เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สอนคนขี้บ่น ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
 
อย่าเป็นทาสของความคิด
หน้า 1

เทศนาที่วัดป่าสุนันทวนาราม
วันที่ 29 สิงหาคม 2537

…………………………………………………………………………………………

ให้จิตอยู่กับปัจจุบัน

ที่พวกเรามาบำเพ็ญสมาธิ ภาวนา ทำจิตใจให้สงบ
ก็เพื่อศึกษาปัจจุบันธรรม ให้จิตอยู่กับปัจจุบัน
ปัจจุบันคือเดี๋ยวนี้
ปกติจิตใจของเรามักจะคิดอยู่กับอดีต หรืออนาคตเป็นส่วนใหญ่
เราไม่ค่อยรู้จักว่าปัจจุบันคืออะไร
ในการศึกษาธรรมะ ปัจจุบันธรรม สำคัญมาก
เพราะอดีตก็ผ่านไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง

พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนว่า
อดีตผ่านไปแล้ว อย่าไปยึด อย่าไปคิด
เรามักครุ่นคิดอยู่ในอดีตที่ผ่านไปแล้ว คิดแล้วก็แค้นใจ เสียใจ น้อยใจ
หรือไม่จิตก็คิดห่วงกังวลถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง คิดแล้วก็ทุกข์

อันนี้พระพุทธเจ้าว่าไม่มีประโยชน์
ถ้าศึกษาปัจจุบันธรรม เราก็เข้าใจทั้งอดีตและอนาคต
เพราะอดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล
ปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล
ฉะนั้น ปัจจุบันจึงเป็นที่รวมของเหตุและผล
ปัจจุบันนี่แหละเป็นเหตุ
เหตุ ก็มีเหตุดี กับเหตุไม่ดี เราเลือกทำอะไรก็ได้
ทำดีก็ได้ ทำชั่วก็ได้ เราก็เลือกเอา
ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้ศึกษาธรรมะ เราก็ทำตามอำเภอใจ
ทำตามความเคยชิน หรือว่าทำตามกิเลส ตัณหา

การกระทำก็มีทั้ง ทางกาย วาจา จิต
การกระทำเรียกว่า “กรรม”
มี 3 อย่างคือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
สิ่งที่เราทำไป เรียกว่า “ทำ” นี่แหละคือการกระทำ
การกระทำก็ทำตามความคิด คิดดีก็ได้ คิดชั่วก็ได้
พูดดีก็ได้ พูดชั่วก็ได้ ทำดีก็ได้ ทำชั่วก็ได้

 

จิตอยู่กับปัจจุบันนั้นเป็นอย่างไร

การปฏิบัติธรรม คือการทำใจให้สงบ นั่งสมาธิ เดินจงกรม
ไม่ให้คิดถึงอดีต ไม่ให้คิดถึงอนาคต
ปัจจุบันนี้ กายนั่งอย่างไร นั่งอยู่ เดินอยู่ ยืนอยู่ นอนอยู่ ก็รู้
นี่เป็นปัจจุบัน
ถ้าเราสามารถกำหนดรู้การ ยืน เดิน นั่ง นอน
รู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
รู้กายมีเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้น

นี่ก็เป็นปัจจุบัน.…. เป็นการทำเหตุดีในปัจจุบัน
เราสามารถกำหนดรู้ได้ เพราะกายก็มีอยู่เดี๋ยวนี้
เราปฏิบัติเช่นนี้ ก็เพื่อให้อยู่กับปัจจุบัน
พยายามไม่ให้คิดไปอดีต อนาคต

ถ้าเราสังเกตดูก็จะเห็นว่า
จิตที่ไม่สงบคือจิตที่ไม่อยู่กับปัจจุบัน คิดไปอดีต คิดไปอนาคต
ยิ่งคิดมาก คิดไปๆ ก็เรื่องเก่าๆ ทั้งนั้น
ถ้าเรายังคิดไปอดีต คิดไปอนาคต เราก็ยังไม่เข้าใจธรรมะ
จิตไม่สงบ เพราะจิตไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน
เมื่อจิตไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน ก็ไม่สามารถเข้าใจธรรมะได้
มีแต่ปรุงแต่งอดีตที่ผ่านไปแล้ว ปรุงแต่งไปอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
ทำอะไรก็ไม่ได้
การศึกษาธรรมะคือ การศึกษาปัจจุบันธรรม
เราต้องพยายามสร้างศรัทธา คือ ศรัทธาในการทำใจให้สงบ
ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน

 

แล้วก็คิด “ธรรมะ” อยู่อย่างนั้น

บางทีเราก็ปฏิบัติกันมาเป็นปีๆ หลายๆ ปีก็ตาม เราก็ครุ่นคิดอยู่อย่างนั้น
คิดๆๆ คิดอดีต คิดอนาคต แม้แต่ “ธรรมะ” ก็มีแต่คิด
องค์นี้สอนอย่างไร หนังสือธรรมะสอนอย่างไร แล้วก็คิด
ก็คิด “ธรรมะ” อยู่อย่างนั้น
ธรรมะในหนังสือบ้าง ธรรมะที่ได้ยินได้ฟังบ้าง
ของเก่าๆ เอามาคิด คิด คิด

การพิจารณาธรรมะ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น
เราต้องพยายามทำจิตทำใจให้สงบ
ถ้าสามารถกำหนดรู้ปัจจุบันได้ ก็สงบ ไม่ต้องคิดอะไร
ถ้าเรากำหนดดูปัจจุบัน แล้วเราก็จะรู้จัก
เช่นมีใครนินทาเรา ว่าเรา ด่าเรา ดูหมิ่น ดูถูกเรา
ไม่ให้เกียรติเรา หรือทำอะไรๆ ที่ไม่ถูกใจเรา
ถ้าเรากำหนดรู้เท่าทัน เรียกว่า มีสติ มีปัญญา จิตก็สงบได้

จิตที่จะออกไปเป็นปฏิกิริยาก็มีอยู่ อยู่ที่เราเคยอย่างไร
เมื่อมีคนนินทา เราเคยรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร จิตมันก็ปรุงไป
บางคนอาจจะคิดอาฆาตพยาบาท คิดปองร้าย คิดจะทำลายเขา
คิดอยากจะฆ่าเขา บางคนอาจจะคิดน้อยใจ บางทีก็คิดทำลายตัวเอง
พอน้อยใจก็คิดจะฆ่าตัวตายก็มี บางทีก็คิดจะหนีก็มี
เมื่อเราถูกนินทาปกติเราเคยคิดอย่างไร
ปัจจุบันก็จะมีความรู้สึกไปในทางนั้น

ทีนี้เมื่อเรารู้ว่าปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล
เราก็ต้องทำเหตุให้ดี ทำให้ถูก

เมื่อถูกนินทา ถูกว่า เราเกิดความรู้สึกอย่างไร
ให้เราตามรู้ ยกเอาศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา
ตั้งสติ ตั้งศีลขึ้นมา ไม่ให้เกิดยินดี ยินร้าย
ศีล คือไม่ยินดี ไม่ยินร้าย

ขณะที่ถูกนินทาก็ไม่ให้เกิดยินร้าย
บางทีก็เกิดตัณหา อยากจะปองร้ายเขา อันเป็นบาปมีโทษ
ถ้าใจเป็นศีล ก็ตั้งเจตนาระงับอันนี้
ต้องมีหิริโอตตัปปะ.…. ไม่ยินดี ยินร้าย

เขานินทา เขาพูดอะไร เขาทำอะไรให้เราไม่ถูกใจ
ก็ดูว่า เรารู้สึกอายไหม กลัวไหม
ถ้ารู้สึกละอาย กลัว มีหิริ โอตตัปปะ
สติปัญญาก็จะรีบดับรีบระงับความไม่พอใจเสีย
จิตก็ทำงาน เพื่อระงับอารมณ์ยินร้ายที่จะเกิดขึ้น
อันนี้แสดงว่าใจเป็นศีลแล้ว มีหิริ โอตตัปปะแล้ว

แต่ถ้าจิตคิดเป็นวิภวตัณหา คิดปรุงแต่งไปด้วยตัณหา
พูดง่ายๆ ก็คือเกิดอารมณ์ยินร้าย
เช่นนี้แสดงว่า ใจไม่เป็นศีล ไม่มีหิริ โอตตัปปะ
ปกติใจเรามักจะคิดว่า “เขาไม่มีหิริ โอตตัปปะ”
ถ้าคิดอย่างนี้จิตมันก็ปรุงไป คิดไปสารพัดอย่าง
ของเก่าๆ ข้อมูลที่มีอยู่ รวบรวมเอามาหมด
แล้วก็ปรุงไปแต่งไป ยิ่งคิดก็ยิ่งเกิดอาฆาตพยาบาท
หรือบางทีก็อาฆาตพยาบาทตัวเอง คิดน้อยใจ เสียใจ
..... แล้วแต่ใจนะ…..

 

ดูหมิ่นเขา ตำหนิเขา นินทาเขา

บางคนก็คิดออกไปข้างนอก คิดดูหมิ่นเขา ตำหนิเขา
นินทาเขาสารพัดอย่าง
จิตบางคนก็เกิดน้อยใจ ในที่สุดก็อยากหนี
บางครั้งก็อยากหนีจากชีวิต คิดจะฆ่าตัวตาย
อันนี้ให้เราสังเกตว่าจิตไปทางไหน
ถ้าคิดอย่างนี้ เรียกว่า ไม่มีหิริ โอตตัปปะ จิตก็ปรุงแต่งไป

ถ้าเราเข้าใจแล้วว่าอะไรถูก ก็ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย
ถ้ามีความรู้สึกยินร้ายก็ต้องมีความรู้สึกละอาย กลัว
มีหิริ โอตตัปปะ แล้วนิ่งเฉย
ไม่คิดว่า เขาไม่ดี เขาไม่น่า เขา….. เขา….. เขา..... ไม่ให้คิด
มีเขา ก็ต้องมีเรา
ถ้าเอา “เขา” มาคิดปรุงไป “เรา” ก็เกิด
มีเรามีเขา

ถึงเขาจะไม่ดีอย่างไรก็ตาม มีเขาก็มีเรา
อันนี้ไม่ใช่ทางพุทธศาสนา

การปฏิบัติทางพุทธศาสนาก็เพื่อไม่ให้มีตัวตน
ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน เป็นอนัตตา
การปฏิบัติก็เพื่อทำลายความรู้สึกว่ามีตัวตน

อันนี้สำคัญ เราต้องรู้จัก พยายามพิจารณา มองเห็นให้ชัด
พยายามให้มีสติที่หัวใจ
เมื่อเกิดอารมณ์ก็ต้องรีบระงับ รีบระงับ
พยายามสร้างเหตุดี
ถ้าเราสามารถมี หิริ โอตตัปปะ มีสติ มีศีลตรงนี้ได้
เรียกว่า มีเหตุดี ต่อไปในอนาคต ผลก็ดี จิตไม่หวั่นไหว
ใครจะนินทา สรรเสริญ จิตก็เป็นปกติ
ใครจะนินทา ใครจะพูดอย่างไร ถ้ารักษาใจให้สงบได้ เรียกว่าเป็นปกติ

ศีล คือปกติ คือสงบนี่แหละ
เราสามารถทำใจให้สงบ เป็นปกติ ไม่ให้ปรุง เรา-เขา
เรียกว่าใจเป็นปกติ ใจเป็นศีล

ถ้ากระทบอารมณ์แล้วคิดมาก ก็ผิดปกติมาก ฟุ้งซ่านไม่สงบ
ถ้าเราเข้าหลักธรรมปฏิบัติ เมื่อเกิดอารมณ์ขึ้น
ก็รีบตั้งเจตนาให้ถูกต้องได้
เพื่อไปทางมัชฌิมาปฏิปทา คือ กลางๆ สงบ เฉยๆ คือตั้งสติได้
อย่างนี้เรียกว่า เราเข้าใจในข้อวัตรปฏิบัติ

ฉะนั้น เมื่อกระทบอารมณ์ เราก็ไม่ต้องคิดอดีต
ไม่ต้องคิดถึงอนาคต ปฏิบัติที่ปัจจุบัน
เมื่อกระทบอารมณ์ต่างๆ เราก็รู้อยู่ว่า
จิตจะเกิด ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อย่างไร
เราต้องมีข้อวัตรปฏิบัติ
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งขึ้นมา
เรียกว่า เป็นการสร้างเหตุที่ดีในปัจจุบัน
เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นมากที่เราจะต้องทำใจให้สงบ

ต้องทุ่มเทสติปัญญาของเราทั้งหมด ต้องศึกษา
เพราะเรากระทบอารมณ์อยู่ทุกวินาที
เราต้องพยายามให้มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญา
พยายามศึกษาอารมณ์อยู่อย่างนี้
ตั้งทิศตั้งเจนาให้มันถูกต้อง
ถ้าตั้งทิศผิด มันก็ฟุ้งซ่าน คิดไปเรื่อยๆ

.........................
หน้า 1 2 3
 
สารบัญ
- คำนำ
- สอนคนขี้บ่น
- อย่าเป็นทาสของความคิด
- นิทานตะเกียงวิเศษ
- การกำหนดลมหายใจ
- ประวัติพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
 
 
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดป่าสุนันทวนาราม
บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน