แสวงหาธรรม
รอบรั่วธรรม ในสวนธรรม ละความโกรธ กรรม การทำบุญให้ทาน ภารกิจของหิ่งห้อย
 
 กำลังอ่านอยู่ : 6 คน

โอวาทปาติโมกข์มี 3 อย่าง
 

            1. การไม่ทำชั่วทั้งปวง คือ

                        1. ละโลภ มี 3 ระดับ

                        - อย่างหยาบ คือ อยากได้ของผู้อื่นโดยไม่ถูกต้องชอบธรรม ต้องโกงหรือแย่งชิง เป็นต้น

                        - อย่างกลาง คือ ความไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณในการแสดงหาการได้ อยากได้เกินจำเป็น

                        - อย่างละเอียด คือ ติดใจหมกมุ่นพัวพันในทรัพย์สินของตน หวงแหน พิทักษ์รักษา ( จนเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ )

                        2. ละความโกรธ

                        3. ละความหลง หลงคือไม่รู้ตามความเป็นจริง ความเขลา ความมืดของใจ เห็นชั่วเป็นดี เห็นสิ่งสาระว่าไม่เป็นสาระ สิ่งไม่เป็นสาระกลับเห็นว่าเป็นสาระ

            2. การทำความดีให้พร้อม

                        วิธีสร้างความดี มี 2 อย่าง

                        - พยายามให้กุศลจิตเกิดขึ้นบ่อย ๆ ด้วยคิดถึงคุณความดี หรือพิจารณาถึงคุณค่าของความดี

                        - เมื่อจิตคิดจะทำดี ให้ทำทันที เพราะถ้ารีรอลังเล อาจจะไม่ได้ทำ เพราะจิตมีธรรมชาติไหลไปสู่ที่ต่ำเสมอไหลไปสู่ที่ต่ำเสมอ


            เหมือนสายน้ำ พอชักช้าไม่ทำ วันต่อไปอาจจะรู้สึก โอ๊ย ขี้เกียจแล้วเลยไม่ได้ทำ

            ในหนังสือโอวาท 4 ของท่านเหลี่ยวฝาน ได้แสดงถึงวิธีการทำความดีไว้ 10 ข้อ ดังนี้

            1. ช่วยเหลือผู้อื่นทำความดี

            2. รักและเคารพทุกคนอย่างเสมอหน้า

            3. สนับสนุนผู้อื่นให้มีความดีพร้อม

            4. ชี้ทางให้ทำความดี

            5. ช่วยผู้ที่อยู่ในที่คับขัน

            6. ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สาธารณะ

            7. หมั่นบริจาค

            8. ธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม

            9. เคารพผู้ใหญ่

            10. รักชีวิตผู้อื่นเสมอด้วยชีวิตตน

            วิธีรักษาความดีคือ ไม่ประมาท มีสติระวังเสมอ เมื่อมีสติแล้วก็จะ
ไม่ทำชั่ว

            แนวคิดเกี่ยวกับการทำความดี ท่านสอนว่า ให้คิดว่าเราทำเพื่อผู้อื่น เราไม่ได้กิน ผู้อื่นได้กิน ก็ถือว่าตรงตามจุดหมายของเราแล้ว ถ้ามันจะเกิดผลกับตัวเราบ้าง ก็เป็นผลพลอยได้เพราะถ้าไม่มีผู้อื่น เราอยู่คนเดียว เราไม่รู้จะทำความดีกับใคร ถ้าเราทำดีแก่ตัวเอง ก็ต้องทำกับคนอื่น เช่น การให้ทาน ก็ต้อง

            ให้คนอื่น การรักษาศีล ก็คือเว้นจากการเบียดเบียนคนอื่นนั่นเอง

            เมื่อทำตามแนวคิดนี้ เราจะได้สบายใจ ในการทำดีกับผู้อื่น อันจะเป็นผลดีกับตัวเองไปด้วยในตัวเองไปด้วยในตัว

            3. การทำจิตให้ผ่องแผ้ว

            ควรทำจิตให้สงบ พอจิตสงบจะสดชื่น ทำให้เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ได้ ไม่ใช่การอยู่เฉย ( INACTIVE) ที่ว่าทำให้เฉื่อย ความฟุ้งซ่านต่างหากที่ทำให้เฉื่อย เพราะฟุ้งซ่านแล้วไม่อยากทำอะไร

            หลัก 9 ประการของการทำจิตให้สงบคือ

            1. ไม่จู้จี้ขี้บ่น

            2. ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่

            3. ทำงานอยู่เสมอ ไม่อยู่ว่าง จิตใจไม่ว้าวุ่น

            4. ทำตัวให้มีเหตุผล

            5. มองเหตุการณ์ต่าง ๆ ในแง่ดีพอสมควร

            6. ไม่เป็นทุกข์ล่วงหน้า

            7. ต้อนรับสิ่งที่หนีไม่พ้นด้วยความสงบ

            8. เชื่อกรรม

            9. ไม่ยึดมั่นถือมัน

            ความสงบมี 2 อย่าง

            1.สงบแท้ ให้ความสุขแท้ ความสงบเกิดจากการได้ทำดี การได้ทำสมาธิ และการเอาชนะกิเลสได้

            2.สงบเทียม คือได้สนองความต้องการ เช่น อยากได้นาฬิกา พอซื้อมาแล้วก็สงบ แต่เดี๋ยวก็ฟุ้งเรื่องอื่นต่อไป

 


<< กลับหน้าที่ผ่านมา
หน้าถัดไป >>
แสวงหาธรรม
รอบรั่วธรรม ในสวนธรรม ละความโกรธ กรรม การทำบุญให้ทาน ภารกิจของหิ่งห้อย

หน้าแรกธรรมจักร l กลับเรือนธรรม