วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 17:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 207 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 13:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
การจะรู้ได้ว่าอวิชชาคือความหลงนั้นแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ต้องมีธรรมฐิติญาณอันเป็นญาณรู้ชัดรู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาทเกิดขึ้นเสียก่อน

พระพุทธเจ้าท่านทรงรู้อวิชชาเป็นบางส่วน ตั้งแต่ท่านยังไม่ออกบวชแล้ว
หลังจากที่ทรงออกบวช ท่านทรงใช้ญาณหรือที่เรียกว่าวิชชารู้แจ้งในอวิชชา8
หลังจากนั้นจึงเข้าใจที่มาหรือเหตุปัจจัยและกฎแห่งอิทัปจยตา

ดังนั้นนับสาวกทุกคน อวิชชาไม่ว่าจะอวิชชาใด ล้วนแล้วอยู่ในวงของปฏิจฯครับ


:b1: ข้อนี้ดิฉันขอชี้แจงว่าอวิชชาใดก็อยู่ในวงปฏิจสมุปบาทแต่.........

ต้องแยกแยะให้ดีว่าการกล่าวถึงอวิชชาในแง่ของความไม่รู้แจ้งอริยสัจจน์นั้นเพราะว่าเวลานั้นพระองค์ทรงรู้เพียงบางส่วนตามที่คุณโฮฮับกล่าวอ้างนั่นแหละนะคะ

ในเมื่อยังรู้ได้เพียงบางส่วนจึงไม่อาจกล่าวได้ว่ามีความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมนั้น
พูดง่ายๆ ก็ได้ว่าการรู้เป็นบางส่วนก็คือยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดหรือแทงไปบ้างแล้วแต่ยังไม่แจ้งตลอดนะคะ

แต่เมื่อได้ธรรมฐิติญาณรู้ชัด รู้แจ้งแทงตลอดในวงจรปฏิจสมุปบาททั้งหมดตลอดสายจึงทรงรู้ว่าที่แท้แล้วอวิชชาก็คือความหลงนั่นเองค่ะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 13:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ข้อความนี้มันถูก แต่มันผิดในหลักการ ความหมายก็คือ ผู้อธิบายเข้าใจผิดในตัวบุคคล
ผู้ที่แสวงหาการค้นพบกับผู้ที่ปฏิบัติตาม ไม่เหมือนกัน
ผู้แสวงหาคือพระพุทธเจ้า ท่านกำลังหาวงปฏิจจฯ ช่วงแรกยังหาได้ไม่ครบ
วงปฏิจจฯยังไม่สมบูรณ์ จึงเข้าในประเด็นของผู้อธิบาย แต่เมื่อพระองค์
ทรงค้นพบวงปฏิจจฯสมบูรณ์แล้ว คำอธิบายของคุณแฟนตาเซียผิดครับ

ความไม่รู้ในวงปฏิจจฯมันมีสองลักษณะ ดังนั้นการรู้ได้จึงมีสองลักษณะ
ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาหรือขั้นตอนการปฏิบัติ หรืออกนัยหนึ่งก็คือ การรู้ได้ด้วย
สติปัญญาธรรมดาในขั้นต้น และการรู้ได้ด้วยญาณในขั้นปลาย



:b1: ขอประทานโทษนะคะดิฉันยังสติดีอยู่รู้ตัวดีว่ากำลังอธิบายเรื่องอะไรกับคุณจางบางฯ

หากคุณโฮฮับเสียสติไปแล้วก็ขอบอว่า คห.ที่ผ่านๆ มาดิฉันกำลังอธิบายในประเด็นเรื่องปฏิจสมุปบาทจากพระโอษฐ์อยู่นะคะ

หากคุณอยากจะแยกประเด็นมากล่าวถึงความรู้เรื่องปฏิจสมุปบาทของผู้ปฏิบัติตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ก็ขอให้บอกกันมาตรงๆ ว่ามันเป็นคนละประเด็นกับสิ่งที่ดิฉันกำลังอธิบายอยู่

ไม่ใช่มาเบี่ยงเบนประเด็นเองแล้วยังมาหาว่าดิฉันเข้าใจผิดในตัวบุคคล

เพราะว่าประเด็นของดิฉันกล่าวถึงความรู้ในปฏิจสมุปบาทของพระพุทธองค์เพียงบุคคลเดียวเท่านั้นค่ะ

ขอให้คุณสงบสติอารมณ์ให้ได้เสียก่อน ตัวคุณเองจะได้ไม่สับสนไปกว่านี้นะคะ

ขอพระพุทธองค์ทรงเมตตา ... ค่ะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 14:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
คุณจางบางฯ คงต้องพิจารณาให้ดีในข้อนี้ว่าพระพุทธองค์เริ่มเห็นอริยสัจจ์ตั้งแต่พระราหุลเกิดจึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อค้นหาวิชชาความรู้มาดับทุกข์ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็เรียกความไม่รู้ในอริยสัจจ์ว่าอวิชชา

การอธิบายความแบบนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่รู้ว่ามันยังมีเรื่องของ อวิชชา8
FANTASIA เขียน:
จนกระทั่งถึงวันที่พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์เพิ่งได้ธรรมฐิติญาณในวันนั้นเอง เพราะได้รู้ชัด รู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาทว่าแท้จริงแล้วอวิชชาก็คือความหลงนั่นเอง

ลำดับผิดครับ พระองค์ได้ธรรมฐิติญาณมา ทรงเล็งเห็นอวิชชาที่เหลือคือเห็น
อดีตเห็นอนาคตและเห็นปฏิจจสมุบาท

ส่วนความหลงในที่นี้ความหมายก็คือ กรรมวิบากที่สืบเนื่องกันมา
เป็นภพชาติในอดีตและสืบต่อยังอนาคต
อวิชชาโดยลักษณะแล้วมันไม่มีอะไรครับ เมื่อมีวิบากกรรมจึงเกิดสังขารในปฏิจจฯขึ้น


:b9: ขออภัยอีกครั้งนะคะ ขำจริงๆ ว่ะค่ะ

อย่างที่ดิฉันชี้แจงไปแล้วว่าการรู้เพียงบางส่วนนั้นยังไม่ใช่ธรรมฐิติญาณ
เพราะว่าธรรมฐิติญาณจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีความรู้ชัด รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมนั้นเท่านั้น
หากยังรู้แค่บางส่วนก็ไม่อาจเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่ารู้แจ้งแทงตลอดได้ดังนี้นะคะ

:b1: ประเด็นต่อมา :

ถ้าความหลงคือกรรมวิบาก
และคุณยืนยันมาตลอดแล้วว่าอวิชชาก็ไม่ใช่ความหลง
ดังนั้นแสดงว่าอวิชชาก็ไม่ใช่กรรมวิบากด้วยเช่นกัน

ทีนี้คุณก็มาบอกว่า “อวิชชาโดยลักษณะแล้วมันไม่มีอะไรครับ เมื่อมีวิบากกรรมจึงเกิดสังขารในปฏิจจฯขึ้น”

ประเด็นนี้ดิฉันขอติงว่า.........
ถ้าอย่างนั้น ปฏิจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารฯ นั้นก็ไม่เป็นความจริงสำหรับคุณโฮฮับนะสิคะ
ในเมื่อคุณคิดว่าอวิชชาไม่มีอะไร อีกทั้งมันยังเป็นกรรมวิบากไม่ได้เสียด้วยสิ เพราะคุณยืนยันมาก่อนแล้วว่าอวิชชาไม่ใช่ความหลง
แล้วทีนี้เจ้าอวิชชาในปฏิจสมุปบาทของคุณมันจะเอาอะไรไปเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารได้อีกละคะ

ในเมื่อเอาความหลงไปเป็นปัจจัยก็ไม่ได้ เอาวิบากไปเป็นปัจจัยก็ไม่ได้อีก เพราะคุณบอกว่ามันเป็นสิ่งเดียวกันและมันก็ไม่ใช่อวิชชาไปซะแล้ว

แต่จะไม่มีอะไรเป็นปัจจัยก็ไม่ได้อีก เพราะจะไม่เป็นไปตามกฎปฏิจสมุปบาทดังที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ดีแล้วว่า....อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารฯ จริงไหมละคะ

:b1: สรุปว่า ในที่สุดคุณโฮฮับก็ต้องว่ายเวียนกลับมาติดตังอยู่กับวงจรปฏิจสมุปบาทแห่งความสับสนของตนตามเดิม เพราะว่าความรู้ความเข้าใจในธรรมของคุณยังไม่ถึงที่สุดนั่นเองนะคะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 14:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
:ดิฉันขอยกข้อความในพระไตรปิฏกที่กล่าวถึงธรรมฐิติญาณมาให้ดูดังนี้นะคะ ^^
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
.............

[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๑๓๐ - ๑๒๑๘. หน้าที่ ๔๖ - ๕๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 130&Z=1218

:b1: สรุปว่าอวิชชาในปฏิจสมุปบาทคือความหลงดังนี้ค่ะ

เพระฉะนั้นหากคุณจะยึดพระไตรปิฏกก็ควรจะศึกษาให้ถ้วนถี่เสียก่อนดีกว่าค่ะ
ไม่ใช่ไปหยิบยกมาแค่เพียงพระสูตรเดียวหรือสองพระสูตรแล้วมาเหมารวมว่าความหมายในพระสูตรนั้นๆ เป็นความหมายที่ถูกต้องสำหรับอีกพระสูตรหนึ่งเช่นนี้นะคะ
อนุโมทนาค่ะ ^^

ในพระไตรปิฎกที่ยกมา ผู้ที่อ้างมีความเข้าใจผิด เนื่องจากเห็นบัญญัติคำว่าความหลงเป็นอวิชา ก็เลยเข้าใจว่า ความหลงคืออวิชชา

ในเนื้อแท้แล้วความหมายของ ความหลงก็คือวิบากกรรมในอดีตชาติ
แล้วอะไรคือสาเหตุแห่งวิบากกรรม มันก็คือกิเลสครับ
ในกระบวนการของปฏิจจฯ เมื่อเกิดผัสสะเป็นเวทนานี้เป็นเหตุปัจจัยปกติของรูปและนาม
แต่เมื่อเกิดตัณหาที่เป็นผลสืบต่อจากเวทนา มันเป็นกิเลส จนเกิดความหลงของอุปาทาน
ไปยึดเอากิเลสเป็นตัวตน มันจึงส่งผลเป็นกรรมวิบากในชาติหรือภพหน้าครับ

ดังนั้นการดูวงปฏิจจฯในชาติภพปัจจุบัน มันจึงมีความหลงเป็นอันดับแรก
แต่ไม่ได้หมายถึงว่า ความหลงคืออวิชชา มันหมายถึงความหลงในกิเลสจนเกิด
เป็นอุปาทานว่าเป็นตัวตน นั้นก็คือวิบากกรรมนั้นเอง

เรื่องที่คุณแฟนตาเซียถกกับคุณจางบาง เกี่ยวกับความมีอยู่หรือไม่ของอวิชชา
มีหลักสังเกตุดังนี้ ในวงปฏิจฯที่เราเห็นมี12สภาวะ แท้จริงแล้วมันมีแค่11สภาวะ
สภาวะในส่วนของอวิชชามันมีความหมายว่าการไม่มีอยู่หรือการไม่รู้ใน8อย่าง

และที่ต้องกล่าวหรือกำหนดอวิชชาไว้ในวงปฏิจจฯ ก็เพื่อให้รู้ว่ายังมีตัววิชชาอยู่
ต้องเอาเข้ามาในวงปฏิจจฯนี้ จาก11สภาวะนี้ถ้าเอาวิชชาเข้ามาไม่ใช่ว่า
จะกลายเป็น12 แต่มันจะตัดทอนสภาวะทั้ง11ลงไปเรื่อยจนเหลือแต่วิชชาครับ


:b1: คุณโฮฮับว่าอย่างนั้นแต่หลวงปู่มั่นท่านว่าไว้อย่างนี้นะคะ :
สังขารกรรม วิญญาณกรรม เป็นวาวะที่ไม่เป็นอิสระ
อยู่ภายใต้อำนาจของกรรม มีอวิชชาเป็นหางเรือใหญ่


เพราะฉะนั้นเหตุต้นแห่งวิบากกรรมก็คืออวิชชา ไม่ใช่กิเลสอตัณหาย่างที่คุณว่ามานะคะ

กิเลสนั้นเป็นเพียงเหตุปัจจัยที่แสดงออกมาในแต่ละภพชาติเพื่อขัดเกลาเอาความหลงอันเป็นต้นเหตุแห่งกรรมทั้งหมดตลอดสายออกมานั่นเอง

เรื่องนี้คุณเข้าใจผิดไปแล้วก็กลับใจเสียใหม่ได้นะคะ

ในวงจรปฏิจสมุปบาทนั้นรูปนามเกิดก่อนแล้วจึงค่อยมีผัสสะและเวทนาตามมาค่ะ

:b1: พิจารณาให้ดีนะคะว่าความหลงว่าเป็นตัวตนมันมีมาตั้งแต่อวิชชาแล้วละค่ะ
ไม่ใช่เพิ่งมาหลงเอาตรงกิเลสตัณหาเพิ่งออกมานั่นหรอกนะคะ

เพราะว่าถ้าไม่มีความหลงว่าเป็นตัวตนมาตั้งแต่แรก
หากเป็นเช่นนั้นก็บรรลุอรหันต์กันมาแต่ไหแต่ไรแล้วนะสิคะ

อย่างที่บอกไปแล้วว่าอวิชชาคือความหลง ไม่ใช่ความยึดมั่นถือมั่น
เพราะถ้าไม่หลงแล้วมันก็ไม่มีปัจจัยให้ไปยึดมั่นอะไรได้อีกแล้วละค่ะ

คุณโฮฮับยังสับสนอยู่อย่างมากเลยทีเดียวจากที่กล่าวมาว่า :
แต่เมื่อเกิดตัณหาที่เป็นผลสืบต่อจากเวทนา มันเป็นกิเลส จนเกิดความหลงของอุปาทานไปยึดเอากิเลสเป็นตัวตน

:b1: ดิฉันจะแจกแจง คห.ของคุณให้เห็นชัดเจนขึ้นดังนี้นะคะ

ถ้าหากว่ากิเลสตัณหาเป็นตัวตน ก่อนหน้านั้นตั้งแต่อวิชชาไล่มาจนถึงเวทนาก็ไม่มีความเป็นตัวตนอยู่เลย
ถ้าหากว่าเป็นเช่นนั้นการสืบต่อภพชาติภายใต้อำนาจของกรรมก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะว่ามันขาดตัวตนผู้รับผลกรรมตั้งแต่อวิชชาในชาติถัดไปแล้ว ซึ่งมันเป็นไม่เลยแม้แต่นิดเดียวค่ะ ^^

สรุปว่า คห.ของคุณไม่อาจลงได้กับปฏิจสมุปบาทตั้งแต่เริ่มต้นเลยทีเดียว
เพราะความรู้ความเข้าใจยังไม่รอบ แค่เห็นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น พอนำความเข้าใจที่ยังไม่ถึงที่สุดมาอธิบาย จึงได้สับสนมีช่องโหว่อยู่มากมายและในที่สุดก็ยังวกวนจนหาจุดจบไม่ได้อยู่นั่นเอง

ปล.ในพระไตปิฏกกล่าวไว้ว่า ความหลงเป็นอวิชา ถ้าไม่ให้เข้าใจว่า ความหลงคืออวิชชา
แล้วอวิชชาในใจของคุณโฮฮับจะให้พระพุทธเจ้า คณาจารย์ และคนอื่นๆ เข้าใจกันว่าอย่างไรละคะ (ขำว่ะค่ะ)

ขอพระพุทธองค์ทรงเมตตา ... ค่ะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 23:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
(ต่อ)
:b38: :b38: :b38:


“ปฏิจจสมุปบาทข้อที่ว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้
เกิดนามรูปนั้นแล ในนามรูปก็มีทั้งวิญญาณและสังขาร ซึ่งมันจะมีการแตกต่างกันดังนี้คือ
สังขาร วิญญาณ ที่ต่อจากอวิชชานั้น เรียกว่า สังขารกรรม วิญญาณกรรม แตกต่างกับสังขาร
วิญญาณของนามรูป สังขารวิญญาณของนามรูปนั้นเป็นสังขารวิญญาณวิบาก เนื่องจากเป็น
การปรุงแต่งที่สำเร็จรูปแล้ว สังขารกรรม วิญญาณกรรม เป็นวาวะที่ไม่เป็นอิสระ
อยู่ภายใต้อำนาจของกรรม มีอวิชชาเป็นหางเรือใหญ่ อาศัยสังขารการปรุงแต่ง
อาศัยวิญญาณความรู้สึกในขณะที่กำลังปรับปรุงภพ อันจะเป็นแนวทางแห่งการก่อให้เกิด
ซึ่งในขณะนั้นจิตเป็นประธานอาศัยสังขารปรุงแต่ง อาศัยวิญญาณความรู้สึกในขณะที่กำลังปรุงภพ
อันจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของสังขารกรรม วิญญาณกรรม ทั้งสองนั้น สืบเนื่องมาจากจิต ณ ที่นี้
จึงแล้วแต่กรรมจะจำแนกไป คือให้สังขารและวิญญาณนี้เห็นดีไป เมื่อเห็นดีไปอย่างไร
จิตก็จะไปตั้งก่อให้เกิดไปตามนั้น เพราะที่นี้จึงเป็นสถานที่กำลังปรุงแต่งภพ
ถ้าพิจารณาแล้วจะรู้สึกมันละเอียด และพึงจะรู้จริงได้ คือเมื่อจิตได้ดำเนินตามอริยสัจ
และเป็นวิปัสสนาอันแก่กล้าแล้วนั้นทีเดียว ที่กระผมได้อธิบายมานี้เป็นสักแต่ว่าแนวทางเท่านั้น
ตามความเป็นจริงต้องมีตาภายใน คือ กระแสจิต กระแสธรรมเท่านั้น ที่จะเข้าไปรู้จริงได้”


เมื่อท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณุปมาจารย์ได้ฟังดังนั้น ก็ถึงกับอุทานขึ้นว่า “อ้อ เราเข้าใจแล้ว
ท่านอาจารย์รู้ใจผมได้ดีมาก และถูกต้องทุกประการ และแก้สงสัยให้ผมได้ราวกับปลิดทิ้ง
ผมพยายามพิจารณาเรื่องนี้มานาน แต่ยังไม่แจ่มแจ้ง พึงจะแจ่มแจ้งในเวลานี้เอง”
หลังจากนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณุปมาจารย์ ก็ได้เดินทางกลับไปกรุงเทพฯ อยู่ที่
วัดบรมนิวาสนั้น ท่านเจ้าคุณก็ได้ประกาศความดีของท่าน อาจารย์มั่นให้แก่พระภิกษุสามเณร
ทั้งหลายฟังว่า “ท่านอาจารย์มั่นเป็นอาจารย์กรรมฐานที่มีความสามารถที่สุดในยุคนี้
ถ้าใครต้องการจะศึกษาธรรมปฏิบัติแล้ว จงไปศึกษากับอาจารย์มั่นเถิด เธอทั้งหลายจะได้
ความรู้จากธรรมปฏิบัติอันลึกซึ้งจากท่านอาจารย์มั่น”
..................................


:b55: :b54: :b55: :b54: :b55:


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 05:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
:b1: ขอประทานโทษนะคะดิฉันขอบอกว่า ขำว่ะค่ะ ^^
หากไม่มีความหลงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วคุณจะเอาอะไรไปยึดมั่นถือมั่นได้ละคะ
จู่ๆ ก็ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาเฉยๆ เลย โดยที่ไม่ได้มีความหลงอยู่เลย ขอบอกว่าขำว่ะค่ะ (อีกทีเถอะนะคะ ^^)

จะเลคเช่อย้อนอดีตมนุษย์โลกให้ฟังนะครับ เอาเฉพาะในช่วงก่อนที่
พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ มนุษย์เราก็เวียนว่ายตายเกิดเป็นวัฏฏสงสาร
สิ่งนี้เรียกว่าสัจจธรรม มันเป็นไปตามปกติของมนุษย์และธรรมชาติ

ที่สำคัญในเรื่องของเหตุปัจจัยหรือที่ว่า มีเหตุอย่างไรผลก็อย่างนั้น
มีสิ่งใดเกิดก็ย่อมมีผลอื่นตามมา มันเป็นกฎเกณท์ของธรรมชาติเป็นสัจจะธรรม
มันไม่ใช่ความหลงของเรา ธรรมชาติทำให้เป็นไป

ในวงปฏิจจฯที่ยังไม่มีวิชชาก็เป็นเช่นนี้ มันเป็นไปตามเหตุตามผลของมัน
ในสภาวะของปฏิจจฯที่มี12นั้น ความจริงมันมีแค่11ครับ แต่ที่กำหนดอวิชชาไว้
เพื่อจะบอกว่า เพราะขาดสภาวะที่เรียกว่า วิชชา
FANTASIA เขียน:
ตอนที่คุณศึกษาเรื่อง “ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น” นั้น คงจะไม่ได้ศึกษาต่อไปว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงแนวทางแห่งการละวางความยึดมั่นถือมั่นไว้ว่ามีเหตุปัจจัยเป็นมาเป็นไปอย่างไรบ้าง

แล้วมันคืออะไรล่ะครับ หรือจะต้องให้ผมปูทางให้เดิน อย่าทำตัวเหมือนพวกหมอดูซิครับ
ไอ้พวกหมอดูน่ะ มันจะทายอนาคตใครที มันจะถามโน้นถามนี่เสียละเอียดยิบ
จะแย้งอะไรในประเด็นนี้ก็บอกมาเลย อย่ามัวแต่ดองอยู่กับตัวรู้
FANTASIA เขียน:
หากว่าคุณเป็นคนยึดติดกับตำราดิฉันแนะนำว่าคุณควรไปเรียนมาให้จบเสียก่อนดีกว่านะคะ ไม่ใช่เพิ่งเรียนมาได้ไม่กี่บทก็ด่วนสรุปเอาเองแล้วว่าความรู้ทั้งหมดมีเพียงเท่านั้น

คุณว่าผมยึดตำราหรือครับ คุณลองเอาความเห็นผมกับของคุณมาเปรียบกันดูว่าใครยึดตำรากันแน่
มันเป็นคุณนั้นแหล่ะ ดูได้จากการโพสเนื้อหาในพระไตรปิฎกของคุณยาวเป็นถนนเพชรเกษม
แถมมีท้องไร่ท้องนาเป็นแบ็คกราวอีก เสียเวลาครับ คนอ่านต้องตีความอีก
ส่วนผมหยิบแค่แก่นธรรมมา แต่ถ้าอยากพิสูจน์ผมก็ให้ลิ้งกำกับไว้ครับ
FANTASIA เขียน:
ดังเช่นข้อที่คุณมาบอกว่าไตรลักษณ์ยังไม่เกิดถ้าไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเข้าไปเห็นนั่นแหละนะคะ

ถ้าไม่เข้าใจก็อย่าเอามาย่ำหัวตะปูให้ตัวเองต้องอายชาวบ้านเลยครับ
ไหนบอกสภาวะธรรมตัวเองสูงส่งกว่าใครไงครับ

แนะนำครับลองเอาเรื่องของไตรลักษณ์มาเปรียบเทียบกับกฎอิทัปปัจจยตา
คนที่"ไม่เห็น"การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของอารมณ์ มันขึ้นอยู่กับกฎอิทัปปัจจยตา
ส่วนคนที่"เห็น"การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของอารมณ์ มันขึ้นอยู่กับกฎของไตรลักษณ์

แลtจะดูถึงความแตกต่างที่เด่นชัดก็คือ.....
กฎอิทัปปัจจยตา ทำให้วงปฏิจจสมุบาทเต็มวงหมุนเวียนไปเรื่อยๆ
แต่กฎแห่งไตรลักษณ์ มันทำให้วงปฏิจจขาดตอนครับ

FANTASIA เขียน:
:b1: ดิฉันจะบอกให้ว่าอวิชชาความหลง กับ ความลุ่มหลงนั้นต่างกันลิบลับค่ะ
ความลุ่มหลงหรือจะเรียกอีอย่างว่าความยึดมั่นถือมั่นก็ได้นั่นก็คืออุปาทานนั่นเอง
ความลุ่มหลงนี้มันมีขึ้นเพราะมีตัณหาความอยากเป็นปัจจัยจึงเกิดเป็นความลุ่มหลงตามตัณหานั้นขึ้นมาดังนี้ค่ะ

คห.ของคุณแสดงว่ายังอ่อนหัดมาก หากเข้าใจได้แค่ความยึดมั่นถือมั่นและยังติดตังอยู่เพียงเท่านี้
อีกไกลกว่าจะไล่ความเข้าใจไปถึง ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร และ อวิชชา จนสุดกระบวนการฝ่ายดับแห่งวงจรปฏิจสมุปบาทได้นะคะ

ถ้าไปได้เรื่อยเปื่อยแบบนี้ มันก็เอวังนะซิครับ
ตอบแบบนี้อาจารย์แม่สุนี อาจารย์ป้ากาญจนณา อายเลยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
:b1: กรณีที่คุณจางบางคิดว่า อวิชชา ไม่ใช่ความหลง
แต่หมายถึง การยังไม่มีวิชชา เรื่องอริยสัจจ์ครบสมบูรณ์
ดิฉันขอชี้แนะดังนี้ค่ะ
การจะรู้ได้ว่าอวิชชาคือความหลงนั้นแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ต้องมีธรรมฐิติญาณอันเป็นญาณรู้ชัดรู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาทเกิดขึ้นเสียก่อน
ส่วนคำว่า "อวิชชา" ที่กล่าวถึงในความหมายว่าไม่มีวิชาหรือความไม่รู้นั้นท่านใช้กับเรื่องอริยสัจจ์ไม่ได้หมายถึงอวิชชาในปฏิจสมุปบาทนะคะ
คุณจางบางฯ คงต้องพิจารณาให้ดีในข้อนี้ว่าพระพุทธองค์เริ่มเห็นอริยสัจจ์ตั้งแต่พระราหุลเกิดจึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อค้นหาวิชชาความรู้มาดับทุกข์ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็เรียกความไม่รู้ในอริยสัจจ์ว่าอวิชชา
จนกระทั่งถึงวันที่พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์เพิ่งได้ธรรมฐิติญาณในวันนั้นเอง เพราะได้รู้ชัด รู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาทว่าแท้จริงแล้วอวิชชาก็คือความหลงนั่นเอง

อวิชชา เป็นสภาวะธรรมตามธรรมชาติของปุถุชน เป็นลักษณะตามปกติของปุถุชน
ว่ากันตามจริงแล้ว มันก็คือการไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เพิ่มเข้าไป

อวิชชามันเป็นส่วนหนึ่งของปฏิจจสมุบาท ที่เราดูแตกต่างเพราะ เราไปกล่าวถึงพระพุทธเจ้า
ในขณะที่กำลังค้นหาหนทางแห่งการตรัสรู้ ท่านทรงรู้ในเรื่องอริยสัจก่อน
กระบวนนการการตรัสรู้ในปฏิจจสมุบาท ยังไม่ครบสมบูรณ์ คือพระองค์ยังไม่ค้นพบ
เหตุปัจจัยที่สมบูรณ์เต็มวงปฏิจฯ

ผมสรุปสั้นให้ฟังเลยครับ ว่า
ในอวิชชามันมีอวิชชา8 แยกได้คือ อวิชชา4ความไม่รู้ในอริยสัจ4
และอวิชชาในส่วนที่เหลืออีก4ก็คือ ความไม่รู้ในอดีต ความไม่รู้ในอนาคต
ความไม่รู้ในอดีตและอนาคต สุดท้ายก็คือ ความไม่รู้ใน ปฏิจจสมุบาท

พระพุทธเจ้าทรงญาณตรัสรู้ ด้วยการรู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจจฯแล้ว
นั้นคือวงปฏิจจฯได้ครบสมบูรณ์แล้ว


:b8: อนุโมทนาค่ะที่มาช่วยเสริมในสิ่งที่ดิฉันได้กล่าวไปแล้ว

แต่ต้องเข้าใจให้ชัดเจนด้วยว่าขณะที่รู้แค่อวิชชา ๔ นั้นหมายความว่ายังรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดในวงจรปฏิจสมุปบาททั้งหมดตลอดสาย
จนกระทั่งวันที่ทรงตรัสรู้ว่าอวิชชาคือความหลงนั่นเองเป็นเหตุเริ่มแห่งวงจรปฏิจสมุปบาทจึงทรงธรรมฐิติญาณรู้แจ้งแทงตลอดในวงจรปฏิจสมุปบาททั้งหมดตลอดสายได้อย่างแท้จริง

ประเด็นนี้มันอยู่ที่ พระพุทธเจ้าทรงแก้ปัญหาไปที่ละเปราะ พยายามหาสาเหตุดับทุกข์
สิ่งที่แก้ปัญหาได้คือการดับทุกข์ ที่เป็นอริยสัจ แต่หนทางนี้มันเป็นเฉพาะชาติภพปัจจุบัน
ปัญหามันยังมีอยู่อีกคือ การเวียนว่ายตายเกิด จะทำอย่างไรถึงจะไม่ต้องไปเกิดใหม่

ปัญญาธรรมฐิติ มันเป็นการไปหาที่มาแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
มันเป็นเรื่องของ กฎแห่งกรรม
เราต้องแยกระหว่างอดีตชาติและชาติปัจจุบัน

สิ่งที่เป็นกิเลสต่างๆในอดีตชาติ มันจะเก็บไว้ในส่วนที่เป็นสังขารขันธ์
เมื่อมีการจุติ ปฏิสนธิ์ในชาติใหม่ ตัวที่ปฏิสนธิ์ในชาติใหม่มันก็คือตัว
สังขารขันธิ์ในอดีตชาติ หรือเรียกว่า สังขารเฉยๆในชาติใหม่

สรุปก็คือไอ้ตัวหลงที่คุณบอกมันไม่ใช่ครับ มันเป็นสังขารขันธ์ของอดีตชาติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
:b1: ข้อนี้ดิฉันขอชี้แจงว่าอวิชชาใดก็อยู่ในวงปฏิจสมุปบาทแต่.........

ต้องแยกแยะให้ดีว่าการกล่าวถึงอวิชชาในแง่ของความไม่รู้แจ้งอริยสัจจน์นั้นเพราะว่าเวลานั้นพระองค์ทรงรู้เพียงบางส่วนตามที่คุณโฮฮับกล่าวอ้างนั่นแหละนะคะ

ในเมื่อยังรู้ได้เพียงบางส่วนจึงไม่อาจกล่าวได้ว่ามีความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมนั้น
พูดง่ายๆ ก็ได้ว่าการรู้เป็นบางส่วนก็คือยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดหรือแทงไปบ้างแล้วแต่ยังไม่แจ้งตลอดนะคะ

แต่เมื่อได้ธรรมฐิติญาณรู้ชัด รู้แจ้งแทงตลอดในวงจรปฏิจสมุปบาททั้งหมดตลอดสายจึงทรงรู้ว่าที่แท้แล้วอวิชชาก็คือความหลงนั่นเองค่ะ ^^

ก่อนอื่นผมต้องออกตัวก่อนว่า ความเห็นคุณจางบางในเรื่องของอวิชชา
ไม่ใช่ว่าถูกทั้งหมดนะครับ ยังมีบางส่วนที่แกยังไม่เข้าใจเรื่องอวิชชาแปดและเรื่องของวิชชา

สำหรับคุณแฟนตาเซีย ผมไม่เห็นด้วยครับ ที่เอาเรื่องการหาหนทางแห่งการตรัสรู้มาอ้าง
กับคุณจางบางแก เพราะมันเป็นคนละสถานะและเหตุการณ์
ส่วนเรื่องความหลง มันผิดตั้งแต่คุณเอาเรื่องฐิติธรรมมาอ้างกับคุณจางบางแล้วล่ะครับ

คุณจางบางไม่จำเป็นต้องรู้แจ้งแทงตลอดแบบพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าเป็นผู้หาวิธีแต่
คุณจางบางเป็นแค่ผู้ปฏิบัติตาม ขอให้เพียงเชื่อในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดและกฎแห่งกรรมก็พอครับ
เพราะธรรมทุกอย่างพระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดไว้แล้ว

ในเรื่องการแทงตลอดนั้นต้องกล่าวว่าเพราะพระพุทธเจ้ายังไม่รู้ จึงต้องค้นหา
แต่คุณจางบางแกรู้แล้วด้วยการอ่านตามที่พระพุทธเจ้าบอก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
[ :b9: ขออภัยอีกครั้งนะคะ ขำจริงๆ ว่ะค่ะ
อย่างที่ดิฉันชี้แจงไปแล้วว่าการรู้เพียงบางส่วนนั้นยังไม่ใช่ธรรมฐิติญาณ
เพราะว่าธรรมฐิติญาณจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีความรู้ชัด รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมนั้นเท่านั้น
หากยังรู้แค่บางส่วนก็ไม่อาจเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่ารู้แจ้งแทงตลอดได้ดังนี้นะคะ

แล้วผมบอกตอนไหนว่า การรู้บ้างส่วนคือธรรมฐิติญาณ
อุตสาห์อธิบายเรื่อง อวิชชา8ให้ฟังแล้ว ทำไมไม่เอามาสำเหนียกครับ
FANTASIA เขียน:
[ :ถ้าความหลงคือกรรมวิบาก
และคุณยืนยันมาตลอดแล้วว่าอวิชชาก็ไม่ใช่ความหลง
ดังนั้นแสดงว่าอวิชชาก็ไม่ใช่กรรมวิบากด้วยเช่นกัน
ทีนี้คุณก็มาบอกว่า “อวิชชาโดยลักษณะแล้วมันไม่มีอะไรครับ เมื่อมีวิบากกรรมจึงเกิดสังขารในปฏิจจฯขึ้น”
ประเด็นนี้ดิฉันขอติงว่า.........
ถ้าอย่างนั้น ปฏิจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารฯ นั้นก็ไม่เป็นความจริงสำหรับคุณโฮฮับนะสิคะ

ใช่แหง่แก๋อยู่แล้วครับ ในปุถุชนสภาวะที่เป็นอวิชามันไม่มี แล้วทำไมต้องกำหนดเอาไว้ในปฏิจฯ
เป็นเพราะ พระพุทธเจ้าเป็นผู้กำหนด แล้วทำไมพระองค์ถึงกำหนดแบบนี้ ทั้งๆที่ไม่มีสภาวะนั้น
ก็เป็นเพราะพระองค์ทรงรู้ว่ามีตัววิชชาอยู่ เราสามารถเอาตัววิชชา มาเพิ่มในวงปฏิจจฯได้
มันเป็นตรรกะง่ายๆ คนเราถ้าไม่เรียนกฎหมาย สมองมันก็โล่งว่างจากเรื่องกฎหมาย
แต่ถ้าได้เรียน แล้ว ในส่วนที่ว่างมันก็มีเรื่องกฎหมายมาแทนในส่วนที่ไม่มี

และเหตุปัจจัยที่ให้เกิดสังขาร จริงแล้วมันก็คือสังขารขันธ์ของอดีตชาติ
และในสังขารขันธ์นั้นมันประกอบไปด้วยวิบากกรรมต่าง ที่จิตไปยึดเอาไว้ครับ

ลักษณะที่จิตออกจากร่างเขาเรียก จุติครับ จิตที่จุตินั้นแหล่ะครับเป็นสังขารเก่า
พอจิตปฏิสนธิ์ ก็เป็นสังขารในชาติใหม่ที่สืบต่อมาจาก สังขารในอดีตชาติ

FANTASIA เขียน:
ในเมื่อคุณคิดว่าอวิชชาไม่มีอะไร อีกทั้งมันยังเป็นกรรมวิบากไม่ได้เสียด้วยสิ เพราะคุณยืนยันมาก่อนแล้วว่าอวิชชาไม่ใช่ความหลง
แล้วทีนี้เจ้าอวิชชาในปฏิจสมุปบาทของคุณมันจะเอาอะไรไปเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารได้อีกละคะ

ก็ตามที่ได้บอกไว้ ที่กำหนดอวิชชาไว้ ก็เพื่อให้รู้ว่ายังมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ตัวเองยังไม่พบ
นั้นก็คือวิชชานั้นเอง ถ้ายังไม่พบวิชชา ในส่วนอวิชชาเป็นส่วนที่ว่างไม่มีอะไร

คุณเป็นคนเอาเรี่องฐิติธรรมมาอ้างเอง แบบนี้แปลว่าอ้างมาลอย ๆแท้จริงไม่เข้าใจ
ในต้วธรรมนี้เลยครับ
จะบอกให้ครับ ในวงปฏิจจฯกำหนดเอาไว้ศึกษาเพื่อความเข้าใจปฏิบัติ
เพื่อหยุดการเวียนว่ายตายเกิด

แต่ในเรื่องฐิติธรรมกำหนดให้รู้ว่า อะไรเป็นสาเหตุให้เวียนว่ายตายเกิด
คุณต้องรู้นะครับว่าชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย การกระทำความคิด
ที่เป็นกุศลอกุศล กิเลสอุปาทานทุกอย่างถูกจดจำและยึดไว้เป็นสังขารขันธ์
เมื่อตายลงจิตยังอยู่นะครับ จิตตัวนี้ก็คือสังขารขันธ์
สรุปก็คือสังขารขันธ์เป็นเหตุปัจจัยของสังขารครับ

FANTASIA เขียน:
ในเมื่อเอาความหลงไปเป็นปัจจัยก็ไม่ได้ เอาวิบากไปเป็นปัจจัยก็ไม่ได้อีก เพราะคุณบอกว่ามันเป็นสิ่งเดียวกันและมันก็ไม่ใช่อวิชชาไปซะแล้ว

แต่จะไม่มีอะไรเป็นปัจจัยก็ไม่ได้อีก เพราะจะไม่เป็นไปตามกฎปฏิจสมุปบาทดังที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ดีแล้วว่า....อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารฯ จริงไหมละคะ

:b1: สรุปว่า ในที่สุดคุณโฮฮับก็ต้องว่ายเวียนกลับมาติดตังอยู่กับวงจรปฏิจสมุปบาทแห่งความสับสนของตนตามเดิม เพราะว่าความรู้ความเข้าใจในธรรมของคุณยังไม่ถึงที่สุดนั่นเองนะคะ ^^

ความเห็นที่เหลือผมอธิบายมาหมดแล้วครับ
อย่าลืมแยกปฏิจจฯกับเรื่องวิบากกรรมด้วยนะครับ แยกศึกษาเป็นกรณีๆไปครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 18:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
:b1: ขอประทานโทษนะคะดิฉันขอบอกว่า ขำว่ะค่ะ ^^
หากไม่มีความหลงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วคุณจะเอาอะไรไปยึดมั่นถือมั่นได้ละคะ
จู่ๆ ก็ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาเฉยๆ เลย โดยที่ไม่ได้มีความหลงอยู่เลย ขอบอกว่าขำว่ะค่ะ (อีกทีเถอะนะคะ ^^)

จะเลคเช่อย้อนอดีตมนุษย์โลกให้ฟังนะครับ เอาเฉพาะในช่วงก่อนที่
พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ มนุษย์เราก็เวียนว่ายตายเกิดเป็นวัฏฏสงสาร
สิ่งนี้เรียกว่าสัจจธรรม มันเป็นไปตามปกติของมนุษย์และธรรมชาติ

ที่สำคัญในเรื่องของเหตุปัจจัยหรือที่ว่า มีเหตุอย่างไรผลก็อย่างนั้น
มีสิ่งใดเกิดก็ย่อมมีผลอื่นตามมา มันเป็นกฎเกณท์ของธรรมชาติเป็นสัจจะธรรม
มันไม่ใช่ความหลงของเรา ธรรมชาติทำให้เป็นไป

ในวงปฏิจจฯที่ยังไม่มีวิชชาก็เป็นเช่นนี้ มันเป็นไปตามเหตุตามผลของมัน
ในสภาวะของปฏิจจฯที่มี12นั้น ความจริงมันมีแค่11ครับ แต่ที่กำหนดอวิชชาไว้
เพื่อจะบอกว่า เพราะขาดสภาวะที่เรียกว่า วิชชา


:b12: สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

ข้อมูลไม่แน่นแล้วมาแลคเชอร์แบบนี้มีสิทธิ์โดนล้วงกึ๋นกินตับได้ง่ายๆ นะคะ ^^

:b1: ดิฉันขอให้คุณได้พิจารณาดูให้ดีดังนี้ค่ะ

หากคุณเข้าใจไปว่าวิชชาไม่มีอยู่ก่อนแล้วคุณจะไปหามันมาจากไหนได้ละคะ
ถ้าคุณสามารถสร้างวิชชาความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตนเองแล้วทำไมจึงยังต้องหลงเวียนว่ายไปตามกฎธรรมชาติอยู่อย่างนั้น

และถ้าหากว่ากฎธรรมชาติเป็นใหญ่เหนือสิ่งใดทั้งหมดก็แสดงว่าการค้นพบหนทางดับทุกข์ของพระพุุทธองค์นั้นก็ไม่เกิดประโยชน์เลยแม้แต่นิดเดียวนะสิคะ

:b1: แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นค่ะ.......ท่านอาจารย์

คำอธิบายของคุณนั้นไม่สัมพันธ์กันเลยและไม่เป็นไปตามความเป็นจริงด้วย แสดงให้เห็นว่าความเข้าใจยังสับสนอยู่มากเลยทีเดียว

ความจริงแล้วอวิชชาหรือความหลงนั้นมีอยู่ก่อนที่อภัสราพรหมจะลงมากินง้วนดินซึ่งเป็นปฐมบทแห่งการกำเนิดมนุษย์เสียอีกนะคะ

:b1: ดิฉันจะแลคเชอร์ให้ฟังทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบดังนี้..............

วงจรปฏิจสมุปบาทอยู่ภายใต้กฎอิทัปปัจยตา
กฎอิทัปปัจยตาหรือกฎธรรมชาตินั้นจะอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์อีกทีหนึ่ง

การทำให้วงจรปฏิจสมุปบาทขาดหรือดับลงได้จึงต้องใช้ความเข้าใจในไตลักษณ์มาทำลาย

ธรรมชาติภายนอกเป็นเพียงธาตุที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปตามเหตุและปัจจัยของมัน
หมายความว่าธรรมชาติภายนอกถูกควบคุอยู่ด้วยสองกฎคือไตรลักษณ์และอิทัปปัจยตา

ส่วนธรรมชาติภายในได้แก่ร่างกายกับจิตนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้สามกฎ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อิทัปจยตา และ ปฏิจสมุปบาท
สัตว์โลกจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ... ฯ

หากสัตว์โลกไม่มีความหลงต่อธาตุที่ปรุงแต่งเป็นธรรมชาติทั้งภายในและภายนอกแล้วความทุกข์ย่อมไม่เกิดขึ้น
แต่เพราะความหลงนั้นมีอยู่ก่อนแล้วพระพุทธองค์จึงทรงค้นพบและได้รู้แจ้งแทงตลอดในวงจรปฏิจสมุปบาท
ทำให้ทรงตรัสรู้หนทางแห่งการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง

แท้จริงแล้ววิชชาก็มีอยู่คู่กับอวิชชานั่นเอง
ดังคำกล่าวว่า จิตเดิมนั้นประภัสสร
และวิชชาหรือธาตุรู้นั้นก็ไม่เคยขาดตกบกพร่องไปเลยแม้แต่นิดเดียว
แต่เมื่อยังมีอวิชชาอยู่มากธาตุรู้จึงถูกห่อหุ้มปิดบังด้วยความหลงอยู่นั่นเอง

เมื่อพระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งแทงตลอดในวงจรปฏิจสมุปบาทว่าอวิชชาคือความหลงจึงสามารถใช้ความเข้าใจในไตรลักษณ์มาทำลายได้

วิชชาหรือความรู้แจ้งเห็นแจ้งจึงเปิดเผยออกมาในขณะนั้นเพราะอำนาจแห่งอวิชชาได้ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงแล้วนั่นเอง

หากว่าอวิชชาหรือความหลงไม่มีอยู่ก่อนแล้วพระพุทธองค์ก็จะไม่ทรงค้นพบมันได้
ในทางกลับกันหากว่าวิชชาหรือความรู้ไม่มีอยู่เมื่ออวิชชาหมดไปสิ่งนั้นย่อมไม่เปิดเผยออกมาดังนี้ค่ะ ^^

ดังพุทธภาษิตว่า..............

ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ฯ

:b3: ปล.ตับท่านอาจารย์ว๊านหวานค่ะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 18:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
ตอนที่คุณศึกษาเรื่อง “ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น” นั้น คงจะไม่ได้ศึกษาต่อไปว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงแนวทางแห่งการละวางความยึดมั่นถือมั่นไว้ว่ามีเหตุปัจจัยเป็นมาเป็นไปอย่างไรบ้าง

แล้วมันคืออะไรล่ะครับ หรือจะต้องให้ผมปูทางให้เดิน อย่าทำตัวเหมือนพวกหมอดูซิครับ
ไอ้พวกหมอดูน่ะ มันจะทายอนาคตใครที มันจะถามโน้นถามนี่เสียละเอียดยิบ
จะแย้งอะไรในประเด็นนี้ก็บอกมาเลย อย่ามัวแต่ดองอยู่กับตัวรู้


:b1: ดิฉันดูไม่ผิดเลยค่ะ........ถามแบบนี้แสดงว่าคุณไม่ได้ศึกษามาจริงๆ นั่นแหละ

"สัพเพ สังขารา ทุกขา สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ ธัมมา อนัตตา"

ท่านอาจารย์เรียนมาแค่ สัพเพ ธัมมา อนัตตา แสดงว่ายังเรียนไม่จบเลยนะคะ

ธรรมทั้งปวง ได้แก่ กุสลาธรรม อกุสลาธรรมา อพยกตาธรรมา คือสังขารอันมีอวิชชาความหลงเป็นปัจจัยนั่นเอง

เพราะฉะนั้นการจะลาวางความยึดมั่นถือมั่นได้ต้องเข้าใจด้วยว่าธรรมทั้งปวงนั้นเกิดมาจากอะไรเป็นเหตุปัจจัยที่แท้จริง

หากจะตีความตามแบบของท่านอาจารย์โฮฮับว่าอวิชชาคือความยึดมั่นถือมั่น
ดังนั้นธรรมทั้งปวงย่อมเกิดมาจากความยึดมั่นถือมั่นเป็นเหตุเริ่ม
แสดงว่าพอเริ่มต้นมันก็ยึดมั่นไปแล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงผู้ปฏิบัติก็จะไม่มีทางละวางมันได้เลย

:b1: ความจริงแล้วอวิชชาก็คือความหลง
เพราะฉะนั้นการละวางความยึดมั่นจึงสามารถทำได้ ดังนี้

เมื่อมีความหลงเป็นปัจจัยให้เกิดธรรมทั้งปวงขึ้นมา
จากนั้นจึงมีวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานหรือความยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งปวง ณ จุดนี้
หากปล่อยให้วงจรปฏิจสมุปบาทดำเนินต่อก็จะไปถึงความทุกข์ในที่สุดนั่นเอง

แต่ถ้าต้องการละวางความยึดมั่นถือมั่นย่อมทำได้หลายจุดนับตั้งแต่ ตัณหา ย้อนกลับไป
เพียงแต่มีสติรู้ในจุดใดจุดหนึ่งก็จะสามารถสกัดกั้นอุปาทานไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาได้
วงจรของปฏิจสมุปบาทก็จะขาดลงเพียงเท่านั้นความทุกข์ในเรื่องนั้นจึงไม่เกิดขึ้น
แต่ถ้าจะตัดตอนวงจรแห่งทุกข์ทั้งปวงเสียทีเดียวก็ต้องทำลายที่เหตุเริ่มด้วยการดับอวิชชาหรือความหลงนั่นเอง

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น ...

:b1: สรุปว่า ถ้าอวิชชาคือความยึดมั่นถือมั่นไปตั้งแต่แรกแล้วผู้ปฏิบัติย่อมไม่มีทางละวางมันได้อย่างแน่นอน

แต่เมื่ออวิชชาคือความหลงพระพุทธองค์จึงทรงค้นพบหนทางแห่งความดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงได้

ปล.หากท่านอาจารย์อยู่กับตัวรู้ก็จะรู้ตัวได้นะคะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 18:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
หากว่าคุณเป็นคนยึดติดกับตำราดิฉันแนะนำว่าคุณควรไปเรียนมาให้จบเสียก่อนดีกว่านะคะ ไม่ใช่เพิ่งเรียนมาได้ไม่กี่บทก็ด่วนสรุปเอาเองแล้วว่าความรู้ทั้งหมดมีเพียงเท่านั้น

คุณว่าผมยึดตำราหรือครับ คุณลองเอาความเห็นผมกับของคุณมาเปรียบกันดูว่าใครยึดตำรากันแน่
มันเป็นคุณนั้นแหล่ะ ดูได้จากการโพสเนื้อหาในพระไตรปิฎกของคุณยาวเป็นถนนเพชรเกษม
แถมมีท้องไร่ท้องนาเป็นแบ็คกราวอีก เสียเวลาครับ คนอ่านต้องตีความอีก
ส่วนผมหยิบแค่แก่นธรรมมา แต่ถ้าอยากพิสูจน์ผมก็ให้ลิ้งกำกับไว้ครับ


:b1: ดิฉันใช้ตำราทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ได้โดยไม่ต้องยึดมันไว้เลยค่ะ ^^

ส่วนคุณขนาดหยิบตำรามาแค่บางส่วนเท่านั้นแต่กลับสลัดมันทิ้งไปไม่ได้เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 18:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
ดังเช่นข้อที่คุณมาบอกว่าไตรลักษณ์ยังไม่เกิดถ้าไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเข้าไปเห็นนั่นแหละนะคะ

ถ้าไม่เข้าใจก็อย่าเอามาย่ำหัวตะปูให้ตัวเองต้องอายชาวบ้านเลยครับ
ไหนบอกสภาวะธรรมตัวเองสูงส่งกว่าใครไงครับ

แนะนำครับลองเอาเรื่องของไตรลักษณ์มาเปรียบเทียบกับกฎอิทัปปัจจยตา
คนที่"ไม่เห็น"การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของอารมณ์ มันขึ้นอยู่กับกฎอิทัปปัจจยตา
ส่วนคนที่"เห็น"การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของอารมณ์ มันขึ้นอยู่กับกฎของไตรลักษณ์

แลtจะดูถึงความแตกต่างที่เด่นชัดก็คือ.....
กฎอิทัปปัจจยตา ทำให้วงปฏิจจสมุบาทเต็มวงหมุนเวียนไปเรื่อยๆ
แต่กฎแห่งไตรลักษณ์ มันทำให้วงปฏิจจขาดตอนครับ


:b1: ดิฉันไม่มีของพรรค์นั้นอยู่แล้วละค่ะ
ทั้งอายและไม่อายเป็นเพียงเครื่องข้องของโลกเท่านั้น ^^

ดังที่ดิฉันกล่าวไว้ว่าคนที่ไม่เห็นการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปก็ไม่ควรด่วนสรุปว่าสิ่งนั้นยังไม่ได้เกิดขึ้น
ความหมายมันต่างกันมากนะคะ ระหว่าง ไม่เห็น กับ ยังไม่ได้เกิดขึ้น

ความจริงแล้วทั้งกฎอิทัปปัจจยตาและกฎไตรลักษณ์ก็ดำเนินอยู่ของมันอย่างนั้นตลอดเวลาไม่ว่าคนนั้นจะเห็นหรือไม่ก็ตาม

:b1: เรื่องความแตกต่างของกฎทั้งสองอย่างนั้น

ผู้ที่เข้าใจผิดคิดว่ากฎธรรมชาติมีอำนาจเหนือสิ่งอื่นใดย่อมตกอยู่ภายใต้กฎอิทัปจยตา
แม้จะเห็นไตรลักษณ์อยู่ตรงหน้าก็ไม่สามารถนำความเข้าใจนั้นมาใช้ทำลายวงจรปฏิจสมุปบาทให้ขาดหรือดับลงได้เลย

ส่วนผู้ที่เข้าใจตามความเป็นจริงว่าอวิชชาคือความหลงและรู้ว่าวงจรปฏิจสมุปบาทอยู่ภายใต้กฎอิทัปปัจยตา
ย่อมสามารถใช้ความเข้าใจในกฎไตรลักษณ์มาทำลายวงจรปฏิจสมุปบาทให้ขาดหรือดับลงได้ในที่สุด

ขอพระพุทธองค์ทรงเมตตา ... ค่ะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 18:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
:b1: ดิฉันจะบอกให้ว่าอวิชชาความหลง กับ ความลุ่มหลงนั้นต่างกันลิบลับค่ะ
ความลุ่มหลงหรือจะเรียกอีอย่างว่าความยึดมั่นถือมั่นก็ได้นั่นก็คืออุปาทานนั่นเอง
ความลุ่มหลงนี้มันมีขึ้นเพราะมีตัณหาความอยากเป็นปัจจัยจึงเกิดเป็นความลุ่มหลงตามตัณหานั้นขึ้นมาดังนี้ค่ะ

คห.ของคุณแสดงว่ายังอ่อนหัดมาก หากเข้าใจได้แค่ความยึดมั่นถือมั่นและยังติดตังอยู่เพียงเท่านี้
อีกไกลกว่าจะไล่ความเข้าใจไปถึง ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร และ อวิชชา จนสุดกระบวนการฝ่ายดับแห่งวงจรปฏิจสมุปบาทได้นะคะ

ถ้าไปได้เรื่อยเปื่อยแบบนี้ มันก็เอวังนะซิครับ
ตอบแบบนี้อาจารย์แม่สุนี อาจารย์ป้ากาญจนณา อายเลยครับ


:b1: หากทั้งสองท่านยังมียางเหนียวเช่นนั้นอยู่มันก็มีเหตุปัจจัยให้ออกมาได้ค่ะ

ตามกฎอิทัปปัจยตา คุณลืมไปแล้วหรืออย่างไรคะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 18:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อวิชชา เป็นสภาวะธรรมตามธรรมชาติของปุถุชน เป็นลักษณะตามปกติของปุถุชน
ว่ากันตามจริงแล้ว มันก็คือการไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เพิ่มเข้าไป

อวิชชามันเป็นส่วนหนึ่งของปฏิจจสมุบาท ที่เราดูแตกต่างเพราะ เราไปกล่าวถึงพระพุทธเจ้า
ในขณะที่กำลังค้นหาหนทางแห่งการตรัสรู้ ท่านทรงรู้ในเรื่องอริยสัจก่อน
กระบวนนการการตรัสรู้ในปฏิจจสมุบาท ยังไม่ครบสมบูรณ์ คือพระองค์ยังไม่ค้นพบ
เหตุปัจจัยที่สมบูรณ์เต็มวงปฏิจฯ

ผมสรุปสั้นให้ฟังเลยครับ ว่า
ในอวิชชามันมีอวิชชา8 แยกได้คือ อวิชชา4ความไม่รู้ในอริยสัจ4
และอวิชชาในส่วนที่เหลืออีก4ก็คือ ความไม่รู้ในอดีต ความไม่รู้ในอนาคต
ความไม่รู้ในอดีตและอนาคต สุดท้ายก็คือ ความไม่รู้ใน ปฏิจจสมุบาท

พระพุทธเจ้าทรงญาณตรัสรู้ ด้วยการรู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจจฯแล้ว
นั้นคือวงปฏิจจฯได้ครบสมบูรณ์แล้ว


:b8: อนุโมทนาค่ะที่มาช่วยเสริมในสิ่งที่ดิฉันได้กล่าวไปแล้ว

แต่ต้องเข้าใจให้ชัดเจนด้วยว่าขณะที่รู้แค่อวิชชา ๔ นั้นหมายความว่ายังรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดในวงจรปฏิจสมุปบาททั้งหมดตลอดสาย
จนกระทั่งวันที่ทรงตรัสรู้ว่าอวิชชาคือความหลงนั่นเองเป็นเหตุเริ่มแห่งวงจรปฏิจสมุปบาทจึงทรงธรรมฐิติญาณรู้แจ้งแทงตลอดในวงจรปฏิจสมุปบาททั้งหมดตลอดสายได้อย่างแท้จริง

ประเด็นนี้มันอยู่ที่ พระพุทธเจ้าทรงแก้ปัญหาไปที่ละเปราะ พยายามหาสาเหตุดับทุกข์
สิ่งที่แก้ปัญหาได้คือการดับทุกข์ ที่เป็นอริยสัจ แต่หนทางนี้มันเป็นเฉพาะชาติภพปัจจุบัน
ปัญหามันยังมีอยู่อีกคือ การเวียนว่ายตายเกิด จะทำอย่างไรถึงจะไม่ต้องไปเกิดใหม่

ปัญญาธรรมฐิติ มันเป็นการไปหาที่มาแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
มันเป็นเรื่องของ กฎแห่งกรรม
เราต้องแยกระหว่างอดีตชาติและชาติปัจจุบัน

สิ่งที่เป็นกิเลสต่างๆในอดีตชาติ มันจะเก็บไว้ในส่วนที่เป็นสังขารขันธ์
เมื่อมีการจุติ ปฏิสนธิ์ในชาติใหม่ ตัวที่ปฏิสนธิ์ในชาติใหม่มันก็คือตัว
สังขารขันธิ์ในอดีตชาติ หรือเรียกว่า สังขารเฉยๆในชาติใหม่

สรุปก็คือไอ้ตัวหลงที่คุณบอกมันไม่ใช่ครับ มันเป็นสังขารขันธ์ของอดีตชาติ


:b1: ขอประทานโทษนะคะ

คุณเข้าใจว่าอย่างนั้นแต่ที่ท่านพระอาจารย์มั่นอธิบายไว้ว่าอย่างนี้ค่ะ :

“ปฏิจจสมุปบาทข้อที่ว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้
เกิดนามรูปนั้นแล ในนามรูปก็มีทั้งวิญญาณและสังขาร ซึ่งมันจะมีการแตกต่างกันดังนี้คือ
สังขาร วิญญาณ ที่ต่อจากอวิชชานั้น เรียกว่า สังขารกรรม วิญญาณกรรม แตกต่างกับสังขาร
วิญญาณของนามรูป สังขารวิญญาณของนามรูปนั้นเป็นสังขารวิญญาณวิบาก เนื่องจากเป็น
การปรุงแต่งที่สำเร็จรูปแล้ว สังขารกรรม วิญญาณกรรม เป็นวาระที่ไม่เป็นอิสระ
อยู่ภายใต้อำนาจของกรรม มีอวิชชาเป็นหางเรือใหญ่
อาศัยสังขารการปรุงแต่ง
อาศัยวิญญาณความรู้สึกในขณะที่กำลังปรับปรุงภพ อันจะเป็นแนวทางแห่งการก่อให้เกิด
ซึ่งในขณะนั้นจิตเป็นประธานอาศัยสังขารปรุงแต่ง อาศัยวิญญาณความรู้สึกในขณะที่กำลังปรุงภพ
อันจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของสังขารกรรม วิญญาณกรรม ทั้งสองนั้น สืบเนื่องมาจากจิต ณ ที่นี้..."

:b1: สรุปก็คือสังขารขันธ์ไม่ใช่ความหลง เพราะว่าความหลงคืออวิชชา อันเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารกรรม วิญญาณกรรม ตามที่หลวงปู่มั่นได้อธิบายไว้ดีแล้วนั่นเอง

ส่วนไอ้สังขารขันธ์ที่คุณบอกว่ามันเป็นตัวที่ไปปฏิสนธิในชาติใหม่มันไม่ใช่ค่ะ สังขารขันธ์มันเป็นเพียงสังขารวิบากเนื่องจากเป็นการปรุงแต่งที่สำเร็จรูปแล้ว แต่สังขารอันจะเป็นแนวทางแห่งการก่อให้เกิดได้นั้นก็คือสังขารกรรมหรือสังขารที่ต่อจากอวิชชานั่นเอง มันเป็นคนละอย่างกับสังขารขันธ์ของนามรูปดังนี้ค่ะ

และธรรมฐิติญาณในวงจรปฏิจสมุปบาทนั้นมันเป็นเรื่องของความทุกข์และการดับทุกข์ค่ะ
เพราะว่าตั้งแต่ชาติแรกจวบจนชาติสุดท้ายก็มีแต่ทุกข์เท่านั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ^^

:b3: ปล.ตับอาจารย์โฮฮับหวานเจี๊ยบเลยค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 207 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร