เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 

   ธรรมจักร   สมาธิ แนวการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
แนวการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
หน้า1 l 2 l 3 | 4 

เมื่อมองดูที่นี่บ้าง ที่นั่นบ้าง ก็กำหนดว่ามองหนอ เห็นหนอ และเมื่อเดินไปก็ให้กำหนดที่เท้าที่ก้าวไป ไม่ว่าจะก้าวเท้าข้างขวาไป หรือก้าวเท้าข้างซ้ายไปก็ตาม โยคีจะต้องมีความรู้สึกทุกๆ การเคลื่อนไหวที่เนื่องด้วยกัน ตั้งแต่ยกเท้าขึ้นไปจนถึงเหยียบเท้าลงไป กำหนดรู้เท้าแต่ละเท้าที่ก้าวไป ไม่ว่าจะเป็นเท้าข้างขวาหรือเท้าข้างซ้ายก็ตาม นี้เรียกว่าวิธีการกำหนด เมื่อผู้ปฏิบัติเดินเร็ว

ถ้าโยคีปฏิบัติได้เช่นที่กล่าวมานี้ ก็นับว่าเป็นการเพียงพอ เมื่อโยคีเดินไวๆ หรือเดินทางไกล แต่เมื่อเดินช้าๆ หรือเดินจงกรม โยคีก็ควรกำหนดการเคลื่อนไหว ๓ ระยะในแต่ละก้าวคือ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ แต่ถ้ากำหนดตอนแรกก็ให้กำหนด ยกหนอ เหยียบหนอ โยคีจะต้องกำหนดรู้อย่างเท่าทัน

ขณะที่เท้ายกขึ้น เช่นเดียวกันขณะที่เท้าเหยียบลง ก็ต้องกำหนดรู้ตามความเป็นจริง ถึงสภาวะที่เท้าหนักในขณะเหยียบลง โดยกำหนดว่า หนักหนอๆ โยคีจะต้องเดินไปโดยกำหนดว่า ยกหนอ เหยียบหนอ ในการเดินก้าวไปแต่ละก้าว การกำหนดเช่นนี้จะกำหนดง่ายขึ้นหลังจาก ๒ ระยะไปแล้ว เมื่อโยคีมุ่งกำหนดการเคลื่อนไหว ๓ ระยะตามที่อธิบายแล้วว่า ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ

ในการเริ่มต้น การกำหนดการเคลื่อนไหว ระยะที่ ๑ หรือระยะที่ ๒ เท่านั้นก็เป็นการเพียงพอ คือขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ในเวลาที่เดินไวและที่เดินช้าๆ ก็ให้กำหนดว่า ยกหนอ เหยียบหนอ ถ้าเมื่อเดินไปอย่างนั้น ผู้ปฏิบัติต้องการที่จะนั่งก็ให้กำหนดต้นจิตว่า อยากนั่งหนอๆ เมื่อจะนั่งลงถ้าเกิดตัวมีอาการหนัก ขณะย่อลงก็ให้กำหนดว่า หนักหนอๆ อย่างตั้งใจ เมื่อผู้ปฏิบัตินั่งลงก็ให้กำหนดอาการเคลื่อนไหวทุกอย่างที่เกิดขึ้น ในการจัดเท้าจัดแขน เมื่อมีการเคลื่อนไหวใดๆ คือเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ร่างกายอยู่ในภาวะปกติ ก็ให้ผู้ปฏิบัติกำหนดพองหนอ ยุบหนอต่อไป

ขณะที่กำหนดอาการอารมณ์หลักอยู่นั้น ถ้าแขนขาเกิดอาการตึงและเกิดความรู้สึกร้อนอวัยวะบางส่วนของร่างกาย ก็ให้ผู้ปฏิบัติกำหนดว่า ตึงหนอ ร้อนหนอ แล้วก็กลับมากำหนดพองหนอ ยุบหนอ ขณะที่กำหนดพองหนอยุบหนออยู่นั้น ถ้าเกิดอยากนอนลงก็ให้กำหนดว่า อยากนอนหนอๆ ตลอดถึงการเคลื่อนไหวของเท้า แขน ขณะที่ผู้ปฏิบัตินอนลงก็ควรกำหนดไปด้วย

การยกแขนขึ้นก็ดี การยืดแขนออกก็ดี การวางศอกลงที่พื้นก็ดี การก้มลงก็ดี การงอขาก็ดี การเอียงตัวไปก็ดี ซึ่งเป็นอาการที่ผู้ปฏิบัติเตรียมนอนลงอย่างช้าๆ ก็ควรกำหนดรู้ทุกอย่างโดยการกำหนดว่า ยกหนอ ยืดหนอ วางหนอ ก้มหนอ เป็นต้น การกำหนดอาการที่ผู้ปฏิบัตินอนลงนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ในอิริยาบถนอนนี้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุมรรคญาณและผลญาณได้ เมื่อสมาธิและญาณแก่กล้าก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ชั่วขณะคู้แขนหรือชั่วขณะเหยียดแขน มรรคญาณผลญาณก็สามารถเกิดขึ้นได้ เหมือนกับการบรรลุเป็นพระอรหันต์ของพระอานันทเถระ

พระอานันทเถระเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างหนัก เพื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ตลอดคืนในตอนเย็นของวันปฐมสังคายนา ท่านปฏิบัติกายคตาสติตลอดคืน โดยกำหนดย่างก้าวแต่ละก้าวว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ และกำหนดสภาวะที่เกิดขึ้นแต่ละอย่าง กำหนดต้นจิตก่อนเดิน กำหนดอาการเคลื่อนไหวของกายทุกอย่างที่เกิดขึ้น ในเวลาเดินจงกรม แม้ว่าการปฏิบัติกรรมฐานได้ดำเนินมาถึงเวลาใกล้รุ่งอรุณแล้วก็ตาม ท่านพระอานันทเถระก็ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

ได้ทราบว่าท่านพระอานันทเถระได้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยการจงกรมมาก และเพื่อที่จะทำให้สมาธิกับวิริยะเสมอกัน ท่านจึงได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในท่านอนชั่วขณะหนึ่ง โดยท่านได้เข้าไปในห้องนอน ท่านได้นั่งลงบนที่นอนและเอนตัวลงนอน ขณะที่ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนั้นก็กำหนดว่า นอนหนอๆ แล้วในที่สุดท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ในทันทีทันใด ท่านพระอานันทเถระได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ก่อนที่จะเอนตัวลงนอน ท่านได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อไปจนได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี และเป็นพระอรหันต์

ได้ทราบว่าความเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เกิดขึ้นมาติดๆ กันชั่วขณะเดียว ดังนั้นขอให้ระลึกถึงการบรรลุถึงพระอรหันต์ของท่านพระอานันทเถระเป็นตัวอย่าง ซึ่งการบรรลุเกิดขึ้นชั่วขณะเดียวกัน ไม่ได้ใช้เวลายาวนานแต่อย่างใด เพราะเหตุนี้โยคีจึงควรกำหนดด้วยความพากเพียรตลอดเวลา ไม่ควรลดหย่อนในการกำหนดโดยคิดว่า มีการพลั้งเผลอเล็กน้อยบ้างก็คงไม่ใช่เรื่องสำคัญมากนัก การเคลื่อนไหวทุกอย่างที่ปรากฏในระหว่างการนอน ตลอดถึงการจัดแจงแขน เท้า ผู้ปฏิบัติก็ควรกำหนดอย่างตั้งใจไม่หยุดหย่อน

ถ้าไม่มีอาการเคลื่อนไหวใดๆ ร่างกายอยู่ในภาวะปกติ ก็ให้ผู้ปฏิบัติกลับมากำหนดอาการพองยุบของท้องต่อไป แม้ว่ามันเป็นเวลาดึกดื่นได้เวลานอนหลับแล้วก็ตาม โยคีก็ไม่ควรขึ้นไปนอนโดยหยุดพักการปฏิบัติ แท้ที่จริงโยคีควรเจริญสติปัฏฐานอย่างตั้งอกตั้งใจจริงๆ อย่างกับว่าจะยกเลิกการหลับนอนเลยทีเดียว และควรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อไปจนกระทั่งหลับไป ถ้าการปฏิบัติกรรมฐานก้าวหน้าดี ผลการปฏิบัติก็จะสูงขึ้น ผู้ปฏิบัติก็จะไม่ง่วงเหงาหาวนอน

อีกประการหนึ่ง ถ้าความง่วงเหงาหาวนอนมีกำลังส่งสูงขึ้น ผู้ปฏิบัติก็จะหลับไปเอง แต่เมื่อผู้ปฏิบัติรู้สึกง่วงควรกำหนดว่า ง่วงหนอ ถ้าหากหนังตาหย่อนลงก็ให้กำหนดว่า หย่อนหนอๆ แต่ถ้าหากหนังตาหนักก็ให้กำหนดว่า หนักหนอๆ หรือรู้สึกเจ็บปวดตาก็ให้กำหนดว่า เจ็บหนอๆ โดยการกำหนดเช่นนั้น ความง่วงเหงาหาวนอนก็จะจางหายไป ตาก็จะกลับแจ่มใสขึ้นดังเดิม โยคีควรกำหนดด้วยว่า แจ่มใสหนอๆ หรือ แจ้งใสหนอๆ แล้วก็มุ่งกำหนดอาการพองยุบของท้องต่อไป

อย่างไรก็ดี โยคีต้องมุ่งกำหนดวิปัสสนากรรมฐานอย่างบากบั่น ถ้าหากความง่วงเหงาหาวนอนจริงๆ เกิดขึ้นในระหว่าง โยคีก็จะหลับไปเองหรือหลับไม่ยาก ความจริงหลับง่ายถ้าผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในท่านอนก็จะค่อยๆ ม่อยหลับในที่สุด ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติใหม่ไม่ควรกำหนดกรรมฐานส่วนมากในท่านอนกำหนด แต่ควรกำหนดกรรมฐานให้มากในอิริยาบถนั่งและอิริยาบถเดินจงกรม แต่ถ้ามันเป็นเวลาดึกดื่นแล้ว ได้เวลานอนก็ควรกำหนดกรรมฐานในท่านอน โดยกำหนดอาการพองยุบของท้อง แล้วในที่สุดก็จะหลับไปตามธรรมชาติ

เวลาที่ผู้ปฏิบัติหลับไปนั้นถือว่าเป็นเวลาพักผ่อนของโยคีผู้ปฏิบัติ แต่จริงๆ แล้วสำหรับโยคีผู้ปฏิบัติแบบเอาจริงเอาจัง ก็จะกำหนดเวลานอนเพียง ๔ ชั่วโมงเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเวลาเที่ยงคืนนี้ไว้ เวลา ๔ ชั่วโมงนับว่าเป็นเวลาเพียงพอแล้ว ถ้าผู้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานคิดว่า เวลา ๔ ชั่วโมง ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของสุขภาพ ก็อาจจะเพิ่มเป็น ๕ ชั่วโมงหรือ ๖ ชั่วโมง ก็นับว่าเหมาะสมและเพียงพอแก่ความต้องการของสุขภาพแล้ว เมื่อใดก็ตามเมื่อโยคีผู้ปฏิบัติตื่นขึ้นมา เมื่อนั้นก็ควรกำหนดต่อไป

โยคีผู้มุ่งหวังบรรลุมรรคญาณผลญาณจริงๆ ก็ควรพักจากการกำหนดกรรมฐานเฉพาะในเวลาที่หลับไปเท่านั้น เวลาอื่นชั่วขณะที่ตื่นขึ้นมาก็ควรจะกำหนดอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อนผ่อนพัก เพราะเหตุนั้น ขณะที่โยคีตื่นขึ้นมาในทันทีก็ควรกำหนดสภาวะจิตที่ตื่นขึ้นมาว่า ตื่นหนอๆ แต่ถ้าหากว่าผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดรู้สภาวะจิตที่พึ่งตื่นได้ทันทีพอดี ก็ควรเริ่มกำหนดอาการพองยุบของท้องต่อไป

ถ้าผู้ปฏิบัติตั้งใจลุกขึ้นจากเตียงนอน ก็ควรกำหนดว่า ตั้งใจลุกหนอๆ แล้วก็มุ่งกำหนดการเปลี่ยนแปลงอาการเคลื่อนไหวต่างๆ ในร่างกาย อย่างเวลาที่ผู้ปฏิบัติกำหนดในการจัดแขนจัดขา เมื่อผู้ปฏิบัติยกศีรษะขึ้นก็ให้กำหนดว่า ยกหนอๆ เมื่อลุกขึ้นก็ให้กำหนดว่า ลุกหนอๆ เมื่อลุกนั่งก็ให้กำหนดว่า นั่งหนอๆ ถ้าผู้ปฏิบัติจัดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตาม ก็ให้กำหนดทุกอย่างเหมือนกับเวลาที่กำหนดในการจัดแขนขา ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นใดๆ มีแต่อาการนั่งอย่างสงบ ผู้ปฏิบัติก็ควรกลับมากำหนดอาการพองยุบของท้องต่อไป

ผู้ปฏิบัติควรกำหนดเช่นเดียวกันในเวลาล้างหน้าและเวลาอาบน้ำ แม้ว่าอาการเคลื่อนไหวทั้งหลายที่เกิดขึ้นในเวลาล้างหน้าและอาบน้ำจะเป็นการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างเร่งรีบก็ตาม แต่โยคีผู้ปฏิบัติก็ควรกำหนดอาการเคลื่อนไหวทุกอย่างที่สามารถกำหนดได้ เวลาแต่งตัวก็ดี เวลาจัดเตียงนอนให้เรียบร้อยก็ดี เวลาเปิดประตูปิดประตูก็ดี ผู้ปฏิบัติควรกำหนดทุกอย่างอย่างตั้งใจเท่าที่เป็นไปได้

     
หน้า 1 l 2 l 3 | 4 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน