ก่อเกิดเอง ญาณแบบไหนก็เกิดมาจากเรามองเข้าไปในกายในใจเราทั้งนั้น

มันจะเป็นลำดับแบบไหน อย่างไร ตัวไหน ก็มันเกิดจากเหตุที่เรามองในกายในจิตเรา

เท่าั้นั้น..แม้แต่สภาวะในการเป็น ปุถุชน อริยบุคคล ก็เกิดมาจากการมองเข้าไปในกาย

ในจิต...มันไม่พ้นกายและจิต ที่อยู่ในร่างกายเราไปได้


อืมม...หยุดพูดดีกว่า...เพราะความคิดของเรามักขวางชาวบ้านเค้าอยู่เสมอ :b5:

จริงๆมีความพูดที่ออกจากใจมากมาย แต่มันอาจจะขัดใจ หรืออาจจะไปขัดกับเพื่อนๆ

ชาวลานธรรมหลายๆท่าน ไม่ใช่ไม่เห็นค่า....เห็นค่าในธรรม :b8: ...เห็นค่าของธรรม :b8:

...ที่ทำให้เราสามารถพ้นทุกข์ได้ :b8: ...แต่ทุกอย่างมัน...เฮ้อ..สมมุตินะ อย่ายึด..สละออก

อย่าเก็บอย่าเก็บกักว่าเป็นของเรา ความรู้ของเรา สัญญาของเรา มันแค่ขันธ์ห้า...อย่าให้

ความสำคัญกับมันมาก ถ้าเรารู้แจ้งจากที่จิต รู้แจ้งจากตรงกลางของลำตัวเรา ความรู้เหล่านี้

จะมีค่ากว่าความรู้ที่ออกจากมันสมองมากมายนัก


เกิดอีกครั้ง ความรู้ที่เกิดจากการจำ จากมันสมอง ปัญญาที่เกิดจากการประมวลผลที่มันสมอง

มันก็หายไป...มันไม่ได้ตามเราไปเกิดอีกครั้งด้วยนิ...แต่ความรู้ที่เกิดจากใจจากจิตนั้น

มันจะทำให้เรามีสัมมาทิษฐิ ที่ตั้งตรงได้มากขึ้น...มันจะไปเกื้อหนุนเราในชาติต่อๆไป

ถ้าชาตินี้เราทำไม่สำเร็จ...จึงอยากบอกว่า ความรู้ใดๆ ก็ไม่เท่าความรู้ที่รู้แจ้งที่เกิดจากใจ

จากใจ ที่รู้แจ้งในขันธ์ห้า และในจิต ซึ่งทั้งหมดนั้นอยู่ในร่างกายเราเท่านั้น

ธรรมมันมีอยู่ทุกทีนั้นแหละ เพียงแต่เราจะมองมันเป็นหรือเปล่า...ยิ่งศึกษา ยิ่งออกไปไกล

ร่างกายของเราไหม เราต้องถามตัวเองนะ ถ้ายิ่งศึกษาและยิ่งเข้ามาในร่างกาย ใน รูป

ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาน ถึงจะเรียกว่าถูกทาง และจะถูกอยู่เสมอ ถ้าเรา

ไม่ออกไปนอกร่างกายเลย อยู่กับการดูและพิจารณาร่างกายทุกขณะจิต เมื่อใดคิดออกนอก

ร่างกาย ถือว่า จิตส่งออกทั้งหมด....เอ...ว่าจะไม่พูดแล้วเชียว กลับพูดมากมาย...


กราบขอขมาทุกๆท่านนะคะ :b8: :b8: :b8: ถ้าอาจไปกระทบใครหรือล้ำเส้นของใคร...

ไม่ได้ตั้งใจเลย เพียงแต่สิ่งที่พิมพ์เป็นความรู้สึกจากใจ...ซึ่งมันอาจจะผิด...แต่มันก็เป็นมุม

ส่วนตัวของดิฉันที่คิดคำนึง มันอาจจะต้องปรับปรุงในการพิจารณาอีกมากมาย แต่ดิฉันก็จะ

พยายามคะ เพื่อให้ตนไปในเส้นทางที่ดิฉันหวังไว้...คือ พระนิพพานในชาติปัจจุบัน :b8:


ด้วยความเคารพ..... :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 141 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร