เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ ทาน ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

เงื่อนไขแห่งทาน

        สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการในภิกษุสงฆ์ มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคัลลานะเป็นประมุข

         พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการในภิกษุสงฆ์ มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นประมุข ด้วยทิพย์จักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

        “ภิกษุทั้งหลาย ! อุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้น ถวายทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการในภิกษุสงฆ์ มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นประมุข ก็ทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเป็นอย่างไร ?

        ภิกษุทั้งหลาย ! องค์ ๓ ของทายก (ผู้ให้) องค์ ๓ ของปฏิคาหก ผู้รับ)

        องค์ ๓ ของทายกเป็นไฉน ?
        ภิกษุทั้งหลาย !
        - ทายกก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ ๑
        - ทายกกำลังให้ทานอยู่ ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ๑
        - ทายกครั้นให้ทานแล้ว ย่อมปลื้มใจ ๑
        นี้คือ องค์ ๓ ของทายก (ผู้ให้ทาน)

        ส่วนองค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน ?
        ภิกษุทั้งหลาย !
        - ปฏิคาหกในศาสนานี้เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๑
        - ปฏิคาหกเป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๑
        - ปฏิคาหกเป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ๑
        นี้คือ องค์ ๓ ของปฏิคาหก (ผู้รับทาน)

        องค์ ๓ ของทายก และองค์ ๓ ของปฏิคาหก ย่อมมีด้วยประการดังนี้

        ภิกษุทั้งหลาย ! ทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล
การถือประมาณบุญแห่งทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการอย่างนี้ว่า ห้วงบุญห้วงกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผลเป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ดังนี้ ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึงการนับว่าเป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่ทีเดียว เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่า เท่านี้อาฬหกะไม่ใช่ทำได้ง่าย
โดยที่แท้ น้ำในมหาสมุทรย่อมถึงการนับว่าเป็นห้วงน้ำที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นห้วงน้ำใหญ่ทีเดียวฉะนั้น”

        ทายกก่อนแต่จะให้ทานเป็นผู้ดีใจ
        กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส
        ครั้นให้ทานแล้ว ย่อมปลื้มใจ
        นี้เป็นยัญสมบัติ

        ปฏิคาหกผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย คือ ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ ย่อมเป็นเขตถึงพร้อมแห่งยัญ

         ทายกต้อนรับปฏิคาหกด้วยตนเอง ถวายทานด้วยมือตนเอง ยัญนั้นย่อมมีผลมาก เพราะตน (ผู้ให้ทาน) และเพราะผู้อื่น (ผู้รับทาน)

         ทายกผู้มีปัญญา มีศรัทธา เป็นบัณฑิต มีใจพ้นจากความตระหนี่ ครั้นบำเพ็ญทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่เป็นสุข ไม่มีความเบียดเบียน

                                                                                ทานสูตร ๒๒/๓๔๖

        ส่วนเสริม
        หลักการทำกรรมในพระพุทธศาสนาไม่ว่าฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว ท่านเน้นที่ “เจตนา” เป็นใหญ่ ถ้ามีเจตนาแรง กรรมที่ทำลงไปนั้นก็ย่อมจะมีผลมาก ถ้ามีเจตนาอ่อน กรรมที่ทำลงไปนั้น ก็มีผลน้อย
นอกจากจะเน้นที่เจตนาแล้ว ในการทำความดีต่างๆ ยังต้องรักษาจิตให้มีศรัทธาคือความเชื่อ และปสาทะคือความเลื่อมใส ในขณะที่ก่อนทำ กำลังทำ และหลังจากทำแล้วด้วย จึงจะได้รับอานิสงส์แรง ยิ่งมีปีติซาบซ่าน มีความอิ่มใจ ปลื้มใจด้วย ก็ยิ่งจะเสริมให้บุญจริยานั้นๆ มีอานิสงส์แรงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการประกอบการกุศลต่างๆ ในแต่ละครั้ง ถ้าท่านต้องการให้มีอานิสงส์แรง ก็ควรที่จะต้องระลึกถึงเงื่อนไขดังนี้

        ๑. วัตถุสิ่งของที่ให้ต้องบริสุทธิ์ เป็นของที่ได้มาโดยชอบธรรม ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง ไม่ผิดศีลธรรมและต้องไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นด้วย ประกอบกับเป็นสิ่งของที่เลิศด้วย

         ๒. ผู้ให้ (ทายก) เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้มีศีลเป็นพื้นฐาน คือ ศีล ๕ ถ้ายังไม่มีศีลมาก่อน ก็ควรที่จะสมาทานศีลก่อน แล้วจึงค่อยให้ทานหรือประกอบการบุญกุศลต่างๆ

         ๓. ผู้รับ (ปฏิคาหก) เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้หมดกิเลส หรือกำลังทำให้หมดกิเลส หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นผู้มีศีล ถ้าไม่ได้ผู้รับอย่างนี้ ผลแห่งทานก็ย่อมจะลดลงมาตามส่วน

         ๔. ต้องประคองจิตให้เป็นกุศลอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ก่อนให้ทาน กำลังให้อยู่ หรือให้แล้วก็ตาม จะต้องพยายามรักษาจิตให้ “ศรัทธา” กับ “ปสาทะ” เดินคู่กันไปตลอดเวลา จงกำจัดความลังเลสงสัยออกไปให้หมด จึงจะได้กุศลแรง

         ๕. ต้องมีปัญญาร่วมด้วย กล่าวคือ ในการประกอบงานบุญทุกประเภท ก่อนทำควรพิจารณาก่อนว่า สิ่งที่จะทำนั้นๆ มีคุณประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ? ถูกต้องตามแนวคำสอนของพระพุทะเจ้าหรือไม่ ? ทำอย่างไรจึงจะเสียวัตถุน้อยที่สุด แต่ได้รับผลบุญมากที่สุด ?

        มิฉะนั้นอาจจะเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงปรารถนาติดตามมาอีกมาก เช่น
        ก. ส่งเสริมโจรที่ปล้นศาสนา ให้มีกำลังยิ่งขึ้น
        ข. ให้กำลังแก่คนชั่ว ได้มีกำลังก่อกวนสังคมมากขึ้น
        ค. จะเกิด “วิปฏิสารใจ” ว่าไม่ควรทำเลย


        เพื่อป้องกัน “วิปฏิสารใจ” ถ้าไม่อาจที่จะรักษา “ศรัทธา” “ปสาทะ” หรือ “ปีติ” ไว้ได้ ภายหลังจากการประกอบกุศลแล้ว ก็อย่าให้เกิดวิปฏิสารใจคือความเดือดร้อนใจว่ากระทำในสิ่งที่ไม่สมควร เราควรจะคิดปลงใจ ดังนี้
        - ทำแล้วเหมือนทิ้งไปอย่างอาลัยถึงอีก
        - คิดว่าเกิดอกุศลดลจิต ให้เราเห็นผิดทำไป
        - เอาสติหักห้ามใจไว้ ไม่ให้คิดในแง่อกุศล

        ถ้าเราสามารถดำเนินปฏิปทาตามที่ได้เสนอแนะไว้นี้ การทำทานหรือประกอบการบุญต่างๆ ของเรา ก็ย่อมจะมีแต่ผลบวกอย่างเดียว ไม่อาจประสบผลลบเลย หรือหากว่าจะประสบผลลบ เราก็ไม่ยอมลบด้วยเพราะเรามีสติเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง หรือยับยั้งใจไว้ได้แล้ว

 

     

สารบัญ
คำนำ
ทาน
ติโรกุฑฑกัณฑ์
ผลของทาน
เงื่อนไขแห่งทาน
ทานที่เห็นผลในปัจจุบัน
ทักขิณาวิภังคสูตร
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน