วันเวลาปัจจุบัน 07 พ.ค. 2025, 17:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2009, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2009, 23:12
โพสต์: 9


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อวานมีโอกาสได้สนทนาเกี่ยวกับการทำบุญกับเพื่อนค่ะ และมีประเด็นที่เพื่อนเราเค้ายกมาพูดเกี่ยวกับการทำบุญว่า มีคนบอกเพื่อนเราว่าบุญที่เพื่อนเราทำน่ะ ได้ผลบุญน้อย เนื่องจากเป็นการทำบุญแบบทั่วไป เช่นให้ทานขอทาน ซื้อของของยายแก่ๆ ที่มาเดินตามท้องถนน ทั้งๆที่จริงก็ไม่ได้ชอบของที่ซื้อเท่าไหร่ หรือบริจาคตามมูลนิธิต่างๆ ถ้าอยากได้บุญเยอะๆ ให้ไปทำบุญที่วัด

ตามความเห็นเรา มีคำกล่าวว่า ทำบุญ อย่าหวังผล นั้นหมายความว่าควรยินดีกับการทำดี ที่ได้กระทำ อย่างน้อยขณะที่ทำ เราก็รู้สึกดี อิ่มเอมว่า เออเนอะ วันนี้ได้ทำดีแล้ว ถือเป็นการขัดเกลาให้เราดียิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันหากมองในเชิงอานิสงส์ น่าจะเป็นการได้อานิสงส์ต่างกันมั๊ง อันนี้เปรียบเทียบกับการทำบาปต่างชนิดกัน ผลที่ได้รับจากการกระทำนั้นๆ ก้แตกต่างกัน

แล้วเพื่อนๆ ชาวบอร์ดมีความคิดเห็นอย่างไรคะ?

และมีประเด็นเพิ่มเติมอีกว่า
มีคำถามอีกว่า....หากบริจาคทำบุญแบบไถ่ชีวิตโค กระบือทั้งตัวกับการบริจาคร่มบุญบางส่วน ผลต่างกันหรือไม่?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2009, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองศึกษาคำว่า "บุญกริยาวัตถุ 10 " เป็นเบื้องต้น ไปพลางก่อนนะครับ
:b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2009, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2009, 23:12
โพสต์: 9


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ
จากคำแนะนำของคุณคามินฯ ไปค้นๆที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ได้ดังนี้ค่ะ

พระพุทธศาสนา การทำบุญมีด้วยกัน 10 วิธี เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10” หรือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ 10 ประการ ได้แก่

1. ให้ทาน หรือ ทานมัย อัน หมายถึง การให้ การสละ หรือการเผื่อแผ่แบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด และไม่ว่าจะให้แก่ใครก็ถือเป็นบุญทั้งสิ้น เพราะการให้ทานเป็นการลดความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ถี่เหนียว และความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง ทำให้เราไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของ อีกทั้งสิ่งที่เราบริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่นก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเป็นประโยชน์ต่อผู้รับ และสังคมโดยส่วนรวม การให้ทานนี้อยู่ที่ไหนๆ ก็ทำได้ และไม่จำเป็นต้องเงิน เช่น การแบ่งของกินให้กับแม่บ้านที่ทำงาน หรือยาม เป็นต้น ข้อสำคัญ สิ่งที่บริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่น ควรเป็นสิ่งยังใช้ได้ มิใช่เป็นการกำจัดของเหลือใช้ที่หมดอายุ หมดคุณภาพให้ผู้อื่น ผลการให้ทานดังกล่าวจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความปีติอิ่มเอิบใจ

2. รักษาศีล หรือ สีลมัย คำว่า ศีล หมายถึง ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนา ที่กำหนดการปฏิบัติทางกายและวาจา เช่น ศีล 5 ศีล 8 หรืออาจจะหมายถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย การรักษาศีล เป็นการฝึกฝนมิให้ไปเบียดเบียนผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการลด ละ เลิกความชั่ว มุ่งให้กระทำความดี อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต มิให้ตกต่ำลง เช่น ไม่ไปเป็นชู้เป็นกิ๊กกับใครที่ทำงาน ทำให้ครอบครัวเขาไม่แตกแยก เป็นแม่ค้าไม่โกหกหลอกขายของไม่ดีแก่ลูกค้า เป็นพ่อบ้านไม่กินเหล้าเมายา ทำให้ลูกเมียมีความสุข เพื่อนบ้านก็สุข เพราะไม่ต้องทนฟังเสียงรบกวน จากการทะเลาะวิวาทกัน เหล่านี้ล้วนเป็นการรักษาศีล และเป็นหนึ่งในการทำบุญอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผลบุญข้อนี้จะทำให้เรากลายเป็นคนเยือกเย็น สุขุมด้ว

3. เจริญภาวนา หรือภาวนามัย เป็นการทำบุญอีกรูปแบบ ที่มุ่งพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตใจสงบ เห็นคุณค่าสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งในข้อนี้หลายคนอาจจะทำเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น นั่งสมาธิ วิปัสสนา แต่หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยากเกินกำลัง ดังนั้น อาจจะทำง่ายๆ ด้วยวิธีการสวดมนต์เป็นคาถาสั้นๆ บูชาพระที่เราเคารพบูชาก่อนนอนทุกคืน เช่น คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร คาถาหลวงปู่ทวด เป็นต้น การสวดมนต์เป็นประจำ อย่างน้อยก็เป็นการน้อมนำจิตใจของเรา ไปสู่สิ่งที่เป็นมงคลในชีวิต เป็นการเตือนสติให้เรายึดมั่นในการประพฤติปฏิบัติชอบ ตามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือ และผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดปัญญาแก่ผู้ปฏิบัติ

4. การอ่อนน้อมถ่อมตน หรือ อปจายนมัย หลายคนคงคิดไม่ถึงว่า การประพฤติตนเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน จะถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ก็เพราะว่าการอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ว่าจะเป็นผู้น้อยประพฤติต่อผู้ใหญ่ และการที่ผู้ใหญ่แสดงตอบด้วยความเมตตา หรือการอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพต่อความคิด ความเชื่อ และวิถีปฏิบัติของบุคคล หรือสังคมอื่นที่แตกต่างจากเรานั้น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนของเรา ช่วยให้สังคมทุกระดับเกิดความเข้าใจต่อกัน และช่วยให้ชาติบ้านเมืองเกิดความสงบสุข จึงถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง ผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดความเมตตาต่อกัน

5. การช่วยขวนขวายทำในกิจที่ชอบ หรือไวยาวัจจมัย พูดง่ายๆ ว่า เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมรอบข้าง ในการทำกิจกรรมความดีต่างๆ เช่น ช่วยพ่อแม่ค้าขายไม่นิ่งดูดาย ช่วยสอดส่องดูแลบ้านให้เพื่อนบ้าน ยามที่เขาต้องไปธุระต่างจังหวัด ช่วยงานเพื่อนที่ทำงานให้แล้วเสร็จทันเวลา ให้กำลังใจแก่เพื่อนที่มีความทุกข์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นบุญอีกแบบหนึ่ง และผลบุญในข้อนี้ก็จะช่วยให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นด้วย

6. การให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือ ปัตติทานมัย กล่าวคือ ไม่ว่าจะทำบุญอะไร ก็เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มาร่วมทำบุญด้วย ไม่ขี้เหนียว หรืองกบุญเพราะอยากได้บุญใหญ่ไว้คนเดียว เช่น จะทำบุญสร้างระฆัง ก็ให้คนอื่นได้ร่วมสร้างด้วย ไม่คิดจะทำเพียงคนเดียว เพราะคิดว่าทำบุญระฆัง จะได้กุศลกลายเป็นคนเด่นคนดัง เลยอยากดังเดี่ยว ไม่อยากให้ใครมาร่วมด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ถือเป็นการทำบุญในข้อนี้ด้วย ผลบุญดังกล่าว จะช่วยให้เราเป็นคนใจกว้าง และปราศจากอคติต่างๆ เพราะพร้อมเปิดใจรับผู้อื่น

7. การอนุโมทนาส่วนบุญ หรือ ปัตตานุโมทนามัย คือ การยอมรับหรือยินดีในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น เมื่อใครไปทำบุญมาก็รู้สึกชื่นชมยินดีไปด้วย โดยไม่คิดอิจฉาหรือระแวงสงสัยในการทำความดีของผู้อื่น เช่น เพื่อนเดินทางไปสักการะสังเวชนียสถานมา ก็ร่วมอนุโมทนา ที่เขามีโอกาสได้ไปทำบุญ ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ไม่อิจฉาเขา แม้เราไม่ได้ไป ก็อย่าไปคิดอกุศลว่า เขาได้ไปเพราะชู้รักออกเงินให้ เป็นต้น การไม่คิดในแง่ร้าย จะทำให้เรามีจิตใจไม่เศร้าหมอง แต่จะแช่มชื่นอยู่เสมอ เพราะได้ยินดีกับกุศลผลบุญต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แม้จะมิได้ทำเองโดยตรงก็ตาม

8. การฟังธรรม หรือ ธรรมสวนมัย การฟังธรรม จะทำให้เราได้ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ทั้งต่อสติปัญญา และการดำเนินชีวิต ซึ่งการฟังธรรมนี้ ไม่จำเป็นต้องไปฟังที่วัด หรือจากพระท่านโดยตรง แต่อาจจะฟังจากเทป ซีดี หรือเป็นการฟังจากผู้รู้ต่างๆ และธรรมในที่นี้ ก็มิได้หมายถึงแต่เฉพาะหลักธรรม ในทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงเรื่องจริง เรื่องดีๆ ที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้และปัญญา ผลบุญข้อนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงยิ่งขึ้น

9. การแสดงธรรม หรือ ธรรมเทศนามัย คือการให้ธรรมะหรือข้อคิดที่ดีๆ แก่ผู้อื่น ด้วยการนำธรรมะหรือเรื่องดีๆ ที่เป็นประโยชน์ไปบอกต่อ หรือให้คำแนะนำให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เช่น สอนวิธีการทำงานให้ แนะหลักธรรมที่ดีที่เราได้ยินได้ฟังมา และปฏิบัติได้ผลแก่เพื่อนๆ เป็นต้น ผลบุญในข้อนี้ นอกจากจะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังทำให้ผู้บอกกล่าวได้รับการยกย่องสรรเสริญอีกด้วย

10. การทำความเห็นให้ถูกต้อง เหมาะสม หรือ ทิฏฐุชุกรรม คือ การไม่ถือทิฐิ เอาแต่ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ แต่ให้รู้จักแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น และความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ให้ถูกต้องตามธรรมอยู่เสมอ หรือจะพูดง่ายๆ ว่า ให้คิดและประพฤติตนให้ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรมก็ได้ ซึ่งข้อนี้แม้จะเป็นข้อสุดท้ายแต่ก็สำคัญยิ่ง เพราะไม่ว่าจะทำบุญใดทั้ง 9 ข้อที่กล่าวมา หากมิได้ตั้งอยู่ในทำนองคลองธรรม การทำบุญนั้นก็ไม่บริสุทธิ์ และให้ผลได้ไม่เต็มที่ ดังจะได้กล่าวถึงเกณฑ์การวัดบุญต่อไป

ref. http://www.thaigoodview.com/library/tea ... 02p03.html


แต่คำตอบยังไม่ตรงเท่าไหร่ค่ะ = =
พอจะสรุปได้ว่า ผลบุญที่ได้แตกต่างกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2009, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ใจ เป็นใหญ่ เป็นประธาน
เจตนาเป็นกรรม

กรรมทั้งหลายได้แก่ -กุศลกรรม(บุญ) -อกุศลกรรม(บาป) -อัพกตธรรม (กลางๆ)
ถึงตรงนี้พอจะสรูปได้ว่า บุญบาป เกิดที่ใจ
ใจเป็นผู้รับรู้บุญบาป


บุญบาป เป็นสังขตธรรม
สังขต สังขาร หมายถึงการปรุงแต่งขึ้นมา

เช่น ที่หน้าบ้านงานบวชงานหนึ่ง
คนแรกเดินผ่านมา เห็นคนบวช
ด้วยอุปนิสัยชอบทำบุญ ใจมันปรุงไปทางกุศล เกิดความรู้สึกยินดีที่เห็นคนอื่นทำดี(มุทิตาจิต) ก็รู้สึกอนุโมทนายินดีในบุญ (บุญสำเร้จได้ด้วยการอนุโมทนา)

แต่อีกคนหนึ่ง เดินผ่านงานเดียวกัน แต่อุปนิสัยใจคอชอบปรุงไปทางอกุศล รู้สึกหมั่นไส้ว่าเขาจัดงานสิ้นเปลือง เปิดเพลงแหล่เสียงดังอึกทึกหนวกหู
จิตปรุงไปทางริษยา อาฆาต พยาบท โทสะ

จะเห้นได้ว่าคนสองคน ไ้ด้เห็นงานบุญเดียวกัน สิ่งเดียวกันแท้ๆ
แต่เมื่อมันผ่านทวาร 5 เข้ามาสู่ใจคนแล้ว ก็เกิดการปรุงแต่งแตกต่างกันไป
จึงเรียกว่า บาป บุญ เป้นสิ่งปรุงแต่ง


แม้แต่ในหมู่คนที่มีมุทิตาจิตด้วยกัน คิดในทางกุศลด้วยกัน
ก้ยังปรุงมากน้ิอยแตกต่างกันไป
อย่างคนเป็นพ่อแม่ก็อาจจะมีความรู้สึกมีความสุขมากกว่าชาวบ้าน
ญาติและคนใกล้ชิดผู้บวชก็อาจจะมีความรู้สึกรองๆลงมา
คนที่มาเพราะจำเป็น แต่ไม่ได้รู้สึกอะไรมากมาย เช่นช่างไฟ ช่างเครื่องเสียง จ้างมาทำงาน
เขาก็อาจจะไม่รู้สึกอะไรเลย ทั้งดีทั้งชั่ว


ดังนั้น การทำบุญที่ว่าบุญมากบุญน้อย
มันอยู่ที่การปรุงแต่งของจิต

ดีของคนหนึ่ง เป้นเลวของคนหนึ่ง
เลวของคนหนึ่ง เป้นดีของอีกคนหนึ่ง

่ทีนี้ ดีจริงๆ เลวจริงๆแท้ๆ มันเป็นยังไง
พระพุทธเจ้าผู้ทรงปัญญาได้อธิบายจำแนกเอาไว้

พระพุทธเจ้าแยกจิตออกเป็น 52 ชนิด
พูดง่ายๆว่า จิตของคนในโลกนี้ เป็นไปได้แค่ 52 สถานะ (แต่นี่ยังไม่ถูกนะ พูดเอาเข้าใจง่ายๆเฉยๆ)

จิต 52 ชนิดนี้ ก้คือความสามารถของจิต 52 แบบ
เช่น จิตคนเราสามารถที่จะคิด สามารถที่จะรัก สามารถที่จะรับรู้ความรัก สามารถจดจำ ฯลฯ

สมรรถนะของจิต หรือความสามารถของจิต เราเรียกว่า เจตสิก
แต่ตัวจิตเราเรียกว่าจิต

อุปมาตัวอย่างเรื่อง "ไฟ "
"สมรรถนะ"ของไฟก้คือ"ความร้อน และแสง"
เปรียบไฟเป้นจิต หาตัวตนแท้ๆของไฟไม่ได้ หาตัวตนแท้ของจิตไม่ได้
ความร้อนและแสงสว่าง คือสมรรถนะของไฟ

จิตก้คือจิต แต่จิตมีสมรรถนะที่จะคิด จดจำ โกรธ เสียใจ หดหู่ ฯลฯ

เจตสิกแยกออกเป้นสามพวก คือพวกกุศล อกุศล และพวกลางๆ
กุศล มีชื่อเรียกตามพระอภิธรรมว่า โสภณเจตสิก
อกุศล มีชื่อเรียกตามพระอภิธรรมว่า อกุศลเจตสิก
อัพยากตา หรือ จิตกลางๆ นี้ มีชื่อเรียกตามพระอภิธรรมว่า อัญญสมานาเจตสิก


โสภณเจตสิก หรือจิตที่เป็นบุญจริงๆ มี 25 ชนิด ท่านแบ่งเป็น 4 หมวด
ได้แก่
1. โสภณสาธารณะเจตสิก 19 ได้แก่ สัทธา สติ หิริ โอตัปปะ..... เป็นต้น
2. วิรตีเจตสิก 3 ได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตะเจตสิก สัมมาอาชีวะเจตสิก
3. อัปมัญญาเจตสิก 2 ได้แก่ กรุณาเจตสิก มุฑิตาเจตสิก
4. ปัญญาเจตสิก 1 ได้แก่ ปัญญาเจตสิก หรือปัญญินทรีย์เจตสิก



อกุศลเจตสิก
อกุศลเจตสิก มี 14 ดวง แบ่งเป็น 5 กลุ่ม
1. กลุ่มโมหะเจตสิก 4 ดวง(โมจตุกะ 4) ได้แก่ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
2. กลุ่มโลภะเจตสิก 3 ดวง(โลติกะ3) ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ มานะ
3. กลุ่มโทสะเจตสิก 4 ดวง(โทจตุกะ 4) ได้แก่ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ
4. กลุ่มที่ทำให้หดหู่ ท้อถอย(ถีทุกะ2) ได้แก่ ถีนะเจตสิก มิทะเจตสิก
5. กลุ่มความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา1) ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก (มีเพียง 1 ดวง)

ฝ่ายที่ 3 ที่เรียกว่า อัพยากตธรรม ก๋คือธรรมที่เป็นกลางๆ
ในอภิธรรมท่านเรียกว่า อัญญสมานาเจตสิก
คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓
แยกเป็น
ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ ผัสสะ (ความ กระทบอารมณ์) เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ , ใส่ใจ)

ข. ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลแต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือวิตก (ความ ตรึกอารมณ์) วิจาร (ความตรองอารมณ์) อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์) วิริยะ ปีติ ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)
เข้าได้ทั้งสองทาง

อัญญสมานาเจตสิก อธิบายง่ายว่า
ความขยัน หรือวิริยะ เป็นธรรมกลางที่เข้าได้กับทั้งฝ่ายดี หรือฝ่ายชั่ว
เช่น ขยันทำบุญ นี่คือไปเข้ากับฝ่ายดี
ขยันปล้น นี่คือไปเข้ากับฝ่ายชั่ว

..............

ทีนี้กลับมาที่ประเด็นที่สงสัย

ี้เวลาเราทำบุญด้วยความลังเลสงสัย มันเป็นอกุศลจิต ที่เรียกว่าวิจิกิจฉา
เวลาเราทำบุญ ทำบุญเอาหน้า มันเป็นโลภะ
เวลาเห้นพระทำไม่ถูกใจ กริยาไม่น่าเคารพ เกิดความถือตัว ก็เป้นอกุศล
เห็นคนอื่นทำบุญมากกว่าตน ตนทำได้น้อย ก้เป็นมานะ เป็นอิสสา(อิจฉา) เกิดความหดหู่ เป็นถีนะ มิทะ

ในขณะที่เราทำบุญด้วยความมีสติ มีศรัทะา มันเป้นกุศล
การที่เราไม่ทำบาป ก้เท่ากับทำบุญคือหิริโอตัปปะ
เดินผ่านหน้าบ้านคนเห็นเขาบวช เรามีมุทิตาจิตยินดีเห็นดีเห็นงาม ก็เป้นจิตฝ่ายกุศล
เห็นคนโกรธ ไม่เข้าไปแหย่ให้โกรธมากขึ้น ก็เป้นความเมตตา เป็นบุญ


ในความเป้นจริงในการทำบุญแต่ละครั้งของคน มันใช้เวลานาน
มีความคิดเกิดดับมากมายในระหว่างทำบุญ
นั่นหมายถึงว่า มีทั้งกุศล และอกุศล เกิดขึ้นในขณะทำบุญ


ดังนั้น ในความเป้นจริง ผู้ที่ทำบุญได้บุญจริงๆ มีน้อย
และส่วนใหญ่ไปเข้าใจว่าเป้นบุญ

เหมือนคนสูบบุหรี่ การติดบุหรี่ ติดใจ ย้อมใจ คาใอยู่ในใจ เป็นราคะ
แต่ไปได้ยินว่า "บุญเป็นชื่อของความสุข" "เอ๊ะ เราสูบบุหรี่เป้นความสุขนี่ งั้นเรากำลังทำบุญ"
ความจริงกำลังหลงในราคะอยู่ แต่เข้าใจผิดว่าเป้นบุญ


ทีนี้เราจะรู้ได้ไงว่าทำบุญแล้วเป็นบุญ คือเราต้องมีสติ
ต้องหัดเจริญสติจนแยกแยะออกว่าอย่างใดเป้น ราคะ โทสะ โมหะ
อย่างใดเป็นจิตฝ่ายบุญ
เราถึงจะเข้าใจตัวเองว่าขณะจิตปัจจุบันนี้เป็นกุศลหรืออกุศล เมื่อนั้นเราถึงรู้ว่าที่ทำอยู่นี้
เราทำบุญได้บุญหรือเปล่า


ถ้าเราเข้าใจแล้วว่าอะไรเป้นบุญ อยู่ที่ไหนก้ทำบุญได้
แต่ถ้าไม่เข้าใจเรื่องบุญ ทำมากนึกว่าได้มาก ที่จริงไม่ใช่
ยิ่งสะสมความโลภ สะสมทิฐิ มานะ(ถือตัว แบ่งเขา แบ่งเรา)


อยากให้คุณผู้ถาม สนใจเรื่อง"การเจริญสติ"
ถ้าเรามีสติ รู้จักสติ เราจะสามารถแยกบุญแยกบาปได้ แยกมันที่ใจเลย ต้นตอเลย
ไม่ต้องไปอาศัยการเก็งเอาจากอากัปกริยา ประเพณี หรือความเชื่อที่ปรุงสร้างกันขึ้นมา

ธรรมฝ่ายกุศลที่พาพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน คือสติ
ไม่ใช่บุญ บุญแค่เสริม แต่ก้ต้องทำ

ทาน ศีล สมาธิ(สติ) ภาวนา ต้องเอาให้ครบ
เอาแต่ทาน(ที่เข้าใจกันว่าเป้นบุญ) อย่างเดียวไม่ช่วยอะไรมาก

:b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2009, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณมากครับ :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2008, 17:19
โพสต์: 139

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้ก็บุญที่แท้และชวนให้อิ่มเอิบ ปิติใจด้วยกันค่ะ

http://larndham.net/index.php?showtopic=33669&st=69

อ้างคำพูด:
(นายโจโจ้)

ทำสิ่งที่ทำแล้วใจเป็นกุศลไปก่อนจะดีที่สุดครับ สวดบทที่ถนัด สวดแล้วเข้าใจ สวดแล้วระลึกถึงความดีงาม แล้วมุ่งแผ่/อุทิศความสงบ สะอาด สว่างนั้นให้ผู้ที่ทำหน้าที่ปกป้กรักษาดูแลประเทศชาติทุกรูปและทุกนามโดยไม่จำกัดว่าเป็นใครครับ

เล่าสู่กันฟังเพื่อให้ทุกท่านได้อนุโมทนาร่วมกันครับ เมื่อครู่นี้ไปอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซื้อชาเขียวโออิชิเย็นเจี๊ยบแจกไป 22 ขวด ลูกชิ้นทอด 36 ไม้ น้ำอัดลมแก้วกลาง+เล็กของ 7-eleven อีก 78 แก้วให้กับพี่ๆน้องๆทหารบกที่ประจำอยู่ในบริเวณนั้นโดยถือใส่ถาดที่ทางร้าน 7-eleven ให้ยืมมา(ดูท่าทางแล้วคงจะด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง) เดินเอาไปแจกให้จนครบทุกคนและทุกจุดโดยเริ่มจากฝั่งทางลงทางด่วนบนพหลโยธินฝั่งขาเข้า ไล่มาบนสะพานลอยฝั่งโรบินสัน ไล่เรื่อยมาถึงฝั่ง Victory Point จนถึงสถานี BTS ครับ มีพี่ทหารถ่ายรูปไปตั้งหลายรูป ขนาดแค่เดินแจกแป๊บเดียวเหงื่อยังท่วมตัว พี่น้องทหารที่นั่นคงจะร้อนยิ่งกว่าเพราะทั้งต้องแบกปืนและอยู่ในเครื่องแบบอบๆด้วย ดีใจที่ได้มีโอกาสแสดงความขอบคุณพี่น้องทหารแทบจะทุกคนที่เห็นหน้าที่ออกมาช่วยดูแลความสงบสุขให้ประชาชนครับ เป็นส่วนเล็กๆส่วนเดียวที่พอทำได้ในเวลาว่างที่มีน้อยนิดครับ คืนนี้จะได้ยกความอิ่มเอิบใจจากทานในครั้งนี้ถวายแด่เทพเทวาที่ทำหน้าที่ปกปักรักษาดูแลความสงบร่มเย็นของชาติต่อไปครับ นี่ก็ใกล้เวลานัดหมายแล้ว


.....................................................
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร