เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 

   ธรรมจักร   สมาธิ แนวการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
แนวการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
หน้า 1 l 2 l 3 | 4 

โดย พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ
(พระอาจารย์มหาสี สยาดอ)

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น ผู้ปฏิบัติหรือที่เรียกว่าโยคีนั้น ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ถึงสภาวะของรูปนามที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้ปฏิบัติเอง สภาวะของรูปนั้นเป็นรูปร่าง ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ชัดเจนรอบๆ ตัวเรา ร่างกายของคนเราทั้งหมดที่มองเห็นได้ชัดเจนนั้น เรียกว่า รูป

สภาวะของนามมีหน้าที่ในการรับรู้อารมณ์ นามรูปนี้สามารถเห็นได้เด่นชัด เมื่อใดก็ตามที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส ใจนึกคิดเรื่องราวต่างๆ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้อารมณ์ทั้งหลายด้วยตนเอง โดยกำหนดว่า เห็นหนอ ได้ยินหนอ กลิ่นหนอ รสหนอ ถูกหนอ คิดหนอ เป็นต้น

ทุกขณะที่โยคีผู้ปฏิบัติเห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้องสัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ก็ควรกำหนดรู้อารมณ์เหล่านี้ตามความเป็นจริง แต่ว่าในกรณีของผู้เริ่มปฏิบัติใหม่ก็ไม่สามารถกำหนดได้ทุกๆ สภาวะที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงควรเริ่มกำหนดสภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะที่สามารถรู้ได้ง่ายและชัดเจนเท่านั้น

เมื่อมีการหายใจเข้าอยู่ ท้องจะพองขึ้นและยุบลง โดยปกติการเคลื่อนไหวจะปรากฏชัดเจน อาการที่ท้องพองยุบนี้เรียกว่า วาโยธาตุ ผู้ปฏิบัติควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดอาการที่ท้องพองยุบนี้โดยตั้งใจกำหนด ผู้ปฏิบัติจะพบว่า เมื่อหายใจเข้าท้องจะพองขึ้น เมื่อหายใจออกท้องจะยุบลง เมื่อท้องพองขึ้นก็ให้กำหนดด้วยใจว่า พองหนอ เมื่อท้องยุบลงก็ให้กำหนดด้วยใจว่า ยุบหนอ

ถ้าหากว่าในขณะที่กำหนดอาการพองยุบอยู่ด้วยใจนั้น อาการพองยุบไม่ชัดเจน ก็ให้เอาฝ่ามือแตะที่ท้อง โดยไม่ต้องบังคับลมหายใจ ไม่ว่ามันจะช้าลงก็ไม่ต้องทำให้มันไวขึ้น อีกทั้งไม่ต้องหายใจแรงขึ้น ถ้าผู้ปฏิบัติบังคับลมหายใจ ก็จะทำให้รู้สึกเหนื่อย ให้หายใจอย่างธรรมดาตามปกติ แล้วกำหนดอาการพองอาการยุบของท้อง ให้กำหนดอาการพองอาการยุบด้วยใจ ไม่ใช่ท่องด้วยปาก

ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติจะเรียกชื่อว่าอย่างไรไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่จริงแล้วสาระสำคัญอยู่ที่ การกำหนดรู้ ขณะที่กำหนดอาการพองของท้องให้กำหนดตั้งแต่ท้องเริ่มพองไปจนถึงสุดพอง เหมือนกับว่าผู้ปฏิบัติเห็นอาการพองด้วยตาตนเอง การกำหนดอาการยุบของท้องก็ให้กำหนดเช่นเดียวกัน คือให้กำหนดตั้งแต่ท้องเริ่มยุบไปจนถึงสุดยุบ ประหนึ่งว่าผู้ปฏิบัติเห็นอาการยุบของท้องด้วยตาตนเอง

ฉะนั้น การกำหนดอาการพองของท้องนั้น อาการที่ท้องพองขึ้น กับใจที่รู้ว่าท้องพองขึ้น ให้ดำเนินไปพร้อมกัน กล่าวคือให้ทันกันพอดี คล้ายกับว่าปาก้อนหินไปกระทบที่เป้าฉะนั้น การกำหนดอาการยุบของท้องก็มีนัยเช่นเดียวกัน ขณะที่ผู้ปฏิบัติกำหนดอาการพองยุบของท้องอยู่นั้น จิตใจก็จะฟุ้งซ่านไป ผู้ปฏิบัติก็ต้องกำหนดสภาวะที่จิตฟุ้งซ่านไปนี้ โดยกำหนดด้วยใจว่า ฟุ้งซ่านหนอ หรือ ฟุ้งหนอๆๆ เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรู้จิตที่ฟุ้งซ่านนี้ไปสักครั้ง สองครั้ง จิตใจก็จะหยุดฟุ้งซ่าน เมื่อจิตใจหยุดฟุ้งซ่านแล้ว ผู้ปฏิบัติก็กลับมากำหนดอาการพองยุบของท้องใหม่

เมื่อจิตนึกคิดไปที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ก็ให้กำหนดว่า ถึงหนอๆ แล้วก็ให้กลับมากำหนดรู้อาการพองยุบของท้องอีก ถ้าผู้ปฏิบัตินึกคิดไปพบคนบางคน ก็ให้กำหนดว่า พบหนอๆๆ แล้วก็กลับคืนมากำหนดอาการพองยุบ ถ้าหากผู้ปฏิบัติหวนรำลึกถึงไปพบพูดคุยกับคนบางคน ก็ให้กำหนดว่า พูดหนอๆๆ เมื่อกล่าวโดยย่อ ผู้ปฏิบัติก็ควรกำหนดทุกสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นความคิดหรือการพิจารณาอะไรก็ตามที่เกิดขึ้น

กล่าวคือ ถ้าผู้ปฏิบัตินึกคิดก็ให้กำหนดว่า นึกคิดหนอๆๆ ถ้าผู้ปฏิบัติคิดก็ให้กำหนดว่า คิดหนอๆๆ ถ้าผู้ปฏิบัติคิดวางแผนก็ให้กำหนดว่า วางแผนหนอๆๆ ถ้าผู้ปฏิบัติสังเกตเห็นก็ให้กำหนดว่า สังเกตหนอๆๆ ถ้าผู้ปฏิบัติพิจารณาก็ให้กำหนดว่า พิจารณาหนอๆ ถ้าผู้ปฏิบัติมีความรู้สึกเป็นสุขก็ให้กำหนดว่า สุขหนอๆๆ ถ้าผู้ปฏิบัติรู้สึกเบื่อก็ให้กำหนดว่า เบื่อหนอๆๆ ถ้าผู้ปฏิบัติดีใจก็ให้กำหนดว่า ดีใจหนอๆๆ ถ้าผู้ปฏิบัติมีความรู้สึกท้อแท้ใจก็ให้กำหนดว่า ท้อหนอๆๆ

การกำหนดสภาวะที่จิตรับรู้อารมณ์ทุกอย่าง เรียกว่า จิตตานุปัสสนา เพราะว่าคนเราขาดการกำหนดสภาวะจิตที่นึกคิดและรู้อารมณ์เหล่านี้ตามความเป็นจริง ดังนั้นคนเราดูเหมือนว่า ตัวเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งที่เรานึกคิดและคิดว่ามีอัตตาตัวตนอยู่ เช่นฉันเป็นผู้นึกคิด เป็นผู้คิด เป็นผู้วางแผน เป็นผู้รู้ เป็นต้น โดยคิดว่ามีตัวตน ที่จริงแล้วตั้งแต่เด็กเล็กเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และก็กำลังคิดอยู่ในขณะนี้ ความจริงแล้วความมีตัวมีตนเช่นนั้นไม่มีอยู่เลย มีแต่เพียงอาการที่จิตรับรู้อารมณ์ต่อเนื่องไม่ขาดสายเข้ามาแทนที่เท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ คนเราจึงต้องกำหนดอาการที่จิตนึกคิดอารมณ์เหล่านี้ตามที่มันเป็นจริง โดยกำหนดอารมณ์แต่ละอย่างและทุกๆ สภาวะที่จิตนึกคิดตามที่มันเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดสภาวะต่างๆ อยู่เช่นนั้น สภาวะที่ถูกกำหนดก็จะค่อยๆ หายไป แล้วก็ให้กลับมากำหนดอาการพองยุบของท้องต่อไป

เมื่อผู้ปฏิบัตินั้นกำหนดวิปัสสนากรรมฐานเป็นเวลานานๆ ความรู้สึกว่าร่างกายแน่น ตึง ร้อน ก็จะเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติก็ต้องกำหนดว่า ตึงหนอ ร้อนหนอ อย่างตั้งใจเหมือนกัน และเมื่อมีความรู้สึกเจ็บปวด เบื่อหน่าย ก็ให้กำหนดว่า เจ็บหนอ เบื่อหนอ ความรู้สึกเหล่านี้ทั้งหมดเรียกว่า ทุกขเวทนา การกำหนดทุกขเวทนาเรียกว่า เวทนานุปัสสนา

     
หน้า 1 l 2 l 3 | 4 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน