เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สอนคนขี้บ่น ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
 
อย่าเป็นทาสของความคิด
หน้า 3

คิดผิด คิดถูก

เราต้องพยายามพิจารณาให้รู้ว่า
คิดอย่างไรเรียกว่า “คิดผิด” คิดอย่างไรเรียกว่า “คิดถูก”

ถ้ามีเรา มีเขา มีสิ่งนี้ สิ่งนั้น เรียกว่าคิดผิด
คิดแล้วจิตไม่สงบก็เรียกว่า คิดผิด
คิดไปตามกิเลสตัณหา เรียกว่า คิดผิด

ปกติจิตก็คิดไปเรื่อยๆ
เมื่อระงับการปรุงแต่งของจิตไม่ได้ ก็ทุกข์
คิดผิด คือ จิตที่คิดมาก มี “เขา” มี “เรา”
เป็นความคิดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
คิดตามอำเภอใจ ตามกิเลสตัณหา เช่นนี้ เรียกว่า คิดผิด

ถ้าเรา ตั้งเจตนา คิดที่จะทวนกระแส
คือ ระงับตัณหา เรียกว่า คิดถูก
แม้จะทุกข์อยู่ก็ตาม ทุกข์มากก็ตาม ก็อย่าสนับสนุน
เพื่อจะระงับทุกข์ ระวังอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น
มีหิริ โอตตัปปะ ละอาย กลัว
ไม่คิดไปตามกิเลสตัณหา ทวนกระแสต่อสู้อยู่อย่างนี้
ระงับตัณหา อุปาทาน ระงับความยินร้าย

อันนี้เราก็หมั่นสังเกต
ให้เราปฏิบัติตรงนี้ ปฏิบัติให้ถูก
จิตก็สงบ ไม่ค่อยคิดอะไร ทำใจสงบอย่างเดียว
เห็นอะไร ได้ยินอะไร ที่ไม่ถูกใจ จิตก็ไม่ปรุง
เราสามารถทำใจสงบได้ เพราะไม่ต้องคิดอะไร
อดทน ขัดเกลาความรู้สึก เรียบง่าย

 

ลมหายใจออก-ลมหายใจเข้า

ครูบาอาจารย์ก็ปฏิบัติอยู่กับลมหายใจทั้งวัน
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ก็อยู่กับลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
ออก-เข้า ออก-เข้า อยู่อย่างนั้น

ถึงแม้เราจะเห็นหลายอย่าง ได้ยินเสียงหลายอย่าง
เรา ก็สามารถอยู่กับลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ในอิริยาบถทั้ง 4 ได้
ช่วงที่ไปบิณฑบาต หรือทำงาน ทำครัวหรือทำอะไรก็ตาม
ถ้าจิตอยู่กับลมหายใจได้ แสดงว่าความรู้สึกก็ไม่รุนแรง

เห็นอะไร ได้ยินอะไร บริกรรมภาวนาได้ อยู่กับลมหายใจได้
เราอยู่กับลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ก็ดูลมออก ลมเข้า อยู่อย่างนั้น
หรือว่าอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราเลือกมา
ถ้าจิตสามารถอยู่กับอารมณ์นั้นได้อย่างต่อเนื่องกัน แสดงว่า

เราก็เห็นอยู่ ได้ยินอยู่ มีประสบการณ์อะไรๆ อยู่
แต่ จิตก็สงบเป็นปกติได้ เรียกว่าอยู่ในศีลได้
จิตเป็นปกติ ความรู้สึกไม่รุนแรง
แม้แต่เราเห็นอะไรสวย หรือน่าเกลียด
หรือได้ยินเสียงไพเราะ หรือไม่ไพเราะก็ตาม
เกิดความรู้สึกนิดหน่อย ก็ไม่ต้องใส่ใจ
เราก็อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน
คือลมหายใจออก ลมหายใจเข้าของตนได้
เรียกว่า จิตอยู่ จิตก็ใช้ได้
ถ้าเราทำได้อย่างนี้ จิตก็เชื่องแล้ว จิตเป็นศีล
พร้อมที่จะเจริญสมาธิ ปัญญาได้ จิตเริ่มเข้ามรรค
เริ่มปฏิบัติถูกแล้ว จิตก็ใช้งานได้
อันนี้ เราก็ต้องตั้งเป้าหมายไว้ เป้าหมายแรกก็จุดนี้
ตั้งแต่นี้ไปก็ค่อยๆ เจริญสมาธิ วิปัสสนา
ก็ทำงานละเอียดขึ้นประณีตขึ้น

เหมือนกับไปโรงเรียน เข้าเรียนประถม 1 แล้วขึ้นประถม 2, 3
และมัธยมต้น ปลาย ต่อไป
อันนี้เราก็ต้องพิจารณา.…. โยนิโสมนสิการ
ปฏิบัติให้มันถูก

เป็นนายของตัวเอง
อย่าเป็นทาสของความคิด

อย่าไปหลงในความคิดต่างๆ
ความคิดที่เต็มไปด้วยตัณหา อุปาทาน
อย่าเป็นทาสของความคิดของตัวเอง
ถ้าใจไม่สงบ คิดไปตามอำเภอใจตลอด
เราก็เป็นทาสของความคิด

เมื่อทำใจสงบ เมื่อคิดถูกได้ เราก็เป็นนายของตัวเองได้
ถ้าเป็นทาส.…. ทาสก็ต้องทุกข์.…. เป็นธรรมดา
ถ้าเราเป็นนายของตัวเอง มีศีล และมีจิตสงบเป็นปกติแล้ว
เราก็สามารถใช้ความคิดมาสร้างประโยชน์ได้ต่อไป
จิตของเราสามารถสร้างประโยชน์ได้
การปฏิบัติ เจริญสมถะ วิปัสสนา ของเราก็ก้าวหน้า
ถ้าเราต้องการความสุข ต้องการให้เกิดประโยชน์ในชีวิต
ก็ต้องปฏิบัติเช่นนั้นจน จิตสงบ
สงบเป็นธรรมดานี่แหละ

 

เมื่อความรู้สึกรุนแรงจริงๆ

ถ้าเราใช้หลักคิดถูกดับทุกข์ได้ หมายถึง ไม่ให้คิดชั่ว
การคิดบ่น คิดบาป เป็นความคิดชั่ว
เราพยายามไม่ให้คิด.…. ก็ถูกต้องอยู่
แต่ถ้ากรณีที่เกิดความคิดรุนแรง มีอารมณ์รุนแรงแล้ว
เราหยุดไม่ได้ ก็ต้องปล่อยไปก่อน
ไม่ต้องพยายามให้หยุดคิดทันที
ถ้าตั้งใจจะไม่ให้คิด ก็จะยิ่งเครียดหนัก
ถ้าเป็นเช่นนี้ เราเพียงแต่มองเห็นว่า “นี่เป็นอารมณ์ เป็นกิเลส”
แล้วก็.…. ปล่อย.…. ปล่อยให้คิดตามสบายๆ
แต่เราก็ไม่สนับสนุนนะ
เราค่อยๆ ติดตามเฝ้าดู

คล้ายกับว่าโจรเข้ามาในบ้าน เรารู้อยู่แล้วว่าเป็นโจร
แต่กำลังของเราน้อย สู้เขาไม่ได้
เราต้องค่อยๆ แอบ.…. สะกดรอยตามไป
พอถึงที่เหมาะๆ มีคนมากๆ มีตำรวจมากๆ
ก็รีบตะโกนให้เขาช่วยจับ และเราก็เข้าไปในหมู่เพื่อนที่เราปลอดภัย
เราเองไม่ต้องทำอะไร ให้เขาจัดการกับโจรเอง
เราเองก็เข้าไปในหมู่เพื่อนที่เป็นมิตร

การจัดการกับอารมณ์ที่รุนแรง ก็คล้ายกัน
เราแอบตามดูความคิดด้วยใจที่เป็นกลางๆ และสุขุม
ไม่ให้ยินดียินร้าย
รู้อยู่ เห็นอยู่ ว่าคิดอะไร รู้สึกอย่างไร
ให้มีความรู้สึกลึกๆ ในใจว่า มันเป็นอารมณ์ เป็นกิเลส
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
คล้ายๆ แอบดูนั่นแหละ
ค่อยๆ กำหนดรู้อารมณ์กรรมฐาน เช่น ลมหายใจ
ค่อยๆ จับลมหายใจ ให้แน่นขึ้นๆ โดยธรรมชาติ
เมื่อเกิดสติที่จะกำหนดรู้ลมหายใจเมื่อไร
ความไม่สงบมันก็หายไปเอง
ในที่สุดก็ถึงความสงบได้

ถ้าต่อสู้กับตัวเองก็ง่ายนิดเดียว

การต่อสู้กับตัวเองนี้สำคัญมาก
ต้องพยายามพิจารณาจนถึงใจจริงๆ
จนเกิดศรัทธาที่จะต่อสู้ เพื่อเอาชนะตัวเองให้ได้
สังเกตดูก็ได้ จิตของเราทุกวันนี้ต่อสู้กับอะไร
เราต่อสู้กับคนอื่นทั้งนั้น ต่อสู้กับคนนี้คนนั้น
เราก็แบก คนนี้ไม่ดี คนโน้นไม่ดี คิดไปเรื่อยๆ
ต่อสู้กับคนอื่น.…. ต้องคิดนี่ คิดโน่น
หาหลักฐาน หาข้อมูลต่างๆ เขาผิดอย่างไร เขาไม่ดีอย่างไร
รวบรวมบันทึกไว้ เขียนไว้เป็นแถว ทำอยู่อย่างนั้น

ถ้าต่อสู้กับตัวเอง ก็ง่ายนิดเดียว ไม่ต้องคิดอะไร
พอเกิดความรู้สึกก็นิ่งเฉยเสีย ง่ายๆ
ทำได้แค่นี้เรียกได้ว่า “เอาชนะใจตัวเองได้”

อันนี้เราก็ต้องพยายามพิจารณา จนเข้าใจ จนเกิดศรัทธา
ศรัทธาในปัจจุบันธรรม
ปัจจุบันธรรมเท่านั้นที่จะให้เกิดประโยชน์ได้
ถ้าเรามัวแต่อยู่กับอดีต อนาคต ชีวิตของเราก็เป็นหมัน ไม่เกิดประโยชน์

ถ้าเราอยู่กับปัจจุบันได้ ก็หาความสุขได้
ความสุขก็ต้องอาศัยปัจจุบันธรรม

เราปล่อยวางอดีตก่อน แล้วก็ปล่อยวางอนาคต
แล้วในที่สุดก็ปล่อยวางปัจจุบันด้วย
เมื่อนั้นการเจริญสติปัฏฐาน 4 ก็สมบูรณ์

ถ้าเราคิดไปอดีต หรือคิดไปอนาคต ปัจจุบันก็ไม่ปรากฏ
ปัจจุบันไม่ปรากฏก็ไม่รู้ปัจจุบัน
เพื่อที่จะเห็นปัจจุบัน ก็ต้องปล่อยวางอดีต ปล่อยวางอนาคต
แล้วในที่สุดปัจจุบันก็ต้องปล่อย
ในที่สุดก็ปล่อยวางทั้ง อดีต อนาคต และปัจจุบัน
คือไม่ยึดมั่น ถือมั่นใน กาย เวทนา จิต ธรรม
จิตก็อิสระ สงบ

ฝากไว้พิจารณา โยนิโสมนสิการ
พยายามพิจารณา แล้วก็ปฏิบัติให้มันถูก.................. เอวัง

.........................
หน้า 1 2 3
 
สารบัญ
- คำนำ
- สอนคนขี้บ่น
- อย่าเป็นทาสของความคิด
- นิทานตะเกียงวิเศษ
- การกำหนดลมหายใจ
- ประวัติพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
 
 
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดป่าสุนันทวนาราม
บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน