|
 |
|
กำลังอ่านอยู่ : 8 คน |
|
|
|
|

การให้ทานมี
3 ชนิด คือ อามิสทาน อภัยทาน ธรรมทาน
อามิสทาน
การให้ทานด้วยสิ่งของประกอบด้วยผู้ให้ของที่ให้ และผู้รับ
เมื่อเป็น
ผู้ให้ คือตัวเราผู้ทำบุญ เราต้องให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ให้ด้วยความเต็มใจ
หลวงพ่อพุทธทาส
สอนว่าควรเลือกเวลาให้ที่เหมาะสมไม่ทำแล้วเหลือทิ้งขว้าง
วันปีใหม่ที่สนามหลวง
ทุกคนอยากจะใส่บาตรกันเพราะถือเป็นวันมงคล และแต่ละคนก็อยากใส่บาตรพระหลาย
ๆ องค์ แพรวาก็ไปกับเขาด้วย แต่พระมีน้อยกว่าคนใส่บาตร ก็ทำให้ข้าวเหลือเป็นเข่ง
ๆ แพรวาเห็นชาย 2 คนช่วยกันหิ้วหูเข่งคนละข้างวิ่งผ่านมา ก็ต้องหลับตา
ข้าวหอมมะลิอย่างแพงสุด ตื่นมาบรรจงหุงแต่ตี 4 ไม่รู้อยู่ก้นเข่งนี้หรือเปล่า
แพรวาปรารภเรื่องนี้กับริมฤดีซึ่งได้เล่าให้เธอฟังว่า ฉันจะตักบาตรปีใหม่
ในวันก่อนหรือหลังปีใหม่วันใดวันหนึ่งในอาทิตย์นั้น แล้วแต่สะดวกวันไหน
เพราะความสะดวกทำให้เราทำได้โดยสงบ ไม่ลุกลี้ลุกลนกระวนกระวายถ้าเราถือว่าเป็นช่วงของความมงคล
เราก็ทำ แต่ไม่ต้องทำตรงวันที่ 1 เป๊ะ ไม่จำเป็น ความจริงมันก็เป็นวันธรรมดาวันหนึ่งเหมือนวันอื่น
ๆ ถ้าเราทำบุญทุกวันก็มงคลทุกวัน การเหลือทิ้งขว้างนั้นเสียของมีคนอดอยากอีกตั้งเยอะ
แต่เราเอาข้าวมาทิ้ง น่าเสียดาย ข้าวถ้าไม่มีใครกิน อยู่ในเข่งสกปรกแล้วบุญจะมาจากไหน
บุญอยู่ที่มีคนกินข้าวนั้นยังชีวิต ไม่ได้อยู่ที่ข้าวเลื่อนจากทัพพีของเราลงไปในบาตร
ส่วนวันที่
1 ถ้าแพรวาอยากทำบุญจริง ๆ ควรสวดมนต์นั่งสมาธิ ฟังธรรมะอย่างสงบอยู่ที่บ้าน
หรือไปฟังเทศน์ที่วัด เพราะทำสมาธิหรือฟังธรรม ได้บุญมากกว่าตักบาตร
การทำใจให้สงบเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่ดี
นอกจากนั้น
เรายังควรเลือกเวลาที่เหมาะสมกับผู้รับ เช่น เขากำลังทุกข์เพราะหิว
เวลานั้นเราก็ควรให้ข้าว เมื่อเขาไม่สบาย เราก็ควรให้ยา ไม่ใช่เวลานี้เขากำลังหิวจนตาลาย
แล้วเราก็เอาหนังสือมาให้เขาอ่าน ดังนี้เป็นต้น ท่านสอนรวมไปถึงอาการกิริยาที่ให้
ก็โดยดี ถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่กระแทกกระทั้นให้ เหมือนไม่เต็มใจ และที่สำคัญคือ
มีเจตนาดี มีความพอใจยินดีทั้งก่อนให้ขณะกำลังให้ และหลังจากให้ไปแล้ว
ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติที่ผู้ให้พึงมี

ของที่ให้
เรียกว่า วัตถุทาน ก็ได้แก่ ปัจจัย 4
อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย
ดังนั้น
เราจะเห็นว่าคนไทยเรานิยมสร้างวัด สร้างโบสถ์กันมาก เพราะอยากได้บุญมากนั่นเอง
แต่ถ้าโบสถ์ใดหรือศาลาการเปรียญใดสร้างไปแล้ว 150 ล้าน แต่ปิดใส่กุญแจไม่ได้ใช้คนสร้างก็ไม่ได้บุญเท่าใด
เพราะบุญไปอยู่ที่การได้ใช้งาน ถ้าศาลา
การเปรียญสร้างมาราคาสองแสน
แต่ใช้แล้วใช้เล่า เช้า บ่าย เย็น ใช้ตลอด คนทำก็ได้บุญมาก ดังนี้แล
ถ้าไม่มีวัตถุจะให้
สิ่งใดที่เกื้อกูลผู้อื่นโดยเราต้องเสียสละก็เรียกวัตถุทาน เช่น ช่วยเรี่ยวแรงไปกวาดวัด
สร้างถนน หรือช่วยโดยสติปัญญา ใช้ความรู้ของเราให้เป็นประโยชน์แก่กิจนั้น
ๆ
วัตถุทานมีข้อจำกัดอยู่ว่า
ต้องได้มาโดยธรรม
การได้มาโดยธรรม
คือไม่ได้ขโมยมา ไม่ได้โกงใครเขามา ไม่ได้บังคับรีดนาทาเร้นใครเขามา
เป็นของที่เราหามาโดยสุจริต จากอาชีพสุจริต
ใครที่บอกว่าไปเล่นม้า
ได้เงินมาก็แบ่งเอามาทำบุญแล้ว ปลื้มใจว่าไม่ได้บาปแล้ว ก็ต้องเข้าใจเสียใหม่
ยังทัน

สิ่งของที่จะให้เป็นวัตถุทาน
มี 3 ประเภท คือ
1.
ทาสทาน ของที่ให้นั้น เป็นของที่เราไม่ใช้แล้ว
หรือระดับเลวกว่าของที่เราใช้อยู่ ท่านอาจารย์วศิน
อินทสระ ได้ให้คำอธิบายไว้อีกนัยหนึ่ง คือ ถ้าเขาควรได้รับของดี
เราขี้เหนียว เราไม่ให้ ไม่อยากให้ เราก็ให้ของเลว ก็จัดเป็นทาสทาน
คือ การให้อย่างเป็นทาสของความตระหนี่ หรือให้เหมือนกับให้แก่ทาส
2.
สหายทาน ของที่ให้เป็นของระดับเดียวกับที่เราใช้อยู่ตามปกติ
3.
สามีทาน ของที่ให้นั้น ดีกว่าของที่เราใช้อยู่
ทำไมจึงต้องรู้เรื่อง
3 อย่างนี้ ก็เพื่อเวลาที่ได้รับอะไรมาไม่ค่อยดี ไม่ค่อยถูกใจ จะได้รู้ว่า
เราคงเคยให้ของไม่ดีกับคนอื่นเขาไว้นะเอง จะได้ไม่เสียใจมาก และต่อไปก็จะได้หัดให้ของดี
ๆ กับคนอื่นเขาบ้าง

ผู้รับ
เรียกว่า ปฏิคาหก ผู้รับทาน มีทั้งผู้รับที่ดีและไม่ดี
ท่านพุทธทาสได้แจกแจงไว้ให้ดังนี้
1.
ให้เพราะสงสาร ได้แก่ สัตว์ คนพิการ
ขอทาน คนช่วยตัวเองไม่ได้
2.
ให้เพราะเลื่อมใส เป็นผู้ปฏิบัติดี
3.
ให้เพื่อบูชาคุณ ได้แก่ บิดา มารดา ครู
อาจารย์ พระ
4.
ให้เพื่อใช้หนี้ คือเจ้าหนี้ คล้ายพวกบูชาคุณ
แต่ว่าการใช้หนี้นี้ เรารู้สึกในความรับผิดชอบ เช่น พระพุทธเจ้าเป็นเจ้าหนี้
เราปฏิบัติดีเป็นการบูชาคุณ หรือแผ่นดินเกิด เรามีชีวิตอยู่บนแผ่นดินนี้มาตลอดตั้งแต่เล็กจนโต
ควรทำดีเป็นการตอบแทนคุณแผ่นดิน
5.
ให้ทานแก่คนไม่ดี เช่น อันธพาล เราให้เพื่อให้เขากลับตัว
มีผู้รับที่ไม่ดีอีกชนิดหนึ่ง
คือให้แล้ว เขาไม่กลับตัว แต่เราก็ให้ เพื่อให้เขาอย่าไปเป็นภัยแก่สังคม
ถ้าให้เขาบ้าง เขาอาจจะเป็นภัยน้อยลง
หลวงพ่อชาสอนว่า
ทานเป็นเรื่องแรก เป็นต้นเหง้าของบุญกุศลจริง ๆ การให้ทานเหมือนการหัดเดิน
ให้มันโตไป ๆ ทานวัตถุถ้ามันใหญ่ขึ้นมา มันจะทานไปถึงอารมณ์ ทานถึงสิ่งที่มันไม่มีรูป
ทานเรื่องจิตใจ ทานโลภะ ทานโมหะ
ทานเรื่องจิตใจนี้
หลวงพ่อพุทธทาส ท่านตั้งชื่อว่า สุญญตาทาน คือ ทานที่คืนตัวเองให้แก่ธรรมชาติ
คือ คืนบางอย่าง เช่น โลภะ โมหะ ให้แก่ธรรมชาติ ( ก็เดิมธรรมชาติมันอยากให้เรามา
เราก็คืนไป ) ท่านอธิบายไว้ 4 อย่าง
1.
สละ มานะ ทิฐิ อย่างหยาบ ๆ สละคือ ลด ละ เลิก
2.
สละ ความเห็นแก่ตัว คือความเห็นว่าของกู
3.
สละอัสมิมานะ คือ ความเห็นว่า ตัวกู
4.
สละนิพพานออกไปเสียอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่นิพพานของกู ไม่ใช่นิพพานของนิพพาน
ไม่ใช่นิพพานของอะไร นิพพานนั้นเป็นความว่างอย่างยิ่ง ไม่เหลืออะไร
เหลือแต่ความว่าง
สำหรับข้อ
4 สละนิพพาน ตอนนี้ฟังไว้เฉย ๆ คงยังไม่ใช่สำหรับพวกเราชาวอนุบาล และให้รู้ว่าดอกเตอร์เขาเรียนอะไรก็แล้วกันนะ
|