|
 |
|
กำลังอ่านอยู่ : 7 คน |
|
|
|
|

ในการทำบุญ
เราจะได้ยินบ่อย ๆ ว่าไม่มีเงินจะทำบุญ แต่พระพุทธเจ้าสอนว่า
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว การทำบุญชื่อว่าน้อยไม่มี
ท่านเปรียบว่า คนจนทำบุญ 1 บาท มีผลบุญเท่ากับทำบุญ 1000
บาท ดังนั้น จำนวนเงินจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ แต่การทำบุญเราทำให้ได้ผลมากได้
ท่านเรียกว่า ทำด้วยมหากุศลจิต ประกอบด้วยเหตุดังนี้ คือ
1.
มีเจตนาในกาลทั้ง 3 ดี ไม่ปล่อยให้อกุศลแทรกเข้ามาเจตนาทั้ง 3 กาล
คือ ก่อนทำ กำลังทำ และหลังทำ
เช่น
สวดมนต์
เริ่มตั้งต้นสวด ใจไม่ไปอยู่ที่อื่น จดจ่ออยู่ที่ธูปเทียน การกราบ
การกล่าวบูชา ไปจนเสร็จกระบวนการ
จะตักบาตร
ก่อนทำก็คือช่วงเริ่มปรุงอาหาร อย่าปรุงอาหารไป หงุดหงิดไป ร้อนใจไป
ให้ปรุงอาหารอย่างสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน รู้ว่ากำลังทำอาหารเพื่อไปตักบาตรทำบุญ
เสร็จแล้วจบอธิษฐานเรียบร้อย ไปยืนรอพระ ถ้าคิดว่าอธิษฐานไม่ยาวนัก
จะจบตอนพระมาก็ได้ แต่ถ้าให้พระคอยนาน จบไม่เสร็จเสียที จะไม่งาม
กำลังทำคือ
กำลังใส่บาตร ก็สงบจิตใจ หูตาไม่ต้องไปแคะว่า คนอื่นเขาใส่อะไรมาแล้วในบาตรมั่ง
ให้วุ่นไป สงบเข้าไว้โยม
หลังทำ
คือ ตักบาตรเสร็จก็ให้นึกถึงบุญว่าได้ทำบุญมา แต่จิตคนเรามักคอยไปคิดเรื่องอื่น
ๆ ต่อทันที ทำให้กิจหลังทำนี่ไม่ค่อยได้ทำ เราจึงดึงไว้โดยการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่นจะได้มี
เจตนาหลังทำ ทำให้จิตมีเจตนาครบ 3 กาลได้สำเร็จ
นอกจากนี้
ท่านสอนว่า เจตนาหลังทำ ยังมีอีกแบบหนึ่ง
คือ หลังจากทำไปแล้วนาน ๆ เช่น อาทิตย์หนึ่ง เดือนหนึ่ง เป็นต้น เอามาระลึกขึ้นอีกก็เป็นบุญอีก
คือ ทำให้จิตใจผ่องใส บริสุทธิ์ มีความอิ่มในบุญเหมือนได้ทำบุญนั้นอีกครั้ง
จึงมีอุบายบางอย่างสำหรับในเรื่องนี้ เช่น อาจจะมีภาพถ่ายงานบุญเก็บไว้
ต่อ ๆ มาก็เอามาเปิดดู อิ่มใจ เหมือนได้ไปทำบุญอย่างในภาพนั้นอีก ทำให้ใจเราได้ใกล้ชิดอยู่กับบุญ
ทำให้เป็นสุข

2.
มีปัญญา ข้อนี้คือ มีปัญญารู้ว่ากรรมนี้มีผล
ที่เรากระทำการตักบาตรนี้เป็นสิ่งดีและมีผล รู้ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ถ้าไม่มีปัญญา ก็คือ เขาบอกให้ตักบาตรก็ตักไปตามประเพณี ไม่รู้ว่าเพื่ออะไร
เรียกว่าไม่มีปัญญา
3.
ไม่ต้องมีคนมาชวน การทำบุญใด ๆ ถ้าลุกขึ้นมาทำเองโดยไม่ต้องมีใครชวน
หรือมีคนชวนก็ได้ แต่ไม่ใช่ชวนยาก ท่านว่าบุญแรง แม้แต่การชวนตัวเองคือ
นึกอยากทำบุญปั๊บก็ทำเลย บุญแรง แต่ถ้าเรียกตัวเอง เฮ้ย ตื่น ๆ อีกครึ่งชั่วโมง
เรียกใหม่ เฮ้ย ตื่น ๆ จนพระกลับวัดหมดแล้ว วิ่งตามชายผ้าเหลืองไปใส่บาตรในวัด
อันนี้ปริมาณบุญก็คงลดตาม เหมือนน้ำลดยามเดือนแรม แต่ก็เอาเถอะ ดีกว่าไม่เคยใส่บาตรเลยตั้งเยอะ
เมื่อครบ
3 อย่าง คือ เจตนาดีทั้ง 3 กาล มีปํญญา ไม่ต้องมีใครชวนแล้ว ก็จะมีผลมาก
ท่านเรียกว่า อานิสงส์คือ ผลที่น่าสรรเสริญ การให้ที่มีอานิสงส์มาก
คือ การให้ที่คิดว่าทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้ดี เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส
|