วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 07:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถธรรม ๔

คือ

จิต เจตสิก รูป นิพพาน.


เมื่อกล่าวโดย "เหตุ"


.


จิต ไม่ใช่ เหตุ.



เจตสิก ที่เป็น เหตุ

มีเพียง ๖ ประเภท เท่านั้น.



เจตสิกอื่น ๆ อีก ๔๖ ประเภท ไม่ใช่ เหตุ.



รูป ไม่ใช่ เหตุ.



นิพพาน ไม่ใช่ เหตุ.


.


"ธรรมที่ไม่ใช่เหตุ" ภาษาบาลีเรียกว่า "นเหตุ"


.


ฉะนั้น

ธรรมทั้งหลาย จึงจำแนกเป็น ๒ หมวด (โดยเหตุ)

คือ

เหตุ และ นเหตุ


.


เจตสิก ๖ ประเภท ที่เป็น เหตุ.


ได้แก่

โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก

อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก (อโมหเจตสิก)


.


จิต รูป นิพพาน

และ เจตสิกอื่น ๆ อีก ๔๖ ประเภท เว้น เจตสิก ๖ ประเภท.

เป็น นเหตุ.


.


จิต และ เจตสิก ๔๖ ประเภท เป็น นเหตุ

คือ ไม่ใช่ เหตุ.


.


แต่

จิต และ เจตสิก บางประเภท

มี "เจตสิกที่เป็นเหตุ" เกิดร่วมด้วย ก็ได้.


และ

จิต และ เจตสิก บางประเภท

ก็ไม่มี "เจตสิกที่เป็นเหตุ" เกิดร่วมด้วย.


.


จิต และ เจตสิก ประเภทใด

ที่ไม่มี "เจตสิกที่เป็นเหตุ" เกิดร่วมด้วยเลย.


จิต และ เจตสิก ประเภทนั้น

เป็น

"อเหตุกจิต และ อเหตุกเจตสิก"


และ

จิต และ เจตสิก ประเภทใด

ที่มี "เจตสิกที่เป็นเหตุ" เกิดร่วมด้วย.


จิต และ เจตสิก ประเภทนั้น

เป็น

"สเหตุกจิต และ สเหตุกเจตสิก"



คนเราเกิดมาทำไม? เป็นคำถามที่หาคำตอบได้ยาก เพราะทุกคนเกิดมา

ในโลกนี้ด้วยความไม่รู้ ไม่รู้ว่าทำไมจึงเกิดมาเป็นคนรวย ทำไมจึงต้องเกิด

มาลำบากยากจน ทำไมจึงเกิดมาพิการ ทำไมจึงสวย ทำไมจึงขี้เหร่ ฯลฯ

นอกจากเกิดมาด้วยความไม่รู้แล้วก็ยังไม่รู้อีกว่าจะตายเมื่อไหร่ จะตาย

ด้วยเหตุใด ตายแล้วจะไปอยู่ที่ไหน ทุกคนมีชีวิตอยู่ด้วยความไม่รู้ ไม่รู้

กระทั่งว่าชีวิตคืออะไร

มีนักจิตวิทยา นักวิทยาศาสตร์ จำนวนไม่น้อย ที่พยายามอธิบายความ

หมายของคำว่า “ชีวิต” และพยายามศึกษาเพื่อให้เข้าใจชีวิต รวมทั้ง

พยายามจะทำความเข้าใจพฤติกรรมการแสดงออกต่างๆ ของมนุษย์ว่าทำไม

จึงมีพฤติกรรม เช่นนั้นเช่นนี้ มีอะไรเป็นตัวเร้า หรือตัวกำหนด และพยายาม

จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับชีวิตในแง่มุมต่างๆ เพื่ออธิบายพฤติกรรมของมนุษย์

ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว คำตอบ เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์นั้นมีกล่าวไว้แล้วในพระพุทธ

ศาสนา เพียงแต่น้อยคนนักที่จะสนใจศึกษาอย่างจริงจัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถธรรม
มรรค ผล นิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:12
โพสต์: 37

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ปรมัตถธรรม
มรรค ผล นิพพาน


นิพพาน เป็นปรมัตถธรรมเหรอ :b10: :b10:

