วันเวลาปัจจุบัน 20 พ.ค. 2025, 05:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโอกาสคุณตรงประเด็นครับ

ผมคงไม่กล้าตอบเพราะกลัวแสดงธรรมที่ท่านกล่าวไว้ดีแล้วผิดครับ

ลองเปิดใจให้กว้างแล้วตั้งใจฟัง หรือตั้งใจอ่าน ใหม่หลายๆรอบครับ ว่ามีนัยยะอะไรหรือเปล่า สื่อตรงกันกับที่คุณตรงประเด็นเข้าใจว่าน่าจะเป็นหรือเปล่า

ผมเชื่อว่าทุกคนล้วนมีวิจารณญาณกันอยู่แล้ว แล้วทำไมยังมีคนเชื่อมีคนนำไปปฏิบัติแล้วได้รับผลเป็นความเย็นใจจำนวนมากอยู่ ซึ่งหลายคนก็มีภูมิรู้ปริยัติไม่ได้ต่ำทรามเลย

หลายคนเห็นความแตกต่างแต่ก็ไม่เห็นความขัดแย้งครับ

แนวทางวิปัสนายานิก และสมถยานิก ที่ท่านแสดงไว้ก็มีอยู่ครับ

ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นผมยกไว้เหนือเศียรเกล้าครับ

ผมคงร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยครั้งเดียวครับ


ผิดพลาดประการใดขอได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมให้ด้วยครับ tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าหมายถึงสำนวนหลวงพ่อปราโมทย์
ที่ว่า สติปลอม สติจริง
ก้อยากจะบอกว่า ท่านสอนทำ"สติปลอม"ครับ

ผมพูดอย่างนี้เลยนะ
ทุกวันทุกคืนท่านสอนทำสติปลอม
ไม่เคยสั่งสอนเลยว่า ไม่ให้ทำสติปลอม
มันเป็นสำนวนครับ

หลวงปู่เทศก์ใช้คำว่า จิต แทนเจตสิก
ใช้คำว่า ใจ แทนคำว่าจิตที่เป็นธาตุรู้
มันเป็นสำนวนของครูบาอาจารย์แต่ละท่านครับ
จะไปเอาบัญญัติมาเอาผิดเอาถูกกับหลวงปู่เทสก์ มันก็พอได้
แต่คนประเภทไหนล่ะ ที่จะมาเอาผิดเอาถูกกับท่าน
ต้องเป้นคนที่รู้ไม่จริง ถึงจะว่าท่านผิดได้
คนรู้จริง ไม่มีใครไปว่าท่านเลย

หลวงพ่อปราโมทย์สอนทำสติปลอมครับ ไม่ห้ามการทำสติปลอม
สอนให้เจริญสติปลอมนี่แหละ
ท่านมีแต่บอกว่าให้ทำไปอย่างนี้แหละ
สักวันหนึ่งเมื่อจิตมันตื่นแล้ว จะมีสติตัวจริง
ใครมีสติจริงนู่นแหละครับ ถึงไม่ต้อง"ทำ" ไม่ต้องมีเจตนา
สติจริง ต้องเป็นขึ้นเอง โดยปราศจากเจตนา

ถ้าอยากรู้ว่าท่านหมายถึงอะไร
อยากจะชวนลองอ่านหนังสือท่านดูดีกว่าครับ
ถ้าจับคำขึ้นมา จับประเด้นขึ้นมา
แล้วก็ปฏิเสธที่จะฟังความจากคนพูด อันนี้ผมว่าไม่แฟร์
คนไหนพูดเราต้องถามคนนั้น

เพราะเวลาท่านเทศน์ มันมีบริบทอยู่มาก
ว่าท่านกำลังเทศน์ให้พวกไหนฟัง กำลังแก้ความเข้าใจผิดเรื่องไหน
บ่อยไปที่ผมพบเจอว่าท่านเทศน์วันนี้อย่างนึง วันโน้นอย่างนึง
"แล้วขัดกันด้วย" แต่ที่ขัด ขัดเพราะสำนวน แต่ธรรมนั้นไม่ขัด

การสื่อสารมวลชนที่ดี เราต้องพูดเืพื่อคนที่โง่ที่สุดให้เข้าใจ
ต้องพูดชัดๆ เข้าใจง่ายๆ ไม่ต้องคิดหลายตลบ
ก็เป็นเี่รื่องธรรมดาที่การถ่ายทอดความหมายของสิ่งที่ไม่เคยรู้กันมาก่อน
มันต้องมี lost in translations เสมอ
โดยเฉพาะการพูดที่ต้องแปลงให้มันง่ายลง

คนชอบดูหนังแบบ subtitle คงจะเข้าใจสถานการณ์นี้ดี
ว่าส่วนใหญ่ ที่พูดกับที่แปลมันไม่ตรงกัน แต่ไม่ขัดกัน

คนฟังที่ดี ต้องฟังเพื่อตนเอง แก้ไขตนเอง
แต่คนฟังมักจะฟังเผื่อคนอื่น คืออยากจะฟังแล้วอธิบายได้
อยากเป็นคนสอน อยากจะเป้นผู้รักษาพระสัทธรรม เป้นต้น
ผมรู้ข้อนี้ดีเพราะเวลาฟัง ผมก้ฟังเพราะอยากจะเอาไปอวดชาวบ้าน
อยากไปสอนชาวบ้าน สอนญาติพี่น้อง
เลยฟังแล้วคิดไม่ตก ฟังแล้วมันไม่ตรง ไม่ใช่อย่างที่ฟังจากทางโน้นทางนี้
เรียกว่าฟังธรรมไม่ถึงใจ กลับถึงแต่นอกๆใจแทน คือถึงแค่ความคิด
เหมือนดูหนัง subtitle ไทย แล้วไม่ยอมน่ะ โวยวายว่าแปลผิดๆ
แล้วก็ถูกของคนโวายวายด้วยนะ มันแปลผิดจริงๆ
แต่ถ้าใจกว้างๆ คงจะยอมรับว่ามันมี "อรรถ" อันเดียวกัน
(พูดคำว่า "อรรถ"แล้วก้ต้องมาแปลคำว่า "อรรถ" อีกนะ :b34: )


เบื้องต้นผมจะเทียบให้ฟังว่า อะไรคืออย่ายาก อย่าเจตนา
เช่น พอบอกให้ดุจิตใจตัวเอง
แรกๆผมนั่งดักดูเลยเลยนะ นั่งทำตัวเป็นเรดาห์เลยว่าใจเรามันจะมีอะไร
ปรากฏว่ามันก็ไม่มีอะไร เพราะไปเจตนาที่ตั้งไว้ผิด
แล้วถึงจะมีอะไร ก็เป้นความปรุงสร้างของเราเอง เช่นผมก็ไปปรุงความว่างขึ้นมา
มันไม่ว่างจริงตามธรรมชาติ มันว่างเพราะกดเอาไว้ ไม่ยอมที่จะคิด
ที่ท่านว่าอย่าอยากทำ อย่าเจตนาทำ
ก็เพราะคนส่วนมากชอบจ้องเอาไว้ก่อนนี่แหละครับ


ดุจิต ต้อง"ตาม"ดู
มีคำว่าตาม
หมายความว่าเราก็ใช้ชีวิตของเราไปตามปกตินี่แหละ
แล้วเกิดอารมณ์อะไรขึ้นมา ตามความเป้นจริง ก็ให้ระลึกไปที่ตรงนั้น โดยทันควัน
ส่วนอารมณืที่จะเอามาดูได้ ต้องเป้นของจริงๆ ต้องเรียนจากของจริง
โกรธก้ต้องเป้นโกรธของจริง ไม่ใช่สร้างความโกรธขึ้นมาแล้วเอามาดู
ว่าง ก็ต้องว่างของจริง ไม่ใช่ปรุงความว่างขึ้นมาแล้วมาดุ
ถามว่าเจตนาไหม เจตนาแน่นอนครับ
แต่ตั้งไว้ต่างกัน


จะให้ท่านสอนว่า ต้องเจตนา ต้องอยากทำ
คราวนี้ล่ะ ไปกันใหญ่เลย เละเทะกันใหญ่
การอยากดุจิต แล้วตั้งใจดุจิต มันดูไม่ได้จริงๆ
เพราะมันต้องตามดู ไม่ใช่รอดู หรือดักดู
มันก้ไม่ใช่หลักการของวิปัสนา

ดูจิตมีเป้าหมายเพื่อเรียนรู้ตามความเป้นจริง

(พอพูดวิปัสสนา เด๊่ยวเรื่องก็ยาวอีกนะครับ
ขอแจ้งให้ทราบว่า ผมใช้คำว่า หลักการของวิปัสสนา ไม่ใช่วิธีการของวิปัสสนา
เรื่องวิปัสสนา หลวงพ่อเทศน์ไว้ชัดเจนเลยว่า
วิปัสสนาจริงๆ ลำพังแค่เห้นรูปนาม ยังไม่เป็นวิปัสสนา
มันต้องเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามนู่น ถึงจะเริ่มเรียกว่าวิปัสสนา

ท่านพูดชัดถึงขนาดนั้น

ผมว่าถ้าเทียบจากญาน 16
คนที่จะวิปัสสนาได้ ต้องรูปนามปริเฉทญานเสียก่อน
คนจะมีรูปนามปริเฉทญานได้ จิตต้องตั่งมั่นแยกออกมาเสียก่อน
ซึ่งก็คือการทำสมถะจนเกิดเอโกทิภาวะ
มีเอโกทิภาวะแล้ว ก็ยังไม่เรียกว่าวิปัสสนา
ต้องเห้นรูปหรือนามหรือขันธ์ของเราเป็นอนิจจัง หรือทุกขัง หรืออนัตตา นู่นน่ะครับ
ถึงเรียกว่ากำลังวิปัสสนาอยู่

แต่ถ้าผมเป็นแอบดูรังมดว่ามันมีชีวิตอย่างไร มันทำอะไรกัน
ไปตามดูตามรู้รังมด แล้วบอกว่าผมกำลังวิปัสสนา
คนด่าผมตายเลย

แต่ถ้าพูดว่า "กำลังใช้หลักการวิปัสสนาอยู่" คนก้ยังด่าอยู่นะ
แต่ด่าน้อยลง คนไม่ด่าคือคนที่รู้ว่าหลักวิปัสสนา ว่าเป้นอย่างนี้จริงๆ
ส่วนคนที่ด่าอยู่ คือคนที่ไม่รู้เรื่องจริงๆ
ได้ยินว่าวิปัสสนา แล้วไม่ใช่อย่างที่ตนเข้าใจ
แล้วก็เลยต่อว่าชาติสยามว่าดูรังมดเป้นวิปัสสนาตรงไหน


"ดุจิต ไม่ใช่วิปัสสนา" ก็ถูกของคนพูด แต่ถูกครึ่งเดียว
เพราะคนที่จิตเขามีคุณภาพเพียงพอ เขาก็วิปัสสนาได้จริงๆ
คนที่จิตยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ เขาก็ใช้"หลักการของวิปัสสนา"เฉยๆ
ยังไม่ถึงขั้นวิปัสสนาจริงๆ

:b32:

เอาล่ะ ผมพูดมาก วกไปวนมา งงตัวเอง
ไปละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประเด็นหนึ่ง น่าคิด
สำหรับคนที่มีความเห็นว่า "สติไม่มีจริงมีปลอม"


ถ้าว่าสติไม่มีจริงมีปลอม งั้นก้ต้องไม่มีความแตกต่างระหว่าง
สติอริยบุคคล กับสติแบบเดินไม่ตกถนน

เนียะ ใครพอจะตอบผมได้บ้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
อีกประเด็นหนึ่ง น่าคิด
สำหรับคนที่มีความเห็นว่า "สติไม่มีจริงมีปลอม"


ถ้าว่าสติไม่มีจริงมีปลอม งั้นก้ต้องไม่มีความแตกต่างระหว่าง
สติอริยบุคคล กับสติแบบเดินไม่ตกถนน

เนียะ ใครพอจะตอบผมได้บ้าง


เปล่าครับ ตอบไม่ได้ครับ
แต่ในทัศนะความเข้าใจส่วนตัวของผม

"สติ" คนเรานะมีทั้งหมดล่ะ ยกเว้นตอนหลับ
(ซึ่งการมีสติในตอนหลับเป็นไง อันนี้ผมยังไม่ค่อยมั่นใจ)

แต่สติที่ที่เรามักนำมากล่าวถึง คือ สภาวะกริยาอาการที่แสดงออกของการมีสติ
ซึ่งสภาวะ ส่วนใหญ่จะเป็นการมองในมุม การแสดงออกอันเป็นไปในทางกุศล

ซึ่งการแสดงออกที่เป็นไปในทางอกุศล เรามักจะกล่าวว่าเป็นการทำอย่างขาดสติ ไร้สติ

ซึ่งคำว่าขาด กับคำว่าไร้ ในความเป็นจริง ไม่ได้หมายความว่าไม่มี
เพียงแต่ เป็นการมีสติที่ไม่มีแก่นสาร ไม่มีสาระ ไม่ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์
เป็นสติที่ก่อให้เกิดผลในทางอันจะสร้างความยุ่งยาก ยุ่งเหยิง วุ่นวาย เดือดร้อน
นำสู่สภาวะที่มืดทึบทางด้านจิตใจ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ซึ่งสติที่เป็นไปในทางกุศล ก็ยังไม่ใช่สติอริยะ
สติอริยะ ผมมองว่า เป็นสติที่ดำรงดุจ " ดอกนุ่น ที่ตั้งอยู่บนเส้นด้าย "

:b1: ขอโทษครับ คือ เป็นความเห็นส่วนตัว

ซึ่งผมก็ไม่ค่อยถนัดนัก ในเรื่องการเสวนาธรรม ถ้ากล่าวผิดพลาดอย่างไร
ผมต้องขออภัยต่อทุกท่านด้วย :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย คนใกล้ตาย เมื่อ 19 มี.ค. 2010, 14:29, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียน คุณภัทรพงศ์



อ้างคำพูด:
แล้วทำไมยังมีคนเชื่อมีคนนำไปปฏิบัติแล้วได้รับผลเป็นความเย็นใจจำนวนมากอยู่



ผมอนุโมทนา ทุกๆท่าน ทุกๆค่ายคูสำนัก ทุกๆความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น ธรรมกาย(น่าจะหลายล้านคน) สันติอโศก มหายาน(มากกว่าเถรวาทเสียอีก) อภิธัมมัตถะสังคหะ สายพม่า วัดป่าน้ำหนาว และ ๆลๆ .... ถ้าท่านได้รับอานิสงส์จากพุทธธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชอบแล้ว.

ถ้าเราไปถาม ทุกๆท่าน ทุกๆค่ายคูสำนัก ทุกๆความเชื่อ ก็ล้วนแต่พบกับความสงบเย็นใจ ความลดลงของทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น....

ถามว่า ผมเชื่อไหมว่า เขาเหล่านั้น พบสิ่งที่ดีคือความสงบเย็นใจ... ผมขอตอบว่า ผมเชื่อครับ!....

ก็ ถ้าเขาไม่พบความสงบเย็นใจเลย ใครมันจะทนไปปฏิบัติกันอยู่นานขนาดนั้น....

และ ความสงบเย็นใจที่เขาพบ นั้น ก็เพราะบางส่วนของพระพุทธธรรมที่พระพุทธองค์ทรงประธานไว้ให้นั้นเอง.... ไม่เว้นแม้นแต่ แนวทางของคุณ



ดังนั้น ถ้าถามว่า ผมเชื่อไหม ว่า มีคนนำไปปฏิบัติแล้วได้ผลดี...คำตอบคือ ผมเชื่อ!


แต่ การที่ผมจะเชื่อว่า คนอื่นๆได้พบสิ่งที่ดี(ในมุมมอง และ ความรู้สึกของเขา)....หาใช่ว่า ผมจะต้องเห็นด้วยทั้งหมดกับเขา...ใช่ไหม

ผมจึงคัดค้านการกล่าวชี้นำในลักษณะที่ว่า

"ถ้าสตินั้นยังไม่เป็นสติอัตโนมัติแล้ว สตินั้นต้องนับว่าเป็นมิจฉาสติ"



เพราะ นั่น ไม่เป็นความจริง!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียน คุณภัทรพงศ์


อ้างคำพูด:
แนวทางวิปัสนายานิก และสมถยานิก ที่ท่านแสดงไว้ก็มีอยู่ครับ



ใน สมัยพุทธกาล ไม่มีคำว่า สมถะยานิก วิปัสสนายานิก หรอกครับ...

ในสมัยพุทธกาลมีแต่

เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
เจริญวิปัสสนาแต่เขวไปด้วยธัมมุจทัจจ์ ๆลๆ


สมถะยานิก และ วิปัสสนายานิก เป็นสิ่งที่อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลรจนากันขึ้น

ใน สมัยพุทธกาลท่านก็สอนให้ เจริญอริยมรรค เจริญสติปัฏฐาน เจริญสมถะวิปัสสนา ....


ส่วนตัว ผมจะใช้คำว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า แทน วิปัสสนายานิก ครับ..... เพราะ เป็นภาษาที่ใช้กันในสมัย พุทธกาล และ ป้องกันความเข้าใจผิดว่า มีวิปัสสนาล้วนๆ อยู่ในพุทธศาสนานี้

โดยเฉพาะ ถ้า ถึงขนาด สุทธวิปัสสนายานิก ที่ เป็นวิปัสสนาบริสุทธิ์ ชนิดที่ไม่ปนเปื้อนสมถะเลย
(ด้วย วลี ระวังไม่ให้จิตเป็นสมถะ....สมถะ คือ หลงเพ่ง ถลำรู้ จมแช กดข่มจิต แทรกแซงจิต ปิดกั้นปัญญา ๆลๆ) อย่างที่กำลังแพร่หลายกันตอนนี้...

เป็น ประเด็นหลัก ที่หลายฝ่ายเห็นไม่ตรงกัน

และ เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก



อ้างคำพูด:
ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นผมยกไว้เหนือเศียรเกล้าครับ



อนุโมทนาครับ

ยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้เสวนากับ นักดูจิตสวนสันติธรรม ที่ ไม่คิดจะปรมาสครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น

ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะ ช่วงหลังๆ เห็น นักดูจิตสายสวนสันติธรรม บางท่าน กล่าวพาดพิงถึงหลวงตามาหาบัว บ่อยๆ...เห็นแล้ว ก็....

ขออนุญาต ฝากผ่านไปถึง นักดูจิตสายสวนสันติธรรม ที่พาดพิงหลวงตามหาบัวด้วยครับ ว่า ...กรุณา ช่วยจำกัดวงข้อขัดแย้ง ให้ อยู่ในกลุ่มที่วิวาทกันอยู่... อย่าเผลอเลยเถิดออกไปถึงหลวงตามหาบัวเลยครับ ท่านไม่เกี่ยวข้องด้วยเลย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

"ถ้าสตินั้นยังไม่เป็นสติอัตโนมัติแล้ว สตินั้นต้องนับว่าเป็นมิจฉาสติ"



เพราะ นั่น ไม่เป็นความจริง!


แสดงว่าเราเห็นตรงกัน

มิจฉาสตินั่นมันเป้นการคิดออกไปนอกรูปนามของตน
คิดเรื่องนอกกายนอกใจ เรื่องงานเรื่องการ เรื่องความรัก เรื่องคน เรื่องลูก
ไม่อยู่สติปัฏฐาน ก็เลยเป้นมิจฉาสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาต ทบทวน ประเด็นสำคัญ น่ะครับ



ชาติสยาม เขียน:
สติปลอม

คุณหมอลองค้นคำว่า "มิจฉาสติ" จากพระไตรปิฏกดู




ถ้า อ่านจากที่ ท่าน จขกท.กล่าวมานี้ ...

ท่านกำลังกล่าวถึง สติปลอม ด้วยคำว่า มิจฉาสติ น่ะครับ

ลองพิจารณาอีกทีหนึ่ง



แนวคิด สติตัวปลอม-สติตัวจริง นี้.....แยก ระหว่าง สติตัวปลอม กับ สติตัวจริง ออกจากกัน ด้วยว่า เป็นเองโดยอัตโนมัติหรือไม่...ใช่ไหมครับ



ถ้าใช้ การแยก ระหว่าง สติตัวปลอม กับ สติตัวจริง ออกจากกัน ด้วยว่า เป็นเองโดยอัตโนมัติหรือไม่นั้น .....เมื่อใดที่ สตินั้นยังไม่เป็นเองโดยอัตโนมัติ เมื่อนั้นย่อมเป็นสติตัวปลอม และ เป็นมิจฉาสติ (เพราะ โยง สติตัวปลอม ไปยัง มิจฉาสติ เอาไว้)



แล้ว ที่ครูบาอาจารย์พระป่าท่านสอนให้เจริญสติในขั้นฝึกฝน(ที่ยังไม่เป็นอัตโนมัติ) ไม่ต้องไปแปลว่า ท่านสอนให้เจริญมิจฉาสติ หรอกหรือ...




ผมถึง ไม่เห็นด้วยกับ การตีความว่า สติที่ยังไม่อัตโนมัติว่าเป็น"สติปลอม"



สติในขั้นฝึกฝนที่ยังไม่เป็นอัตโนมัติก็เป็นสติตัวจริง(สัมมาสติ)ได้น่ะครับ



สัมมาสติ จากพระอภิธรรมปิฎก มีทั้ง
++ระดับที่ยังคงเป็นโลกียะ(น่าจะตรงกับระดับที่ยังไม่เป็นอัตโนมัติ)
และ
++ระดับโลกุตระ(น่าจะตรงกับระดับที่เป็นระดับอัตโนมัติ _ เริ่มอัตโนมัติตั้งแต่โสดาบัน จน อัตโนมัติ100%เมื่อบรรลุอรหัตผล)



เคยอ่านผ่านตาในจุดนี้

เดี๋ยว จะไปค้นมาแสดงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลธรรม
กามาวจรมหากุศลจิต

.......................

[๓๘] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย
ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมา
สติ มีในสมัยนั้น




นี่คือ ตัวอย่างของ สัมมาสติที่ยังคงเป็นโลกียะ อยู่.... ยังไม่ใช่ สัมมาสติในองค์มรรคระดับที่จะละสังโยชน์ได้

ยังไม่ใช่ ระดับกุศลที่พ้นเจตนา แบบที่หลวงปู่มั่นกล่าว

นอกจากนี้ ก็มี สตินทรีย์ ใน รูปวาจรกุศลจิต(โลกียะอยู่)อีก

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=1

ซึ่ง ก็คือ สัมมาสติ ไม่ได้จำกัดว่า จะต้องเป็นระดับโลกุตระ(อัตโมมัติ)เท่านั้น



................................



ลอง ดู สัมมาสติที่เป็นโลกุตระ(อัตโนมัติ) น่ะครับ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=1

Quote Tipitaka:
โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑

[๒๒๒] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย
ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติ มีในสมัยนั้น.




..............................



สรุปว่า


สัมมาสติ หาใช่ว่าจะจำกัดว่า ต้องเป็นอัตโนมัติ เท่านั้น

สัมมาสติ ที่ยังไม่เป็นอัตโนมัติก็มีอยู่

จึงไม่อาจจะใช้ ความเป็นอัตโนมัติหรือไม่ มาแยกระหว่าง มิจฉาสติ กับ สัมมาสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่าเข้าใจ สมถะ ผิดกันนะครับ :b16: ความสงบระงับใจ คืออะไร ?
หากไม่มีความสงบระงับใจ ก็แสดงว่ามี นิวรณ์ 5 (อย่างน้อยก็ใจฟุ้งซ่าน) แล้วพระอรหันต์ที่หมดกิเลส
จะมีใจอันฟุ้งซ่านหรือ? ลองตรองดูนะ :b16: Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นด้วยกับคุณหมอทุกอย่างเลย

เป้นความโง่ของผมเองที่ไปเข้าใจคำว่า มิจฉาสติ=สติปลอม ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น เรื่อง องค์แห่งอริยมรรค ที่น่าจะเป็นลักษณะ

1.มิจฉา ซึ่งเป็นอกุศล

2.สัมมาที่ยังคงเป็นโลกียะ หรือ สาสวะ ซึ่งเป็นกุศลที่ยังคงประกอบด้วยเจตนา(ยังไม่อัตโนมัติ )

3.สัมมาที่เป็นโลกุตระ หรือ อนาสวะ ซึ่งเป็นกุศลที่พ้นเจตนา (อัตโนมัติ)



นอกจาก ร่องรอย ที่พบใน ระดับพระอภิธรรมปิฎกแล้ว.... ใน ระดับพระสูตร ก็มีที่ปรากฏอยู่เหมือนกัน


เสนออ่าน มหาจัตตารีสกสูตร


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... A%D9%B5%C3



พระสูตรนี้ ทรงแสดง เหตุนำไปสู่ สัมมาสมาธิ ที่เป็นโลกุตระ ....

ในตอนต้นพระสูตร ทรงแสดง รายละเอียดสัมมาทิฏฐิ....
ซึ่ง ทรงแยก ทิฏฐิออกเป็น มิจฉาทิฏฐิ และ สัมมาทิฏฐิ . คือ เมื่อพ้นจากมิจฉาทิฏฐิแล้ว ก็จะเข้าเขตสัมมาทิฏฐิ .
ต่อจากนั้น จึงทรงแสดง แยก สัมมาทิฏฐิออกเป็นสองระดับ คือ สาสวะ(โลกียะ) และ อนาสวะ(โลกุตระ ที่เป็นองค์มรรค)

องค์แห่งอริยมรรคอื่นๆอีก4 คือ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ ก็ทรงแสดง ไปในลักษณะนี้....

แต่ ไม่ได้ทรงแสดงรายละเอียด ของ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แบบที่ทรงแสดงในองค์แห่งอริยมรรค5ข้อแรก

แต่ อย่างไรก็ตาม

ในระดับพระอภิธรรมปิฎก ก็มีการแสดง สัมมาสติที่เป็นโลกียะ(คห.ด้านบน) และ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกียะ อยู่ (อ่าน ที่ คุณเช่นนั้น เคยนำมาลงในกระทู้เก่า)






=> ลองพิจารณา เปรียบเทียบการแบ่ง ดูน่ะครับ



1.มิจฉาสติ (ซึ่งเป็นไปในทางอกุศล)

......................................................

2.สัมมาสติที่ยังคงเป็นโลกียะ(เป็นกุศลที่ยังไม่พ้นเจตนา ยังไม่อัตโนมัติ)

3.สัมมาสติที่เป็นโลกุตระ(เป็นกุศลที่พ้นเจตนา เป็นอัตโนมัติ)



เพ่งเล็ง ตรงเส้นไข่ปลา ที่เป็นเขตแบ่ง น่ะครับ

เหนือเส้นไข่ปลาขึ้นไป คือ มิจฉาสติ(ซึ่งเป็นไปในทางอกุศล)
ใต้เส้นไข่ปลาลงมา คือ สัมมาสติ(ซึ่งเป็นไปในทางกุศล)


การแบ่งแบบนี้ คือ มิจฉาสติ และ สัมมาสติ แบ่งกันตรงที่ว่า เป็นอกุศล หรือ กุศล

มิจฉาสติ และ สัมมาสติ.... ไม่ได้แบ่งกันตรงที่ว่า ไม่เป็นอัตโนมัติ(มีความจงใจ ตั้งใจ เจตนา) หรือ เป็นอัตโนมัติ(พ้นความจงใจ พ้นความตั้งใจ พ้นเจตนา)






คราวนี้ ลองมาดูการแบ่ง สติตัวปลอม และ สติตัวจริง ด้วยข้อบ่งชี้ว่า ยังจงใจ ยังตั้งใจ ยังมีเจตนา อยู่ไหม ... (จงใจอยู่ คือ ตัวปลอม / พ้นความจงใจ เป็นอัตโนมัติ คือ ตัวจริง)



1.มิจฉาสติ (ซึ่งเป็นไปในทางอกุศล)

2.สัมมาสติที่ยังคงเป็นโลกียะ(เป็นกุศลที่ยังไม่พ้นเจตนา ยังไม่อัตโนมัติ)

............................................

3.สัมมาสติที่เป็นโลกุตระ(เป็นกุศลที่พ้นเจตนา เป็นอัตโนมัติ)


เพ่งเล็ง ตรงเส้นไข่ปลา ที่เป็นเขตแบ่ง น่ะครับ

เหนือเส้นไข่ปลาขึ้นไป คือ สติตัวปลอม(ยังไม่อัตโนมัติ)
ใต้เส้นไข่ปลาลงมา คือ สติตัวจริง(อัตโนมัติ)

ถ้าแบ่งแบบนี้ สัมมาสติที่ยังคงเป็นโลกียะ ก็ต้องถือว่าเป็น สติปลอม (เพราะ ยังไม่อัตโนมัติ)

และ ถ้าโยงสติตัวปลอมไปยังคำว่า มิจฉาสติ .....
สัมมาสติที่ยังคงเป็นโลกียะ(เป็นกุศลที่ยังไม่พ้นเจตนา ยังไม่อัตโนมัติ) ก็ คงต้องจัดว่า เป็นมิจฉาสติ(เพราะ ปลอม) น่ะครับ



?????


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
เห็นด้วยกับคุณหมอทุกอย่างเลย

เป้นความโง่ของผมเองที่ไปเข้าใจคำว่า มิจฉาสติ=สติปลอม ครับ



อนุโมทนาครับ




ปล... ขออภัยอย่างสูง

เห็นความเห็นนี้ ของ ท่าน จขกท. หลังจากผมพิมพ์ คห.ถัดมาเรียบร้อย...

เสียดาย อุตส่าห์พิมพ์ คห.ถัดมา เสียยาว...เลย ขออนุญาต นำมาลงโพสไปเลยน่ะครับ




สรุปว่า ในประเด็น สติตัวปลอม-สติตัวจริง / มิจฉาสติ-สัมมาสติ เข้าใจตรงกันแล้ว ว่า

แม้น สติ นั้นยังไม่เป็นอัตโนมัติ ก็ หาใช่ว่าจะต้องเป็นมิจฉา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

คุณหมอนี่ตรงประเด้นสมชื่อจริงๆ
ตรรกะดีมากเลย
ผมนับถือจริงๆ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 19 มี.ค. 2010, 21:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโอกาสคุณตรงประเด็น ครับ คงเป็นการร่วมแสดงความคิดเห็นครั้งสุดท้ายจริงๆ


"ถ้าสตินั้นยังไม่เป็นสติอัตโนมัติแล้ว สตินั้นต้องนับว่าเป็นมิจฉาสติ"


อันนี้คุณตรงประเด็นไปเอามาจากไหนครับ เป็นความเข้าใจผิดเองหรือเปล่า ท่านมีแต่สอนว่าให้หมั่นตามตามรู้กาย หรือรู้ใจเนืองๆ แต่เบื้องต้นทำไปเพื่อให้เกิดสติครับ(ปุพพภาคมัค) เพราะสติมี ถิรสัญญาเป็นเหตุใกล้ให้เกิด (สติ คือความระลึกได้) เช่นหากเรารู้อารมณ์ทางใจ เช่น เมื่อโกรธแล้วเรารู้ว่าโกรธ บ่อยๆ (เนืองๆ) จนจิตจำสภาวะได้ แม่นยำ(ถิรสัญญา )เมื่อเกิดความโกรธอีกสติก็จะเกิดโดยอัตโนมติครับ ราคะ โทสะ โมหะก็โดยนัยเดียวกัน หรือเมื่อกายเคลื่อนไหวแล้วเราคอยรู้สึกเนืองๆ เมื่อจิตจำสภาวะัได้(ถิรสัญญา) เมื่อกายเคลื่อนไหวก็จะเกิดสติเป็นอัตโนมติและเป็นธรรมชาติครับ (อุปมาเช่น สมมติเราเกลียดคนๆหนึ่งมากๆเมื่อเราเห็นเขาเดินผ่านมาก็เกิดความโกรธขึ้นเป็นต้น)


เมื่อสติเกิดขึ้นแล้วก็เหมือนเราได้อุปกรณ์สำคัญที่จะใช้เรียนรู้กายใจ ให้เห็นธรรมชาติของกายใจ คือ ความเป็นไตรลักษณ์ ครับ


ส่วนแนวทางวิปัสสนายานิกนั้น เป็นชื่อที่ท่านใช้เรียกผู้เจริญวิปัสสนาโดยไม่เน้นหนักที่สมถะ ไม่ได้ฌานจิตมาก่อน(แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มีสมาธิเลย) หากรู้ได้ถูกต้อง (จิตทรงสติปัฎฐาน) จิตขณะนั้นย่อมเป็นมหากุศล (มหากุศลจิต ญาณสัมปยุต) ขณะจิตนั้นนิวรณ์อันเป็นอกุศลย่อมเกิดไม่ได้ จิตจึงตั้งมั่นเป็นขนิกสมาธิขึ้นมาชั่วขณะ (อธิจิตตสิกขา) ซึ่งในพระอภิธรรมท่านยังจัดขนิกสมาธิเป็น จิตตวิสุทธิ เมื่อสั่งสมมากเข้าก็อาจบรรลุสมาธิในระดับที่สูงกว่านี้ อันเนื่องจากการสั่งสมขนิกสมาธิมามากเป็นอุปนิสสัย หรือที่ท่านเรียกว่าปํญญาอบรมสมาธิ (ซึ่งที่จริงจะเรียกยังไงไม่สำคัญ บัญญัติเพื่อสื่อสารกันเฉยๆ)


ซึ่งที่จริงแล้วมรรค 8 หรือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ต่างก็เป็นปัจจัยของกันและกัน หรือเป็นอาหารปัจจัยของกันและกัน เหมือนเชือกสามเกลียวที่ฟั่นรวมกันอยู่ ดังที่มีท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่า

การเจริญสติปัฏฐานเป็นไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา อธิจิต(สมาธิ)สิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะในขณะที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏนั้น เป็นศีลอย่างละเอียด คือเป็นอธิศีลสิกขา เป็นการระลึกรู้ลักษณะของจิต รูป รู้ลักษณะของกุศลธรรมและอกุศลธรรมก่อนที่จะเกิดการกระทำใดๆทางกาย วาจา
สติปัฏฐานเป็น อธิจิตสิกขา เพราะเป็นความตั้งมั่นของเอกัคคตาเจตสิก(สมาธิ)ในอารมณ์ที่ปรากฏซึ่งเกิดดับอย่างรวดเร็ว
สติปัฏฐานเป็น อธิปัญญาสิกขา เพราะเป็นปัญญาที่พิจารณา ศึกษา
รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติโดยละเอียดตามความเป็นจริง


และท่านไม่ได้สอนไม่ให้ทำสมถะ แต่ท่านสอนว่าจิตชนิดใดใช้ทำสมถะ ชนิดใดใช้ทำวิปัสสนา จะได้ไม่หลงเข้าใจว่าทำวิปัสสนาอยู่ทั้งๆที่เป็นสมถะ


หลงเพ่ง ถลำรู้ จมแช กดข่มจิต แทรกแซงจิต

สมาธิอันเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญานั้น หมายถึง สัมมาสมาธิอันประกอบด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม(เอโกทิภาวะ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น) ไม่ใช่รวมลงกับโมหะ ไม่รู้เนื้อรู้ตัว จนบางครั้งเกิดหลงนิมิต เป็นต้น


หลวงปู่เทสก์ ท่านเรียกสมาธิที่ไม่ประกอบด้วยความรู้ตัว เช่น รวมลงกับโมหะ ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ว่าฌาน และท่านว่าเป็นสมาธินอกพระพุทธศาสนา และเรียกสมาธิอันประกอบด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมว่าสมาธิ เป็นต้น (บางท่านก็เรียกมิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ)


การหลงเพ่ง ถลำรู้ จมแช กดข่มจิต ก็คือสมาธิอันไม่ประกอบด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมนั้นเอง (ผมว่าอย่าไปเพ่งเล็งรูปแบบภายนอกมากนัก) เช่นเมื่อรู้เท้า ก็เพ่งเท้าจนกายส่วนอื่นหายไปจากความรับรู้หมด เป็นต้น

แต่ในบางท่านเจริญสมถะแล้วไม่ยอมออกมารู้กายใจท่านจึงแนะให้ออกมารู้กาย ใจ แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่าห้ามทำสมถะ เราจึงควรรู้ว่าขณะใดควรทำสมถะ ขณะใดควรออกรู้กายใจ(ข่มในสมัยที่ควรข่ม แต่ในผู้ปฏิบัติจิตย่อมพลิกไปมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาได้เสมอ) ดังเช่นที่หลวงปู่มั่นว่า สมถะมากก็เนิ่นช้า พิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน


สัมมาสมาธิอันประกอบด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม หรือที่สำนวนพระป่าท่านเรียกว่า จิตผู้รู้ (เอโกทิภาวะ)
นั้น จิตจะแยกตัวจากอารมณ์ ตั้งมั่นเด่นดวง เป็นผู้รู้ ผู้ดู จึงเห็นกาย ใจเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถูกดู โดยไม่เกาะเกี่ยวหรือถลำลงไปรู้ เป็นบาทฐานของวิปัสสนา(นามรูปปริทเฉทญาณ)


นักดูจิตสวนสันติธรรม
ผมไม่ใช่นักดูจิตสวนสันติธรรมครับ (นักดูจิตสวนสันติธรรม ทำไมเหมือนแฝงกลิ่นอายอะไรบางอย่าง) ผมเป็นคนอีสานบ้านก็อยู่ไม่ไกลจากวัดป่าบ้านตาด กับวัดป่าถ้ำสหาย(หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร) นั่นหละครับ ว่างๆ ปิดเทอม ผมก็บวช ที่วัดป่าแถวบ้าน (ท่านเจ้าอาวาสท่านก็เป็นน้องชายหลวงปู่ทูล ขิปปปัญโญ ครับ) และผู้ที่ผมรู้จักไม่เห็นมีใครปรามาสครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นเลยครับ


และผมไม่เห็นว่าคำสอนท่านจะขัดแย้งกันตรงไหน เพียงแต่แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล และบัญญัติที่มีไว้สื่อสารเท่านั้น


บางเรื่องผมก็ไม่อยากพูด และรู้สึกไม่เบิกบานใจในการโต้เถียงเท่าไหร่ครับ


หากผิดพลาดประการใดขอได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับคงเป็นการร่วมแสดงความคิดเห็นครั้งสุดท้ายจริงๆ tongue tongue tongue


แก้ไขล่าสุดโดย ภัทรพงศ์ เมื่อ 26 มี.ค. 2010, 18:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร