วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 19:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 21:41
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่าการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ถ้าเขาอยู่ในข่ายที่สามารถที่จะรับส่วนบุญส่วนกุศลนั้นได้และเขารับรู้และอนุโมทนากับบุญกุศลที่ญาติทำบุญไปให้นั้นเขาได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนั้นแน่นอน ขอถามท่านผู้รู้ตรงๆว่าเขาได้รับจริงๆหรือ หรือว่าเป็นอุบายอย่างหนึ่งที่ให้ลูก หลาน ญาติๆ ได้รู้จักการทำบุญทำทานหรือการให้ และรู้จักรู้คุณกตัญญูแก่ผู้ที่มีคุณทำนองนั้นใช่หรือไม่ครับ

ที่กระผมต้องถามตรงๆอย่างนี้ ก็เพราะว่ากระผมสงสัยและของอย่างนี้มันไม่ได้เห็นเป็นรูปธรรมที่สามารถมองเห็นได้ เชื่อว่าท่านผู้รู้ทางธรรมจริงๆเท่านั้นที่จะรู้และตอบเรื่องนี้ให้กระผมเข้าใจ ต้องขอโทษที่กระผมถามตรงเกินไป เหตุที่ถามก็เพราะอยากรู้จึงถามตามคำกล่าวที่ว่าไม่รู้ให้ถามนั่นแหละครับ และกระผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบทำบุญทำทานมากๆด้วยครับ ถึงไม่มีใครตอบก็ไม่เป็นไรกระผมก็ยังทำบุญทำทานตลอดไปครับ แต่หากมีท่านผู้รู้ทางธรรมได้เมตตาให้ความรู้เรื่องนี้แก่กระผม กระผมต้องกราบขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:02
โพสต์: 157

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น
เป็นความเชื่อเก่าแก่มีประจำในโลกมาก่อนพระพุทธศาสนา
เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้วเทศนาสั่งสอนเรื่องทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วแล้ว
ถึงจะมีคนที่เชื่อพระองค์มาก แต่บางคนก็เอามาปนกัน และยังมีคนที่เชื่ออย่างเดิมอีกมาก
และก็จะมีตลอดไป แม้ศาสนาพุทธจะหมดไปแล้ว แต่ความเชื่อนี้ก็จะยังคงอยู่

ส่วนความเชื่อที่ว่าบุญ-บาป ใครทำคนนั้นก็ได้รับผลของกรรมนั้นๆ
เป็นความเชื่อตามที่พระพุทธเจ้าสอน พอนานๆไปคนที่เชื่ออย่างนี้ก็ไม่มีกำลังพอ
ความเชื่ออย่างเดิมก็เข้ามาปนเปมากมายไปหมด

บุญ บาปใครทำคนนั้นก็ได้รับไป จะแบ่งให้ใครได้หรือ??
พระพุทธเจ้าบำเพ็ญเพียรทำบุญมาตั้งล้านๆๆๆชาติ มีบุญมากมายมหาศาล
ถ้าบุญแบ่งให้กันได้อย่างที่เชื่อกัน แต่ไม่เคยได้รู้ ได้เห็น ว่าพระองค์แบ่งให้ใครที่ไหนเลย
ทั้งๆที่พระองค์มีพระเมตตา กรุณาสูงสุดเต็มบริบูรณ์แล้ว พระองค์น่าจะแบ่งให้ใครๆบ้าง??

.....................................................
มาตามหา เพื่อนร่วมทาง

ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด > > ต้องทำให้ได้ คือแก้ไขตนเอง > > ฝึกหยุด-ไม่หยุดฝึก >
ไม่มีเวลาสำหรับความชั่วบาปอีกแล้ว. ." ทุกวินาทีเป็นวินาทีแห่งบุญ "
เราจะฝึกฝนตนเพื่อไปถึงจุดนั้นให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหอๆ กำ กรรม กรรม เลยตอบแบบนี้ ไม่ได้ตอกย้ำนะขอรับ แม้ไม่ชัดแจ้งเสียทั้งหมด ก็ไม่อาจ จะคิดลบหลู่องค์คุณทั้งหลาย ยกไว้เหนือหัวตลอด ไปบอกกล่าวเล่าอะไรไปอย่างนั้น
หากพระโพธิสัตว์ องค์พุทธะทั้งหลาย หากท่านปรารถนาเฉพาะท่านหลุดพ้น ไม่คิดอนุเคราะห์ สรรพสัตว์ทั้งออกจากกองทุกข์ น้อยใหญ่ ใยเลยต้องเวียนตายเวียนเกิด สละ บำเพ็ญบารมี ต่อภพต่อชาติ ต่อกัลป์ ต่อกับป์ ต่ออสงไขย ต่อพุทธันดร ถ้าเฉพาะพระองค์แล้วไม่ต้องนานขนานนั้น
คำว่ากองทุกข์น้อยใหญ่นี้ ไม่ได้หมายความเอาเฉพาะมนุษย์ เท่านั้นแต่หมายถึงทุกๆภพภูมิ อมนุษย์ เทพเทวา นาคา ทุกๆเหล่า ฯ ท่านก็กล่าวไว้สรรพสัตว์แบ่งออกเป็นสี่ เหล่า เหล่าที่พ้นน้ำ แล้ว หรือใกล้ อาศัยธรรมท่านก็หลุดพ้นตาม ส่วนเหล่าอื่นเป็นภูมิที่ชดใช้กรรม เวทนาจัดอยู่ ท่านก็แผ่บุญกุศลอุทิศบารมี ให้เขาเหล่านั้นมีส่วน ในความไม่ติด ขัด ข้อง คา ตามท่าน ปรับเปลื่ยนไปภพภูมิที่บำเพ็ญได้เป็นต้น การกรวดน้ำอุทิศบารมีนี้ เป็นอริยะประเพณีของเหล่า องค์พุทธะและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่ซึมซับอยู่ทุกโลกธาตุนี้ หากเราดำเนินอย่างนี้เรียกว่าดำเนินตาม ส่วนผลที่เรื่องที่ละเอียด เรียกว่าทิพย์ ที่ฉลับพลัน ที่เราทำไปรู้สึกได้คือ เบาใจเย็นใจ ทุกครั้งทุกขณะที่ทำ ในบางท่านเวลาอุทิศบารมี ด้วยการแผ่เมตตา กรวดน้ำไป บ้างทีก็มีขนลุกขนพองก็มี
ประมวลทั้งหมดหมายถึงไม่ใช่การทำเอา หรือ ตะหนี่ หวง คับแคบ ในที่ที่เรียกว่าความดีทั้งหลายเลยแม้แต่น้อย เป็นการทำให้เสียสละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมอยากให้คุณwic ออกบวชแล้วบอกให้สิ่งที่คุณบอก ว่าอุทิศบุญให้ใครๆไม่นะโยม รับรอง100%ว่าไม่มีใครใส่บาตรนำข้าวปลาให้กิน ฉันหรอ ที่เขานำมาให้นำมาถวาย หรือนำไป น้อมถวายล้วนมีแต่ปราณแก่ พ่อ แม่ พี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วนั้นให้พ้นทุกข์ทั้งหลาย เรียกเหตุแห่งการพลัดพราก เป็นเหตุให้ใครหลายคนได้เข้ามาศึกษาธรรม บำเพ็ญในพุทธศาสนานี้เลยก็มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 08:33
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool การทำบุญไม่ได้เห็นเป็นรูปร่างเหมือนสิ่งที่เห็นในทุกๆวันแต่สิ่งที่ได้รับนั้นคือความสบายใจหรือเปล่า นั้นละคือสิ่งที่ได้รับจากการกระทำยังไงก็ทำต่อไปเหอะนะครับ ขออนุโมทนาด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: ...ตั้งแต่เกิดมา ไม่เคยสงสัยสักทีว่า ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปแล้วญาติจะได้รับหรือไม่
บางคนสงสัย ห่วงใยว่าญาติที่ล่วงลับจะไม่มีเสื้อผ้าใ่ส่ ไม่มีรถขับ ไม่มีเงินใช้ ไปโน่นกันเลย :b3:
ลองศึกษาคำว่า บุญ นะคะ

คำว่า บุญ แปลว่า สะอาด ผุดผ่อง เมื่อกล่าวตามหลักพระพุทธศาสนา อาจแบ่งความหมายได้เป็น ๓ ประการ คือ
๑. โดยสภาพของจิต ได้แก่ ความสะอาดผ่องใสแห่งจิต
๒. โดยเหตุ ได้แก่ การทำคุณงามความดีทุกอย่าง
๓. โดยผล ได้แก่ ความสุข


ตามประเพณีไทย ไม่ว่าปรารภเหตุที่เป็นมงคลหรืออวมงคลมักจะมีการทำบุญ คือการให้ทานร่วมด้วยเสมอ บุญที่เกิดจากการให้ทานเรียกว่า ทานมัย หลังจากทำบุญก็อุทิศส่วนบุญไปให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตายเรียกว่ามตกทาน (มตก = ผู้ตาย) หรือทักษิณานุประทาน (ทักษิณา = ของทำบุญ) ถ้าเป็นการทำบุญอุทิศเฉพาะบุรพบิดร (บิดา ปู่ ทวด) เรียกว่า ปุพพเปตพลี

เรื่องการอุทิศส่วนบุญนี้ มักจะเกิดความสงสัยว่า ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะได้รับส่วนบุญที่อุทิศไปให้หรือไม่ ถ้าได้รับ ได้รับอย่างไร ความสงสัยในเรื่องนี้มีมานานแล้ว



เรื่องการอุทิศส่วนบุญมีสาระที่ควรกล่าวถึงดังนี้
๑. การอุทิศส่วนบุญจัดเป็นบุญอย่างหนึ่งเรียกว่า ปัตติทานมัย แปลว่า บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ การอุทิศส่วนบุญให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้วหลังจากถวายทาน ทำให้ได้บุญสองต่อ คือ ทานมัย และ ปัตติทานมัย ประเพณีกรวดน้ำหลังถวายทานแสดงให้เห็นถึงความ ฉลาด ของบรรพชนไทย

๒. พวกพราหมณ์ในอินเดียกรวดน้ำโดยการลงไปในแม่น้ำ เอามือกอบน้ำขึ้นแล้วปล่อยให้ค่อยๆ รั่วลง นึกถึงผู้ตายไปพลางว่า ขอให้น้ำนี้ระงับความกระหายของท่านผู้นั้น

๓. การกรวดน้ำของไทยเราคงได้เค้ามาจากการกรวดน้ำของพวกพราหมณ์ แต่ของไทยเรานิยมใช้ภาชนะ เช่น เต้า แก้วน้ำ หรือ จอก มีภาชนะอีกใบ เช่น ขันหรือถาด รับน้ำกรวด แล้วเอาไปเทที่ดิน หรือกรวดลงดินโดยตรง เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา พยายามรินน้ำให้หมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ เมื่อพระทั้งหมดเริ่มสวดสัพพีพร้อมกัน ก็วางที่กรวดน้ำแล้วพนมมือรับพรต่อไป

๔. คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติของข้าพเจ้า หรือขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ ... (ออกชื่อผู้ล่วงลับ) จะว่าเป็นภาษาบาลีหรือภาษาไทยก็ได้ จะนึกในใจก็ได้

๕. การกรวดน้ำ คือการตั้งใจอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ โดยใช้น้ำเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศให้แน่วแน่ ถ้าน้ำช่วยให้สำรวมจิตได้ดีก็จงใช้น้ำ ถ้าน้ำทำให้จิตวุ่นวายไม่เป็นสมาธิ ก็ไม่ต้องใช้น้ำ เพราะการอุทิศส่วนบุญนั้น (ถ้าสำเร็จก็) สำเร็จด้วยใจ ไม่ใช่สำเร็จด้วยน้ำ ถ้าใช้น้ำก็รินน้ำให้หลั่งเป็นสายลงไป ไม่ใช่ทำให้หยดติ๋งๆ และไม่ควรเอานิ้วไปรองเพราะทำให้น้ำหกเลอะเทอะโดยไม่จำเป็น ทั้งยังทำให้กระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศวุ่นวายไม่เป็นสมาธิ และ ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ จึงไม่จำเป็นต้องรวมกลุ่มกันเอามือไปแตะตัวของผู้ที่กำลังรินน้ำ (โดยตรงหรือโดยอ้อม) แทนที่จะมัววุ่นวาย (รวมภายนอก) เช่นนั้น ทุกคนต่าง (รวมภายใน ด้วยการ) รวมกระแสจิตของ ตนให้แน่วแน่ต่อการแผ่ส่วนกุศลจะดีกว่า

๖. ท่านให้กรวดน้ำตอนยถา เพราะเป็นคำบาลีที่สนับสนุนการอุทิศส่วนบุญแก่ผู้ล่วงลับ ขอให้เป็นผลสำเร็จ เช่นเดียวกับน้ำซึ่งไหลจากที่ต่างๆ เป็นแม่น้ำใหญ่เต็มเข้าก็ทำให้ทะเลเต็มเปี่ยมได้ ฉะนั้น ส่วนในบทสัพพีไม่กล่าวถึงการแผ่ส่วนบุญเลย มีแต่คำให้พรแก่เจ้าภาพ
๗. อรรถกถาติโรกุฑฑสูตรกล่าวว่า พระเจ้าพิมพิสารถวายมหาทานแล้ว ไม่ได้ทรงอุทิศทานนั้นให้แก่ใครๆ เลย หมู่เปรตพระประยูรญาติที่มารอจึงไม่ได้รับส่วนบุญ การอุทิศของเจ้าภาพจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง

๘. ถ้าผู้รับทานเป็นผู้มีศีลไม่ทุศีล บุญย่อมเกิดมาก การอุทิศส่วนบุญย่อมมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น ประเพณีไทยจึงนิยมทำบุญกับ พระสงฆ์ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

๙. การที่เปรตรับรู้และพลอยยินดีในการทำบุญและอุทิศส่วนบุญของเจ้าภาพ ไม่เมินเฉย ไม่ริษยา นั้นแหละเป็นการทำบุญ อย่างหนึ่ง เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย แปลว่า บุญสำเร็จด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น ที่พูดกันว่า เปรตได้รับส่วนบุญ ก็หมายถึงเปรต ทำบุญด้วยการพลอยยินดีในทานมัยที่เจ้าภาพทำและอุทิศมาให้เป็นบุญที่เปรตทำด้วยตนเองแท้ๆ ไม่ใช่บุญที่เจ้าภาพหรือพระสงฆ์ ส่งมาให้ เพราะว่าบุญกุศลหรือความดีไม่ใช่วัตถุสิ่งของที่หยิบยื่นให้กันได้ ไม่ใช่ข้าวของที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด ไม่เคยมีใครได้ดีลอยๆ โดยไม่ได้ทำอะไรเลย ถ้าอยากได้ดีก็ต้องทำความดี ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ความดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง

๑๐. เมื่ออนุโมทนา (พลอยยินดี) แล้ว เปรตจะได้รับอาหารที่เหมาะกับภพภูมิของตน มิใช่ว่าเจ้าภาพถวายอาหารใดแล้วเปรตก็ได้รับอาหารนั้น หากบุญมีกำลังมากพอ ความเป็นเปรตก็อาจจะสิ้นสุด กลายเป็นเทพที่สมบูรณ์ด้วยอาหารทิพย์ ดังเรื่องใน สังสารโมจกเปติวัตถุ (๒๖/๙๘) ความว่า
พระสารีบุตรได้ถวายข้าวคำหนึ่ง ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือหนึ่งผืน และน้ำดื่มหนึ่งขันแก่ภิกษุรูปหนึ่ง อุทิศส่วนบุญให้นางเปรตผู้มีร่างซูบผอมและเปลือยกาย เมื่อนางเปรตนั้นอนุโมทนาแล้วก็กลายเป็นเทพธิดาผู้มีวรรณะอันสวยงาม เพียบพร้อมไปด้วยอาหารทิพย์และผ้าทิพย์
เรื่องนี้แสดงว่า ผลแห่งทานไม่ได้ขึ้นกับปริมาณของวัตถุที่ให้ แต่ขึ้นกับความบริสุทธิ์ของเจตนาที่ให้ ความบริสุทธิ์ของวัตถุที่ให้ และความบริสุทธิ์ของผู้รับ
อนึ่ง ผู้ที่เชื่อถือได้ท่านหนึ่งเคยเล่าเรื่องทำนองนี้ให้ผู้เรียบเรียงฟัง เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา ความว่า
ชายผู้หนึ่งไม่ใช่ชาวพุทธ ได้ฝันเห็นบิดาผู้ล่วงลับไป อยู่ในสภาพเปลือยและผอม จึงได้ทำบุญตามลัทธิของตน เมื่ออุทิศแล้วยังฝันเห็นบิดาอยู่ในสภาพเดิม จึงมาปรึกษาเพื่อนที่เป็นชาวพุทธ เพื่อนแนะนำให้ทำบุญใส่บาตร เมื่อทำบุญอุทิศให้แล้ว ได้ฝันเห็นบิดาอ้วนท้วนขึ้นแต่ยังอยู่ในสภาพเปลือย จึงได้ถวายจีวรแด่พระภิกษุ ในที่สุด ก็ฝันเห็นบิดาพ้นจากสภาพเปลือย

๑๑. การอุทิศส่วนบุญจะมีโอกาสสำเร็จต่อเมื่อผู้ตายไปเกิดเป็นเปรตเท่านั้น ถ้าไปเกิดในภพภูมิอื่นๆ บุญที่อุทิศให้ย่อมไม่สำเร็จ แม้ว่าเขาจะรับรู้และอนุโมทนา เขาก็จะได้เพียงจิตที่อนุโมทนาเท่านั้น มิได้เกิด ความอิ่มหนำสำราญเพราะอาหารที่ทายกอุทิศไปให้เหมือนเปรตได้รับเลย

๑๒. การแผ่ส่วนกุศลจะทำเมื่อใดก็ได้ขึ้นกับความสะดวก ถ้า ตั้งใจอุทิศส่วนกุศล แม้ทำบุญไว้นานแล้วก็ยังอุทิศได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคำนึงว่ามีผู้กำลังรอคอยอยู่ด้วยความกระวนกระวาย ก็ควรรีบอุทิศทันทีที่มีโอกาส คือเมื่อถวายทานเสร็จใหม่ๆ


๑๓. บางคนขี้เหนียวบุญเพราะเข้าใจผิดว่า ถ้ากรวดน้ำอุทิศส่วนบุญให้คนอื่นแล้ว บุญจะหมดไป ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะบุญไม่ใช่วัตถุสิ่งของซึ่งยิ่งให้ยิ่งหมด ตรงกันข้าม บุญเป็นนามธรรม ให้ได้ไม่มีวันหมด ซ้ำยิ่งให้ยิ่งเพิ่ม กล่าวคือ ไม่ว่าจะอุทิศส่วนบุญกี่ครั้ง บุญหรือทานมัยนั้นก็ยังอยู่ครบถ้วนเหมือนเดิม ซ้ำยังได้ปัตติทานมัยเพิ่มขึ้นทุกครั้งไป ดังนั้น เมื่อทำบุญแล้ว จะแผ่ส่วนบุญกี่พันกี่หมื่นครั้งก็ได้ไม่จำกัด ลักษณะเช่นนี้ของบุญอาจเปรียบได้กับวิชาความรู้ซึ่งให้เท่าไรก็ไม่หมด ซ้ำยิ่งให้ยิ่งเพิ่ม กล่าวคือยิ่งสอนก็ยิ่งชำนาญ

๑๔. เมื่อทำบุญอุทิศไปให้แล้ว ก็อย่าห่วงกังวลว่าจะถึงผู้รับหรือไม่เพราะทำให้จิตใจเศร้าหมอง เกิดบาปทางใจโดยไม่จำเป็น

๑๕. สรุปว่าการอุทิศส่วนบุญให้ผู้ตายอาจสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท จึงควรรีบทำบุญด้วยตัวเราเองเสียในวันนี้ เพราะทำให้อุ่นใจว่าเราผู้ทำย่อมไม่ไร้ผล หากไปเกิดในภพภูมิที่ลำบากยากแค้น อำนาจบุญกุศลก็จะช่วยเหลือผ่อนหนักให้เป็นเบา


......

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 13:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: อยากทราบเรื่อง อุทิศบาปได้หรือไม่
อ่าน....


อุทิศบาปได้หรือไม่

คำว่า บาป แปลว่า ชั่ว เลว เมื่อกล่าวตามหลักพระพุทธศาสนา อาจแบ่งความหมายได้เป็น ๓ ประการ คือ
๑. โดยสภาพของจิต ได้แก่ ความเศร้าหมองแห่งจิต
๒. โดยเหตุ ได้แก่ การทำความชั่วทุกอย่าง
๓. โดยผล ได้แก่ ความทุกข์


ได้กล่าวมาแล้วว่า การอุทิศผลบุญให้ผู้อื่นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ดังนั้น เมื่อทำบาปแล้วก็น่าจะอุทิศผลบาปไปให้คนที่เราไม่พอใจ ให้เขารับผลบาปแทน หรือช่วยผ่อนหนักเป็นเบา การอุทิศผลบาปจะเป็นไปได้หรือไม่ ขอให้พิจารณาดูจากเรื่องต่อไปนี้

ในอดีตกาล ณ กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ (ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า) บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้วออกบวชเป็นฤษี วันหนึ่ง ได้ออกมาจากป่าหิมพานต์เพื่อต้องการเสพรสเปรี้ยวเค็ม จึงเที่ยวภิกขาจารไปในกรุงพาราณสี

ครั้งนั้น คหบดีผู้หนึ่งคิดว่า เราจักแกล้งดาบสให้ลำบาก จึงนิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือน ให้นั่งบนอาสนะแล้วอังคาส (เลี้ยงพระ) ด้วยปลาและเนื้อ ครั้นเสร็จภัตกิจแล้ว คหบดีจึงเข้าไปนั่ง ณ ที่อันสมควร แล้วกล่าวว่า ท่านได้บริโภคเนื้อซึ่งข้าพเจ้าฆ่าเพื่อปรุงเป็นอาหารถวายท่านโดยเฉพาะ ขออกุศลนี้อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย จงเป็นของท่านแต่ผู้เดียวเถิด

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าสมณะเป็นผู้มีปัญญา แม้จะบริโภคทานที่บุคคลผู้ไม่สำรวม ฆ่าบุตรและภรรยาเพื่อเอาเนื้อมาถวาย ก็ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยบาปเลย

เมื่อพระโพธิสัตว์แสดงธรรมแล้วก็ลุกจากอาสนะหลีกไป
(อรรถกถาพาโลวาทชาดก ทุกนิบาต)

สาระที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
๑. ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนอธิบายว่า บาปไปไม่ถึงผู้รับเพราะว่าอกุศลย่อมไม่มีใครต้องการ เหตุผลอีกอย่างคือบาปมีผลน้อย เมื่อมีผลน้อยจึงให้ผลเฉพาะผู้ทำไม่อาจแผ่ผลให้คนอื่น ดังนั้น บาปจึงอุทิศหรือยัดเยียดให้กันไม่ได้ ผิดกับบุญซึ่งมีผลมากจึงอุทิศให้กันได้
บุญมีผลมากเพราะเหตุว่า เมื่อบุคคลทำบุญมีการให้ทานเป็นต้น เขาย่อมร่าเริงดีใจ เมื่อคิดถึงกุศลคราวใด ก็เกิดปีติเรื่อยไปทุกครั้ง ดังนั้น กุศลจึงเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ผู้นั้นจึงอาจแบ่งกุศลให้ผู้อื่นได้ บาปมีผลน้อย เพราะเหตุว่าผู้ทำบาปย่อมได้ความร้อนใจ ใจย่อมหดหู่ถอยกลับจากบาปนั้น อกุศลนั้นก็ไม่งอกงามอีกต่อไป มีแต่จะหมดไปเท่านั้น

๒. การตั้งใจแกล้งผู้อื่นด้วยการทำบาป เช่น ฆ่าสัตว์ แล้วนำเนื้อไปให้บริโภค ผู้บริโภคย่อมไม่มีส่วนในบาปอันเนื่องมาจากการฆ่า สัตว์เลย เพราะว่าไม่รู้ ไม่เห็น ไม่สงสัยแต่อย่างใด

๓. เจตนาฆ่ากับเจตนากินต่างกัน ตราบใดที่ไม่มีเจตนาฆ่าย่อมไม่บาป ดังนั้น ผู้ที่ซื้อเนื้อสัตว์ตามตลาดมากินจะได้บาปมาแต่ไหน ถ้ามีเจตนาฆ่า ไม่ว่าจะฆ่ากินหรือฆ่าเล่นก็บาปทั้งนั้น

๔. ถึงไม่ได้ฆ่าเอง แต่ชักชวนให้ผู้อื่นฆ่า กล่าวสรรเสริญการฆ่า พอใจในการฆ่า หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์นั้น แม้จะไม่ได้กินเนื้อ ก็ย่อมมีส่วนแห่งบาปโดยอัตโนมัติ

๕. หากผู้ใดสงสัยว่าการกินเนื้อสัตว์จะทำให้ตนมีส่วนในบาป ผู้นั้นก็ไม่ควรกินเนื้อสัตว์

๖. ถ้าถือมังสวิรัติแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ก็ควรถือ หากว่าถือแล้วคนขี้เหนียว ขี้โกรธ ขี้ลืม .. ก็ยังคงขี้เหนียว ขี้โกรธ ขี้ลืม .. เหมือนเดิม ก็ไม่ควรถือ หรือบางคนถือแล้วเข้าใจผิดว่า ตนรักษาศีลข้อหนึ่งได้ดีกว่าคนอื่น โดยลืมคิดว่า ผักผลไม้ที่กินก็ผ่านการฉีดยาเพื่อฆ่าแมลงมาเช่นกัน อย่างนี้ก็ไม่ควรถือ ส่วนผู้ที่กินเนื้อ (โดยเฉพาะนักบวช) ก็ควรจะสำรวจดูว่า กินเพื่อทำตัวให้เลี้ยงง่าย หรือกินเพื่อตามใจปากกันแน่ ดังนั้น จะกินเนื้อ หรือกินผักก็ไม่ต่างกัน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กินอะไร แต่อยู่ที่กินอย่างไรกิเลสตัณหาจึงจะเบาบางลง

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:02
โพสต์: 157

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


yodchaw เขียน:
กระผมอยากให้คุณwic ออกบวชแล้วบอกให้สิ่งที่คุณบอก ว่าอุทิศบุญให้ใครๆไม่นะโยม รับรอง100%ว่าไม่มีใครใส่บาตรนำข้าวปลาให้กิน ฉันหรอ ที่เขานำมาให้นำมาถวาย หรือนำไป น้อมถวายล้วนมีแต่ปราณแก่ พ่อ แม่ พี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วนั้นให้พ้นทุกข์ทั้งหลาย เรียกเหตุแห่งการพลัดพราก เป็นเหตุให้ใครหลายคนได้เข้ามาศึกษาธรรม บำเพ็ญในพุทธศาสนานี้เลยก็มี


ยืนยันว่ามีสมณะ ที่สอนอย่างนี้มา40พรรษา ปัจจุบันท่านอายุ76ยังแข็งแรงดี
เทศน์ออกอากาศสดๆทางเอฟเอมทีวีผ่านดาวเทียมวันละ 2ชั่วโมงทุกวัน
ชม.แรกเทศน์ ชม.หลังตอบปัญหา ที่มีผู้โทรเข้ามาถาม
ท่านเทศน์ตอบคำถามมาสองปีกว่าแล้ว แต่คำถามเรื่องอุทิศส่วนบุญนี้ก็ยังมีผู้โทรเข้ามาถามอยู่บ่อยๆ
ท่านก็ยืนยันว่าบุญ-บาป แนะนำสั่งสอนกันได้ แต่แบ่งให้กันไม่ได้
เหมือนอาหาร แนะนำสั่งสอนวิธีทำกินได้ ทำไปป้อนให้ก็ยังได้ แต่กินแทนไม่ได้ต้องกินเอง
มีเหตุ-ผล หลักฐานมาก คุณต้อง ปรโตโฆสะ(ความได้สดับฟังสัจจะอื่น จากผู้รู้อื่นๆหรือบัณฑิตอื่น) และ
โยนิโสมนสิการ (ปรับใจ ปฏิบัติกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถ่องแท้ ให้หยั่งลงไปถึงแดนเกิดคือ..ใจ)
ให้มากๆ ก็จะเข้าใจได้เอง(ผมฟัง และทำใจแทนไม่ได้)

.....................................................
มาตามหา เพื่อนร่วมทาง

ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด > > ต้องทำให้ได้ คือแก้ไขตนเอง > > ฝึกหยุด-ไม่หยุดฝึก >
ไม่มีเวลาสำหรับความชั่วบาปอีกแล้ว. ." ทุกวินาทีเป็นวินาทีแห่งบุญ "
เราจะฝึกฝนตนเพื่อไปถึงจุดนั้นให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหอๆอย่างนี้ก็มี
เอาอัตตาทิฐิเปรียบในสิ่งที่นามธรรม สภาพทิพย์ เปรียบกับการกินข้าว เข้าปากใครกินใครอิ่ม เหอๆ
การอนุโมทนาทานทั้งหลายก็เปล่าประโยชน์ว่างั้น แต่ความเป็นจริงหากมีบุญกุศลไม่ว่ามากน้อย หากแต่บุคคล หรือจิตวิญญาณใด เขารับรู้แล้ว สาธุการ ว่า สาธุ สาธุ สาธุอโมทามิ เรียกว่าก็สำริตผลแล้ว มีส่วนในคุณงามความดีนั้นแล้ว ยิ่งกว่าจับเสือมือเปล่า เลยคือมือยังไม่ได้จับอะไรเลย แค่พนมมือและใจน้อมไปกับบุญกุศลนั้น จิตใจที่แห้งเหี่ยวก็ชุ่มเย็นแล้ว นี้ยังไม่เกี่ยวกับการอุทิศเลย
ท่านจำคาดเคลื่อนจากคำสอนหลวงพ่อหรือเปล่า ที่ท่านกล่าวนะหมายถึงความหลุดพ้น ความพ้นทุกข์ต่างหากที่ท่านกล่าว บุญหากหมายถึงสิ่งนี้คือยังไง ก็แบ่งให้กันไม่ได้ แต่ก็เผื่อแผ่ให้ได้ดำริให้ สรรพดวงจิตทั้งมีส่วน ในความไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา นั้นได้ เอาง่ายๆเราไปอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์แล้วเย็นจิตเย็นใจ นั่นละเรามีส่วนแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:02
โพสต์: 157

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


yodchaw เขียน:
การอนุโมทนาทานทั้งหลายก็เปล่าประโยชน์ว่างั้น แต่ความเป็นจริงหากมีบุญกุศลไม่ว่ามากน้อย หากแต่บุคคล หรือจิตวิญญาณใด เขารับรู้แล้ว สาธุการ ว่า สาธุ สาธุ สาธุอโมทามิ เรียกว่าก็สำริตผลแล้ว มีส่วนในคุณงามความดีนั้นแล้ว ยิ่งกว่าจับเสือมือเปล่า เลยคือมือยังไม่ได้จับอะไรเลย แค่พนมมือและใจน้อมไปกับบุญกุศลนั้น จิตใจที่แห้งเหี่ยวก็ชุ่มเย็นแล้ว นี้ยังไม่เกี่ยวกับการอุทิศเลย

"เขา"ที่รับรู้แล้ว สาธุการได้ทำ "กรรม"ที่ดีคือยินดีในความดีที่ผู้อื่นทำ ก็ได้บุญไปแค่นั้น
ไม่ใช่บุญที่ส่งมาจากผู้อื่น หรือได้รับมาจากครูที่เราไปนั่งใกล้ๆ
ในกรณีหลังเราจะได้บุญจากการฟังธรรม ได้น้อมใจตรึกตามธรรมนั้น
อาจารย์องค์เดียวกันนั้น ถ้ามีผู้ไม่ศรัทธาไปนั่งใกล้ๆคอยจับผิดก็ไม่ได้รับ อานิสงส์นั้น

.....................................................
มาตามหา เพื่อนร่วมทาง

ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด > > ต้องทำให้ได้ คือแก้ไขตนเอง > > ฝึกหยุด-ไม่หยุดฝึก >
ไม่มีเวลาสำหรับความชั่วบาปอีกแล้ว. ." ทุกวินาทีเป็นวินาทีแห่งบุญ "
เราจะฝึกฝนตนเพื่อไปถึงจุดนั้นให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเชิญศึกษาธรรมบรรลุฉลับพลัน จบโลก จบธรรม จบกรรม การปฏิบัติ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต วัดร่มโพธิธรรม จ.เลย ที่บอร์ดสนทนาทั่วไปขอรับ หรือ http://www.rombodhidharma.com/

เหอๆดันทุรังไปเรื่อย ไม่ใช่การเอาแพ้เอาชนะในการโพส์ต ตอบกระทู้นี้ หากท่านคิดว่าความคิดของท่านมันถูกแล้ว มันดีแล้ว ถ้าท่านจะยึด แบกทิฐินี้ก็ขอให้แบกไปเถอะ ไม่มีใครว่าท่านหรอ
เพราะถ้าเราสื่อ ถ่ายทอดที่สัจธรรมออกไป ที่ต่อธรรมจริง มันยังประโยชน์แจ่มแจ้งสว่างไปทั้งสองฝ่าย
ในทางกลับกันหากสื่อไปให้ธรรมไปแล้วทำให้คนอื่น งม หลง คิดมาก มันก็สะท้อนกลับผู้ถ่ายทอดเอง งม หลง คิดมากในธรรมนะ นำมาขบคิด พิจารณา ตรึกตร่องอยู่นั่น นั่งนอนไม่เป็นสุขเอง

ขอให้ท่านมีส่วนในความ ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา แจ่มแจ้งในสัจธรรม ลุล่วงพ้นทุกข์ ตามองค์พุทธะ พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต นั่นเทอญ


แก้ไขล่าสุดโดย yodchaw เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 08:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 18:24
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาละเรื่องการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนั้นเป็นเรื่องความเชื่อของแต่ละบุคคล
แต่เท่าที่ผมได้ยินมาคือเรื่องเปตรที่ไปหลอกหลอนพระเจ้าพิมพิสาร
พอพระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แล้วเปตรพวกนั้ก็พ้นจากทุกขเวทนา
ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าก็ทรงประทับนะที่นั้น ผมได้ยินครูบาอาจารย์หลายท่านเคยเทศน์เรื่องนี้ครับ


ส่วนตัวผมคิดว่าได้รับจริงครับ



ฝนตกแม้ไม่ถูกยังต้องโดนไอฝน
แม้ไม่ถูกแดดยังรู้สึกร้อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่ว่าการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ถ้าเขาอยู่ในข่ายที่สามารถที่จะรับส่วนบุญส่วนกุศลนั้นได้และเขารับรู้และอนุโมทนากับบุญกุศลที่ญาติทำบุญไปให้นั้นเขาได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนั้นแน่นอน ขอถามท่านผู้รู้ตรงๆว่าเขาได้รับจริงๆหรือ หรือว่าเป็นอุบายอย่างหนึ่งที่ให้ลูก หลาน ญาติๆ ได้รู้จักการทำบุญทำทานหรือการให้ และรู้จักรู้คุณกตัญญูแก่ผู้ที่มีคุณทำนองนั้นใช่หรือไม่ครับ


ขอแนะนำเวปลิงค์เพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยตรงที่ http://www.samyaek.com/

ซึ่งมันไม่เกี่ยวว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ อะไรอย่างไร ก็ในเมื่อเพราะชาวพุทธ นับถือศาสนาตามประเพณี ตามความเชื่อ ตามปู่ย่าตายายพ่อแม่พี่น้อง โดยไม่ได้มีการศึกษา คำสอนของพระพุทธเจ้าแม้แต่น้อย รู้แต่ว่า
พระพุทธเจ้าคือพระพุทธรูป
พระธรรมคือใบลาน หรือตู้กล่องที่วางหน้าพระงานศพ
พระสงฆ์คือ ที่หัวโล้น ๆ ห่อเหลือง ๆ ลูกชาวบ้าน


ทั้งหมดทั้งปวงก็ต้องมีความสงสัยเป็นธรรมดา เพราะถูกสอนมาแบบนี้ แต่ถ้าบุญพาวาสนาส่ง ในความสงสัย ในข้อธรรมอะไร ๆที่เห็น มันคาใจ ถามใครก็ไม่แล้ว ก็ต้องลองค้นหาด้วยตัวเอง ก็จะพบคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างที่เรียนศึกษาแล้ว ไม่อยากจะวางหนังสือนั้นเลย คือหนังสือพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาไทย ไม่ได้ติดตำรา แต่ก็ต้องติดไว้ก่อน เพราะปัญญายังไม่แข็งแรงมาก แต่ก็รู้สึกว่า ดีนะ ดีกว่านับถือพระศาสนาแบบ เชื่อ ๆ ตาม ๆ ใครว่าอะไรก็ทำ ไม่รู้ว่าผิดถูกตามพระธรรมวินัยอย่างไร ก็จะประเมินตนเองได้ว่า ฉลาดขึ้นมาหน่อยนึง ที่ไม่นับถือพระศาสนาแบบว่า เป็นผู้ทำลายพระศาสนาเสียเอง
อ้าว! มันเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้ ด้วยนะ เกี่ยวซิ เพราะเมื่อก่อน ก็หาทำไปทั่ว
....ทำบุญเสร็จแล้ว บางคนก็ให้ไปนั่งกรวดน้ำตอนพระว่ายถา..เลย ผีญาติจะได้รับทันที ต้องเอาน้ำ เยอะ ๆ นะจะได้กรวดนาน ๆ ....
....บางคนก็บอกว่า พอกรวดเสร็จแล้วไปเทบนต้นไม้ สูง ๆนะ อย่างเทลงพื้น เดี๋ยวผีญาติจะได้กินของสกปรก...
....บางคนบอกว่าการกรวดน้ำไม่ต้องใช้น้ำก็ได้ สวดอะไรปากขมุบขมิบ ไปงั้น แหละ...

จนมาสุดท้าย มาเจอเวบลิงค์นี้แหละ http://www.samyaek.com/ ถึงบางอ้อเลย จบเห่..ผิดทั้งหมด

แต่จะเถียงผู้ที่บอกว่าอะไรอย่างโน้นนี้นะ ท่านลองทำตาม เวปนี้นะ เพราะธรรมของพระพุทธเจ้า ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง เท่านั้น แล้วจะรู้เอง เห็นผลเอง (ถ้าได้ผลประการใด) ช่วยบอกต่อ ๆ ไป เพราะญาติทิพย์ของพวกคุณ เขากำลังทุกข์ ยากลำบากอยู่ ....เพราะว่า ชาวพุทธนับถือพระศาสนามาผิด ๆ มากมาย เขาเลยไม่ได้บุญสักที...เพราะเขาโดนพระทุศีล ปล้นบุญ เต็มบ้านเต็มเมือง ในขณะนี้

พระพวกนี้เขาไม่เชื่อนะว่า ผี มี เทวดา รวบเรียกว่า ชาวโลกทิพย์มีจริง แต่พระพวกนี้ท่องนะ
ยะถา ...........ไปจนถึง รักขันตุสัพพเทวตา ....พระเขาท่องให้ญาติโยมฟังนะ แต่เขาแปลไม่ได้ เลยเขาไม่รู้ว่า บทที่เขาท่องแปลว่าอะไร และพระก็ไปสวดมนต์ตามบ้านเรือนนะ และเขาก็ท่องกัน นะ สักเคฯ...และเขาก็ท่องนะ การเชิญเทวดามาฟังพระสวด.... แต่พระบอกว่า ไม่มีผีหรอกโยม อาตมาไม่เคยเห็น ...ก็ไม่รู้ว่าต้องอาบัติเพราะโกหกหรือเปล่า เอาหละพอแล้วหละ ไปหาศึกษาเอาเอง ถ้าอยากรู้อะไร พระพุทธเจ้า ท่านทรงสำรวจและค้นพบสิ่งที่มนุษย์สงสัยไว้หมดแล้ว เป็นแบบแผน รายละเอียด และเป็นแผนที่เดินทางสำหรับชนชาวพุทธ ที่นับถือเลื่อมใสพระพุทธองค์ และพระพุทธองค์เป็น" เจ้าแห่งธรรม"มีวิธีการสอนอย่างแยบคายไว้ให้พวกเราชาวพุทธแล้ว สาธุ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


viewtopic.php?f=4&t=21462
viewtopic.php?f=4&t=25097
viewtopic.php?f=4&t=21463


ทำบุญให้พ่อแม่ผู้ล่วงลับ เขาจะได้รับหรือเปล่า - หลวงปู่เทสก์

คัดมาบางส่วนจากหนังสือ “ปุจฉาวิสัชนาในประเทศ”
โดย พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี)


ปล. ผู้โพสต์ได้จัดหน้าใหม่ บรรดาตัวเน้นเส้นใต้ทั้งหลาย
ล้วนเป็นฝีมือผู้โพสต์ดัดแปลงเพื่อให้อ่านง่าย และเน้นสิ่งสำคัญ
หากต้องการต้นฉบับ PDF ซึ่งถูกออกแบบมาให้พร้อมพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ก็ขอเชิญที่นี้
http://www.hinmarkpeng.org/dhamma01.html

--------------------------------------------------------------

(๑) ถาม การทำบุญอุทิศให้ผู้มีพระคุณทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้น
ทำอย่างไรจึงจะทราบได้ว่าผู้นั้นได้รับหรือเปล่า ถ้าผู้นั้นไม่ได้รับบุญเหล่านั้นจะเป็นของใคร


(๑) ตอบ ปัญหาเรื่องนี้กินความกว้างขวางมาก มีผู้ถามปัญหาข้อนี้กับผู้เขียนตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรอยู่
จนมาได้บวชพระนับเป็นเวลา ๖๐ กว่าปี แล้วก็ยังมีคนถามอยู่

นี่แหละผู้เขียนหวังว่าถึงผู้เขียนตายไปแล้ว ถ้ายังมีการทำบุญให้ผู้ตายไปแล้วอยู่
คงจะมีปัญหาอย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด

ผู้เขียนจะตั้งประเด็นไว้เป็นข้อๆ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย และกันความหลงลืมดังนี้
๑.๑ ทำบุญให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว
๑.๒ ทำอย่างไรจึงจะทราบได้ว่าผู้นั้นได้รับหรือเปล่า
๑.๓ ถ้าผู้นั้นไม่ได้รับ บุญอันนั้นจะเป็นของใคร


๑.๑ ทำบุญให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว
๑.๑ ผู้ทำบุญโดยส่วนมาก ๙๙ เปอร์เซ็นต์ เพื่ออุทิศแก่ผู้มีพระคุณทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้น

ชาวพุทธมีดีตรงนี้แหละ พุทธศาสนาสอนให้รู้จักบุญคุณของผู้ที่มีพระคุณทั้งหลาย
แล้วทำดีเพื่อสนองพระคุณของท่านเหล่านั้น

ถ้าไม่รู้จักบุญคุณของผู้มีพระคุณแล้ว คนเราก็จะกลายเป็นเดรัจฉานไปหมด
การทำความดี คือ บุญกุศลนี้ย่อมทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์
ไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษแก่ตนและคนอื่น ทำในที่เปิดเผย ไม่ทำในที่ลับด้วยและทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ไม่เหมือนกับคนที่ทำความชั่ว ทำความชั่วนั้นทำด้วยความเศร้าหมอง
ไม่ผ่องใส และก็ทำในที่ลับไม่เปิดเผยด้วย
ทั้งไม่อุทิศส่วนบาปนั้นให้แก่ผู้มีพระคุณทั้งหลาย
ถึงแม้อุทิศให้แก่ใครก็ไม่มีใครอยากรับ เพราะเป็นของเศร้าหมอง

ทำบุญให้แก่ผู้มีพระคุณที่ตายไปแล้วนี้ จงทำด้วยของบริสุทธิ์
อย่าไปฆ่าเป็ด ไก่ ฆ่าวัว ฆ่าควายมาทำ จะบาปหนักเข้าไป

อีกทำเล็กๆ น้อยๆ ด้วยใจผ่องใสบริสุทธิ์ เป็นต้นว่าตักบาตรถวายอาหารพระสงฆ์ บุญก็มากเอง
บุญมิใช่เกิดเพราะไทยทานมากๆแต่เกิดขึ้นจากใจเลื่อมใสศรัทธาต่างหาก
เปรียบเหมือนเทียนที่เรามีอยู่แล้วไปขอต่อจากคนอื่น เทียนของคนอื่นก็ไม่ดับ ของเราก็ได้ไฟสว่างมา
เหตุนั้นบุญในพุทธศาสนาจึงหมดไม่เป็น

คนมากี่ร้อยกี่พัน เอาหัวใจของตนมาตักตวงเอา บุญในพุทธศาสนานี้ก็ไม่มีหมด
บุญยังเต็มเปี่ยมอยู่ตามเดิม ถ้าทำด้วยความเลื่อมใสแล้ว วัตถุทานมีน้อยก็กลายเป็นของมากเอง


๑.๒ ทำอย่างไรจึงจะทราบได้ว่าผู้นั้นได้รับหรือเปล่า
เรื่องนี้เป็นของพูดยาก เพราะผู้ที่ตายไปแล้วก็ไม่ได้ตอบรับเหมือนเราส่งจดหมายไปหากัน
อนึ่ง บุญนั้นก็มิใช่จะส่งไปได้อย่างพัสดุไปรษณีย์เพราะเป็นของไม่มีตัวตน

เป็นความรู้สึกภายในใจว่าบุญที่ตนทำนี้ต้องถึงผู้ตายไปแน่
และเราเชื่อตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า
ทำบุญให้แก่ผู้ตายไปแล้วต้องทำในพระภิกษุผู้มีศีลและเมื่อต้องการอยากจะให้เขาได้บริโภคอาหาร ก็
ต้องทำบุญถวายอาหารเมื่อต้องการอยากจะให้เขาได้เครื่องนุ่งของห่ม ก็ถวายผ้าผ่อนเครื่องนุ่งของห่ม แล้วอุทิศ
กุศลนั้นไปให้แก่เขาเหล่านั้น แล้วของเหล่านั้นก็จะปรากฏแก่เขาเหล่านั้นเองโดยที่ไม่มีใครนำไปให้เขา


๑.๓ ถ้าผู้นั้นไม่ได้รับ บุญอันนั้นจะเป็นของใคร
เรื่องนี้บอกได้ชัดเลยว่า บุญเป็นของผู้ทำแน่นอนเพราะผู้ทำเกิดศรัทธาเลื่อมใสพอใจในการกระทำบุญ
บุญก็ต้องเกิดในหัวใจของผู้นั้นเสียก่อนแล้วอุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ผู้มีอุปการะคุณที่ตายไปแล้ว
ได้ชื่อว่าทำบุญสองต่อ คือเราได้ทำบุญแล้วเพราะศรัทธาเลื่อมใสจึงทำบุญ
แล้วเราอุทิศส่วนบุญนั้นไปให้แก่ผู้ตายไปอีก เป็นอีกต่อหนึ่ง

ทำบุญให้ผู้ตายนี้ท่านแสดงไว้ว่ายากนักผู้ที่ตายจะได้รับ เหมือนกับงมเข็มอยู่ในก้นบ่อ
แต่ผู้ยังมีชีวิตอยู่ก็ชอบทำ นับว่าเป็นความดีของผู้นั้นอย่างยิ่ง

ท่านเปรียบไว้ สมมุติว่าบุญที่ทำลงไปนั้นแบ่งออกเป็น ๑๖ ส่วน
แล้วเอาส่วนที่ ๑๖ นั้นมาแบ่งอีก ๑๖ ส่วน
ผู้ตายไปจะได้รับเพียง ๑ ส่วน เท่านั้น

ฟังดูแล้วน่าใจหาย เพราะฉะนั้นเราทั้งหลายจึงไม่ควรประมาท
ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้มีสิ่งใดควรจะทำก็ให้รีบทำเสียตายไปแล้วเขาทำบุญไปให้ไม่ทราบว่าจะได้รับหรือไม่
ถึงแม้ได้รับก็น้อยเหลือเกิน
เพราะคนตายแล้ว เขาเรียกว่าเปรต ไม่ได้เรียกว่า บิดา
มารดา ป้า น้า อาว์ ครูบาอาจารย์ อย่างเมื่อเป็นมนุษย์อยู่นี้หรอก


ในบรรดาเปรตเหล่านั้นมี ๑๑ พวก
มีจำพวกเดียวที่จะได้รับส่วนบุญ
ที่คนยังมีชีวิตอยู่อุทิศไปให้ เรียกว่า ชีวิตูปรัตตเปรต เปรตจำพวกนี้ได้รับทุกข์ร้อนลำบากมาก

เพราะในเปรตโลกนั้นไม่มีการทำนาค้าขาย แม้แต่ขอทานก็ไม่มี
เสวยผลกรรมของตนๆที่ทำไว้ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่นี้เท่านั้น
ฉะนั้นเปรตจำพวกนี้แหละมนุษย์คนที่ยังเป็นอยู่ทำบุญอุทิศไปให้จึงจะได้รับ
เปรตนอกนั้นแล้วไม่ได้รับเลย เช่น ตายไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่ได้รับ นับประสาอะไร

บางทีสามีภรรยานอนอยู่ด้วยกันแท้ๆ ฝ่ายหนึ่งทำบุญขอให้อีกฝ่ายหนึ่งอนุโมทนาด้วย ก็ไม่รับ
พวกที่ไปเกิดเป็นเดรัจฉานยิ่งไม่รู้กันใหญ่
ไปเกิดในนรกหมกไหม้ทุกขเวทนามาก ทำบุญอุทิศไปให้ก็ไม่รู้อะไร เพราะกำลังเสวยผลกรรมอันนั้นอยู่

หรือไปเกิดเป็นเทวดาชั้นใดชั้นหนึ่งก็เหมือนกัน เขากำลังเสวยผลบุญของเขาอยู่
เขาจะมาเอากุศลผลบุญของเราได้อย่างไร

ชีวิตูปรัตตเปรต ดังเปรตญาติของพระเจ้าพิมพิสาร
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่พระเจ้าพิมพิสารเกิดอาเพทตอนกลางคืน
มีเสียงดัง ขลุกๆ ขลักๆ ทั่วไปหมดในห้องพระตำหนัก พระเจ้าพิมพิสารกลัวจะเกิดเหตุเป็นอันตรายแก่ราชบัลลังก์
จึงเข้าไปกราบทูลเหตุอันนั้นแก่พระพุทธเจ้า

พระองค์ตรัสว่า ไม่มีอันใดเลย
พวกเปรตที่เป็นญาติของพระองค์แต่ครั้งพระพุทธเจ้าชื่อว่า พระวิปัสสี โน่น เขามาขอส่วนบุญกับพระองค์
ขอมหาบพิตรจงทำบุญให้เขาแล้วอุทิศส่วนบุญนั้นให้เขาเสีย เสียงนั้นก็จะหายไป

พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงกระทำ ทักษิณานุประทาน ทำบุญอุทิศให้แก่เปรตเหล่านั้นแล้ว
พวกเปรตเหล่านั้นได้รับส่วนบุญแล้วก็มีกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ แต่ยังไม่มีผ้าเครื่องนุ่งห่ม

ทีหลังก็มาปรากฏให้พระเจ้าพิมพิสารเห็นอีก พระเจ้าพิมพิสารก็นำเอาเรื่องพฤติการณ์อันเปรตมาแสดงนั้น
ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าอีก

พระองค์จึงตรัสว่า เพราะมหาบพิตรไม่ได้ทำบุญผ้า
พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงทำบุญถวายผ้าแก่พระสงฆ์ และอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่เปรตเหล่านั้น
พอเปรตเหล่านั้นได้รับแล้วก็ไปเกิดในสุคติภพในสวรรค์

ที่มาเล่าสู่กันฟังพอเป็นทัศนคติที่ว่า ทำบุญให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้วจะได้รับหรือไม่
เพราะผู้เขียนก็ไม่สามารถจะไปล่วงรู้เขาได้ และผู้ตายไปแล้ว
แม้แต่โยมบิดามารดาของผู้เขียนก็ไม่เคยบอกว่า บุญที่ทำแล้วอุทิศไปให้ได้รับหรือเปล่า
แต่ผู้เขียนก็ทำบุญอุทิศไปให้เสมอเป็นแต่ได้ฟังมาจากตำรา จะหาว่าเล่านิทานหลอกเด็กให้กลัวเฉยๆ
แต่ถ้าผู้ใหญ่กลัวอย่างเด็กๆแล้ว บ้านเมืองก็ไม่เป็นอย่างทุกวันนี้ เด็กเชื่อง่ายหัวอ่อน สั่งสอนน้อมใจเชื่อเร็ว
ผู้ใหญ่จึงชอบสอนเด็กๆ แต่เมื่อโตขึ้นมาแล้ว ถือว่าเรามีสิทธิเสรีเต็มที่ไม่ต้องเชื่อความคิดของคนอื่น
เชื่อความคิดของตนเอง หรือเข้าสมาคมกับผู้ใหญ่เลยเป็นผู้ใหญ่ไปหมด
ความเชื่อและความคิดเมื่อยังเด็กอยู่ที่อบรมไว้เลยหายหมดเลย
กลายมาเป็นผู้ใหญ่อย่างผู้ใหญ่ทั้งหลายที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้

อนึ่ง เรื่องการทำบุญใช้หนี้เจ้ากรรมนายเวร เรื่องนี้ผู้เขียนไม่รู้จริงๆ จึงตอบไม่ได้ ขอผู้รู้ทั้งหลายได้
เมตตาแนะแนวให้ผู้เขียนได้ทราบบ้างก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

กรรมที่ตนกระทำไว้แล้ว ไม่ว่ากรรมดีและกรรมชั่ว ผลของกรรมนั้นย่อมเกิดที่ใจของตนเอง
มิิใช่ผู้ทำกรรมผู้หนึ่ง เจ้ากรรมนายเวรอีกผู้หนึ่ง
คล้ายๆ กับว่ามีเจ้ากรรมนายเวรเป็นผู้บัญชาการอยู่
ทำบุญอุทิศกุศลไปให้เจ้ากรรมนายเวรผู้บัญชาการเพื่อให้เป็นสินน้ำใจ
แล้วเจ้ากรรมนายเวรก็จะลดหย่อนผ่อนผันให้อย่างนี้เป็นต้น

หรือกรรมเวรที่เราทำแก่คนอื่นนั้น คนนั้นเองเป็นเจ้ากรรมนายเวรเราเห็นโทษความผิดแล้วทำบุญอุทิศไปให้แก่
เขาเพื่อเขาจะลดโทษผ่อนผันให้ อันนี้ก็ไม่ถูก เพราะเขาตายไปแล้ว ไม่ทราบไปเกิดในที่ใด และกำเนิดภูมิใด ดังได้อธิบายมาแล้วในข้างต้น

คนที่ทำกรรมทำเวรแก่กันแล้วเมื่อยังเป็นคนอยู่นี้ จะพ้นจากกรรมจากเวรได้ก็เมื่ออโหสิกรรมให้แก่กันและกัน
ในเมื่อยังเป็นคนอยู่นี่แหละตายไปแล้วจะอโหสิกรรมให้แก่กันและกันไม่ได้เด็ดขาด

มิใช่ว่าเราได้ทำกรรมชั่วทุจริตด้วยจิตที่เป็นบาปมีอกุศลมูลเป็นพื้น
มาภายหลัง ๒๐ ปี ๓๐ ปี ๔๐ ปี หรือเท่าไรก็ตาม ระลึกถึงกรรมอันนั้นแล้วกลัวบาป
จึงทำบุญอุทิศไปให้แก่ผู้ที่เราได้กระทำแก่เขานั้นเพื่อให้เขาอโหสิกรรมให้
ดังนี้ เป็นการไม่ยุติธรรม

เป็นการตัดสินคดีภายหลังจากเหตุการณ์ ถ้าถือว่าเราระลึกถึงความชั่วของตนแล้ว
ทำความดีเพื่อแก้ตัวหรือปลอบใจของตัวเอง เป็นการสมควรแท้

การทำบุญให้แก่ผู้ตายไปแล้วจะได้หรือไม่ มีอรรถาธิบายกว้างขวางมาก
อธิบายมาก็มากพอสมควร พอที่ผู้ฟังจะเข้าใจบ้างตามสมควร
จึงขอยุติไว้เพียงแค่นี้เสียก่อนเพื่อจะได้ตอบปัญหาคนอื่นต่อไป

--- จบ---


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 01 ม.ค. 2010, 13:42, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องสุนีธะวัสสการะมหาอำมาตย์

[๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ๒ ท่านชื่อ สุนีธะ ๑

วัสสการะ ๑ กำลังจัดการสร้างพระนคร ณ ตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาว

วัชชี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นบรรทมในเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ทรง

เล็งทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงวิสัยของมนุษย์ ทอดพระเนตรเห็นเทวดาเป็นอัน

มากกำลังยึดถือที่ดินในตำบลบ้านปาฏลิ คือ ในประเทศที่ใด พวกเทวดามี

ศักดิ์ใหญ่ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์สูง ๆ ต่างก็น้อมจิต

เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด พวกเทวดาที่มีศักดิ์ชั้น

กลางยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์ชั้นกลาง ๆ ต่างก็น้อมจิต

เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดาที่มีศักดิ์ชั้นต่ำยึด

ถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ชั้นต่ำ ๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์

ลงในประเทศที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน

อานนท์ พวกไหนกำลังสร้างนครลงที่ตำบลบ้านปาฏลิ.

อ. มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ชื่อ สุนีธะ ๑ วัสสการะ ๑ กำลังสร้าง

นครลงที่ตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชี พระพุทธเจ้าข้า.



พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

ภ. ดูก่อนอานนท์ สุนีธะ กับ วัสสการะ ๒ มหาอำมาตย์แห่งมคธ

รัฐกำลังสร้างนครลงในตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชีเหมือนได้ปรึกษา

กับพวกเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ฉะนั้น อานนท์ เมื่อเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรีนี้

เราลุกขึ้น ได้เล็งทิพจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงวิสัยของมนุษย์ เห็นพวกเทวดาเป็นอัน

มากกำลังยึดถือที่ดินในตำบลบ้านปาฏลิ คือ ในประเทศที่ใด พวกเทวดามี

ศักดิ์สูง ๆ ยึดถือที่ดินพวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์สูง ๆ ต่างก็น้อมจิต

เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดามีศักดิ์ชั้นกลาง ๆ

ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ชั้นกลาง ๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อ

สร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดาผู้มีศักดิ์ชั้นต่ำ ๆ ยึดถือ

ที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ชั้นต่ำ ๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้าง

นิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น อานนท์ ตลอดสถานที่อันเป็นย่านชุมนุมแห่ง

อารยชน และเป็นทางค้าขาย พระนครนี้ จักเป็นพระนครชั้นเอก เป็นทำเล

ค้าขาย ชื่อปาฏลิบุตร และเมืองปาฏลิบุตรจักบังเกิดอันตราย ๓ ประการ คือ

บังเกิดแต่ไฟ ๑ บังเกิดแต่น้ำ ๑ บังเกิดแต่ภายใน คือ แตกสามัคคีกัน ๑.

[๗๒] ครั้งนั้น ท่านสุนีธะมหาอำมาตย์และท่านวัสสการะมหาอำมาตย์

แห่งมคธรัฐ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ทูลปราศรัยกับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึง

กันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลอาราธนา

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอท่านพระโคดม พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงพระ-

กรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อเจริญกุศลและปีติ

ปราโมทย์ในวันนี้ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนา

โดยดุษณีภาพ ครั้นสุนีธะมหาอำมาตย์และวัสสการะมหาอำมาตย์ ทราบพระ-



พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

อาการที่ทรงรับอาราธนาแล้ว ลุกจากที่นั่งกลับไป ครั้นตกแต่งของเคี้ยวของ

ฉันอันประณีตแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว.

ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรง

ถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางสถานที่อังคาส ของสองมหาอำมาตย์

แห่งมคธรัฐครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้งสองมหาอำมาตย์อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เสวยเสร็จแล้วทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีjพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่สองหาอำมาตย์นั้น

ด้วยพระคาถาเหล่านั้น ว่าดังนี้:-



คาถาอนุโมทนา

[๗๓] บัณฑิตชาติอยู่ในประเทศใด

เลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม ประพฤติพรหม-

จรรย์ในประเทศนั้น และได้อุทิศทักษิณาแก่

เหล่าเทพดาผู้สถิตในสถานที่นั้นเทพดาเหล่า

นั้นอันบัณฑิตชาติบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ

อันบัณฑิตชาตินับถือแล้วย่อมนับถือตอบ

ซึ่งบัณฑิตชาตินั้น แต่นั้น ย่อมอนุเคราะห์

บัณฑิตชาตินั้น ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้

เกิดแต่อก ฉะนั้น คนที่เทพดาอนุเคราะห์

แล้ว ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ.


ก็ไม่อยากจะขัดใจกับใครเรื่องนี้ แต่เรื่องอุทิศบุญเมื่อทำบุญเสร็จแล้วนี่พระพุทธเจ้าก็เทศน์ไว้หลายกัณฑ์อยู่นะ ไม่ใช่แต่พวกเปรตรับได้อย่างเดียว ชาวโลกทิพย์ ชนิดอื่น ๆ ยังมีอีกมากมาย เขาก็อยากได้บุญเหมือนกัน ไม่ยกเว้นท่านท้าวสักกะจอมเทพก็ยังต้องการบุญเช่นกัน หรือแม้ให้อาหารปลาแล้วอุทิศบุญได้ในมัจฉาทานชาดก เล่ม 58 หน้า224 ฉบับบ มมร.ชุด 91 เล่ม แม้ทำบุญกับสัตว์เดรัจฉานได้ผลแค่ 100 ก็สามารถอุทิศบุญได้ แต่ถ้าทำบุญกับพระทุศีลอุทิศบุญไม่ได้ โดนปล้นบุญ และมีโยมมีนรกรอรับทันที ในพระสูตร วสภเถรคาถา เล่ม 51 หน้า46 บรรทัด8 เชื่อหรือไม่เชื่อไม่เกี่ยว ทุกอย่างต้องทดลองเอง ปฏิบัติเอง จะเห็นผลได้เอง อย่าลืมศึกษาจาก เวปลิงค์ http://www.samyaek.com/board2/index.php?board=12.0
เพื่อความเข้าใจในคำสอนพระพุทธเจ้าให้มากยิ่งขึ้นว่ายอดเยี่ยมจริง ๆ สาธุ..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร