เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สอนคนขี้บ่น ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
 
อย่าเป็นทาสของความคิด
หน้า 2

ศีลดี จิตก็ไม่รุนแรง ไม่ฟุ้งซ่าน

ทีนี้ อาการที่จิตมีศีลดีเป็นอย่างไร จิตเป็นอย่างไร
ศีลดี จิตก็ไม่รุนแรง สงบ
เมื่อกระทบอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา จิตก็ทุกข์อยู่ แต่จิตไม่ฟุ้งซ่าน
เราอยู่ในโลกนี้ ก็ต้องกระทบอารมณ์ไม่น่าปรารถนา เสื่อมลาภ
เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เป็นธรรมดา
เมื่อกระทบอารมณ์เหล่านี้ จิตใจก็มีลักษณะเศร้าๆ หนักๆ
เป็นทุกข์ ไม่สบายใจ แต่ว่า จิตไม่ฟุ้งซ่าน คือ ไม่คิดนั่นแหละ
เช่น ถ้าหนาวมากเราก็ไม่พอใจ แต่เราก็ไม่ต้องคิดอะไร
เพราะเป็นธรรมชาติ อากาศหนาวมากไม่ทำให้ฟุ้งซ่าน
ร้อนมาก เราก็ไม่ชอบ ต้องทำใจสงบ
ใครจะนินทาบ้าง หรือเห็นอะไร ได้ยินอะไรที่ไม่ถูกใจ
จิตก็ไม่ต้องคิดอะไร
มันก็ธรรมดา.…. ธรรมดา แล้วก็ทำใจให้สงบ

 

สักแต่ว่าเวทนา สักแต่ว่าคิด

แม้จะเกิดอารมณ์ที่ไม่สบายใจ ก็พยายามพิจารณาว่า
ความรู้สึกเวทนานี้ ก็ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
ทุกขเวทนาทางใจก็ดี ทุกขเวทนาทางกายก็ดี
ก็พิจารณาเวทนาว่า สักแต่ว่าเวทนา เป็นเรื่องธรรมดา
พยายาม มองเห็นชัดด้วยสติว่า เวทนาไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สักแต่ว่าความรู้สึก

แม้จะมีทุกขเวทนาทั้งใจทั้งกายก็ตาม
ก็ สักแต่ว่าเวทนา ไม่ต้องคิดอะไร
สักแต่ว่ากาย สักแต่ว่าความรู้สึก สักแต่ว่าจิต
แม้แต่คิดไม่ดีก็ตาม ก็กำหนดว่า สักแต่ว่าคิดชั่ว อกุศลธรรม
ธรรมะก็มีกุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม
ความคิดไปทางดี ความคิดไปทางชั่ว ความคิดทางกลางๆ

แม้แต่จิตคิดอยู่ เราก็พยายามกำหนดว่า “สักแต่ว่าคิด”
ไม่ให้มีความหมาย ไม่ให้มีตัวตนในความคิด
คือไม่ให้ยึดมั่น ถือมั่น นั่นแหละ
บางทีก็ห้ามไม่ได้ ก็ธรรมดา
คิดดีบ้าง คิดชั่วบ้าง บางทีก็ห้ามไม่ได้ดอก
ก็กำหนด “สักแต่ว่าคิด” แล้วก็ดับไป ไม่ยึดมั่นถือมั่น
ถ้ามีสติปัญญา ก็รีบกำหนด.…. กำหนดปุ๊บก็ดับ

มีสติมีสัมปชัญญะ เฝ้าดูความคิด ตามดูความคิด
ความคิดเกิดขึ้นมา ปัญญาเกิดพร้อมกัน ความคิดก็ดับ
คิดนิดหน่อยนี่แหละ คิดไม่ดีปุ๊บก็ดับ คิดดีก็ดับ
เกิด ดับ เกิด ดับ ความคิดก็เกิด ดับ เกิด ดับ
ไม่ใช่เกิดแล้วก็ยืดยาว
พอเกิดแล้วก็คิดชั่ว คิดยาว ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ทั้งทางดี ทั้งทางชั่ว
ถ้าเรามีปัญญาดี พอความคิดเกิดขึ้น ให้พิจารณาเห็นว่า
ไม่มีอะไร ไม่ให้มีตัวตน
ถ้าสติปัญญาไว ก็กำหนดเร็ว ไม่ให้เกิดความคิดเลยก็ได้
เราสามารถระงับไว้ก่อน ไม่ให้เกิดเป็นความคิดได้
นี่ถ้าเรามีปัญญา

 

จ้องดูความคิด.…. เหมือนแมวจ้องจับหนู

บางครั้งก็ศึกษาจิตที่คิดก็ได้
บางทีก็กำหนดเฉพาะหน้า พร้อมกับหายใจเข้า หายใจออกก็ได้
บางทีเราก็หยุดไม่หายใจ ปุ๊บ หยุดหายใจ
แล้วก็ดูความคิด ดูว่า ความคิดเกิดขึ้นจากที่ไหน
แล้วก็ค่อยๆ หายใจเป็นปกติ
เมื่อกลั้นหายใจนานๆ ความคิดก็มักจะหายไป
พอเหนื่อยก็ปล่อย หายใจเข้า หายใจออกตามธรรมดา ปกติ
แล้วก็จ้องดูความคิด จ้องดูความคิด
เหมือนสปริงนี่แหละ ดูว่าความคิดสปริงออกมาจากไหน

หายใจเข้า หายใจออก กำหนดดูลมหายใจ
แล้วก็จ้องดูความคิด
จ้องดูเหมือนกับแมวจ้องจับหนู
ถ้าเราสังเกตแมว เวลาแมวจ้องจับหนู มันจะจ้องนิ่ง จ้องอยู่อย่างนั้น
เราก็จ้องดูจิต.…. จ้องอยู่อย่างนั้น
ถ้าเราจ้องจริงๆ ความคิดก็หยุด.…. สังเกตดูนะ
ยิ่งมีสติ ยิ่งตั้งใจจ้อง ความคิดก็หยุดจริงๆ

 

บ้าๆ บอๆ เชื่อไม่ได้

การปฏิบัติ เฝ้าดูความคิดก็ดีเหมือนกัน
การดูความคิด บางทีก็เกิดความรู้หลายอย่าง
จ้องดูความคิดเป็นหลายๆ ชั่วโมง
ยืน เดิน นั่ง ยืน เดิน นั่ง ก็จ้องดูแต่ความคิด ก็จะเกิดปัญญา
เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นแหละ

เราก็จะเข้าใจว่า ความคิดนี่น่ากลัว
คิดสารพัดอย่าง คิดดี คิดชั่ว คิดอดีต คิดอนาคต คิดนี่ คิดโน่น
เราก็จะเห็นว่า ความคิดนี่บ้าๆ บอๆ จริงๆ
ความคิดของตัวเองนี่ ยิ่งศึกษาก็ยิ่งเชื่อไม่ได้
ความคิดของตัวเองนี่เชื่อไม่ได้จริงๆ
ถ้าเราศึกษาจริงๆ ก็เกิดความรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ
ความรู้สึกก็เหมือนกัน ถ้าใจเราสงบแล้วศึกษาความรู้สึก
ก็จะเกิดความรู้สึกว่า เชื่อไม่ได้
ความรู้สึกก็เชื่อไม่ได้
ความคิดของตัวเองก็เชื่อไม่ได้
เรียกว่า ปัญญา หรือ ธรรมะ เกิดขึ้น
ผลคือ ปล่อยวาง นั่นแหละ

 

หลงใหลในความคิดของตัวเอง

คนที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรม ไม่เข้าใจธรรมะ ไม่เข้าใจตัวเอง
ก็มักจะ หลง หลงในความรู้สึก หลงใหลในความคิดของตัวเอง
มีแต่อารมณ์ยินดี ยินร้าย จิตไม่สงบ
ฟุ้งซ่านไป ทุกข์ไป ปรุงไป อยู่อย่างนั้น เลยเป็นทุกข์มาก
เรียกว่าคนนั้นนั่นแหละจะเป็นคนคิดมาก มีอารมณ์มาก
ไม่เข้าใจตัวเอง ไม่เข้าใจธรรมะ ความสงบก็ไม่ค่อยมี
เพราะพอเชื่อตามความรู้สึกของตนเอง มันก็ปรุงไปเรื่อยๆ

ธรรมะ คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
ความคิด ความรู้สึกของตัวเอง ก็ไม่แน่นอน อันนี้เราก็ไม่เห็น
เรามีแต่ถือทิฏฐิมานะ เอาแต่ใจตัวเอง
เราสังเกตดูก็ได้ ความรู้สึกเป็นอย่างไร
ยกตัวอย่างอาหารก็ได้
อาหารที่อร่อย บางทีก็มีโทษ ที่ไม่มีประโยชน์ก็มีมาก
อาหารที่ไม่อร่อย แต่มีประโยชน์มากก็มีอยู่ แต่ถ้าเราติดอาหาร
แล้วก็กินแต่ของอร่อยๆ ติดรสอร่อยก็เกิดโทษมาก
ประเทศที่เจริญบางทีก็มีโรค เจ็บไข้ป่วยมากขึ้น เพราะเลือกแต่
อาหารที่อร่อยๆ แล้วก็กินไปเรื่อยๆ กินไปเรื่อยๆ ก็ทำให้เกิดโทษ
ทุกวันนี้มนุษย์ก็เห็นอันนี้ ก็พยายามเลือกอาหาร สิ่งที่ไม่อร่อยก็กิน
สิ่งที่อร่อยชอบมาก บางทีก็งดเสีย พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ความรู้สึกนี่ก็เหมือนกัน ปกติเราก็หลงอยู่อย่างนั้น
หลงคิดว่า สิ่งที่ถูกใจมันดี สิ่งที่ไม่ถูกใจก็ไม่ดี
ถูกใจก็ดี ไม่ถูกใจก็ไม่ดี
นี่ก็เหมือนคนติดในอาหาร หลงอาหาร
ชอบอะไรก็กินไปเรื่อยๆ จนเกิดโทษ สุขภาพไม่ดี

อารมณ์ที่เรารับทางตา หู ลิ้น จมูก กาย ใจ
จะถูกใจ หรือไม่ถูกใจ ก็ต้องตั้งสติ
ถ้าเราปฏิบัติธรรม ก็ต้องใช้ปัญญา
อะไรผิดเราก็สามารถพิจารณาได้.…. เหมือนอาหาร
คำพูดต่างๆ สิ่งที่เห็นต่างๆ เรารีบระงับความรู้สึก
ทำใจสงบแล้วจึงคิด ก็จะคิดดีๆ ได้

การฝืนความรู้สึกของตัวเอง ต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเอง
นั่นแหละคือการปฏิบัติธรรม

 

ตัณหา

ความรู้สึก ทำให้เกิดตัณหา
เมื่อเราสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
รับอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
เข้ามาทางอายตนะ 6
เกิดความรู้สึก ถูกใจ ไม่ถูกใจ ชอบ ไม่ชอบ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา มันก็เกิดตัณหา

ตัณหานี่แหละ พระพุทธเจ้าก็ให้ระวัง
เพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ให้ละอันนี้ ละเหตุ ละตัณหา
เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติธรรม ต้องติดตามความรู้สึกตลอด
แล้วก็ไม่ให้ยึดมั่น ถือมั่น
ความรู้สึกเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
เอาสติสัมปชัญญะมาระวัง
ถ้าไม่ยึด.…. ก็จะ ดับๆ ๆ ๆ ๆ ไม่มีโอกาสที่กิเลสจะตั้งอยู่ได้
หรือว่า เมื่อเกิดความรู้สึกรุนแรงแล้ว
เราก็ต้องมีความพอใจที่จะต่อสู้ความรู้สึกอันนี้

ความรู้สึกไปทางราคะก็มี
ความรู้สึกไปทางโทสะก็มี
ความรู้สึกไปทางโมหะก็มี

เราก็ใช้ปัญญามาพิจารณาดู
การปฏิบัติธรรมก็เพื่อต่อสู้ความรู้สึกอันนี้ เพื่อระงับอันนี้

 

อุปาทาน-เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน

เมื่อจิตมีอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่น
เพื่อจะถอนอุปาทาน ต้องพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เพราะฉะนั้นแม้จะเกิดตัณหาก็ตาม เราก็ต้องสังเกตดู
ปกติพอเริ่มเกิดตัณหา เราก็สร้างนิมิตขึ้นมาว่า
“สิ่งนี้” “คนนี้” “อันนี้” แล้วก็เกิด “เรา”
ความคิดก็ปรุงขึ้นมา….. ฉันต้องการอันนี้ ฉันไม่ชอบคนนี้
“ฉัน” ก็เกิด เกิด “ฉัน” เกิด “เรา” ขึ้นมา
ตัณหาก็เกิด เกิดความคิดฟุ้งซ่าน เกิดอุปาทาน

ถ้าเราพอมีสติปัญญาบ้าง ถึงแม้จะเกิดความรู้สึกขนาดไหน
ถ้ากำหนดรู้เท่าทันได้ว่า “สักแต่ว่าความรู้สึก”
สักแต่ว่า “ความรู้สึก” จิตก็ไม่ต้องคิด ก็ไม่ฟุ้งซ่าน
นี่เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

พยายามพิจารณาเวทนา
ถอนความพอใจ ความไม่พอใจ ออกเสีย
พิจารณาให้เห็นว่า เวทนาคือความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจ
ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อย่างนี้ก็เรียกว่า คิดถูก ใช้ได้
นี่ก็เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

.........................
หน้า 1 2 3
 
สารบัญ
- คำนำ
- สอนคนขี้บ่น
- อย่าเป็นทาสของความคิด
- นิทานตะเกียงวิเศษ
- การกำหนดลมหายใจ
- ประวัติพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
 
 
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดป่าสุนันทวนาราม
บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน