วันเวลาปัจจุบัน 08 ต.ค. 2024, 03:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

6 เตรียมวางตั้งใจไม่ลืม

คู่มือเตรียมตัวเข้าปฏิบัติธรรม

คำนำ

“อยากได้คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมขนาดย่อมๆ สักเล่มครับ เอาแบบอ่านสบายๆ ไม่เครียด” เสียงคุณพงษ์พันธ์ เสาวพุทธสุเวช อุปนายกของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ปรารภมาทางโทรศัพท์และกลายเป็นที่มาของคู่มือขนาดพกพาเล่มนี้

“6 เตรียม...6 วาง...6 ตั้งใจ...6 ไม่ลืม” เล่มนี้ ดิฉันรวบรวมจากที่จดจำคำครูบาอาจารย์มาผสมผสานกับประสบการณ์ของตนเอง ด้วยหวังว่าจะช่วยสะกิดเตือนเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรมแบบ “กันลืม” เท่านั้นเอง หาได้บังอาจตั้งตนเป็นผู้แนะนำแต่อย่างใดไม่ เพราะรู้ตัวว่ายังด้อยนัก

ขออนุโมทนากับผู้ตั้งใจปฏิบัติธรรมทุกท่าน ขอกุศลนี้จงเป็นพลวปัจจัยส่งผลให้ทุกท่านก้าวหน้าในการปฏิบัติจนได้บรรลุถึงมรรค ผล นิพพาน โดยเร็วเทอญ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

6 เตรียม...ก่อนจะเข้าปฏิบัติธรรม

6 เตรียมต่อไปนี้ช่วยท่านได้

1) เตรียมเคลียร์ภาระและการงาน

ผู้ที่เป็น “มนุษย์หาเงินเดือน” ก็ควรรีบลางานแต่เนิ่นๆ พอใบลาอนุมัติ ก็รีบป่าวประกาศให้เพื่อนร่วมงานและญาติมิตรรู้กันทั่วว่าเราจะหายตัวไปปฏิบัติธรรม (มารหน้าไหนก็อย่าขวาง) หากใครต้องการอะไรจากเรา เขาจะได้สอบถามแต่เนิ่นๆ ไม่ฉุกละหุก... จากนั้นเคลียร์งานเก่าที่คั่งค้างให้เสร็จ งานใดที่ไม่เสร็จง่ายๆ ก็มอบหมายให้ใครที่ใจดีรับช่วงต่อไปสักระยะ... สำหรับผู้ที่มีภาระต้องรับส่งลูกหลานไปโรงเรียน หรือต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนตู้เย็น ผ่อนทีวี ฯลฯ ก็ควรรีบสะสางหรือมอบหมายภาระอันใหญ่หลวงนี้ให้ใครรับหน้าที่แทนไปก่อน... จะได้หมดห่วง

2) เตรียมจัดการเก็บกระเป๋า

สิ่งแรกคือ... เสื้อผ้า บางแห่งกำหนดให้ใส่ชุดขาว บางแห่งก็อนุโลมให้สวมกางเกง ผ้าถุง หรือกระโปรงยาว (ที่กว้างพอจะนั่งกรรมฐานได้โดยไม่อึดอัดรัดรึง) ที่สีสุภาพ เช่น ดำ เท่า น้ำตาล กรมท่าได้ แต่เสื้อควรเป็นเสื้อมีแขนสีขาวที่ไม่มีลวดลายหรือตัวหนังสือใดๆ ไปรบกวนสมาธิของผู้ร่วมปฏิบัติธรรม ควรเตรียมเสื้อผ้าให้เพียงพอกับจำนวนวัน (ยกเว้นในกรณีที่มีบริการซักรีดให้) เพื่อจะได้ไม่ต้องพะวักพะวนกับการซักล้างที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเจริญสติให้ต่อเนื่อง ควรเลือกเนื้อผ้าที่ใส่สบายในขณะปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะผู้ที่ไวต่อความร้อนหรือความเย็นของอากาศก็ควรพิจารณาให้รอบคอบ สำหรับคุณผู้หญิงควรเตรียมผ้าสไบไปด้วย แต่ไม่ต้องแบกกระเป๋าเครื่องสำอางให้เปลืองแรง เพราะเรามักจะสมาทานศีล 8 กัน

นอกจากเสื้อผ้า อย่าลืมยาประจำตัว (ถ้ามี)... และหากที่พักห่างจากหอปฏิบัติธรรม ควรนำร่มและไฟฉายติดตัวไป... พกยาทากันยุงและแป้งโรยกันมดไปด้วยยิ่งดี ส่วนของมีค่าอย่านำติดตัวไปให้เป็นกังวล

3) เตรียมกายของเราให้แข็งแรง

พักผ่อนให้เพียงพอแต่เนิ่นๆ รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์พร้อม เพราะการปฏิบัติธรรมต้องอาศัยพละกำลังทั้งกายและใจ ผู้ประมาททำงานจนดึกดื่นค่อนคืน เมื่อมาเข้ากรรมฐานก็หมดเรี่ยวแรง ง่วงเหงาหาวนอน หรือป่วยไข้ เสียโอกาสดีๆ ที่หายากไปโดยเปล่าประโยชน์

4) เตรียมใจให้แกร่งและสงบ

กายพร้อมแล้ว ใจก็ต้องพร้อมด้วย ควรงดดูหนัง ดูละคร ฟังเพลง เที่ยวเตร่ หรือติดตามข่าวสารที่พาให้วุ่นวายใจ อย่างน้อยๆ 1 สัปดาห์ล่วงหน้า เพื่อให้ใจกระเพื่อมน้อยลง ผู้ที่ห่างเหินห้องพระ ก็ควรปัดฝุ่นสวดมนต์ให้ใจสงบ... ที่สำคัญ... เตรียมกำลังใจให้แข็งแกร่งหนักแน่นเข้าไป เพราะมักจะมีเหตุให้ละล้าละลังจนอาจยกเลิกการไปปฏิบัติธรรมได้ พึงท่องให้ขึ้นใจว่า “โอกาสที่จะเกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ก็จัดว่ายากมากแล้ว แต่โอกาสที่ผู้ใดจะได้ปฏิบัติธรรมยิ่งยากที่สุด เมื่อได้มาอย่าขว้างทิ้งไปง่ายๆ เพราะอาจไม่มีโอกาสเช่นนี้อีก...”

5) เตรียมซ้อมเพื่อทบทวนวิชา

ผู้ที่ห่างเหินการเดินจงกรม นั่งกรรมฐาน และกำหนดอิริยาบถย่อยที่บ้าน ก็ควรจะปัดฝุ่นขัดสนิมตัวเอง ซ้อมล่วงหน้านานๆ จะได้ไม่เสียเวลาวันแรกๆ ของการปฏิบัติไปอย่างฝืดๆ ซ้อมตื่นแต่เช้ามืดด้วยยิ่งดี (เพราะคงไม่ใช่ทุกคนที่เคยชินกับการตื่นก่อนตี 4 จะได้ไม่ต้องนั่งสัปหงกให้ครูบาอาจารย์เห็น)

6) เตรียมก้าวเข้ามาอย่างปล่อยวาง

เมื่อเตรียมพร้อมแล้ว ก็ปล่อยวางทุกอย่างไว้ที่บ้านกับที่ทำงาน ก้าวเข้ามาพร้อมหน้าเปื้อนรอยยิ้มและใจที่พองฟู เบาสบาย ผ่องใส สงบเย็น

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

6 วาง

เมื่อก้าวมาถึงแล้ว ก็ต้องเริ่มด้วยการวาง... ไม่ใช่วางแค่กระเป๋าสัมภาระที่แบกอยู่ แต่ยังมีอีก 6 วางที่พึงทำ

1) วางหัวโขน

ไม่ว่าจะมียศถาบรรดาศักดิ์อย่างไร ตำแหน่งหน้าที่การงานหรือฐานะทางสังคมโดดเด่นเพียงใด เมื่อมาเข้ากรรมฐานก็ต้องละวางลงให้หมด เจ้านาย ลูกน้อง เศรษฐี ยาจก ทุกคนจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเท่าเทียมกัน เมื่อวางลงได้ก็จะรู้สึกเบาสบาย ปฏิบัติก้าวหน้าได้ไว เพราะได้ละความยึดติดในตัวตน เรา เขา ไปแล้วส่วนหนึ่ง

2) วางกังวลภาระ

ตอนนี้เรามีเพียงตัวคนเดียว ไม่มีพ่อ-แม่-พี่-น้อง-ลูก-สามี/ภรรยาให้ต้องห่วงใย ไม่มีการงานรกสมอง ไม่มีสมบัติที่ต้องหวงแหน ไม่มีการศึกษาที่กลัวเรียนไม่ทันเพื่อนฝูง มีแต่งานปฏิบัติธรรมตรงหน้าที่จะตั้งใจทำให้ดีที่สุด เมื่อปล่อยวางได้ ความฟุ้งซ่านจะเบาลง และปฏิบัติก้าวหน้าได้ไว

3) วางสรรพความรู้เก่า

วางทั้งความรู้ทางโลกและทางธรรมที่เคยร่ำเรียนมาไว้ก่อน ทำตนเป็นแก้วน้ำเปล่าๆ ที่รอให้ครูบาอาจารย์เติมให้เต็ม ก็จะได้ความรู้ใหม่ๆ อีกมากมายโดยไม่เสียเวลาเปล่า อย่าเสียเวลาไปกับการเปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมในระหว่างการปฏิบัติธรรม จะฟุ้งซ่านโดยเปล่าประโยชน์ รอไว้กลับไปวิเคราะห์ความแตกต่างที่บ้านดีกว่า

4) วางว่า “เราต้องเป็นหนึ่ง”

การปฏิบัติธรรมต้องทำอย่างผ่อนคลาย ใช้สติตามดูกายกับจิตตามที่เป็นจริง แล้วให้ปัญญาค่อยๆ พัฒนาขึ้นเอง เหมือนการปลูกต้นไม้ งานของเรา คือ รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช เมื่อสภาวะเหมาะสมแล้ว ต้นอ่อนก็จะค่อยๆ งอกขึ้นมาเองและเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ต่อไป อย่าคาดหวังในผลสำเร็จเพราะนั่นคือความโลภ เป็นกิเลสที่ทำให้ใจขุ่นมัว ปัญญาย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้

5) วางใจให้ลึกซึ้งในคำสอน

ความศรัทธาในตัวครูบาอาจารย์ ในคำแนะนำสั่งสอน และในแนวทางของการปฏิบัติธรรม เป็นหัวใจสำคัญข้อหนึ่งของนักปฏิบัติธรรม ควรเปิดใจให้กว้างรับฟังคำแนะนำสั่งสอนด้วยความเคารพเชื่อถือ และตั้งใจทำตามคำแนะนำอย่างเต็มกำลัง เมื่อมีข้อสงสัยก็ไต่ถามจนกระจ่าง

6) วางไว้ก่อน “ความกลัวตาย”

ความยึดติดในตัวตนของเราเป็นเหตุให้เรา “รักตัวกลัวตาย” เมื่อเกิดเวทนาในระหว่างการปฏิบัติแม้เพียงเล็กน้อย ก็เริ่มกังวลกลัวความเจ็บปวด เมื่อเวทนาแรงกล้าขึ้นก็เริ่มฟุ้งซ่านกลัวตาย เราจึงควรตั้งสติให้รู้เท่าทันความฟุ้งซ่านนั้น ไม่มีใครเคยตายเพราะการปฏิบัติธรรม ตรงกันข้ามครูบาอาจารย์มักกล่าวว่า เวทนาเป็นกุญแจที่ไขประตูสู่พระนิพพาน เมื่อเกิดเวทนาขึ้นมาก็ควรวางความกลัวตายลงเสีย แล้วตามดูเวทนาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง จะสามารถพัฒนาจนเกิดปัญญาญาณได้

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

6 ตั้งใจ...เริ่มต้นปฏิบัติธรรม

ก็ยังมีอีก 6 ตั้งใจที่ไม่ควรลืม....

1) ตั้งใจเก็บวาจา

การพูดเป็นหนทางให้สมาธิรั่วออกไปง่ายที่สุด เร็วที่สุด และมากที่สุด ตลอดเวลาที่เข้าปฏิบัติธรรม ควรงดพูดกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด นอกจากพูดกับครูบาอาจารย์และพี่เลี้ยงเท่านั้น การพูดจากับผู้ปฏิบัติธรรมอื่น นอกจากทำให้สมาธิของตนรั่วออกไปแล้ว ยังเป็นการทำลายสมาธิของผู้อื่นด้วย อันจะเป็นเวรเป็นกรรมต่อไป หากจำเป็นต้องสอบถามกิจธุระกับเจ้าหน้าที่หรือผู้บริการก็ควรให้สั้นที่สุด และมีสติกำหนดรู้ตลอดเวลาที่พูด หรือหากเลี่ยงไปใช้การเขียนแทนได้ก็จะดี

2) ตั้งใจปฏิบัติช้าๆ

การเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใหญ่หรืออิริยาบถย่อย จะต้องพยายามทำอย่างช้าๆ เหมือนคนป่วยหนัก เพื่อให้สติตามรู้ได้ทัน จนเกิดปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริง

3) ตั้งใจรักษาศีล

ศีลวิสุทธิ-ความบริสุทธิ์แห่งศีล เป็นบาทฐานที่สำคัญยิ่งของการปฏิบัติธรรม เพราะจะช่วยให้เราเจริญกรรมฐานได้ด้วยจิตใจที่มั่นคง ไม่ต้องฟุ้งซ่านกังวลกับความรู้สึกผิดใดๆ เราคงแก้ไขความผิดพลาดในอดีตที่ผ่านไปแล้วไม่ได้ แต่เราสามารถรักษาศีลในปัจจุบันให้บริสุทธิ์ได้ จึงควรระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ

4) ตั้งใจผินหน้ามาฟังธรรม

ทุกวันนี้โอกาสจะได้รับรสพระธรรมนับว่าหายากยิ่ง และโอกาสที่เราจะมีสติและสมาธิพร้อมเพียงพอจะเข้าใจพระธรรมนั้นอย่างลึกซึ้ง ก็หายากยิ่งกว่า ฉะนั้น การฟังธรรมบรรยายในระหว่างเข้าปฏิบัติธรรม จึงเป็นโอกาสล้ำค่า ยิ่งไปกว่านั้นธรรมบรรยายส่วนใหญ่จะเอื้อต่อการปฏิบัติธรรมในขณะนั้นหรือในวันต่อๆ ไปด้วย ผู้ปฏิบัติธรรมจึงควรตั้งอกตั้งใจฟังธรรม แม้จะคุ้นกับธรรมบรรยายบางหัวข้อมาแล้ว แต่การฟังซ้ำๆ ก็ยังเกิดประโยชน์มาก เพราะเมื่อสติคมชัดและสมาธิดิ่งลึก ผู้ปฏิบัติจะเกิดความรู้ความเข้าใจใหม่ๆ เพิ่มขึ้นจากเดิมได้อีกเสมอ

5) ตั้งใจปฏิบัติธรรมเจริญสติ

พึงใช้สติจดจ่อตามรู้กายรู้ใจของตนให้ตรงตามความเป็นจริง ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนหลับไปกับสติในตอนกลางคืน การเจริญสตินั้นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรให้ความสำคัญแค่การเดินจงกรมกับการนั่งสมาธิเท่านั้น เพราะหากเกียจคร้านขาดการตามรู้อิริยาบถย่อยแล้ว สมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรมและนั่งสมาธิก็จะรั่วออกไป การปฏิบัติธรรมจะไม่มีวันก้าวหน้าเลย

6) ตั้งใจดำริส่งอารมณ์

การส่งอารมณ์เป็นโอกาสสำคัญที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะได้สอบทานกับครูบาอาจารย์ ว่าการปฏิบัติของตนถูกต้องหรือไม่ และมีข้อบกพร่องใดที่ควรแก้ไข เพราะฉะนั้นพึงรายงาน (ส่งอารมณ์) ทุกอย่างตามความเป็นจริง อย่าปกปิด อย่ากลัวการตำหนิ ระวังอย่าสรุปเอาเองว่า สิ่งใดสำคัญ สิ่งใดไม่สำคัญ สิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี เพราะเรายังด้อยความรู้และประสบการณ์ พึงรายงานทุกอย่างให้ครูบาอาจารย์ได้รับทราบ แต่ก็ควรรายงานให้สั่นกระชับแจ่มแจ้ง แล้วตั้งใจฟังและจดจำคำแนะนำต่อไป

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

6 ไม่ลืม...กลับบ้าน

หากเตือนตนด้วย 6 ไม่ลืมอยู่เสมอ... ชีวิตย่อมเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

1) ไม่ลืมคำครูบา

คำสั่งสอนของครูบาอาจารย์เป็นของล้ำค่า ถ้าไม่มั่นใจว่าจะจำไว้ได้หมด ก็ควรจดเอาไว้อ่านซ้ำ เพราะพอเรากลับมาสู่โลกที่วุ่นวาย สติสมาธิก็เริ่มกระจัดกระจาย ท้ายที่สุดจะเหลือแค่ความทรงจำว่า “ท่านอาจารย์เคยสอนว่า...อะไรนะ ?”

2) ไม่ลืมนำพาพ่อแม่

ยิ่งปฏิบัติธรรมก็ยิ่งย้ำความสำคัญของพระคุณพ่อ-แม่ ฉะนั้น ก้าวแรกที่ย่างเข้าบ้าน อย่าลืมกราบเท้าเอาบุญมาฝากท่านเพื่อให้ท่านอนุโมทนาด้วย ความปีติยินดีจะช่วยต่ออายุของท่านให้ยืดยาว หากพ่อแม่ของผู้ใดยังไม่ได้เริ่มปฏิบัติธรรม ก็ควรพยายามโน้มนำท่านเข้ามาปฏิบัติอันถือเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของลูกที่พึงกระทำต่อพ่อแม่

3) ไม่ลืมแก้นิสัยผิดๆ

สติปัญญาจากการปฏิบัติธรรมช่วยเพิกถอนความเห็นผิดและความยึดติดหลายๆ อย่าง เมื่อเกิดปัญญาจนนึกขึ้นได้ก็ควรแก้ไข ลด ละ เลิก เช่น เลิกดื่มเหล้า เลิกเที่ยวเตร่ เลิกพูดเพ้อเจ้อ เลิกถือยศถือศักดิ์ เลิกยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ฯลฯ อย่าเผลอใจอ่อนไว้ก่อนแล้วกันหากลืมไปอีกหน ที่ปฏิบัติธรรมมาก็ไร้ผล

4) ไม่ลืมปิดประตูกิเลส

ก่อนจะกลับ ครูบาอาจารย์จะแนะนำให้หมั่นหาเวลาปฏิบัติธรรมที่บ้าน เช่น เดินจงกรมสักครึ่งชั่วโมงแล้วนั่งสมาธิต่อสักครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงทุกๆ วัน แต่ที่สำคัญต้องหมั่นเจริญสติในระหว่างวัน ให้รู้เท่าทันความโลภ โกรธ หลง ด้วย

5) ไม่ลืมสังเกตแนวทางปฏิบัติ

ครูบาอาจารย์ยังมักจะสอนให้สังเกตและจดจำแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะกับตนเอง และช่วยให้ตนเองเกิดสติที่คมชัด สมาธิรวมได้รวดเร็ว เพื่อจะช่วยให้ก้าวหน้าได้ไวยิ่งขึ้นในการปฏิบัติครั้งต่อๆ ไป

6) ไม่ลืมเร่งรัดสู่พระนิพพาน

อย่าลืมว่า ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก อย่าประมาท อย่าใจเย็น อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง รีบหาโอกาสเข้าปฏิบัติธรรมอีกเรื่อยๆ จนกว่าจะได้บรรลุสู่ความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน


:b8: :b8: :b8: คัดลอกเนื้อหามาจาก ::
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara118.htm

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 16:27
โพสต์: 46

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้นี้ดีจัง สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2011, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2011, 10:52
โพสต์: 256

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b47: :b47: :b8: :b8:

.....................................................
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร ไม่ต้อง อ้อนวอน ขอพร กะใคร ให้กวน
พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือน ลมหวน อวลไป อวลมา อย่าหลง
พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืน ยืนยง ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ - เพ็ญบุญ กุศลนำ ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดี มีจน เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเยง บาปชั่ว กลัวเกรง ทำแต่ กรรมดี ทวีพรฯ

ท่านพุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 11:09
โพสต์: 41


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตคุณสาวิกาน้อย เจ้าของกระทู้ในการคัดลอกไว้อ่านด้วย....ขอบคุณ :b8:

.....................................................
ทุกข์เท่านั้นที่เกิดทุกข์เท่านั้นที่คงอยู่ทุกข์เท่านั้นที่ดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 02:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ชอบเวปนี้จังครับ เป็นสมาชิกใหม่ฝากตัวด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


suwan007 เขียน:
ชอบเวปนี้จังครับ เป็นสมาชิกใหม่ฝากตัวด้วยนะครับ


:b8: tongue ยินดีต้อนรับน้องใหม่ คุณ suwan007 smiley :b8:
สู่ ลานธรรมจักรแห่งนี้มีธรรมะ และกัลยาณมิตร ค่ะ


Ajintai เขียน:
ขออนุญาตคุณสาวิกาน้อย เจ้าของกระทู้ในการคัดลอกไว้อ่านด้วย.... ขอบคุณ :b8:


ขอโมทนาสาธุการค่ะ :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2011, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 12:30
โพสต์: 16

อายุ: 26
ที่อยู่: อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขออนุญาตคุณสาวิกาน้อย เจ้าของกระทู้ในการคัดลอกไปเผยแพร่ที่เว็บไซต์....ขอบคุณครับ tongue

.....................................................
ศีล สติ ปัญญา ความเพียร ย่อมถึงพระนิพพาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร