เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   ท่าน ก.เขาสวนหลวง ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

ปรารภธรรม โดย ท่าน ก. เขาสวนหลวง

ปรารภธรรม ๒
บันทึก วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๘

            วันนี้เป็นวันประชุมตามเคย เพื่อจะได้มีการสนทนาถึงข้อปฏิบัติที่ดำเนินไปเป็นการถ่ายถอนและดับทุกข์ อย่าให้เป็นการพอกกิเลสตัณหา เพราะจะเป็นการผิดความประสงค์เดิมการดับทุกข์ ดับกิเลส เนื่องจากไม่รู้ทันต่อสิ่งที่ยั่วยวน ทำให้เสียหลักปกติของตัวไป พอมีผัสสะมากระทบก็ขาดสติ ทำไปด้วยความไม่รู้เท่าถึงการณ์ การปฏิบัติต้องระวังให้รัดกุม อย่าปล่อยตามกิเลส เอาชนะกิเลสให้ได้ เมื่อจะกล่าวอะไร จะทำอะไร ให้พิจารณาดูให้ละเอียดลึกซึ้ง รอบคอบเสียก่อน การขาดสติเป็นการทำให้เดือดร้อนทั้งตัวเองและผู้อื่น ขอให้มีการสังวรระวังกันให้มากๆ เมื่อเสียหลักไปแล้ว ก็กลับมารู้เสียใหม่ กิเลสเปรียบเหมือนไป ต้องดับไฟในชณะลุก ต้องมีความอดทนและยั้งคิดพิจารณาเสียก่อน สิ่งที่แล้วก็แล้วกันไป ไม่ควรนำมาคิดและฟื้นกันขึ้น ควรให้อภัยกันในสิ่งที่ล่วงไปแล้ว อย่าเอามาขึ้งเคียดโกรธแค้น ถือเรา ถือเขา ถือตน การอยู่ร่วมกันต้องมีผ่อนสั้นผ่อนยาว มีมิตรจิตรมิตรใจต่อกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบเห็นแก่ตัว ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติ กลายเป็นอย่างชาวโลกทั้งหลายไป

            ผู้ปฏิบัติต้องเอาชนะกิเลสที่มาทาง ตา หู จมูก ล้น กายและใจ ต้องให้รู้เท่าทันเสมอ อย่าลุอำนาจต่อความชั่วร้ายทุกชนิด ให้พิจารณาดูว่ามันเป็นทุกข์ของใคร เกิดขึ้นกับใครแล้วมันก็เผาผู้นั้นให้ร้อนใจ เมื่อเกิดมีขึ้นแล้วคนอื่นๆ ก็อย่าเอาอย่างกัน อย่าให้เป็นโรคติดต่อกัน ข้อสำคัญต้องมีความสังวรระวังให้จงมาก กิเลสตัณหามันมีอำนาจไม่ใช่เล่น มันข่มขี่อยู่เสมอ ขณะที่มีความกระวนกระวาย อย่าเพิ่งทำอะไรลงไป ให้มีความอดทนและระวังตัวไว้ก่อน เมื่อคลายความร้อนรนแล้ว จึงค่อยพูดกันด้วยความปกติ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เรื่องภายนอกเช่นนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องสำคัญอะไร เห็นเป็นเรื่องเป็นราวกัน เอาตัวตนออกไปยึดถือ ความสงบจึงมีไม่ได้

            การลุอำนาจของความโลภ โกรธ หลง เป็นลักษณะของไฟ มันทำให้จิตใจร้อน ควรแล้วหรือ ที่จะให้สิ่งเหล่านี้เป็นนายเหนือใจ การเสียของภายนอกไม่สำคัญเท่ากับเสียจิตใจ การระวังจิตใจต้องถือว่ามีคุณค่ามากกว่าอย่างอื่นๆ ควรทำอะไรด้วยความปราศจากโมหะ ราคะ โทสะ ให้มีคุณ ๓ ประการนี้ไว้เสมอ เป็นการกวาดล้างสิ่งสกปรกออกจากใจ การปฏิบัติก็มุ่งหมายจะให้จิตใจสะอาด สว่าง สงบ ต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่ามันมีคุณประโยชน์เสียประโยชน์อย่างไร ต้องทำให้กิเลสหมดอำนาจทุกอย่าง จะได้มีชีวิตอยู่แบบพระ หารือกัน ปรับปรุงกันให้ถูกต้อง เป็นการดับทุกข์ ดับกิเลสให้แก่ตัว อย่าไปเสียเวลากับสิ่งอื่นๆ กันเลย ยอมเสียสละอะไรที่ไม่จำเป็นให้จิตใจของตัวมีความรู้อยู่กับจิต

            อะไรที่ผ่านไปแล้ว อย่าเก็บเอามาเป็นเรื่องยุ่ง อนาคตจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ต้องไปนึกถึง ต้องพิจารณาให้มีประจำอยู่ทุกขณะ ถ้าไม่มีคุณธรรม กิเลสก็จะท่วมท้น แย่แล้วแย่อีก ร้อนแล้ว ร้อนอีก เราจะเดินไปทางเดียว เปรียบเหมือนเป็นญาติพี่น้องกัน อย่าทะเลาะกัน ให้มีความสามัคคีในระหว่างเดินทาง อย่าให้เสียเวลาไปเป็นการเสียประโยชน์ตนและผู้อื่น แทนที่จะเป็นการก้าวหน้าในการปฏิบัติ

            การมีกิเลส มีกันทุกคน ไม่มีใครเลยที่ไม่มี ถ้าไม่มีกิเลส เราก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งเสียเวลาปฏิบัติ จงมีจิตใจวางเฉย รอบรู้อะไรอยู่ในตัวของมัน อย่าเสียเวลากับเรื่องข้างนอก จงพิจารณาว่าอะไรเป็นตัวตน มันมีจริงหรือ เมื่อเราพากันเข้าไปยึดถือ ก็ทำให้เกิดความทุกข์ ไม่ยึดก็ไม่มีทุกข์ ให้มีความรู้ชัดใจ รู้จริง เห็นแจ้งขึ้นให้ได้ ทำลายต้นขั้วได้ ตอนปลายมันก็ดับเอง โดยไม่ต้องทำอะไร ต้องพยายามพินิจ พิจารณาทุกแง่ ทุกมุม ในรูปนาม ว่ามันมีลักษณะเกิดดับ เป็นของไม่คงทน ไม่เป็นของตน ถ้าพบแจ้งประจักษ์กับใจแล้วก็จะสว่าง

            อย่าให้เสียเวลากับสิ่งหลอกๆ เหล่านั้น หลงเชื่อมันเข้าก็เหมือนเล่นกับไฟ มันจะไหม้พอง ให้ทุกคนอบรมจิตให้รู้ภาวะของความเป็นจริง คิดแต่เรื่องของจิตใจให้รู้แง่นี้มากๆ อย่าไปเที่ยวดูคนอื่น สิ่งอื่น สันดานของคนเรามีอาสวะกิเลสดองอยู่มาก ต้องพยายามจริงๆ ทำจริงๆ มิฉะนั้นก็จะไม่ได้ผล ให้เป็นอยู่กันแบบพระ อย่าอยู่กันอย่างแบบชาวโลกการท่องเที่ยวในสังสารวัฏมันมีการแก่งแย่งเอารัดเอาเปรียบกัน ชีวิตของเราเป็นชีวิตที่เบาสบายแล้ว เพราะจิตใจว่างเปล่าไม่มีอะไรยึดถือ ไม่มีอะไรจะน่าอยากเอาอยากเป็น ถ้าเกิดหนักอกหนักใจเพราะความยึดถือ มันก็เป็นการอ่านได้ออก วัดกันได้ โดยไม่ต้องมีใครมาตัดสิน พยายามฝึกหัดจิตใจเอาชนะมายาให้ได้ผลดีขึ้นทุกวัน ก็จะก้าวหน้า มิฉะนั้นก็เป็นการถอยหลังจมอยู่ในปลัก ซึ่งเป็นชีวิตอันสกปรก

            เราเป็นผู้ปฏิบัติต้องสอบรายได้รายเสียย เหมือนคนที่ค้าขายทางโลก ว่าชีวิตประจำวันได้กำไรหรือขาดทุน ตรวจกายวาจาใจว่าสุจริตหรือเปล่าให้ละเอียดลออตรวจสอบอยู่ทุกขณะจึงจะได้ความแจ่มแจ้งภายใน กลับความรู้เข้าภายในเสมอ จนสามารถปลดเปลื้องได้เรื่อยไป ตามกำลังของสติปัญญา อย่าได้มีการถอยหลัง ขอให้รักษาหลักของจิตใจให้เป็นอยู่เอง โดยไม่ให้มันเสียหลักไป เรื่องที่จะพูดกัน ให้พูดกันแต่เรื่องดับทุกข์ดับกิเลส อย่าพูดกันในแง่ที่จะก่อไฟให้ลุกขึ้น อย่าสนทนาเรื่องอื่น มันเป็นสิ่งไร้สาระ หนักเข้าก็จะเกิดกิเลส ขอให้ผู้ปฏิบัติทุกคนจงสังวรระวังในเรื่องนี้จงทุกผู้ทุกคนเถิด.

- จบ -

 

 

ปรารภธรรม ชุดที่ ๑
ปรารภธรรม ๑ l l l

- ปรารภธรรม ชุดที่ ๒ -

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน