วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 08:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว




.gif
.gif [ 4.66 KiB | เปิดดู 1508 ครั้ง ]
ถ้าเราพูดถึงความเห็นชอบในระดับเบื้องต้นคือ สาสวะ หมายถึงความเห็นชอบระดับที่ยังมีอาสวะเจือปน
อยู่ ก็จะมีกลุ่มของธรรมอยู่กลุ่มหนึ่งที่จะเกื้อหนุนหรือประคับประครองให้สัมมาทิฏฐิในระดับนี้คงตัว
ปกติ มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดความเห็นผิดแทรกมาได้ ทำความรู้จักกลุ่มธรรมกลุ่มนี้เลยดีกว่า
พระสุตตันตะปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจกะนิบาต อนุคคหะสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว ย่อมเป็นธรรมมี
เจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติ เป็นผล
มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิอันศีลอนุเคราะห์แล้ว อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล
มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

สรุปตามพระพุทธพจน์แล้ว ความเห็นชอบนั้น จะสำเร็จประโยชน์จริงๆ จำต้องมีธรรมที่ประคับประครอง
คือ ๑.ศีล ๒.สุตะ ๓.การสนทนาธรรม(สากัจฉะ) ๔.สมถะ ๕.วิปัสสนา
ศีล ความหมายกว้างหมายถึงการสำรวมกายวาจา แล้วมีส่วนประคับประครองความเห็นชอบได้อย่างไร คำตอบนี้ผมเองยังค้นคว้าตามอรรถกถาจารย์ไม่พบ แต่ถ้าความเข้าใจผมเองนั้น ผมเข้าใจว่า ถ้าผู้ที่มีความเห็นชอบระดับที่มีอาสวะหรือผู้ที่กำลังปฏิบัติตามแนวแห่งความเห็นชอบนั้น มีการสำรวมระวังที่ดีทางกายหรือวาจา(ศีล) ความสงบระงับทางกายก็เกิดพร้อม ข้อที่น่าจะพึงคิดก็คือ เสมือนเป็นการประชุมเสริมมรรคองค์อื่นเข้ามาด้วยแบบยังไม่เต็มที่นัก ได้แก่ สัมมากัมมันตะการงานชอบ สัมมาวาจาวาจาชอบ สัมมาสังกัปปะดำริชอบ (ข้อนี้น่าจะตรงกับดำริไม่เบียดเบียน) สัมมาวายะเพียรชอบ(คือพยายามทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด) ส่วนสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพชอบนั้น
เห็นว่ายังไม่ตรงนัก แต่ถ้าถือเอาตามอรรถก็พออนุโลมได้ ข้อนี้ท่านใดทราบความนัยก็บอกแจ้งผมด้วย อยากรู้จริงๆครับ
สุตะ การสดับรับฟัง การศึกษา ค้นคว้า ในข้อนี้ตรงกับปัญญาโลกิยะที่ว่า ปัญญาจากการฟังหรือเรียนรู้ กับปัญญาเกิดจากการคิด ข้อนี้ชัดเจนว่า หากไม่ศึกษาค้นคว้าแล้วก็เป็นอันแยกระหว่างเห็นชอบกับเห็นผิดไม่ออกนั่นเอง
การสนทนาธรรม(สากัจฉะ) ข้อนี้ได้แก่การพูดคุยสนทนาสาระธรรมกับผู้ที่รู้ เพื่อจะได้กลั่นกรองความรู้ของตัวเองที่ได้มาจากสุตะหรือการศึกษาค้นคว้านั่นเอง ข้อที่น่าสังเกตคือ ปกติการศึกษาก็น่าจะมีการพูดคุยอยู่แล้ว
ทำไมต้องมีข้อนี้อีก คำตอบก็คือ ปกติอาจได้เรียนรู้จากคนไม่กี่คน หรือตำราไม่กี่เล่ม การสนทนาก็จะได้เห็นมุมมองอื่นๆอีก และอาจได้พบผู้ที่รู้แจ้งจริงๆด้วยก็ได้ ที่ต้องระวังในข้อนี้คือ ต้องผู้ที่รู้สัมมาทิฏฐิจริงๆ เพราะไม่ฉนั้นแล้วข้อนี้จะไม่ไช่ธรรมที่ประคับประครองความเห็นชอบ จะกลายเป็นพากันเข้าป่าเข้าดง หากเป็นผู้ที่ไม่รู้สัมมาทิฏฐิแจ่มแจ้งแล้ว โอกาสที่จะผิดพลาดมีอยู่มาก อีกประการหนึ่ง พระองค์ตรัสข้อนี้ว่า การสนทนาธรรมนะครับ ไม่ไช่เรื่องอื่นต้องระวัง
สมถะและวิปัสสนา ถ้าในระดับที่ยังมีอาสวะ นี้หมายถึงการทำใจสงบและการเจริญสติ ใน ๒ ข้อนี้เห็นได้ชัดเจนว่า องค์มรรคอีก ๒ คือ สัมมาสมาธิ และสัมมาสติ เข้ามาประคับประครองความเห็นชอบ อีกประการหนึ่ง ไม่มีวิธี
อะไรจะตัดสินได้ว่าที่ได้ทำมาทั้ง ๓ ข้อคือ ศีล สุตะ สากัจฉะ(การสนทนาธรรม)จะถูกต้องจริงหรือไม่เท่ากับการ
ปฏิบัติแล้ว
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ย่อมชี้ให้เห็นว่า สัมมาทิฏฐิ หรือความเห็นชอบนั้น ย่อมต้องมีธรรมอื่นๆมาช่วยประคับประครอง
ที่กล่าวนี้หมายเอาระดับอาสวะนะครับเพราะถ้าผ่านสัมมาทิฏฐิระดับอาสวะไปสู้ระดับที่ไม่มีอาสวะแล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องมาประคับประครองกันอีก ตรงตามจุดประสงค์ของสัมมาทิฏฐิที่แท้จริงแล้ว
ความเห็นชอบระดับ สาสวะ(เป็นไปกับด้วยอาสวะ) หมายถึงปุถุชนธรรมดา เสขะบุคคลทุกประเภท
ความเห็นชอบระดับ อนาสวะ(ไม่มีอาสวะ) หมายถึงพระอรหันต์

- - -- --- --- ---- ---
สัมมาทิฏฐิเป็นจุดเริ่มต้นที่ระดับอาสวะ
สัมมาทิฏฐิเป็นจุดสุดท้ายที่ระดับอนาสวะ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron