พระเจ้าปุษยมิตร
แห่งราชวงศ์ศุงคะเสวยราชย์อยู่ ณ นครปาฏลิบุตร ราว 26 ปี ก็สวรรคต
พระราชโอรสพระนามว่า อัคนิมิตร ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราช ผู้สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายตะวันตก
มีนครวิทิศาเป็นเมืองหลวง ได้เสวยราชย์สืบต่อจากพระเจ้าปุษยมิตร
แล้วพระเจ้าวสุมิตรราชโอรสพระเจ้าอัคนิมิตร และพระเจ้าภาคภัทร เสวยราชย์ต่อกันมา
กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้ก็ประสบชะตากรรมคล้ายคลึงกับกษัตริย์องค์สุดท้าย
ของราชวงศ์เมารยะ คือทรงอ่อนแอและเสื่อมอำนาจลงจนกลายเป็นหุ่นให้เสนาบดีพรามหณ์ในสกุล
กาณวะ จับเชิดอยู่ตลอดเวลา แต่คงครองราชย์ต่อมาจนราว
พ.ศ. 500 หรือ 510 ก็สิ้นราชวงศ์ศุงคะ ในรัชกาลหลัง ๆ แห่งราชวงศ์ศุงคะ
นับแต่พระเจ้าอัคนิมิตรมา เป็นระยะเวลาที่มีประโยชน์ดีแก่บรรดาพุทธศาสนิก
ด้วยมิได้แสดงว่าทรงเป็นศัตรูจองล้างจองผลาญพระพุทธศาสนา จึงปรากฏว่ามีพุทธศาสนิกก่อสร้างปูชนียสถานที่สำคัญ
ๆ ณ บริเวณ สาญจี ตลอดจนที่ภารหุตขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และพระสถูปองค์ที่
2 กับ ที่ 3 ณ บริเวณเนินเขาสาญจี ก็กล่าวกันว่าได้สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ศุงคะในระยะนี้ด้วย
นักปราชญ์ทางโบราณคดีได้สอบสวนค้นคว้าแล้วลงความเห็นกันว่า พระสถูปที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างไว้แต่เดิมนั้น
ก่อด้วยอิฐและก็เล็กกว่าปัจจุบันตั้งครึ่ง แต่พระมหาสถูปสาญจีปัจจุบันนี้วัดผ่านศูนย์กลางกว้างถึง
121 ฟุตครึ่ง สูงราว 77 ฟุตครึ่ง เป็นของเสริมสร้างจากองค์เดิมโดยก่อพอกทับด้วยศิลา
พร้อมทั้งกำแพงศิลาที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งสูง 11 ฟุต ก็เปลี่ยนจากของเก่าที่ทำไว้ด้วยไม้
และประตูหรือโดรณที่ทำด้วยศิลาทั้งสี่ทิศก็ว่าได้สร้างขึ้นในสมัยนี้ด้วย
( ดูรูปด้านล่าง )
พระมหาสถูป
ที่สาญจี
เขาลงความเห็นกันว่า
สิ่งก่อนสร้างเพิ่มเติม ณ พระมหาสถูปสาญจีนี้ ตกอยู่ในระยะระหว่าง
พ.ศ. 400 ถึง 500 แต่ท่าน Sir Marahall กล่าวว่า ประตูทั้งสี่ทิศของพระมหาสถูปกับประตูเดี่ยวของพระสถูปที่
3 รวม 5 ประตู นั้นจะต้องสร้างขึ้นถัดกันมาในระยะเวลา 20 - 30 ปี
และประตูทิศใต้ของพระมหาสถูปซึ่งสร้างขึ้นก่อนประตูอื่นทั้งหมด มีจารึกบอกนามผู้บริจาคไว้บนคานศิลาที่ขวางเสาเหนือช่องประตูว่า
อานันทะ ผู้เป็นหัวหน้าบรรดาช่างฝีมือ ของกษัตริย์ ศรีศาตะกรรณิ
แห่งแคว้นอันธระ ซึ่งมีอำนาจครอบครองอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำกฤษณา
และโคทาวารีในอินเดียภาคใต้และปรากฏว่า เป็นผู้กำจัดอำนาจของกษัตริย์ราชวงศ์ศุงคะ
กับอำมาตย์สกุลกาณวะให้สูญสิ้นไปจากอินเดีย เมื่อราว พ.ศ. 500 หรือ
510 ถ้ากระนั้น ประตูหรือโดรณที่พระมหาสถูปสาญจีก็อาจสร้างขึ้นในระหว่างปี
พ.ศ. 500 ถึง 550 ก็เป็นได้
รูปที่ 27
รูปที่ 28
ธรรมจักร ที่สถูปสาญจี คริสต์สตวรรษที่ 1 (บน)
ธรรมจักรเป็นเครื่องหมายทรง
ทำเป็นรูปวงล้อกำลังหมุนอยู่บนเสมา ประทานปฐมเทศนา
ภาพจำหลักที่
เครื่องหมายทรงแสดงปฐมเทศนา ประตูสถูปที่สาญจี
หมายเลข 3
. (ล่าง)
ต้นโพธิ์และบัลลังก์
เป็นเครื่องหมายตรัสรู้
เสาประตูหรือโดรณทั้งสี่ทิศนั้นจำหลักภาพไว้เต็มไปหมด
รวมทั้งภาพชาดกบางเรื่อง และภาพสัญญลักษณ์ในพุทธประวัติบางตอน เช่น
ภาพธรรมจักร สมมติเป็นปางปฐมเทศนา ( ดูรูปที่ 27 ) ภาพบัลลังก์และต้นพระศรีมหาโพธิ
สมมติเป็นปางตรัสรู้ ( ดูรูปที่ 28 ) ภาพพระสถูป สมมติเป็นปางปรินิพพาน
และประตูหรือโดรมทิศตะวันออกกับทิศเหนือของพระมหาสถูปสาญจีนั้น จำหลักภาพเป็นใบบัวและดอกบัว
ทั้งบานและตูมผุดพ้นขึ้นมาจากหม้อน้ำ และมีบัวบานใหญ่ดอกหนึ่ง ชูดอกเด่นอยู่ตรงกลาง
บนดอกบัวนั้นทำเป็นรูปนางกษัตริย์ประทับนั่งพับพระบาทขวาอยู่บนดอกบัว
ห้อยพระบาทซ้ายลงมาวางอยู่บนใบบัว หัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเขลาซ้าย
ส่วยหัตถ์ขวาถือก้านชูดอกบัวตูมอยู่ระดับเหนืออังสาขวา มีช้างสองเชือกยืนอยู่บนดอกบัวบานเชือกละดอก
ขนาบอยู่ 2 ข้าง แต่ละเชือกชูงวงถือเต้าน้ำเทลงมาบนเศียรของนางกษัตริย์
( ดูรูปที่ 29 )
รูปที่ 29
ปางประสูติ จำหลักไว้บนประตู หรือโดรณทิศตะวันออก
ของพระมหาสถูปสาญจี ( ดูภาพลายเส้นด้านล่าง )
รูปนางกษัตริย์ประทับนั่งบนดอกบัว
มีช้างสองเชือกชูงวงถือเต้มน้ำเทลงบนพระเศียรนี้ นักปราชญ์ทางโบราณคดีชาวอังกฤษและฝรั่งเศสชื่อ
มาร์แชล และฟูแชร์ ลงความเห็นกันว่า เป็นภาพพระนางศิริมหามายากำลังประสูติพระบรมโพธิสัตว์
กล่าวคือสมมติเป็นภาพปางประสูติในเรื่องพุทธประวัติ ในสมัยที่อินเดียมีข้อห้ามมิให้สร้างรูปเคารพดังกล่าวมาข้างต้น
ช่างศิลปจึงสร้างรูปแบบนี้ขึ้นแทน นอกจากทำเป็นภาพพระนางศิริมหามายาประทับนั่งบนดอกบัว
มีช้างสองเชือกชูงวงยกเต้าน้ำเทลงมาแล้ว มีบางภาพทำเป็นพระนางศิริมหามายาประทับยืนบนดอกบัวบ้าง
เช่นภาพจำหลักที่โดรณทิศเหนือพระมหาสถูปสาญจี บางภาพก็จำหลักจำเพาะรูปหม้อน้ำมีดอกบัวทั้งบานและตูมชูก้านและดอกขึ้นมา
ไม่มีรูปพระนางศิริมหามายาและช้าง 2 เชือก แต่คงสมมติหมายรู้กันว่าเป็นภาพแสดงสัญญลักษณ์ปางประสูติเช่นกัน
เมื่อได้มาชมภาพจำหลัก ณ โดรณของพระมหาสถูปสาญจีเช่นนี้แล้วก็ชวนให้คิดไปว่า
ที่นี่แล้วกระมังที่ช่างศิลปที่นครปฐมโบราณของเรา ได้แบบอย่างมาทำขึ้นในธรรมจักรศิลาดังกล่าวข้างต้น