เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   ท่าน ก.เขาสวนหลวง ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

ปรารภธรรม โดย ท่าน ก. เขาสวนหลวง

ปรารภธรรม ๔
บันทึก วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘

             วันนี้จะแสดงธรรมเพื่อเป็นการแนะแนวทาง มุ่งหมายให้รู้เหตุผลตามความเป็นจริงเป็นข้อสำคัญ เพราะถ้าไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง ก็จะไม่เป็นการดับทุกข์พ้นทุกข์ เราหารือกันเพื่อให้รู้เหตุผล ให้เข้าใจกันอยู่เสมอ การปฏิบัติภายในเป็นของละเอียด ลึกซึ้งต้องพินิจพิจารณา จึงจะเป็นการทำลายอวิชชาและโมหะ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรอบรู้ ให้รู้เฉพาะหน้า รู้เหตุผล เพื่อเป็นการดับทุกข์ ดับกิเลส จึงจะต้องสอบสวนกันให้ชัดใจ การรู้ผิวเผิน ไม่สามารถดับทุกข์ ดับกิเลสได้ จึงจำเป็นต้องใช้ปัญญาสอดส่อง ไม่ใช่เพียงจิตว่าง วางเฉยก็เป็นการดีแล้ว ต้องสอดส่องเข้าไปลึกๆ

             ถ้าไม่มีการกระทบกระทั่ง กิเลสอย่างละเอียดมันก็ไม่แสดงออก มันอยู่ลึกและลี้ลับ อย่าเพียงแต่ทำจิตว่างๆ เท่านั้น เพราะการว่างเช่นนี้ เป็นของชั่วคราว ไม่ใช่ของถาวร ยังไม่เป็นเครื่องกวาดล้าง เพราะพอมีผัสสะกระทบเข้า ก็ว่างไม่ได้ จึงต้องสอดส่องให้ลึกซึ้ง ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นเป็นส่วนหยาบๆ แต่ก็ต้องสำรวมระวัง เพราะยังไม่ง่ายนัก ส่วนที่จะต้องสอดส่องเข้าไปในด้านลึกเข้าไปอีก จึงเป็นของยากยิ่งขึ้นไปอีก การกำหนดพิจารณารูปนามก็เป็นเพียงขั้นต้น เมื่ออ่านสภาวะของมันชัดใจเข้า ก็จะเข้าถึงความไม่ยึดถือว่าตัวเรา หรือ ใคร ถ้ามันทะลุถึงด้านในที่ไม่มีอุปาทานแล้ว เมื่อมีอะไรขึ้นมา ก็จะได้ตรวจดูว่าสภาวะที่มีอุปาทานนั้นเป็นอย่างไร เพราะถ้าอ่านด้านในไม่ออก ด้านนอกก็อ่านไม่ออก จึงให้มีการพิจารณาสอบสวนเข้าไปๆ ความจำ ความคิด ความรู้เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งเกิดดับในตัวของมันเองทั้งรูปและนาม เมื่อชัดใจก็จะรอบรู้ในตัว เมื่อมีอุปาทานในรูปนาม มันก็จะรู้ว่าเป็นอุปาทานชันธ์ เราจะต้องตรวจให้รู้ว่า สภาวะธรรมล้วนๆ มีลักษณะการเป็นอย่างไร การที่ต้องพิจารณาสภาวะธรรม ที่เป็นเองให้ปรากฏ เพื่อให้รู้จะได้ทำลายได้ ถ้าไม่รู้ก็ทำลายไม่ได้

             การปฏิบัติจึงต้องใช้ปัญญาให้มากๆ ตั้งแต่ขั้นต้น รอบรู้ และรู้ว่าทุกสิ่งมันมาแต่เหตุ แล้วค้นดูว่า เหตุนั้นคืออย่างไร รู้แล้วก็ดับที่เหตุ เหตุดับ ผลก็ดับ ผลที่ต้องทนทุกข์ก็ไม่มี ต้องพิจารณาให้แยบคาย เพียงแต่วางเฉย จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร เป็นเพียงสมาธิชั่วคราว เหมือนการนอนหลับชั่วคราว การเจริญวิปัสสนาเป็นการควบคุมจิตใจพร้อมพิจารณา คือมีทั้งสมาธิและปัญญา เป็นการปลอดภัยดีกว่า อย่าไปหลงนิมิตซึ่งไม่ใช่ทางตรง ธรรมะเป็นของจริง มีปรากฏอยู่อนันตกาล พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม สิ่งเหล่านั้นก็มีอยู่แล้ว หลักอนิจจัง และทุกขังนั้น ศาสนาอื่นก็มี ส่วนหลักอนัตตานั้นมีแต่พุทธศาสนาศาสนาเดียว สภาวะธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสังขารหรือวิสังขารก็ตาม พระองค์ปฏิเสธทั้งหมด ว่าเป็นของไม่มีตัวตน ยึดเอา บังคับเอาไม่ได้

             การปฏิบัติของเราไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ต้องพิจารณาว่าสภาวะของรูปนามมันมีสภาพเป็นอย่างไร เราจะต้องดำเนินหลักของการพิจารณาให้สม่ำเสมอ ในขั้นหยาบคือทุกอิริยาบถ และในขั้นละเอียดคือทุกลมหายใจเข้าออก ให้ลงมือปฏิบัติกันจริงจัง อย่าเสียเวลาไปในการงาน แม้ว่าจะกล่าวอะไร คิดอะไร ทำการงานอะไร ก็อย่าให้ขาดหลักพิจารณาภายในให้ชัดใจ ต้องสอบค้นตัวเอง พิจารณาสอบดูจนรู้ชัดใจ ถ้าไม่ชัดใจต้องพิจารณาให้ชัดใจ ข้อปฏิบัตจะไม่อ้อมค้อม เป็นทางตรงและจะไม่ลำบาก กายทำอะไร จิตใจ วาจา ทุกอย่างจะทำอะไรก็ให้รู้เหตุรู้ผล แล้วจะรู้สึกว่ามันเป็นการน่าปฏิบัติ

             บุคคลใดดำเนินการพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว เขาจะดับทุกข์ดับกิเลสได้ทันที ไฟกิเลสไม่มีโอกาสเข้ามาเผา เท่ากับมีอาวุธและทหารพร้อมที่จะรักษา สมมติจิตเป็นพระเจ้าแผ่นดิน นอกนั้นคือสติสัมปชัญญะ ความรอบรู้เป็นทหารรักษา กิเลสเปรียบเหมือนศัตรู เมื่อเตรียมพร้อมแล้ว ศัตรูก็ไม่กล้ามารบกวน สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ ให้มีการปฏิบัติแบบนี้กันมากๆ ก็จะเป็นการไม่น่าเอาอะไร เพราะการเอาอะไร มันทำให้จิตใจเร่าร้อน ต่อไปหนักเข้าก็จะไม่เอาอะไรเรื่อย และเบาอก เบาใจ ที่ไม่มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง สันดานยังมีโมหะ จึงต้องเที่ยววิ่งเอาอะไร

             การนั่งสงบก็เพื่อจะได้คิดได้ลึกซึ้งกว่าอิริยาบถอื่นๆ จิตใจยิ่งสอดส่องเข้าไปลึกเท่าไร ก็ยิ่งกวาดล้างได้มาก ความรู้จะทะลุปรุโปร่ง ว่าทุกสิ่งไม่มีอะไรจริงๆ เมื่อพูดถึงไม่มีแล้ว ควรจะรู้จักสิ่งที่มีความเป็นเอง สภาวะภายในต้องมีความรู้จริงเห็นแจ้ง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า สิ่งที่ไม่มีอวิชชา ตัณหา กรรมปรุงแต่ง ธาตุนี้มีอยู่ ด้านนี้ไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ด้านนี้ใครรอบรู้ไปถึงแล้วมีประโยชน์มาก เมื่อรู้สิ่งด้านนอกทั่วถึงด้านในก็รู้เอง อย่าไปยึดถือแต่ปากทาง จะเป็นอันตราย เมื่อไม่มีตัวตนมันก็ไม่ยึดถือ เพราะมีตัวตนจึงยึดถือ

             การทราบชัดถึงวิสังขาร ก็ต้องพิจารณาสังขารให้รู้ทั่วถึงเสียก่อน นักปราชญ์ส่วนมากที่เขารู้ ก็รู้ทุกขัง อนิจจัง แต่ไม่รู้อนัตตา เพราะฉะนั้นข้อปฏิบัติ จึงต้องมีการสอบสวน เช่นการพิจารณาว่า มีลักษณะอย่างไร ให้สอบค้นให้ได้ความรู้ชัดของตนเอง ถ้ายังไม่รู้แล้ว จึงมาหารือกันใหม่ เหมือนการเดินทาง ถ้าไม่ถูกก็ไม่ปลอดภัย ในระหว่างเดินทาง จึงต้องรอบรู้จากหยาบไปหาละเอียด อย่าคิดว่ารู้แล้ว ดีแล้ว จะตกหลุมพราง เป็นการหลงทางกลางป่า ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ไม่รู้อะไรต้องไต่ถามท่านผู้รู้

             การปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติต้องสอบสวนให้แน่ชัด ให้จิตใจรอบรู้ ให้ได้เรื่องได้ราว ชัดหน้าชัดตาขึ้นมาให้ได้ มันไม่ใช่ของยาก เพราะมีให้เรียนรู้ได้ในรูปและนามของเรานี่เอง ด้วยการมีพินิจพิจารณา ดีกว่าไปเที่ยวรู้เรื่องอื่นๆ ซึ่งเป็นการรู้เปล่าประโยชน์ จงย้อนเข้ามาพิจารณา จนรู้ลักษณะของปัญจขันธ์ที่ไม่มีอุปาทาน ตรวจดูให้ละเอียด ถ้าได้ความแจ่มแจ้งชัดเจน นั่นแหละเรียกว่าความสว่างไสว ยิ่งตรวจได้ละเอียดลึกซึ้ง ยิ่งรู้แจ้งเห็นจริง มันก็ยิ่งดับทุกข์ได้ไม่มีทุกข์ได้

             ในอริยสัจ การรู้แจ้งเห็นจริงเป็นเหตุ การดับทุกข์เป็นผล หรือ มรรคเป็นเหตุ นิโรธเป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ ทุกข์เป็นผล รูปนามปรากฏเป็นทุกขสัจจ์ เมื่อได้รับทุกข์คือผล ก็ต้องสาวหาสาเหตุ เพื่อจะได้ทำลายเสีย การปฏิบัติต้องการให้รู้จักเหตุ ไม่ว่าในขั้นไหน จะดำเนินตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ต้องรู้จักเหตุ ถ้าไม่รู้จักก็ดำเนินไม่ตรงตามแนวทาง การรอบรู้เหตุผลต้องรู้กันจริงๆ ด้านวัตถุเป็นของหยาบ ด้านนามธรรมเป็นของละเอียด ต้องสาวหาสาเหตุว่ามันมีอาการเช่นนี้ มันมาจากไหน ถ้าเราไม่สาวหาเงื่อนต้น สันตติคือการสืบต่อจะไปหมดเมื่อไรกัน พบแล้วนั่นแหละ การสืบต่อจึงจะหยุดลงได้ รู้ถูกจึงจะดับกิเลสตัณหาอุปาทานได้

             ขอให้ผู้ปฏิบัติจงมีการสอดส่องรู้เหตุผลอย่างแจ่มแจ้ง ความสว่างไสวภายในก็จะสว่างขึ้นเอง.

- จบ -

 

 

ปรารภธรรม ชุดที่ ๑
ปรารภธรรม ๑ l l l

- ปรารภธรรม ชุดที่ ๒ -

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน