|
 |
|
กำลังอ่านอยู่ : 8 คน |
|
|
|
|

ปัญหาของคนอยากได้บุญมาก
มักจะถามว่า เวลาทำบุญควรจะอธิษฐานขออะไรไหม ท่านที่เคร่งวิชาการจะสอนว่าไม่ควรจะอธิษฐานขอ
เพราะเป็นความโลภ บางคนเลยเถิดไปถึงกับว่า ตักบาตรทัพพีเดียว ขอสวรรค์
เป็นการค้ากำไรเกินควร ข้อนี้มีข้อมูลให้ท่านเลือกพิจารณาดังนี้
1.
เส้นทางตรงเข้มข้น ท่านจะสอนว่า ให้อธิษฐานดังนี้
ขอให้บุญกุศลที่ข้าพเจ้าทำในครั้งนี้
จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานเถิด
ความหมายของท่านก็คือ
เอาพระนิพพานตั้งไว้เป็นหลักชัย ทีนี้เมื่อเราทำบุญ ย่อมมีผลบุญอยู่แล้ว
ก็ให้ผลจัดแจงให้เราเองจะพาไปยังไงก็ตาม เช่น ทำให้ชาติหน้ารวย หรือพอมีอันจะกิน
ทำให้มีเวลาไปปฏิบัติธรรม จนกว่าจะได้บรรลุ เราไม่ต้องไปอธิษฐานขอปลีกย่อย
ระหว่างชาติต่าง ๆขอให้รวย ขอให้รวย ขอให้ได้พบครูธรรมะ อะไรให้วุ่นวายไป
ปล่อยให้กรรมจัดแจงแต่ผู้เดียว

การเอ่ยคำอธิษฐานแบบนี้
จะได้ตัดความเสี่ยงที่จะเป็นบาปไป เช่น เดี๋ยวเราจะไปขอให้รวย ๆ (
แต่ไม่ได้ เพื่อจะได้มีเวลาไปปฏิบัติธรรม
ขึ้นมา ก็ยุ่งละซี ) เป็นโลภกิเลสไป เขาเรียกว่า ทำบุญปนบาป
ทำให้บุญไม่บริสุทธิ์
2.
เส้นทางอ่อนละมุน ด้านนี้ ท่านจะสอนว่า อธิษฐานได้แต่ต้องเข้าใจให้จบกระบวนความ
คือ อันว่าปุถุชนนี้ จะลัดนิ้วมือเดียวไปพระนิพพานนั้นลำบาก ก็ค่อยเป็นค่อยไป
แม้ว่าการ
อธิษฐานจะเป็นความโลภ ท่านว่า อาศัยโลภละโลภ อาศัยตัณหาละตัณหา
คือ อาศัยตัณหา ( ความอยากทำบุญ ) ละตัณหา ( อยากไปสวรรค์ ) เหมือนเอามือล้างมือ
เวลาจะล้างมือซ้าย ต้องอาศัยมือขวามาล้าง อาศัยกันไปพลาง ๆ ก่อน

คือ
ถ้าไม่อยากไปสวรรค์ ก็ไม่อยากทำบุญ เลยอดทำบุญ
อย่างน้อย
การขออะไร ในตอนแรกเริ่มปฏิบัติธรรม ก็คือ เรายังอุดมไปด้วยกิเลส พอทำบุญศึกษาธรรมไปนาน
เข้าใจธรรมะ เห็นบุญที่สูงขึ้น ๆ ต่อไปก็เลิกขอไปเอง ขั้นอนุบาลก็ขอไปก่อนได้
ในพระไตรปิฎกจึงมีนิทานที่แสดงถึงอานิสงส์ของการอธิษฐานเอาไว้มากมายหลายเรื่อง
เช่น
หญิงผู้หนึ่ง
ชี้ทางให้พระภิกษุผู้มาหาร้านขายน้ำผึ้ง เพื่อเอาไปปรุงยาให้แก่ภิกษุป่วย
นางชี้ทางให้ และตามไปดูว่า เจ้าของร้านจะถวายหรือไม่ ถ้าไม่ถวายนางจะซื้อถวายเอง
เจ้าของร้านได้ถวายน้ำผึ้งจนล้นบาตรและอธิษฐานขอให้ได้ไปเกิดเป็นจักรพรรดิ
นางจึงอธิษฐานว่า ถ้าคนขายน้ำผึ้งเป็นจอมจักรพรรดิเมื่อใด ขอให้นางไปเกิดเป็นมเหสีของท่าน
และก็ได้สมหวังทั้งสองคน
นี่แค่ชี้ทางไปร้านน้ำผึ้งเท่านั้นนะ
โอ้โฮ ! ว้าว 
แต่ในบทธรรมที่สูงขึ้น
ๆ ท่านก็จะเริ่มสอนให้เราละวางแม้ความดี บุญ สวรรค์ ไม่ได้แปลว่าไม่ต้องทำดี
แต่แปลว่าทำดีแล้วอย่ายึดติดกับความดีที่ทำ อย่าห่วงบุญห่วงสวรรค์
เ พราะเหตุว่า ถ้าหลงอยู่ในบุญหรือสวรรค์ ก็ยังต้องเหน็ดเหนื่อยเร่าร้อน
กระวนกระวาย อยู่ด้วยการเสวยสุข ความดี ความพอใจ เมื่อบุญหรือสวรรค์ต้อง
เปลี่ยนแปรไปเพราะเป็นอนิจจัง
ก็จะต้องมีความอาลัย ร่ำไรรำพัน เศร้าโศก เสียใจ อยากจะให้คงมีไว้ตลอดไป
จึงกล่าวว่า ถ้ามัวเมาอยู่แต่ในบุญหรือสวรรค์อย่างไม่ลืมตาแล้ว บุญหรือสวรรค์นั่นแหละจะกลายเป็นนรก
ให้เราร้อนใจอีก ท่านจึงสอนให้ทำดี แต่อย่าติดดี
ลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์
อตุโล เรียนว่าที่ท่านช่วยเหลือชาวบ้านจนได้โบสถ์ใหญ่โต เป็นบุญมาก
ท่านตอบว่า
ที่เราสร้างนี่ก็สร้างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์สำหรับโลก สำหรับวัดวาศาสนาเท่านั้นแหละ
ถ้าพูดถึงเอาบุญ เราจะมาเอาบุญอะไรอย่างนี้
เพราะท่านสงบจิตไปถึงไหน
ๆ แล้ว บุญกุศลแบบปุถุชนนี้ไม่ได้เป็นสาระอีกต่อไป
|