
รูปที่3 ปางประทานปฐมเทศนา ศิลปสมัยคันธาระ
(พ.ศ. 500 - 1050)
ต่อมาในสมัยคันธาระ
(พ.ศ. 500 - 1050) เมื่อศิลปินเชื้อสายกรีกได้คิดสร้างพระรูปพระพุทธองค์ขึ้นโดยตรงแล้ว
จึงสร้างรูปปางปฐมเทศนาเป็นรูปพระพุทธองค์ทรงห่มคลุมทั้งสองพระอังสา
ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนพระแท่นผันพระพักตร์ก้มต่ำไปทางขวา พระหัตถ์ขวาทรงถือธรรมจักรอยู่ระดับพระชานุ
กำลังทรงยื่นธรรมจักรนั้นให้แก่พระปัญจวัคคีย์ซึ่งนั่งอยู่ข้างพระแท่น
ด้านขวา 2 องค์ อีก 3 องค์นั่งอยู่ทางซ้ายของพระแท่น ที่หน้าพระแท่นมีรูปกวางหมอบ
1 ตัว หันหัวเหลียวหลัง (ดูรูปที่ 3)

รูปที่4
รูปที่5
ปางประทานปฐมเทศนา ศิลปสมัยอมรวดี ปางปฐมเทศนา
สมัยคุปตะ (พ.ศ.850 - 1150)
แต่ต่อมาในสมัยอมรวดี
(พ.ศ. 700 - 850) ทำพระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธองค์ทรงห่มอุตตราสงค์เปิดพระอังสาขวา
ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนพระแท่น ยกพระหัตถ์ขวา ซึ่งแบฝ่าพระหัตถ์หันออกข้างนอกในระดับพระอังสา
ส่วนพระหัตถ์ซ้ายหันฝ่าพระหัตถ์เข้าเป็นท่าทรงกำจีวรอยู่ระดับพระอุระซ้าย
พระปัญจวัคคีย์นั่งอยู่ทางเบื้องขวาพระแท่น 2 องค์ ทรงเบื้องซ้าย 3
องค์ ที่หน้าพระแท่นมีกวาง 2 ตัวหันหน้าเข้าหากัน (ไม่มีธรรมจักร)
(ดูรูปที่ 4) แต่พระพุทธรูปปางนี้ ในสมัยคุปตะ (ระหว่าง พ.ศ. 850 -
1150) ทำเป็นรูปพระพุทธองค์ประทับนั่งบนพระแท่น ทรงห้อยพระบาททั้งสองลงอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง
(ดูรูปที่ 5) นั่งขัดสมาธิบ้าง ทรงยกพระหัตถ์ขวาจีบเป็นวง หมายถึงธรรมจักร
และพระหัตถ์ซ้ายจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นท่ากำลังทรงหมุนอยู่ตรงพระอุระ
และมีรูปธรรมจักรหันทางแบนออก อยู่ ณ บัวเบื้องล่างใต้พระบาทลงมา

รูปที่
6 ปางปฐมเทศนา ศิลปสมัยคุปตะ
หรือถ้าทำเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ
ก็ทำรูปธรรมจักรหันด้านสันกงออกบ้าง (ดูรูปที่ 6) หันทางส่วนแบนออกบ้าง
มีรูปคนนั่งประนมมือตรงหน้าพระแท่นหันด้านข้างออกอยู่สองฟากธรรมจักร
ข้างละ 3 คน รวม 6 (กล่าวกันว่าที่ทำเป็น 6 คนนั้นเป็นรูปพระปัญจวัคคีย์
5 องค์ กับรูปคนสร้างพระพุทธรูปปางนี้อีก 1 จึงเป็น 6 คน) เบื้องหน้าธรรมจักรออกมา
มีกวางหมอบเหลียวหลังข้างละตัว นอกนั้นก็มีลวดลายประดับบ้าง ทำเป็นภาพประกอบบ้าง
ต่าง ๆ กันออกไป ที่มีรูปกวางอยู่ด้วย ก็เพื่อให้ผู้ดูทราบได้ว่ากำลังทรงประทาน
ปฐมเทศนา ในมิคทายวัน แต่ที่สำคัญก็คือรูปธรรมจักร
จำหลักบนแผ่นหิน ทำเป็นภาพลายนูนต่ำบ้าง นูนสูงบ้าง และมีภาพจำหลักอื่นประกอบ
หรือจำหลักประกอบกับภาพอื่น มีภาพพระพุทธองค์ทรงประทานเทศนา เป็นต้น
ที่ปรากฎว่าจำหลักเป็นธรรมจักร หรือรูปวงล้อลอยตัวโดยเฉพาะเช่นล้อธรรมจักรที่พบในประเทศไทย
ก็คงมีแต่ธรรมจักรเหนือหัวสิงโต 4 ตัว ซึ่งขุดพบที่สารนาถ และธรรมจักร
บนสิงหสตัมภะ ที่สาญจี
........................................
*
บางท่านอธิบายว่าสัตว์ทั้งสี่นี้ เป็นสัตว์ประจำทิศสี่ ในคัมภีร์ไตรภูมิฉบับรัชกาลที่
1 มีกล่าวว่า สระอโนตมีทางน้ำไหลออก 4 ทิศ ทิศตะวันออกไหลออกจากปากราชสีห์
ทิศตะวันตกไหลออกจากปากช้าง ทิศเหนือไหลออกจากปากม้า และทิศใต้ไหลออกจากปากโค
เรื่องนี้คงมาจากแนวทางคิดเดียวกัน
|