เราก็เข้าใจว่าเป็นอริยธรรมซะอีก :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๓. เตลุกานิเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระเตลุกานิเถระ.
[๓๘๗] เรามีความเพียรค้นคิดธรรมอยู่นาน ก็ไม่ได้ความสงบใจ จึงได้ถาม
สมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า ใครหนอในโลกเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ใครเล่า
เป็นผู้ได้บรรลุธรรมอันหยั่งลงสู่อมตะ เราจักปฏิบัติธรรมของใคร ซึ่ง
เป็นเครื่องให้รู้แจ้งปรมัตถ์
เราเป็นผู้มีความคด คือ กิเลสอันไปแล้วใน
ภายใน เหมือนปลาที่กินเหยื่อฉะนั้น เราถูกผูกด้วยบ่วงใหญ่ คือ กิเลส
เหมือนท้าวเวปจิตติอสูร ถูกผูกด้วยบ่วงของท้าวสักกะฉะนั้น เรากระชาก
บ่วง คือ กิเลสนั้นไม่หลุด จึงไม่พ้นไปจากความโศกและความร่ำไร
ใครในโลกจะช่วยเราผู้ถูกผูกแล้วให้หลุดพ้น ประกาศทางเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ให้เรา เราจะรับสมณะหรือพราหมณ์ คนไหนไว้เป็นผู้แสดงธรรม
อันกำจัดกิเลสได้จะปฏิบัติธรรมเครื่องนำไป ปราศจากชราและมรณะ
ของใคร จิตของเราถูกร้อยไว้ด้วยความลังเลสงสัย ประกอบด้วยความ
แข่งดีเป็นกำลัง ฉุนเฉียว ถึงความเป็นจิตกระด้างด้วยใจ เป็นเครื่อง
รองรับตัณหา สิ่งใดมีธนู คือ ตัณหาเป็นสมุฏฐานมีประเภท ๓๐ เป็น
ของมีอยู่ในโลก เป็นของหนัก ทำลายหทัยแล้วตั้งอยู่ ขอท่านจงดูสิ่ง
นั้นเถิด การไม่ละทิฏฐิน้อยๆ อันลูกศร คือ ความดำริผิดให้อาจหาญ
แล้ว เราถูกยิงด้วยลูกศร คือ ทิฏฐินั้น หวั่นไหวอยู่ เหมือนใบไม้ที่
ถูกลมพัดฉะนั้น กรรมอันลามก ตั้งขึ้นแล้วในภายในของเราย่อมพลัน
ให้ผล กายอันเนื่องด้วยสัมผัส ๖ เกิดแล้วในที่ใด ย่อมแล่นไปในที่นั้น
ทุกเมื่อ เราไม่เห็นหมอผู้ที่จะถอนลูกศรของเราได้เลย หมอไม่สามารถ
จะเยียวยาเรา ด้วยศาตราอย่างอื่นต่างๆ ชนิด ใครไม่ต้องใช้ศาตรา
ไม่ทำให้ร่างกายเราเป็นแผล ไม่เบียดเบียนร่างกายเราทั้งหมด จักถอน
ลูกศรอันเสียบอยู่ภายในหทัยของเราออกได้ ก็บุคคลผู้นั้นเป็นใหญ่ใน
ธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ลอยโทษอันเป็นพิษเสียได้ ช่วยยกเราผู้ตกไป
ในห้วงน้ำ คือ สงสารอันลึกขึ้นสู่บกได้ เราเป็นผู้จมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่
อันเป็นที่สุดแห่งธุลี เป็นห้วงน้ำลาดไปด้วยมายา ริษยา ความแข่งดี
และความง่วงเหงาหาวนอน ไม่มีใครจะนำออกได้ ความดำริทั้งหลาย
อันอาศัยซึ่งราคะ เป็นเช่นกับห้วงน้ำใหญ่ มีเมฆ คือ อุทธัจจะเป็น
เสียงคำรน มีสังโยชน์เป็นฝน ย่อมนำบุคคลผู้มีความเห็นผิดไปสู่สมุทร
คือ อบาย กระแสตัณหาทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหา
เพียงดังเถาวัลย์เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ ใครจะพึงกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้นได้
ใครเล่าจะตัดตัณหา อันเป็นดังเถาวัลย์นั้นได้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ขอท่านทั้งหลายจงทำฝั่งอันเป็นเครื่องกั้นกระแส ตัณหาเหล่านั้นเถิด
อย่าให้กระแสตัณหาอันเกิดแต่ใจ พัดท่านทั้งหลายไปเร็วพลัน ดัง-
กระแสน้ำ พัดต้นไม้อันตั้งอยู่ริมฝั่งฉะนั้น พระศาสดาผู้มีอาวุธ คือ
ปัญญา ผู้อันหมู่ฤาษีอาศัยแล้วเป็นที่พึ่งแก่เราผู้มีภัยเกิดแล้ว ผู้แสวงหา
ฟั่ง คือ นิพพานจากที่มิใช่ฝั่ง พระองค์ได้ทรงประทานบันไดอันนาย
ช่างทำดีแล้วบริสุทธิ์ทำด้วยไม้แก่น คือ ธรรม เป็นบันไดมั่นคงแก่เรา
ผู้ถูกกระแสตัณหาพัดไปอยู่ และได้ตรัสเตือนเราว่า อย่ากลัวเลย
เราได้ขึ้นสู่ปราสาท คือ สติปัฏฐานแล้ว พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้ยินดี
ในร่างกายของตน ที่เราได้สำคัญในกาลก่อนโดยเป็นแก่นสาร ก็เมื่อใด
เราได้เห็นทางอันเป็นอุบายขึ้นสู่เรือ เมื่อนั้นเราจักไม่ยึดถือว่าเป็นตัวตน
ได้เห็นท่า คือ อริยมรรคอันอุดม พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทางอันสูง
สุดเพื่อไม่ให้บาปธรรมทั้งหลาย มีทิฏฐิและมานะเป็นต้น ซึ่งเป็นดัง
ลูกศรเกิดในตน เกิดแต่ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ เป็นไปได้ พระพุทธ-
เจ้าทรงกำจัดโทษอันเป็นพิษได้ ทรงบรรเทากิเลสเครื่องร้อยกรองของเรา
อันนอนเนื่องอยู่ในสันดานอันตั้งอยู่แล้วในใจของเราตลอดกาลนาน.

มรรค ผล นิพพานคือ ปรมัตถธรรม ในพระสูตรนี้
การแสดงธรรมโดยปรมัตถ์ จึงเป็นการแสดง มรรค ผล นิพพาน ตามนัยยะแ่ห่งพระไตรปิฏก ทุกประการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

…..ท่านพระโคดม ก็การตรัสรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อม
ตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการตรัสรู้สัจจะ?

พยากรณ์การรู้ตามสัจจะ
[๖๕๗] พ. ดูกรภารทวาชะ ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือนิคม
แห่งหนึ่งอยู่..............................
ก็ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็น
ได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ ธรรม
นั้นอันบุคคลผู้หลงพึงแสดงไม่ได้โดยง่าย เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า
เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอนั้นมั่นคง เขา
เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เขา
เงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังแล้วย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งมีอยู่ ย่อม
เกิดฉันทะ เกิดฉันทะแล้ว ย่อมขะมักเขม้น ครั้นขะมักเขม้นแล้ว ย่อมเทียบเคียง ครั้นเทียบเคียง
แล้วย่อมตั้งความเพียร เป็นผู้มีใจแน่วแน่ ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกายและเห็นแจ้งแทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา ดูกรภารทวาชะ การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว.
กา. ท่านพระโคดม การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมตรัสรู้
สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะ
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการบรรลุสัจจะ?

[๖๕๘] พ. ดูกรภารทวาชะ การเสพจนคุ้น การเจริญ การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้น
แล ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ดูกรภารทวาชะ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติ
เพียงเท่านี้.......
------------------------
ปรมัตถธรรม ที่บัญญัติขึ้นมาในภายหลัง ไม่พึงเห็นว่าเป็นปรมัตถธรรม โดยนัยยะเดียวกันกับปรมัตถธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฏก


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 11 ก.ย. 2009, 15:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร