|
 |
|
กำลังอ่านอยู่ : 8 คน |
|
|
|
|

ความเข้าใจของเราทั่วไป
การทำบุญคือการให้ทาน ดังนั้นเราจึงได้ยินว่า ไม่มีเงินจะทำบุญ บางทีเราเห็นว่า
คนลำบากยากจน อยากจะทำบุญ แต่ไม่มีเงิน และคนรวยมีเงิน แต่ไม่ค่อยทำบุญ
สาเหตุก็เพราะว่าคนยากจนเข็ดความลำบาก อยากทำบุญหนีทุกข์แต่คนสบายเห็นว่าสบายดีอยู่แล้ว
ไม่ต้องทำบุญก็ได้
ความจริงก็คิดผิดทั้งคู่
คนยากจน
ทำบุญอย่างอื่นได้อีก เพราะบุญมี 10 อย่าง อย่างแรกคือทานอาจจะเสียเงิน
และเล่าให้ฟังแล้วในตอนแรก ทานไม่เสียเงินก็มี เช่น ช่วยแรง ช่วยปัญญา
อภัยทาน แต่ก็ยังมีการทำบุญอีก 9 อย่างที่ไม่ต้องเสียเงิน ดังนั้น
คนจนก็ทำบุญได้เยอะ
ส่วนคนรวย
ก็ควรทำบุญไว้บ้าง เพราะทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง วันหน้าอาจจะไม่รวยก็ได้
ตอนนี้รวย ท่านเรียกว่า กินบุญเก่า คือ บุญชาติก่อน เปรียบเหมือนกำลังกินข้าวในหม้อที่หุงแล้ว
แต่ก็ควรซื้อข้าวสารมาเติมไว้ ไม่งั้นข้าวสวยหมดหม้อ ข้าวสารหมดถัง
จะเอาอะไรกิน
ความจริงคนรวยอาจจะได้เปรียบอยู่บ้าง
เพราะรวยแล้วไม่ต้องทำอะไร มีเวลาว่างทำให้ได้ศึกษาธรรมะ มีเงินให้ทำบุญ
เรียกว่ามีกำลังพอจะสร้างบุญใหม่ได้เต็มที่ น่าจะฉวยโอกาสไว้

แต่อย่างไรก็ตาม
คนจนคนรวยก็ทำบุญได้ 10 อย่างเท่ากัน พวกเราที่ชอบแสวงบุญ จึงไม่ต้องนั่งรถไกลไปแสวงบุญถึงไหนแสวงอยู่ที่ตัวเรานี่เอง
คือ
1.
ให้ทาน
2.
รักษาศีล คือ ศีล 5 ที่เรารู้กันอยู่แล้ว
อีกประการหนึ่ง คือ ความประพฤติดี เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรม สำรวมจิตใจต่ออารมณ์ต่าง
ๆ ก็เรียกว่ารักษาศีลด้วย
3.
ภาวนา การสวดมนต์ การนั่งสมาธิ การเจริญวิปัสสนา
4.
อปจายนะ การอ่อนน้อมถ่อมตน
5.
ไวยยาวัจจะ การช่วยเหลืองานต่าง ๆ ให้ลุล่วง
เช่นคนเขาจะทำบุญ เราไปช่วยกวาดเก็บล้างจาน ช่วยทำกับข้าว ช่วยให้การทำบุญของเขาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
เจ้าภาพจะได้บุญข้อทานเราจะได้บุญข้อช่วยเหลือ
6.
ปัตติทาน การอุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่นที่เราเรียกกรวดน้ำ
การให้นี้ให้ได้ทั้งคนตายและคนเป็น คนตายเราก็อธิษฐานไปให้ ส่วนคนเป็นเราก็ไปบอกเจ้าตัวเขา
วันนี้ไปทำบุญมานะ เอาบุญมาฝาก ให้เขาอนุโมทนา
การอุทิศส่วนกุศลนี้
เป็นการขัดเกลาจิตใจที่ดีมาก เพราะบุญเป็นสิ่งเลอเลิศที่สุด ดังนั้น
ถ้าเราสามารถให้บุญกับคนอื่นได้ แสดงว่าเราขจัดความตระหนี่หวงบุญไปได้
แม้สิ่งได้ยากคือบุญยังให้ได้ และก็ไม่ต้องกลัวบุญจะหมด บุญไม่ใช่ขนมเค้ก
ตัดแบ่งแล้วเดี๋ยวฉันก็อดกินสิ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่การให้บุญเหมือนการต่อเทียน
เทียนเขาก็ติด เทียนเราก็ยังคงติดอยู่เช่นเดิม
7.
ปัตตานุโมทนา การน้อมรับส่วนบุญที่เขาอุทิศให้
อนุโมทนาต่อความดีที่ผู้อื่นทำ โดยเปล่งวาจาสาธุ หรือไม่เปล่งก็ได้การอนุโมทนาที่สมบูรณ์ต้องมีจิตประกอบด้วยปีติโสมนัสและปัญญา
ไม่ใช่ เออ ธุ ธุ
8.
ธัมมัสสวนะ การฟังธรรม เพื่อให้จิตอ่อน
มีสติปัญญา รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์ไม่ใช่ประโยชน์ ทำให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส
เลิกละความเคยชินที่เป็นโทษเสียได้ การฟังธรรมแบบนี้จึงมีบุญมาก
9.
ธรรมเทศนา แสดงธรรมด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่ได้หวังลาภยศ
ชื่อเสียง เงินทอง
10.
การทำความเห็นให้ถูกตรง เห็นดีเป็นดี
เห็นชั่ว เห็นบุญเป็นบุญ เห็นบาปเป็นบาป ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เท่านี้ก็เป็นบุญแล้ว
และให้มีปัญญา คือ รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ย่อมเป็นไปตามกรรมที่ทำไว้
|