แสวงหาธรรม
รอบรั่วธรรม ในสวนธรรม ละความโกรธ กรรม การทำบุญให้ทาน ภารกิจของหิ่งห้อย
 
*-* หน้าแรก *-*
 กำลังอ่านอยู่ : 8 คน

พรหมวิหาร 4
 

              นอกจากบุญกิริยาวัตถุ 10 แล้ว เรายังทำบุญให้กับตัวเองได้นั่นคือ ทำความเย็นให้กับชีวิตตัวเองได้อีก โดยการมีพรหมวิหาร 4

              พรหมวิหาร คือ ที่อยู่ของพรหม หมายความว่า ทำแล้วเป็นสุขเหมือนพรหมในวิมาน มี 4 อย่าง

              1. เมตตา อยากให้ผู้อื่นเป็นสุข

              2. กรุณา อยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
              
               สองข้อนี้คู่กันเพราะเมื่อเราอยากช่วยผู้อื่นเป็นสุข เราก็ช่วยเมื่อช่วยแล้วเขาก็พ้นทุกข์ การช่วยก็ทำเท่าที่เป็นไปได้ แม้แต่ช่วยพูดให้กำลังใจ หรือช่วยฟังเขาระบายความทุกข์ใจ ก็เป็นวิธีหนึ่งด้วยการได้ช่วยเหลือผู้อื่นเมตตา เมื่อปฏิบัติเป็นประจำ จะพบว่าเป็นความสุขใจอย่างยิ่ง

              นอกจากนี้ การแผ่เมตตา ก็เป็นสิ่งที่ควรทำบ่อย ๆ เมื่อกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลเสร็จแล้ว ก็แผ่เมตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

              การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ทำเมื่อทำบุญเสร็จ คือ มีกุศลไว้ให้อุทิศแล้วจึงอุทิศ

              แต่แผ่เมตตานั้นแผ่ได้ทั้งวัน

              เช้ามางัวเงียยังไม่ตื่น หมาข้างบ้านเห่าเสียงขรม 7 ตัว ก็แผ่เมตตาให้หมา เพราะไม่อยากโมโหแต่เช้า กลางคืนจะนอนมอเตอร์ไซค์มาแข่งแรลลี่กันหน้าบ้าน ก็แผ่ให้มอเตอร์ไซค์ กลัวมันไม่ตาย เอ๊ย ! กลัวมันตาย แผ่เมตตาให้มันกลับไปหลับไปนอนเสียที เจอใครทำอะไร ก็แผ่ ๆ เข้าไปเถอะ เมตตามีเยอะ แผ่ได้แผ่ดี เพราะว่าแผ่ฟรี แล้วจะได้สบายใจ

              3. มุทิตา ยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น ฟังดูง่าย แต่บางคนก็ยินดียาก เห็นคนอื่นสำเร็จแล้วอิจฉา ความอิจฉาริษยาเป็นคู่ตรงข้ามของมุทิตา เราจะฝึกข้อนี้ได้ โดยคิดว่า ไม่มีใครในโลกนี้น่าริษยา เพราะต่างก็เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏนี้ด้วยกันทั้งสิ้น สงสารกันเถอะ ดังนั้น ที่ทำสำเร็จในวันนี้ ก็ยินดีด้วย อย่างน้อยก็มีเรื่องดีใจกันบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในระหว่างทุกข์มหาศาลของการเวียนว่ายตายเกิด

              4. อุเบกขา การวางเฉย เมื่อเราช่วยผู้อื่นไม่ได้แล้วหรือช่วยไม่ไหวแล้ว เราก็ต้องวางเฉยให้ได้ คิดว่าถึงเวลาที่เขาจะต้องรับกรรมของเขาเอง ใครช่วยรับกรรมแทนไม่ได้ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม การวางอุเบกขาไม่ใช่เรื่อง่าย ท่านว่าคนที่มีใจกรุณามาก ๆ จะวางเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นทุกข์ร้อนไม่ได้เลย วางเฉยไม่ลง ไม่เป็นสุข ร้อนใจ แต่ก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไร

              ฉันเคยเรียนถามอาจารย์ วศิน อินทสระ ว่า ความใจดำกับการวางเฉย มันตัดตอนกันตรงไหน ท่านตอบว่า ความใจดำคือช่วยได้ แต่ไม่ได้คิดช่วย แต่การวางเฉยคือ ช่วยไม่ได้แล้วก็เลิกช่วย

              ท่านพุทธทาสให้นิยามว่า อุเบกขา คือ จ้องดูอยู่ ดูว่าช่วยได้เมื่อใด จึงเข้าช่วย

              ในการปฏิบัติธรรมจริง ๆ นั้น ถ้าท่านไม่ชอบศึกษามาก ก็เพียงแต่รักษาจิตไม่ให้หวั่นไหว ไม่ยินดียินร้ายกับกุศลอกุศลที่เกิดขึ้น คอยระวังใจให้สงบเข้าไว้ แล้วถือพรหมวิหาร 4 มาใช้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะกับเรื่องใด ๆ และกับใคร ๆ รวมทั้งตัวเอง ก็เพียงพอแล้วที่จะทกให้ชีวิตสงบสุข ไม่ต้องแสงหาข้อธรรมมากก็ได้ตามต้องการ และเมื่ออยากทำบุญ หลวงพ่อชาก็สอนว่า “ การทำบุญ คือการละบาป “ เพียงเท่านี้ ละบาปเสียก็ได้บุญแล้ว


แสวงหาธรรม
รอบรั่วธรรม ในสวนธรรม ละความโกรธ กรรม การทำบุญให้ทาน ภารกิจของหิ่งห้อย

หน้าแรกธรรมจักร l กลับเรือนธรรม