วันเวลาปัจจุบัน 19 พ.ค. 2025, 19:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2013, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำมรรคมีองค์8 ให้เวไนยสัตว์ทั้งหลายที่ประสงค์จะพ้นทุกข์ได้ถือเป็นแนวปฏิบัติ
หนึ่งในมรรคนั้นคือสัมมาอาชีวะ

อยากทราบว่ามรรคองค์นี้มีแนวในการปฏิบัติอย่างไร และมีส่วนสำคัญในการช่วยทำให้พ้นจากทุกขสัจจ์หรือหลุดพ้นจากวัฎฎะสงสารได้อย่างไร

ผู้ที่เกษียณจากอาชีพการงาน หรือ early retire จะมีทางปรับตัวปรับใจอย่างไร หรือยังไงเสียก็ต้องหางานทำอะไรไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิตเพื่อไม่ให้พลาดจากการปฏิบัติธรรมตามมรรคองค์นี้ด้วยใช่ไหมครับ

เพราะเห็นผู้เกษียณจากอาชีพการงานหลายท่านรู้สึกหงอยเหงาและว้าแว่ เพราะไม่มีบทบาททำงานอาชีพที่ถนัด แต่บางท่านก็รู้สึกโล่งอกพ้นจากขวากจากหนามต่างๆ ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากเหน็ดเหนื่อยมานานจากการงานอาชีพ และคิดว่าได้โอกาสเสียทีจะได้ใช้ชีวิตยามเกษียณอย่างเป็นอิสระจะทำอะไรก็ได้ไม่ต้องมากังวลกับงานการอะไรอีกต่อไป เป็นต้น ท่านมีข้อแนะนำอะไรบ้างไหมครับเพื่อไม่ให้ผิดต่อมรรคองค์นี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2013, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8565


 ข้อมูลส่วนตัว


Soduku เขียน:
พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำมรรคมีองค์8 ให้เวไนยสัตว์ทั้งหลายที่ประสงค์จะพ้นทุกข์ได้ถือเป็นแนวปฏิบัติ
หนึ่งในมรรคนั้นคือสัมมาอาชีวะ

สัมมาอาชีวะ หมายถึง การประกอบอาชีพที่สุจริต ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์ธรรมของศีล ที่ประกอบกับองค์มรรค ๘

Soduku เขียน:
อยากทราบว่ามรรคองค์นี้มีแนวในการปฏิบัติอย่างไร และมีส่วนสำคัญในการช่วยทำให้พ้นจากทุกขสัจจ์หรือหลุดพ้นจากวัฎฎะสงสารได้อย่างไร

ก็เป็นการรักษาศีลนั่นแหละครับ แม้กระทั่งการประกอบอาชีพที่ควรงดเว้นด้วย

Soduku เขียน:

ผู้ที่เกษียณจากอาชีพการงาน หรือ early retire จะมีทางปรับตัวปรับใจอย่างไร หรือยังไงเสียก็ต้องหางานทำอะไรไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิตเพื่อไม่ให้พลาดจากการปฏิบัติธรรมตามมรรคองค์นี้ด้วยใช่ไหมครับ

เพราะเห็นผู้เกษียณจากอาชีพการงานหลายท่านรู้สึกหงอยเหงาและว้าแว่ เพราะไม่มีบทบาททำงานอาชีพที่ถนัด แต่บางท่านก็รู้สึกโล่งอกพ้นจากขวากจากหนามต่างๆ ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากเหน็ดเหนื่อยมานานจากการงานอาชีพ และคิดว่าได้โอกาสเสียทีจะได้ใช้ชีวิตยามเกษียณอย่างเป็นอิสระจะทำอะไรก็ได้ไม่ต้องมากังวลกับงานการอะไรอีกต่อไป เป็นต้น ท่านมีข้อแนะนำอะไรบ้างไหมครับเพื่อไม่ให้ผิดต่อมรรคองค์นี้


ก็ต้องถามตัวเองก่อนว่า เราถนัดในด้านไหน มีความรู้ในสายงานมาในด้านไหน ก็เอาในสายงานนั้นนั่นแหละมาประกอบอาชีพครับ หรือประกอบอาชีพในที่ท่านรักท่านชอบ การลงทุนก็ควรลงแต่น้อยๆก่อนแล้วค่อยขยับขึ้นไปเรื่อยๆ หรือประกอบอาชีพที่เลิกแล้วเลิกกันไปเลย คือหมายถึงว่าเมื่อเลิกแล้วมันเลิกลำบาก เช่นว่าถ้าเราเลิกแล้วของเหล่ามันจะไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือหาประโยชน์ไม่ได้มันจะเกะกะ

ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นไรเรื่องอาชีพนั้นมันเป็นเรื่องเฉพาะตัวครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 00:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Soduku เขียน:
พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำมรรคมีองค์8 ให้เวไนยสัตว์ทั้งหลายที่ประสงค์จะพ้นทุกข์ได้ถือเป็นแนวปฏิบัติ
หนึ่งในมรรคนั้นคือสัมมาอาชีวะ

อยากทราบว่ามรรคองค์นี้มีแนวในการปฏิบัติอย่างไร และ]


สัมมาอาชีวะ...เลี้ยงชีพโดยชอบ...พื้น ๆ ของมนุษย์เลยคือ...ชอบด้วยกฎหมาย..ก่อน..และอันดับต่อไปคือ...ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน

ไม่เบียดเบียน...อย่างหยาบ ๆ ก็คือ..เบียดเบียนร่างกายผู้อื่น...จึงมีอาชีพต้องห้าม 5 อย่าง..ได้แก่
1. ค้าสัตว์ที่เขาเอาไปฆ่า 2.ค้าสิ่งเสพย์ติด 3.ค้าอาวุธ 4.ค้ายาพิษ 5.ค้ามนุษย์

แม้การค้าขายธรรมดา ๆ ....แต่ไม่มีการเบียดเบียนใครเลยนั้น..ก็เป็นไปไม่ได้...ร้านไหนค้าขายดี...ร้านอื่น ๆ ก็จะกลับขายไม่ดีไป...คือ..หยาบ ๆ ไม่ได้ทำร้ายใคร...แต่ละเอียด ๆ ลงไป...ยังมี

อาชีพที่ไม่มีการเบียดเบียนใครเลย....มีอย่างเดียวคือ...ผู้ให้เต็มใจที่จะให้...การบิณฑบาตจึงเป็นสัมมาอาชีพอย่างยิ่ง...

อ้างคำพูด:
มีส่วนสำคัญในการช่วยทำให้พ้นจากทุกขสัจจ์หรือหลุดพ้นจากวัฎฎะสงสารได้อย่างไร


ความหลุดพ้นได้...ก็ด้วยปัญญา...คือ..วิมุตติมีญาณทัสนะเป็นปัจจัย

ปัญญาญาณ..มี..สติ..สมาธิเป็นปัจจัย

สติ...สมาธิ...มีกายสงบ...ใจสงบ...เป็นปัจจัย

กายสงบ...มี..สัมมากัมมันตะ...สัมมาอาชีวะ...เป็นปัจจัย
ใจสงบ...มี...กายสงบ...และ ..สัมมาวายามะ..เป็นปัจจัย

นี้แบบ..เบสิก..นะ..
จริง ๆ แล้วมันก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุนกันและกันไปมาแหละตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 01:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หรือยังไงเสียก็ต้องหางานทำอะไรไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิตเพื่อไม่ให้พลาดจากการปฏิบัติธรรมตามมรรคองค์นี้ด้วยใช่ไหมครับ


ถ้าต้องหาเงินมาหล่อเลี้ยงชีวิต...ใช่ครับ..ต้องทำงาน

แต่ถ้าคุณมีเงินเก็บที่ได้มาจากสัมมาอาชีวะ...แบบว่า..เลี้ยงชีวิตได้แม้จะอายุ10,000 ปี..วันนี้คุณจะหยุดหาเงินหาทองเลยก็ได้...สัมมาอาชีวะคุณไม่ขาดครับ..

อ้างคำพูด:
เพราะเห็นผู้เกษียณจากอาชีพการงานหลายท่านรู้สึกหงอยเหงาและว้าแว่ เพราะไม่มีบทบาททำงานอาชีพที่ถนัด แต่บางท่านก็รู้สึกโล่งอกพ้นจากขวากจากหนามต่างๆ ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากเหน็ดเหนื่อยมานานจากการงานอาชีพ และคิดว่าได้โอกาสเสียทีจะได้ใช้ชีวิตยามเกษียณอย่างเป็นอิสระจะทำอะไรก็ได้ไม่ต้องมากังวลกับงานการอะไรอีกต่อไป เป็นต้น ท่านมีข้อแนะนำอะไรบ้างไหมครับเพื่อไม่ให้ผิดต่อมรรคองค์นี้


อย่าคิดว่า...ต้องทำงานหาเงินเพราะกลัวว่ามรรค 8 จะไม่ครบ...ให้ทำตามสภาพร่างกาย..และฐานะ...ถ้าเรามีเงินเก็บจากสัมมาอาชีพ..ใว้ใช้กินจนตายได้....นั้น..เงินของเรานั้นแหละ..สัมมาอาชีพของเราแล้ว

อย่าลืมว่า...เรายังมีสัมมากัมมันตะ..อีกนะ...มีเงินมีทองใว้เลี้ยงชีวิตจนตายก็ยังใช้ไม่หมด...แต่ก็ยังหาเงินอยู่นั้นแหละ..ไม่หยุด

ไม่หยุดหาเงิน...จนไม่มีเวลาหาธรรมะเข้าตัว...ก็น่าจะถือว่า...ไม่มีสัมมากัมมันตะ..คือ..กระทำตนไม่ชอบ... :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
จึงมีอาชีพต้องห้าม 5 อย่าง..ได้แก่
1. ค้าสัตว์ที่เขาเอาไปฆ่า 2.ค้าสิ่งเสพย์ติด 3.ค้าอาวุธ 4.ค้ายาพิษ 5.ค้ามนุษย์

:b8: สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2013, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley ก่อนอื่นต้องขออภัยเพื่อนๆสมาชิกที่ตั้งกระทู้ไว้แล้วเพิ่งมามีโอกาสเข้าสนทนา
นี่ก็อาทิตย์หนึ่งพอดี...ต้องกราบขออภัยเป็นอย่างสูงมา ณ.ที่นี้ :b8:

และก็ขอขอบคุณคุณลุงหมาน คุณกบฯ คุณธรรมดานะครับที่ได้กรุณาโพสต์ความเห็นมาซึ่งครั้งแรกตัวกระผมผู้ตั้งกระทู้นี้เองทีแรกก็คิดว่าไม่เห็นมีประเด็นอะไรมากพื้นๆ ไม่ค่อยจะน่าสนใจอะไร เกี่ยวกับเรื่องสัมมาอาชีวะนี่ ส่วนใหญ่น่าจะรู้ ๆ กันอยู่แล้ว เพราะทุกคนต้องทำการทำงาน และเมื่อทำงานดีทำงานเสร็จก็คือจบไม่เห็นมีประเด็นอะไรให้ต้องคิดอะไรมาก และอารมณ์นี้ดูเหมือนจะสอดคล้องกับจำนวนผู้ที่เข้ามาตอบกระทู้ (หรืออาจเป็นที่หัวข้อมันลึกเกินไปเลยหาผู้รู้ผู้ให้ความเห็นได้ยาก :b10: ) และเท่าที่ตรวจสอบจากในเวปและตำราก็รู้สึกว่าไม่ค่อยมีการกล่าวถึงหรือขยายความเรื่องสัมมาอาชีวะกันมากนัก ผิดกับเรื่องสัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวาจา ซึ่งดูเหมือนจะมีอยู่มาก

แต่มาฉุกคิดอีกทีทำไมเรื่องนี้พระพุทธองค์ถึงกับต้องตั้งเป็นหนึ่งในองค์มรรคซึ่งมีความสำคัญเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์เลยทีเดียว ซึ่งน่าจะต้องเป็นหมวดธรรมที่ไม่ธรรมดา ควรให้ความเอาใจใส่และสนใจเจาะลึกเพื่อนำสู่วิถีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางไว้ ซึ่งคงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งหลังจากได้ค้นคว้าแล้วจะมาร่วมแบ่งปันให้เพื่อนๆ ได้ร่วมพิจารณากันเพื่อความเจริญในธรรมกันต่อไป หวังว่าคงจะเร็ว ๆ นี้

ในระหว่างนี้หากเพื่อน ๆ ท่านใด มีความเห็นเพิ่มเติมประการใด ขอเรียนเชิญร่วมแบ่งปันมาได้เลยนะครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2013, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:


Soduku เขียน:
อยากทราบว่ามรรคองค์นี้มีแนวในการปฏิบัติอย่างไร และมีส่วนสำคัญในการช่วยทำให้พ้นจากทุกขสัจจ์หรือหลุดพ้นจากวัฎฎะสงสารได้อย่างไร

ก็เป็นการรักษาศีลนั่นแหละครับ แม้กระทั่งการประกอบอาชีพที่ควรงดเว้นด้วย

:b8:
ครับ ศีลเป็นวินัยเครื่องกำกับในการดำรงตนทางโลกที่สำคัญ

การที่เราจะปฏิบัติทางธรรม หรือทางจิตได้ดีในขั้นสมาธิ ปัญญา ต้องการพลังจากศีลที่อบรมมาดีแล้วจึงจะมั่นคงแข็งแรงสามารถต่อกรกับกิเลสหรือสนิมในใจที่ยังมีในตนได้เป็นอย่างดี
หากเราไม่สามารถปฏิบัติจัดระเบียบวินัยตนในเรื่องการเลี้ยงชีพให้เป็นปกติ โอกาสที่จะรักษาฐานจิตฐานใจที่แน่วแน่มั่นคงย่อมยากยิ่ง

และกระผมเห็นว่าการทำงานน่าจะเป็นการฝึกปฏิบัติธรรมไปในตัว กล่าวคือนอกจากควรทำการงานที่ดีไม่มีโทษแล้ว ขณะที่ทำงานนั้นก็ทำอย่างเต็มใจ แข็งใจ ตั้งใจ และเข้าใจด้วย ซึ่งเป็นภาษาที่ปราชญ์ทางธรรมบางท่านได้แนะไว้ ซึ่งแปลงมาจากหลักธรรมเรื่องอิทธิบาทสี่ คือ ๑ฉันทะ ๒วิริยะ ๓จิตตะ ๔วิมังสา เกี่ยวข้องกับเรื่องใจทั้งสิ้น ควรมีให้ครบทั้ง 4 ใจ งานจึงจะสำเร็จได้อย่างดีแท้ ...สรุปได้แก่

๑ เต็มใจ (พอใจ) ตรงข้ามกับ จำใจ (ทุกข์ใจ)
๒ แข็งใจ (กล้า) ตรงข้ามกับ ขี้เกียจ (กลัว)
๓ ตั้งใจ (ใส่ใจ) ตรงข้ามกับ ไม่สนใจ (ไม่ใส่ใจ)
๔ เข้าใจ (พินิจพิเคราะห์) ตรงข้ามกับ สักแต่ว่าทำ (ขาดปัญญา)
:b55: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2013, 22:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ครับ...การทำงานใช้เป็นการปฏิบัติธรรมได้....และก้อ...ต้องใช้ซะด้วย

แต่....ใช่อิทธิบาท 4...เลยมั้ย?

ที่พูดมาก็พอได้นะ...ที่มีความพอใจ...ความพยายาม...ความตั้งใจมั่น....และ..การพินิจพิจารณา

แต่ผมรู้สึกว่า..อิทธิบาท 4...มันคือมรรคแปดของคนที่มีสัมมาทิฐิ...สัมมาสังกัปปะ...สัมมากัมมันตะ...สัมมาอาชีวะ..บ้างแล้ว...แต่ให้เติมเต็มโดยเพิ่มความพอใจที่จะออกจากทุกข์เข้าไป..มรรค4ข้อต้นก็สมบูรณ์

แต่การทำงาน...ความคิดผมนะ....ให้ดูที่จิต...คือ..ที่กำลังลงมือทำอยู่นั้นนะ...จิตเป็นกุศล..หรือ..อกุศล...หากจิตเป็นอกุศลก็ให้ระงับการกระทำนั้นเสีย...กลับมาตั้งจิตให้เป็นกุศลก่อน...แล้วค่อยลงมือทำต่อไป....

ทำทุกการกระทำในระหว่างทำงาน....งานที่ได้ก็จะเป็นสัมมาอาชีพ...แม้การกระทำนั้นจะยังเป็นแบบเดิม...

ดูตัวอย่างเรื่อง...ภรรยานายพรานที่เป็นโสดาบัน...เขาก็สงสัยว่าเป็นโสดาบันแล้วทำไมยังจัดเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับล่าสัตว์ให้สามีได้?...ในใจนางไม่ได้เห็นดีเห็นงามกับสามีเลย...นี้คือจิตที่กลับมาตั้งที่กุศล...สิ่งที่นางทำก็กลับกลายมาเป็นสัมมาอาชีวะ(สำหรับตน)ได้..แม้อาการที่ทำยังเหมือนเดิม

พระพุทธเจ้ายังตรัสว่า....เจตนาเรียกว่ากรรม...คนฝ่ามือไม่มีแผลจะกำสารพิษ...พิษก็ทำอะไรไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2013, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


s002
Soduku เขียน:
พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำมรรคมีองค์8 ให้เวไนยสัตว์ทั้งหลายที่ประสงค์จะพ้นทุกข์ได้ถือเป็นแนวปฏิบัติ
หนึ่งในมรรคนั้นคือสัมมาอาชีวะ

อยากทราบว่ามรรคองค์นี้มีแนวในการปฏิบัติอย่างไร และมีส่วนสำคัญในการช่วยทำให้พ้นจากทุกขสัจจ์หรือหลุดพ้นจากวัฎฎะสงสารได้อย่างไร

ผู้ที่เกษียณจากอาชีพการงาน หรือ early retire จะมีทางปรับตัวปรับใจอย่างไร หรือยังไงเสียก็ต้องหางานทำอะไรไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิตเพื่อไม่ให้พลาดจากการปฏิบัติธรรมตามมรรคองค์นี้ด้วยใช่ไหมครับ

เพราะเห็นผู้เกษียณจากอาชีพการงานหลายท่านรู้สึกหงอยเหงาและว้าแว่ เพราะไม่มีบทบาททำงานอาชีพที่ถนัด แต่บางท่านก็รู้สึกโล่งอกพ้นจากขวากจากหนามต่างๆ ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากเหน็ดเหนื่อยมานานจากการงานอาชีพ และคิดว่าได้โอกาสเสียทีจะได้ใช้ชีวิตยามเกษียณอย่างเป็นอิสระจะทำอะไรก็ได้ไม่ต้องมากังวลกับงานการอะไรอีกต่อไป เป็นต้น ท่านมีข้อแนะนำอะไรบ้างไหมครับเพื่อไม่ให้ผิดต่อมรรคองค์นี้

...หลักปฏิบัติของบุคคลทั่วไป...ทาน...ศีล...ภาวนา...เอาไปใช้เป็นกิจวัตรประจำวันอย่างนี้ค่ะ...
...ตื่นเช้ามาก็ให้ใส่บาตรทำทานก่อนกิน...ถือศีล5เป็นวัตรก่อนออกจากบ้านไปทำงานทุกอาชีพที่สุจริต...
...พอเลิกงานกลับมาบ้านก่อนนอนก็ให้มีการสวดมนต์ไหว้พระถือหลักรักษาศีลและภาวนาก่อนนอนค่ะ...
...ส่วนใหญ่บุคคลทั่วไปรักษาศีล5เว้าๆแหว่งๆคือรักษาไม่ครบองค์ของศีล5ทำให้บุญถมไม่เคยเต็ม...
...พอชีวิตประสบสิ่งที่ไม่ดีก็มักจะบ่นว่าไม่เคยทำไม่ดี ไม่เคยทำร้ายใคร จริงๆกำลังทำร้ายตัวเองอยู่...
...เพราะศีลที่ไม่บริสุทธิ์ จะทำอะไรก็ขาดๆเขิน ตกหล่นบกพร่อง ก็ตัวเองนั่นแหละกระทำเอาไว้แล้ว...
...ทำแล้วก็ต้องมารับผลที่ตกหล่นบกพร่องที่ไม่ดีทั้งมวลด้วยตนเองตามกาย วาจา ใจที่เคยทำไว้...
...บุคคลทั่วไปที่เข้าใจหลักนี้นิยมการบวชชีพราหมณ์ซึ่งเป็นวิธีช่วยให้รักษาศีล5ให้บริสุทธิ์ได้ดี...
...เพราะการบวชรักษาศีล8ได้1วันเท่ากับการได้รักษาศีล5ให้บริสุทธิ์ได้100วัน...
:b12:
...สัมมาอาชีวะที่แท้จริงตามหลักพุทธศาสนาของพระภิกษุก็คือการบิณฑบาตด้วยลำแข้งเป็นกิจวัตร...
...ท่านผู้ทรงไว้ซึ่งศีลที่บริสุทธิ์นั่นแหละจึงทรงไว้ซึ่งการดำรงพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองในจิตใจได้...
...ศีล สมาธิ ปัญญา พระภิกษุจึงเป็นบุคคลที่ดำรงตรงทางอริยมรรคมีองค์ครบ8ได้ดีที่สุดนั่นเองค่ะ...
:b39: :b39:
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2013, 15:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
สัมมาอาชีวะ.....เป็นมรรคข้อที่ 6 ในมรรค 8
เป็นมรรคข้อที่ 3 ในกลุ่มของศีลมรรค
แปลว่า....การประกอบอาชีพชอบ...หรือประกอบอาชีพที่ถูกต้อง

อาชีพที่ถูกต้อง...เอาอะไรมาเป็นเครื่องชี้วัด?
:b48:
ตอบ...ทั้งสัมมากัมมันตะ....การงานชอบ..กับสัมมาอาชีวะ...การประกอบอาชีพชอบ

เอาศีล 5 ข้อ เป็นเครื่องชี้วัด......อาชีพที่ไม่ผิดศีล 5 และไม่สนับสนุนให้เกิดการทำผิดศีล 5 เรียกว่า
"อาชีพชอบ"...ครับ

:b8:
ส่วนสำคัญที่ไปเกี่ยวข้องกับการบรรลุธรรมนั้นให้จำไว้ง่ายๆว่า

"ศีล 5 โสดาบัน+สกิทาคามี"........

การบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าทั้ง 4 ชั้นนั้น เอาศีล 5 นั้นเป็นบาทฐานก็ทำให้ถึงอริยภูมิทั้ง 4 ชั้นได้...ไม่จำเป็นต้องบวชนุงเหลืองถือศีล 227 ข้อแล้วจึงจะบรรลุธรรมได้
มีตัวอย่างผู้ที่รักษาศีล 5 แล้วบรรลุธรรมชั้นสูงมากมายในพระสูตรครับ
onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร