วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 08:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: กรัชกายคิดไว้แล้วขอรับว่า คุณบุดฯ คิดเขียนในแง่บวกไม่ได้ เพราะกระแสกุศลจิตไม่แรงพอที่จะต้านกระแสอกุศลจิตได้ :b1:
ฝึกคิดบวกๆบ่อยๆ แล้วความสุขจะติดตามตนเหมือนเงาตามตัวแล้วประตูมรรคก็จะเปิด :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
:b32: กรัชกายคิดไว้แล้วขอรับว่า คุณบุดฯ คิดเขียนในแง่บวกไม่ได้ เพราะกระแสกุศลจิตไม่แรงพอที่จะต้านกระแสอกุศลจิตได้ :b1:
ฝึกคิดบวกๆบ่อยๆ แล้วความสุขจะติดตามตนเหมือนเงาตามตัวแล้วประตูมรรคก็จะเปิด :b1:


สิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนไป ก็เป็นแง่บวกทั้งสิ้น แต่เนื่องจาก เจ้าผู้ชื่อ กรัชกาย มีความคิดต่ำ และสมองสติปัญญาเลวทราม จึงคิดไปว่า ข้าพเจ้าเขียนในแง่ลบ

อีกทั้งเจ้าผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย ยังชอบโอ้อวด อวดอุตริ เพราะมีความคิดต่ำ สมองสติปัญญาเลวทราม เองจะรู้อะไร ขนาดสอนให้ ยังแข็งขืน ฮ่า ฮ่า ฮ่า

ข้าพเจ้าฝึกตนจนบรรลุชั้นนิพพานแล้ว เพียงแต่ยังไม่สำเร็จนิพพาน เนื่องจากมีข้อติดขัดหลายประการ
สิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวไป สามารถพิสูจน์ได้
ไม่ต้องถามว่าพิสูจน์อย่างไร เพียงได้พบข้าพเจ้าก็จะรู้เองว่า บรรลุนิพพานเป็นอย่างไร
แต่จงจำไว้ว่า ข้าพเจ้ายังไม่สำเร็จนิพพาน เป็นเพียงบรรลุ เท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ข้าพเจ้าฝึกตนจนบรรลุชั้นนิพพานแล้ว เพียงแต่ยังไม่สำเร็จนิพพาน


ถามอีกคำถามเดียวพอ
ความหมาย...บรรลุ กับ สำเร็จ ต่างกันตรงไหน บรรลุนิพพาน กับ ...สำเร็จนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครว่ายังไงไม่รู้นะ แต่กระทู้นี้ฮามากสำหรับผม

:b4: :b12: :b12:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามท่าน Buddha นิ๊ดนึงนะครับ ว่า
ท่านมีมุมมองต่อศาสนาเหล่านี้อย่างไรบ้าง เอาคร่าวๆ ก็พอครับ
1.พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
2.ศาสนาคริสต์
อยากทราบความเห็นนะครับ

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
ใครว่ายังไงไม่รู้นะ แต่กระทู้นี้ฮามากสำหรับผม

:b4: :b12: :b12:

อ่าว ฮาด้วยๆ :b12: :b13: :b32: :b9: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ข้าพเจ้าฝึกตนจนบรรลุชั้นนิพพานแล้ว เพียงแต่ยังไม่สำเร็จนิพพาน


ถามอีกคำถามเดียวพอ
ความหมาย...บรรลุ กับ สำเร็จ ต่างกันตรงไหน บรรลุนิพพาน กับ ...สำเร็จนิพพาน


ตามความหมายใน พจนานุกรม ฯ บรรลุ มีความหมายว่า " ถึง และ สำเร็จ"

แต่คำว่า บรรลุ ตามความหมายของข้าพเจ้านั้น แตกต่างจากพจนานุกรม เหตุเพราะ
ตามหลักความเป็นจริงแล้ว การบรรลุถึงธรรม มิใช่การสำเร็จธรรม
เพราะ การบรรลุธรรม นั้น หมายถึง การที่ได้รู้ ได้เข้าใจ ถึงหลักธรรมต่างๆ แล้ว แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติจนได้ผล หรือสำเร็จผล
ถ้าจะเปรียบไป ก็เหมือนกับ เราเดินทางไป ณ.ที่แห่งใด แห่งหนึ่ง เรามองเห็นสถานที่ที่เราจะไปด้วยสายตาแล้ว เรียกว่า "บรรลุ" แต่เรายังไม่สามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่เราเห็นนั้นได้
เราคงยังต้องฟันฝ่าอุปสรรคตามทางเดินก่อนที่จะเดินทางไปถึงสถานที่แห่งนั้น จึงเรียกว่า "บรรลุ"
เมื่อเราเดินทางไปถึง ณ.สถานที่แห่งนั้นแล้ว จึงเรียกว่า "สำเร็จ" ขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อมิตาพุทธ เขียน:
ขอถามท่าน Buddha นิ๊ดนึงนะครับ ว่า
ท่านมีมุมมองต่อศาสนาเหล่านี้อย่างไรบ้าง เอาคร่าวๆ ก็พอครับ
1.พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
2.ศาสนาคริสต์
อยากทราบความเห็นนะครับ


[b]ไม่มีมุมมองต่อศาสนาใดใดขอรับ เพราะ หลักวิชชา ๓ วิชชา ๘ ประกอบด้วยหลักสำคัญของศาสนาทุกศาสนา[/b
หมายความว่า ที่ข้าพเจ้าฝึกตนอยู่นี้ คือ "วิชชา ๓ วิชชา ๘
ที่สอนในเวบฯธรรมะต่างๆ คือ หลักธรรมะ สำหรับทางพุทธศาสนา แต่ก็สามารถใช้ได้กับทุกศาสนาในบ้างเรื่อง บางอย่าง
ประการที่สำคัญ หลักธรรมะทั้ง ๔ คู่ ๘ ข้อ นี้ สามารถใช้เป็นต้นตอแห่งการเกิดจักรวาลทั้งปวงได้ ตั้งแต่ยุคแรกเกิดมนุษย์ จนไปถึงยุคอนาคต อีกนานเท่านั้น ขอรับ

สำหรับ พุทธศาสนาฝ่าย มหายาน นั้น ข้าพเจ้าไม่เคยสนใจเลยขอรับ
เหตุเพราะ อาจารย์สอนไว้ว่า "มนุษย์มีความคิด ความคิดของมนุษย์ย่อมแตกต่างจากกัน"

ส่วนศาสนาอื่นๆ
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาซิกส์
ล้วนมีแนวทางการปฏิบ้ติ ที่คล้ายคลึงกัน
เพียงแต่ แตกต่างกัน ในรายละเอียด และวิธีปฏิบัติ หรือหมายถึงแตกต่างกันในพฤติกรรม และการกระทำ แต่ผลที่เกิดจากวิธีปฏิบัติ และพฤติกรรม การกระทำ เหมือนกัน คือ ได้รับผลที่เหมือนกัน หรือมีผลที่เหมือนกัน (ในที่นี้ไม่ยกตัวอย่างนะขอรับ ให้ไปศึกษาค้นคว้ากันเอง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 22:22
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


ฮาๆขำๆเหมือนจะมีสาระ :b4: :b4: แอะหรือว่าจะ :b31: :b31: :b31: เกินไป

งงง พูดอารัยกานนาเนี่ย :b14: :b14: :b14: :b14:

ธรรมท่าน เหมือนจาลึกซึ้ง แต่ไม่แจ่มแจ้งเรียงร้อยอย่างไพเราะ ท่านพูดได้ซะจน :b14: :b14: :b14:

.....................................................
อนิจจา วต สังขารา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณท่าน Buddha ที่สละเวลาตอบคำถามของข้าพเจ้าครับ
ขออนุโมทนาให้ท่านสำเร็จมรรคผลนิพพานตามที่ตั้งใจไว้

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อมิตาพุทธ เขียน:
ขอขอบคุณท่าน Buddha ที่สละเวลาตอบคำถามของข้าพเจ้าครับ
ขออนุโมทนาให้ท่านสำเร็จมรรคผลนิพพานตามที่ตั้งใจไว้


ไม่เป็นไร มิได้ขอรับ
ถ้าท่านมีข้อสงสัยใด ที่ไม่อาจหาคำตอบได้ ก็ถามข้าพเจ้าได้
ถ้าข้าพเจ้ามีความรู้ ความเข้าใจอยู่ ก็จะพยายามตอบให้ ตามความจำเป็นนั้นๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


หลายๆท่าน รวมไปถึง บุคคลากรทางพุทธศาสนา บางกลุ่ม บางคน
มักมีความเข้าใจผิด ในเรื่องของ มรรค ซึ่ง ในพระไตรปิฎก ให้ความหมาย หรืออธิบายความหมายของคำว่า "มรรค" ดังต่อไปนี้
"ทาง, หนทาง 1.มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ ๑.สัมมาทิฐิ เห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ ๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ 2.มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑ "
(คัดความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)

ความหมายของคำว่า "มรรค" ชัดเจนอยู่แล้ว แต่หากท่านทั้งหลาย พิจารณาตามหลักความเป็นจริง ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ของมนุษย์ ท่านทั้งหลายก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจ ตามพระไตรปิฎก กล่าวว่า "มรรค" คือ ทาง หรือหนทาง สำหรับให้บุคคลปฏิบัติ เพื่อให้ดับทุกข์ ซึ่ง เป็นการปฏิบัติ ในระดับ ปุถุชนคนทั่วไป อีกประการหนึ่ง หลักการของมรรคข้างต้นนั้น ในทางที่เป็นจริง หาใช่การดับทุกข์อย่างแท้จริงไม่ เพราะการจะดับทุกข์ได้ คือต้องดับกิเลส อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเกิดจากการได้สัมผัส ทางอายตนะ แล้วเกิดความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และสภาพสภาวะจิตใจ ในรูปแบบต่างๆกัน อันมีปรากฏอยู่ในหมวดธรรม ในทางพุทธศาสนามากมาย ซึ่ง หมวดธรรมะเหล่านั้น แท้จริงแล้ว คือสภาพสภาวะจิตใจอันเกิดจากการได้สัมผัส และเกิดความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงหมวดหลักธรรมเหล่านั้น
อีกประการหนึ่ง ความในมรรค ตามพระไตรปิฎกนั้น เป็นรายละเอียด เป็นผล กล่าวคือ แทนที่จะเป็นมรรคอย่างแท้จริง กลับกลายเป็นการนำเอา ผลมากล่าว
เช่น คำว่า สัมมาทิฐิ หมายถึง ความเห็นชอบ
ความเห็น นั้น เป็นผล แห่งการคิด จะเรียกว่า เป็นความคิดก็ย่อมได้เช่นกัน เพราะเมื่อคิดแล้วตกลงจะทำตามที่คิด นั่นแหละคือความเห็นชอบ อย่างนี้เป็นต้น

แต่ ความคิด หรือ ความเห็นที่ตัวบุคคลนั้นๆ ตกลงจะกระทำนั้น แม้จะเป็นความคิดที่ดี ความคิดที่ชอบ หรือความเห็นชอบ ก็สามารถก่อให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่นได้ อย่างนี้เป็นต้น
ที่ข้าพเจ้าอธิบายไปข้างต้นนี้ เป็นเพียงจะชี้ให้ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณา และทำความเข้าใจ ในพระไตรปิฎกอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่อยากเขียนโอ้อวด แสดงภูมิความรู้ ก็เขียนไม่ได้คิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง
ขอให้ท่านทั้งหลาย ได้พิสูจน์คำอธิบายของข้าพเจ้าได้ด้วยตัวท่านเอง แล้วท่านทั้งหลายก็จะเกิดความเข้าใจในพระไตรปิฎกอย่างถ่องแท้
(จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ เขียนเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ความคิดของมนุษย์เกิดจากการได้รับการขัดเกลาทางสังคม ตั้งแต่ กรรมพันธุ์ เป็นต้นมา ซึ่ง ความคิดของมนุษย์จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อได้รับการสัมผัส และจดจำเก็บไว้เป็นข้อมุลในสมอง สมอง และหัวใจ จะทำงานร่วมกัน สมองเก็บข้อมูลต่างๆ หัวใจสร้างพลังงาน พลังอารมณ์ ความรู้สึก และพลังงานต่างๆ เมื่อได้รับข้อมูลจากสมอง สมองจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาปรุงแต่ง(สังขาร) หรือเมื่อได้สัมผัส สมองก็จะปรุงแต่งตามข้อมูลที่มีอยู่

ดังนั้น ในทางพุทธศาสนา จึงเกิดการปฏิบัติ สมาธิ เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุม ยับยั้ง ระงับ ฯ เพื่อมิให้สมองเกิดการคิดมากเกินตัว หรือเกิดการปรุงแต่งมากเกิดเหตุ จนอาจเป็นอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกาย และผลที่เกิดจากการปฏิบัติ สมาธิ ก็คือ " สติ สัมปชัญญะ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ความคิดของมนุษย์ ย่อมเป็นไปตามการได้รับการขัดเกลาจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมของมนุษย์ในภูมิภาคนั้น ศาสนานั้นๆ แต่ก็มีส่วนคล้ายคลึง หรือเหมือนกัน ในแง่ของหัวข้อหลัก เช่น มนุษย์ ทุกคนบนโลก ล้วนย่อมต้องมีความโลภ ความโกรธ ความหลง
นี้เป็นคำในภาษาไทย แต่พฤติกรรม และการกระทำ รวมไปถึง การดำรงชีวิตในสังคม ย่อมมีข้อแตกต่างในเรื่องของ ปัจจัย 4 ตามแต่ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ วัฒนธรรมประเพณ๊ อย่างนี้เป็นต้น
ความคิดของมนุษย์ ย่อมมีทั้งในทางค่านิยมของสังคมเรียกว่า ดี หรือเรียกว่า ไม่ดี ความเห็นของมนุษย์ ก็คือ ความคิด เพราะธรรมชาติของมนุษย์ย่อมต้องคิด บ้างอาจไม่รู้ว่าได้คิด เพราะข้อมูลส่งสื่อถึงกันและกันเร็วมากจนไม่รู้สึกว่าได้คิด
คำว่า "สัมมาทิฐิ" คือความเห็นชอบ นั้น แท้จริงแล้ว ก็คือ ความคิดนั่นเอง ซึ่งเป็นความคิดเพียงแง่มุมเดียว หรือเป็นเพียงเศษเสี้ยวของความคิดอันหลากหลายที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ในทุกรูปแบบ
มนุษย์ บางครั้งก็จะคิดเพียงแง่เดียว ตามข้อมูลที่มีอยู่ ตามกำลังของสมองสติปัญญา จะสามารถปรุงแต่งให้เกิดความคิด ตามสภาพสภาวะจิตใจ หรือตามความต้องการของตัวบุคคลนั้นๆ เช่นเห็นผู้หญิงเดินมา หรือผู้ชายเดินมา ก็จะเกิดความคิดตามที่ได้เห็นว่า สวย ว่า หล่อ ต่อเมื่อได้พบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรม ของเขาเหล่านั้น ก็จะเกิดความคิดตามการได้รับการขัดเกลามาว่า ถูก หรือไม่ถูก ดี หรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบ ตามแต่จะมีข้อมูลหรือประสบการณ์ หรือความรู้ ความเข้าใจที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
ดังนั้น "สัมมาทิฐิ" จึงเป็นเพียงรายละเอียด หรือเป็นเพียงข้อปลีกย่อยข้อหนึ่ง ของการคิด ในที่นี้ข้าพเจ้าขอย้ำเตือนว่า ถ้าคิดอย่างนั้น จะไม่สามารถ ขจัดอาสวะแห่งกิเลสให้ออกจากร่างกาย
เหตุเพราะ พุทธศาสนา มิได้มีหลักธรรมคำสอน เพื่อกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่ง แต่หลักธรรมทางพุทธศาสนา ใช้ได้กับทุกคนที่เป็นมนุษย์ ฯลฯ และธรรมชาดิของมนุษย์ เป็นสัตว์สังคม ย่อมต้องมีการสังคม ปฏิสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน อยู่ตลอดเวลา ท่านทั้งหลายไม่ได้อยู่เพียงคนเดียวบนโลก ต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ อยู่ตลอด ดังนั้น
สัมมาทิฐิ จึงเป็นเพียง ความคิด ในแง่มุมหนึ่ง เท่านั้นเองขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว



ทำไมในพระไตรปิฎกจึงกล่าวถึง สัมมาทิฐิ คือ มรรคข้อหนึ่ง ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะการได้ยินได้ฟังหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ มีมากมาย อาจจะมีความสับสนในการจำ และหรือมีความสับสนในการบันทึก จากคำบอกเล่า หรืออาจเป็นการอธิบายให้เกิดความเข้าใจแบบละเอียดถึงผลแห่งการคิด ก่อนที่จะเกิดการปฏิบัติ ก่อนจะเกิดพฤติกรรมการกระทำ เพราะก่อนที่มนุษย์จะมีพฤติกรรม หรือการกระทำ หรือประกอบกิจกรรมใดใดก็ตาม ล้วนย่อมต้องมีการคิดถึง(ระลึก) ความรู้ คิดถึง(ระลึก)ประสบการณ์ หรือรูปแบบการกระทำตามที่ได้ประสบพบเห็นหรือเคยกระทำหรือเคยฝึกหัดมาและได้จดจำเอาไว้ในสมอง เมื่อมีข้อยุติแห่งความคิดใดใดก็ตามนั่นก็คือ ความเห็น หมายความว่า เมื่อคิดถึงตามข้อมูลที่มีอยู่ในสมองแล้ว ก็จะได้ข้อยุติว่าจะกระทำ หรือมีพฤติกรรมประการใด
ยกตัวอย่างเช่น มีคนชักชวนเราไปเล่นการพนัน แต่เรามีข้อมูลอยู่แล้วว่า การพนันทำให้เสียทรัพย์ ไม่สร้างความเจริญให้กับตนเองและครอบครัว ผิดกฎหมาย เราก็จะเกิดความคิดต่อเนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่ว่า เราไม่เล่นการพนันตามคำชักชวนของคนผู้นั้น จุดนี้คือ ความเห็น ซึ่งมันก็คือ ความคิดท้ายสุด แต่อาจมีความคิดต่อเนื่องจากความคิดท้ายสุดอีก ซึ่งความคิดนั้นอาจเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมทั้งทางกาย วาจา และใจ เช่น เดินหนี ต่อว่า หรือไม่ชอบใจ ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
แม้แต่ในพระไตรปิฎก ก็กล่าวถึง "สัมมาทิฐิ" หมายถึง ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔, เห็นชอบตามคลองธรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา) ฯลฯ, เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงเป็นต้น (ข้อ ๑ ในมรรค)(คัดความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก)

หากท่านทั้งหลายพิจารณา และ ทำความเข้าใจ หรือมีความรู้ ความเข้าใจ ใน อริยะสัจ๔ อย่างถูกต้องแล้ว ท่านทั้งหลายก็จะพบว่า "สัมมาทิฐิ"นั้น หมายถึง การคิดพิจารณา และทำความเข้าใจ ซึ่ง โดยรวมๆก็ย่อมหมายถึง ระลึก และดำริ ผสมรวมกัน นั่นเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร