|
 |
|
กำลังอ่านอยู่ : 8 คน |
|
|
|
ละความยึดมั่นถือมั่นและปล่อยวาง |
|
|
|
|

เมื่อเราเข้าใจไตรลักษณ์คือ อนิจจังความไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์
อนัตตาความไม่ใช่ตัวตน แล้วก็เข้าใจความไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเราไปด้วย
ความเข้าใจอันนี้
เมื่อเรานำมาพิจารณาบ่อย ๆ พิจารณากับทุกสิ่งที่ได้พบ พิจารณากับทุกปัญหาทุกข์ใจของเรา
พิจารณาด้วยความเป็นธรรม ยอมรับความจริงของสัจธรรม ยอมรับความจริงของสัจธรรมของโลก
เพราะเถียงไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร ในเมื่อความจริงมันเป็นเช่นนั้น
ไม่มีวันเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีวันเปลี่ยนไปตามที่ใจเราต้องการ
ถ้าเรายอมรับสัจธรรมนี้ได้จิตใจของเราจะอ่อนลง
ความยึดมั่นถือมั่นจะผ่อนคลายลง อย่างที่ท่านเรียกว่า ปล่อยวาง มันลง
เราก็จะหลุดออกจากความทุกข์ได้ เริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ สะสมความเย็น
ความปล่อยวางนี้ไปเรื่อย ๆ มันจะค่อย ๆเพิ่มขึ้นเอง จนวันหนึ่งจะชัดเจนจนสังเกตได้ว่าเรื่องที่เราเคยทุกข์หนัก
พอพบเรื่องที่ควรจะทุกข์ เราจะทุกข์น้อยลง
ในการสอนระดับสูง
ท่านไม่ให้ยึดมั่นแม้แต่ในเรื่องการทำดี พูดอย่างนี้ ไม่ได้แปลว่าไม่ต้องทำดี
แต่แปลว่า ทำดีเสร็จแล้ว ไม่ยึดติดกับความดีที่ทำไปแล้วนั้นจนเป็นทุกข์อีก
พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้ยึดมั่นแม้ในนิพพาน คือ ให้ปล่อยวางในทุก ๆเรื่อง
เพื่อให้สงบ
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า
ร่างกายนี้เปราะเหมือนไข่ พร้อมที่จะแตก แม้ร่างกายจะกระวนกระวาย ขออย่าให้ใจกระวนกระวายแม้จะแก่ชรา
หรือเจ็บไข้

|