วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 07:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 00:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด
ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย
สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ

อ่า
ส่วนประกอบของทางเดิน ของวิตก

ละที่ตรึก ตรึกไม่เกิดขึ้น ไม่ตั้งอยู่ ไม่ดับไป
แจ่มๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 04:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีคำถามท่านผู้รู้ผู้ทราบทุกๆท่าน เห็นยกคำว่า ละ ขึ้นพูดบ่อยๆช่วยบอกวิธี ละ หรือ วิธีทำการ ละ ชัดๆ ด้วยครับ เพื่อที่ชาวพุทธจะได้นำวิธีการนั้นไปละกิเลสหรือสังโยชน์ดังว่านั่นด้วยตนเองได้ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 07:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 19:46
โพสต์: 12


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ละ นั้น มีปัญหามากในการให้คำอธิาย เสมือนการตอกลิ่มไม้ใหม่เข้าไปในเนื้อกลองจัญไร

ดังนั้น ควรใช้คำของตถาคต

คำว่า ละ ที่เป็นคำเดิมของพระตถาคต คือ ไม่เผลอเพลิน หรือ ไม่เผลอมีนันทิราคะ

ละ แบบ ละนันทิราคะ หากกลับไปอ่านสำนวนบาลีเดิม จะพบว่า คำเดิมก็ใช้คำว่า
ขจัดนันทิราคะ นี่แหละ แต่เพราะลิ่มสลักที่แปลเข้าไปใหม่ แล้วนิยมใช้กัน ก็เอา
คำว่า ละ เข้าไปแทนที่ ทำให้คำของตถาคตที่กล่าวไว้ดีแล้ว อันตรธานหายไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
mes เขียน:


ปัญหาคือ เราไม่รู้ว่าวิตกหรือนิมิตไหนเป็น กุศล อกุศล

กว่าจะรู้บางทีก็หลายวัน หลายเดือน หลายปี

แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้ว่าอันไหนเป็นกุศล อันไหนเป็นอกุศล ต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ

ถ้าไม่โยนิโสมนสิการเลยคือไม่มีความเพียรอาจหลงทางไปเลยครับ



ยกตัวอย่าง สมมุติว่า คุณ mes ตรึก (วิตก) ถึงครั้งที่ตนบวชอยู่วัดป่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เช่น การทำวัตรสวดมนต์เป็นต้น การย้อนนึกถึงสิ่ง...(นิมิต) แล้วเกิดปิติภาคภูมิใจ มีสุขสดชื่น...นี่เป็นกุศล

ตรงข้าม ถ้ากลับตริตรึกนึกถึงสิ่ง...(ภาพ หรือ นิมิต) ที่ตนเกิดทะเลาะกับพระด้วยกันแล้วก็เกิดความเศร้าหมองขุ่นมัว เสียใจ ไม่สบายใจ...อย่างนี้เป็นอกุศล

แต่ว่า ตนเองฉุกคิดได้ว่า เรื่องนั้นเหตุการณ์นั้นๆผ่านมาแล้วกลับไปแก้ไขไม่ได้แล้ว คิดไปก็เปล่าประโยชน์ เกิดผลเสียแก่ชีวิตจิตใจ จึงกลับได้สติ นี่เป็นลักษณะของโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักคิด คิดเป็น คิดถูกวิธี คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล


ถ้าชัดเจนเช่นนี้ เราก็คงไม่ไปตรึงตรองให้เกิดจิตหดหู่

จิตที่หดหู่ หรือฟุ้งซ่านเป็นเครื่องถ่วง ไม่เจริญธรรม ไม่ทำให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้า

จิตที่แจ่มใส จิตที่ปิติ จึงสมารถพิจารณาธรรมได้มีประสิทธิภาพครับ :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
ปัญหาคือ

เราไม่รู้ว่าวิตกหรือนิมิตไหนเป็น กุศล อกุศล



เมื่อตรึกอยู่ ถึง กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก นิมิตนั้นเป็นอกุศล
เมือตรึกอยู่ ถึง เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก นิมิตนั้นเป็นกุศล

อะไรเป็นกุศล
กุศลกรรมบถ 10 เป็นกุศล

อะไรเป็นอกุศล
อกุศลกรรมบถ 10 เป็นอกุศล

ความวิตกที่ อันเกี่ยวกับกาม เกี่ยวกับพยาบาท เกี่ยวกับวิหิงสา ย่อมมี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูล
เป็นกิเลสนิมิต

ความวิตก อันเป็นเนกขัมมะ อัพยาบาท อวิหิงสาวิตก นิมิตนั้นเป็นสมาธินิมิต มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นมูล

เจริญธรรมครับ


:b8: ท่านเช่นนั้น

ด้วยความเคารพครับ

ในทางปริยัติเราแบ่งแยกชัดเจนเช่นนั้นได้

แต่ในทางปฏิบัติ บางบางมันลางเลือน บรือๆ ผมหมายถึงนิมิตบางนิมิตที่ชี้แนะในการปฏิบัติธรรม

ตัวอย่างผมต้องค่อยๆนึกก่อนครับ

อ้อพอนึกได้นิดหน่อย

เป็นต้นว่า

ในนิมิตบอกว่า " ท่านจะพบกับเหตุการณ์อย่างหนึ่ง

นั่นหมายถึงท่านกำลังเข้าสู่สิ่งที่ท่านมุ่งหมายอาจเรียกว่าโสดาบัน "

หรือ "ท่านจะพบกับท้าวมหาพรหมลงมาหาและสั่งสอนธรรมให้ท่าน"

ในลักษณะเช่นนี้ที่ผมบอกว่า ไม่รู้จริงหรือเท็จ ถ้าเป็นจริง ก็เป็นกุศล

ถ้าเป็นเท็จ ก็เป็นอกุศล

ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
mes เขียน:
ผมเรียนอย่างนี้ครับ

เรียนตรงๆว่ากระทู้นั้นเป็นประสพการณ์ล้วนๆ จนกระทั่งวันนี้ท่านเช่นนั้นหยิบยกเอาหลักฐานมาให้ทำให้ผมปิติเป็นอย่างยิ่งที่ตนเองไม่แสดงความผิดพลาดออกไป

:b8: :b8: :b8: :b8:

ผู้ชายสบายๆ เขียน:
ตามเกาะขอบดูอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ รักทุกท่านครับ...^^


เกาะขอบสนามด้วยคน... s002

รักทุกคน..แต่ไม่เป็นห่วง.. :b32:



ขอเสียงหน่อยครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ชายสบายๆ เขียน:
ตามเกาะขอบดูอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ รักทุกท่านครับ...^^


smiley

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


LuiPan เขียน:
ดูเหมือนว่า มีการทิ้งใจความสำคัญ คือ วิธีการปฏิบัตลงไปกันหมด

ตรงนี้ต้องพิจารณาให้ครบถ้วน หากพิจารณาแค่ นิมิตใดกุศล หรือ อกุศลแล้วจบเอา
ง่ายๆ ไม่พิจารณาต่อ ก็จะพลาดใจความสำคัญไปเลย



หากอ่านให้ดีๆ จะพบว่า แม้จะเลือกนิมิตที่ดีมาพิจารณาแล้ว แต่ทว่าก็ยังไม่หาย ยังเกิด
อกุศลจิตอีก พระพุทธองค์ให้ยกนิมิตที่เป็นกุศลนั้นเป็นนิมิตอันเลวเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น เราอาศัยการทำทาน เช่นเหมาผักจากแม่ค้าพ่อค้า แล้วเราก็ชุ่มชื่น
แต่ทว่า ก็ยังเที่ยวไล่ด่าพระสงฆ์องคเจ้า เช่นนี้ ก็ให้ยก การใช้นิมิตคือการระลึกถึง
ทานในการเหมาผักจากผู้เฒ่าผู้แก่ แต่ยังไล่ด่าพระได้หนักหน่วงกว่าเก่า อันนี้ให้ถือ
ว่าการทำกุศลนิมิตนั้นเป็น นิมิตอันเลวไปด้วย

เมื่อยกแล้ว ก็ให้เลิก คือ ลองไม่ทำทานดู ไม่อาศัยนิมิตกุศลนั้นดู หากละแล้วก็ยัง
ไล่ด่าพระไปทั่วประเทศ พระพุทธองค์ก็ให้พิจารณา สันฐานของนิมิตเหล่านั้นทั้ง
หมด

หากพิจารณาสัณฐาน พื้นเพที่มาแล้ว ก็ยังเที่ยวแจกหนังสือด่าพระไปทั่ว แบบยัดให้
กับมือได้อยู่อีก พระพุทธองค์ก็ชี้ใกล้หมดหนทางแล้ว

เหลือเพียงทางเดียว คือเอาลิ้นดุนเพดานปาก พูดซื่อๆ คือกลั้นใจให้เฉียดตายดู

หากทำแล้วยังแก้ไม่ได้อีก จะตายเปล่าอยู่แล้ว กิเลสยังไม่สะเทือนเลย ก็ยากที่
จะภาวนา

แต่โดยความเป็นจริงแล้ว หากใครสมาทานการปฏิบัติมาถึงขั้นสละชีวิตเพื่อเลิก
ก่ออกุศลกรรมมาถึง กลั้นใจตาย อย่างน้อยจะต้องพบแล้วหละว่า ที่ตั้งของ
อกุศลธรรมอันเลวมันอยู่ที่ใด หยั่งลงที่ใด

ซึ่งถ้าพบ และจะต้องพบแน่ๆ เพราะว่านี้ คือ มรรควิธีที่พระพุทธองค์ปะทานไว้
ให้ หากสมาทานแล้วย่อมได้ผลแน่นอน

จะเห็นว่า อย่าอ่านเพียงแค่วรรคแรก จะต้องอ่านให้ครบ โดยเฉพาะวรรคสุด
ท้ายซึ่งจะเป็นการสรุป



ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
mes เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
[๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบ
อธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก
นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง
โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
นั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล
เหมือนช่าง
ไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิด
ขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อ
เธอมนสิการนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล.

[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อัน
ประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตก
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วน
แต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป
อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้ง
อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว
รู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ [ของตน]
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้
อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้
ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตก
เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ อันเธอย่อมละเสีย
ได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการ
จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หาก
เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น
อยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
ขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อ
เธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก
อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
นั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำ
ไมหนอ ถ้ากระไร เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อยๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆ
เดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า เราจะยืน
ทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ
ถ้ากระไร เราควรนอน เขาพึงลงนอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถ
หยาบๆ เสีย พึงสำเร็จอิริยาบถละเอียดๆ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่า
เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
วิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
ขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอ
กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว
บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอ
มนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย
ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น
บังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ
ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้ง
อยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการ
นิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
นั้นแล เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อม
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน
เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม
ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน
ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด
ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย
สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ [ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของ
ท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ]
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ
ผู้มีพระภาค แล้วแล.


ท่านใดที่ปฏิบัติธรรมทำสมาธิ วิปัสสนาจริงๆ จะเกิดประสพการณ์เช่นที่ปรากฎในพระไตรปิฎกครับ

แต่ไม่ใช่จะเกิดง่ายๆ

เวลาจะเกิดก็ไม่รู้ต้ว

ในสภาวะเช่นนั้นผู้ที่ประสพจะต้องการความเงียบที่สูงมาก

เกลียดเสียงเพลงเพราะหนวกหู

อยากคิดพิจารณาแต่วิตกที่เป็นนิมิต


การหลงผิดในนิมิตเป็นเรืองที่ทุกคนต้องเจอ จนกว่าบรรลุอรหันต์กระมั้งครับ




วิตกในที่นี้หมายถึง ความคิด

นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย ไม่จำเป็นต้องหมายถึงนิมิตภาพ เสียง แสง ที่เจอในขณะที่ทำสมาธิเสมอไป


สภาวะที่คุณ mes นำมาโพสถามนั้น เป็นสภาวะของทุติยฌาน

สภาวะธรรมเอกผุด เป็นสภาวะของผรณาปีติ

ลักษณะเด่นของสภาวะทุติยฌาน คือ ตัวปีติ ได้แก่ ผรณาปีติ


ให้ดูตรงประโยคนี้

" เพราะละวิตก จิตย่อม ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล "



ส่วนปฐมฌาน ปิติที่เกิดขึ้น เหมือนกับปีติที่เกิดขึ้นในสมาธิทั่วๆไป




บางคนเกิดง่าย เจอแค่สัปปายะที่เหมาะกับสภาวะ สภาวะก็จะเกิดขึ้นเอง โดยไม่ต้องตั้งใจที่จะทำให้เกิดขึ้น

บางคนพยายามทำแล้วทำอีก พยายามทำอยู่อย่างนั้น ยังไม่เกิดเลย

บางคนอยู่ที่เสียงดังกระหึ่ม ก็ยังสามารถเกิดสภาวะเช่นนี้ได้


เหตุของแต่ละคนสร้างมาไม่เหมือนกัน สภาวะจึงแตกต่างกันไป หมั่นรู้ชัดในกายและจิตได้เนืองๆ จะมีคำตอบทุกคำถามเอง จะรู้แบบหยาบๆก่อน แล้วจึงจะรู้แบบละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ



ทำตรงนี้ให้ได้ก่อนนะคุณ mes " หมั่นรู้ชัดในกายและจิตได้เนืองๆ "



ขอบคุณครับ :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


my-way เขียน:
ฟังธรรมะแล้วชื่นใจจัง
ละสัณฐานในตรึกเสียได้
อย่างนี้ ละสังโยชน์เป็นพระอรหันต์ ได้เลย
แจ่มๆ


ละสังโยชน์ ยากมาก แต่ต้องละครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 10:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


LuiPan เขียน:
คำว่า ละ นั้น มีปัญหามากในการให้คำอธิาย เสมือนการตอกลิ่มไม้ใหม่เข้าไปในเนื้อกลองจัญไร

ดังนั้น ควรใช้คำของตถาคต

คำว่า ละ ที่เป็นคำเดิมของพระตถาคต คือ ไม่เผลอเพลิน หรือ ไม่เผลอมีนันทิราคะ

ละ แบบ ละนันทิราคะ หากกลับไปอ่านสำนวนบาลีเดิม จะพบว่า คำเดิมก็ใช้คำว่า
ขจัดนันทิราคะ นี่แหละ แต่เพราะลิ่มสลักที่แปลเข้าไปใหม่ แล้วนิยมใช้กัน ก็เอา
คำว่า ละ เข้าไปแทนที่ ทำให้คำของตถาคตที่กล่าวไว้ดีแล้ว อันตรธานหายไป


อันตรธาน มิได้เริ่มที่ บัญญัติ

ละนันทิราคะ หรือ ขจัดนันทิราคะ เพื่อให้ได้ผลซึ่งอะไร นี่คือนัยที่หายไป

ถ้าปัจจัยหนึ่งมิจางไป การแตกร้าวย่อมไม่ปรากฎ

ความเสื่อมแรกที่ปรากฎก่อนที่ ความเสื่อมอื่น ๆ จะปรากฎตามมาก็คือ

สมดุลแห่งความเป็นกลอง เมื่อสมดุลเสีย สิ่งแรกที่สังเกตได้คือ เสียงกลองที่เพี้ยนไป

ส่วนรูปลักษณ์ภายนอก เป็นสิ่งที่เห็นได้หลังจากนั้นมา

ผู้ที่จะรู้ว่าเสียงกลองนั้นเพี้ยนไป มีเพียง ผู้ที่ชำนาญในอุปกรณ์นั้น

สำเนียงที่เพี้ยนไป คือ สิ่งแรกที่ทำให้เรารู้ว่า
กลองนั้นเสียสมดุล และกำลังเดินทางเข้าสู่การเสื่อมในกาลต่อไป

การเห็น นัยยะแห่งกลอง สะท้อน
หนึ่ง กลองที่เราเห็น ไม่ใช่สิ่งเดียวกับกลองใบเก่า
ดังนั้นการตีกลอง ยังกลองใบนี้ เสียงที่ได้ ก็ไม่ใช่เสียงเดียวกับเสียงที่ได้ออกมาจากกลองใบเก่า

สอง เราไม่อาจจะยึดกลองใบนี้ เสียงกลองเสียงนี้ ว่าเป็นสำเนียงที่แท้จริงของกลองได้ไม่

สาม สำเนียงดั่งเดิมของกลองนั้น จางหายไปจากความทรงจำของพวกเราได้อย่างไร
แล้วอะไรคือ สิ่งที่จะช่วยให้เราแกะรอยกลับไปหาสำเนียงนั้นได้ อีกครั้ง

นี่คือเหตุผลที่ ทำไม พุทธจึงแบ่งแยกออกเป็นสองสาย
ก็คือ แบ่งหน้าที่ในการเก็บรักษา
เพื่อสักวันหนึ่ง จะมีผู้นำสมบัติทั้งสองชิ้น กลับมาเชื่อมต่อกันอีกครั้ง

:b8: ไร้สาระท่าน ... ไม่มีอะไร
แค่อ่านความเห็นท่านแล้ว มันรู้สึกไปถึงสำเนียงที่หายไปก่อนที่เนื้อกลองจะหายไป

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 10:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กล้าที่จะวางกลอง
แล้วลองค้นหาสำเนียงที่หายไปหรือไม่

:b8: :b1: :b1: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 10:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:

เอกอนไม่กล้า กลัวโดนลิ่มกลองเขวี้ยงหัว หง่ะ

:b9: :b9: :b9:

:b8: :b1: :b1: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
ปัญหาคือ

เราไม่รู้ว่าวิตกหรือนิมิตไหนเป็น กุศล อกุศล



เมื่อตรึกอยู่ ถึง กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก นิมิตนั้นเป็นอกุศล
เมือตรึกอยู่ ถึง เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก นิมิตนั้นเป็นกุศล

อะไรเป็นกุศล
กุศลกรรมบถ 10 เป็นกุศล

อะไรเป็นอกุศล
อกุศลกรรมบถ 10 เป็นอกุศล

ความวิตกที่ อันเกี่ยวกับกาม เกี่ยวกับพยาบาท เกี่ยวกับวิหิงสา ย่อมมี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูล
เป็นกิเลสนิมิต

ความวิตก อันเป็นเนกขัมมะ อัพยาบาท อวิหิงสาวิตก นิมิตนั้นเป็นสมาธินิมิต มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นมูล

เจริญธรรมครับ


:b8: ท่านเช่นนั้น

ด้วยความเคารพครับ

ในทางปริยัติเราแบ่งแยกชัดเจนเช่นนั้นได้

แต่ในทางปฏิบัติ บางบางมันลางเลือน บรือๆ ผมหมายถึงนิมิตบางนิมิตที่ชี้แนะในการปฏิบัติธรรม

ตัวอย่างผมต้องค่อยๆนึกก่อนครับ

อ้อพอนึกได้นิดหน่อย

เป็นต้นว่า

ในนิมิตบอกว่า " ท่านจะพบกับเหตุการณ์อย่างหนึ่ง

นั่นหมายถึงท่านกำลังเข้าสู่สิ่งที่ท่านมุ่งหมายอาจเรียกว่าโสดาบัน "

หรือ "ท่านจะพบกับท้าวมหาพรหมลงมาหาและสั่งสอนธรรมให้ท่าน"

ในลักษณะเช่นนี้ที่ผมบอกว่า ไม่รู้จริงหรือเท็จ ถ้าเป็นจริง ก็เป็นกุศล

ถ้าเป็นเท็จ ก็เป็นอกุศล

ครับ



นิมิตที่เป็นกุศล อกุศล บางครั้งเอาตำรามาเปรียบเทียบตัดสินยากมาก

วิปัสสนูกิเลสก็เป็นนิมิต

และวิปัสสนูกิเลสก็มิใช่จะเป็นอกุศลทั้งหมด

อย่างเช่น

นิมิตที่พระอรหันต์มาสั่งสอนธรรม

นิมิตพระอรหันต์ที่มานั้นคงไม่จริง

แตปรากฎว่า

พระธรรมที่ท่านสอนให้นั้นจริง และจริงตรงตามพระไตรปิฎกโดยไม่ต้องเคยศึกษาอ่านมาก่อนเลย เป็นต้น

เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมบางท่านถึงติดอยู่ในวิปัสสนูกิเลสนานหลายๆปี

เพราไม่ใช่เรื่องพิจารณาหรือโยนิโสมนสิการได้ง่าย

แต่ถึงคราวหลุดจากวิปัสสนูกิเลส ก็หลุดเองเหมือนผลไม้สุกหล่นจากต้น

และเมื่อหลุดแล้วระดับคุณธรรมก็สูงขึ้นไปอีก เพราะกิเลสได้หมดไปอีกหนึ่งอย่าง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 11:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


LuiPan เขียน:
คำว่า ละ นั้น มีปัญหามากในการให้คำอธิาย เสมือนการตอกลิ่มไม้ใหม่เข้าไปในเนื้อกลองจัญไร

ดังนั้น ควรใช้คำของตถาคต

คำว่า ละ ที่เป็นคำเดิมของพระตถาคต คือ ไม่เผลอเพลิน หรือ ไม่เผลอมีนันทิราคะ

ละ แบบ ละนันทิราคะ หากกลับไปอ่านสำนวนบาลีเดิม จะพบว่า คำเดิมก็ใช้คำว่า
ขจัดนันทิราคะ นี่แหละ แต่เพราะลิ่มสลักที่แปลเข้าไปใหม่ แล้วนิยมใช้กัน ก็เอา
คำว่า ละ เข้าไปแทนที่ ทำให้คำของตถาคตที่กล่าวไว้ดีแล้ว อันตรธานหายไป


ความเข้าถึงความเป็นผู้ไม่นึกหายไป
จิตไม่ตั้งมั่น เมื่อมาตอบกระทู้

มานะเข้ามาแทนที่
ธรรมเอก หดลงในกระดอง
เกิดทวิธรรมขึ้นมาแทนที่

มีจัญไร ขึ้นมา
ธรรมนี้เลยไม่ผุดผ่องโสภา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร