สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ทีกูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ใกล้เมืองเวสาลี
ครั้งนั้นแล
สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคทรงสามารถบัญญัติผลแห่งทาน ที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบันหรือหนอ
?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
สามารถ
! ท่านสีหเสนาบดี
แล้วจึงตรัสต่อไปว่า
ท่านสีหเสนาบดี
! ทายกผู้เป็นทานบดี (เจ้าของทาน) ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก
แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
อีกประการหนึ่ง
สัตบุรุษผู้สงบ (คนดี) ย่อมคบหาทายกผู้เป็นทานบดี
แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
อีกประการหนึ่ง
ทายกผู้เป็นทานบดีจะเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ คือที่ประชุมกษัตริย์
พราหมณ์ คฤหบดีหรือสมณะ ก็ย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป
แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
อีกประการหนึ่ง
ทายกผู้เป็นทานบดีเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
แม้ข้อนี้ ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงได้ในสัมปรายภพ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว
สีหเสนาบดีจึงทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๔ ข้อเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคในผลแห่งทาน
๔ ข้อนี้ก็หามิได้
แม้ข้าพระองค์เองก็ทราบดี
คือ ข้าพระองค์ ก็เป็นทายก เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก
สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาข้าพระองค์ ผู้เป็นทายกเป็นทานบดี
กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี
ย่อมขจรทั่วไปว่า
สีหเสนาบดี เป็นทายก เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่ที่ประชุมใดคือที่ประชุมกษัตริย์
พราหมณ์ คฤหบดี หรือสมณะ ก็ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินเข้าไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ผลแห่งทานที่พึงเห็นเอง ๔ ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้ว
ข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในผลแห่งทาน
๔ ข้อนี้ ก็หามิได้ แม้ข้าพระองค์เองก็ย่อมทราบดี
ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง (ข้อที่ ๕) ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกข้าพระองค์ว่า
ทายกผู้เป็นทานบดีเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบ ก็แต่ว่าข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในข้อนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสย้ำว่า
อย่างนั้นท่านสีหะเสนาบดีๆ
! คือ ทายกผู้เป็นทานบดีเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
นรชนผู้ไม่ตระหนี่ให้ทาน
ย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชนเป็นอันมากย่อมคบหา
นรชนนั้น
นรชนนั้นย่อมได้เกียรติ มียศ เจริญ เป็นผู้ไม่เก้อเขินแกล้วกล้าเข้าสู่ที่ประชุมชน
เพราะเหตุนี้แล
บัณฑิตผู้หวังสุข จงขจัดมลทิน คือ ความตระหนี่แล้วให้ทาน
บัณฑิตเหล่านี้ย่อมประดิษฐานในไตรทิพย์ ถึงความเป็นสหายของเทวดาร่าเริงอยู่ตลอดกาลนาน
บัณฑิตเหล่านั้นได้ทำสิ่งที่มุ่งหวัง ได้ทำกุศลแล้ว
จุติจากโลกนี้แล้วย่อมมีรัศมีเปล่งปลั่ง เที่ยวชมไปในอุทยานชื่อ
นันทนวัน ย่อมเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เพลิดเพลิน รื่นเริง
บันเทิงใจอยู่ในนันทนวัน
สาวกทั้งปวงของพระสุคตผู้ไม่มีกิเลส
ผู้คงที่ทำตามพระดำรัสของพระองค์แล้ว ย่อมร่าเริงทุกเมื่อ
ฯ
สีหสูตร ๒๒/๓๗