ที่ข้าพเจ้านำเอาเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ
และจักกรัตนะหรือจักรแก้ว หรือล้อแก้ว มากล่าวนำไว้ยืดยาว ก็โดยประสงค์จะให้เป็นที่กำหนดหมายรู้ไว้
ว่าพระเจ้าจักรพรรดินั้นทรงมีจักกรัตนะเป็นเครื่องมือแผ่พระบรมเดชานุภาพ
ส่วนพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสเทศนาครั้งแรก ก็ทรงใช้ธรรมจักรเป็นเครื่องมือแผ่พระธรรม
เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบกันจักกรัตนะนั้นได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า
พระราชาจักรพรรดิทรงทำให้หมุน สัตว์มนุษย์ไร ๆ ที่เป็นปรปักษ์ (ต่อพระราชาจักรพรรดิ)
จะหมุนไม่ได้ ธรรมจักรก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าทรงมนุนใครอื่นหมุนไม่ได้
เช่นที่กล่าวไว้ในตอนท้ายธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีเรื่องพวกเทวดาประกาศก้องได้ยินเสียงตั้งแต่ภาพพื้นดินต่อ
ๆ ขึ้นไปถึงพรหมโลกว่า "ธรรมจักรประเสริฐ ยิ่ง ที่สมณะ หรือพราหมณ์
หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก หมุนกันไม่ได้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนุนได้แล้ว
ณ อิสิปตนะมิคทายวัน ในนครพาราณสี" ตามที่กล่าวนี้ ก็คงเห็นกันได้แล้วว่า
พระพุทธเจ้า แม้จะได้ทรงสละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จออกทรงผนวชและตรัสรู้แล้ว
ก็ยังนำเอาลักษณะกิริยาหมุนจักรของจักรพรรดิมาใช้ในการประกาศพระธรรม
แสดงให้เห็นว่า ในครั้งกระนั้น ความเชื่อในเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิหมุนจักกรัตนะมีอยู่ในหมู่ประชาชนชาวอินเดียโดยทั่วไป
หรืออย่างน้อย ก็มีอยู่ในหมู่ชนชาวอินเดียตอนกลาง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมจักร
จึงมีข่าวเล่าลือกระฉ่อนไปโดยกว้างขวางอย่างรวดเร็ว เรียกจักรของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมจักร
มิใช่จักกรัตนะอย่างของพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าจะตั้งเป็นปัญหาว่า พระพุทธเจ้าทรงหมุนธรรมจักร
อย่างไร ? เป็นเรื่องต้องพูดกันต่างหาก หวังว่าบรรดาท่านนักธรรมะทั้งหลาย
ย่อมทราบกันดีอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจะขอนำไปกล่าวในโอกาสอื่น จะไม่นำมากล่าวในที่นี้
และจะพิจารณาธรรมจักรเฉพาะทางวิชาโบราณคดีและศิลปต่อไป

รูปที่
1
ภาพสิงโตรองรับธรรมจักร เหนือบัวหัวเสา บนเสาศิลาอโศก ขุดพบที่ตำบลสารนาถ
เมืองพาราณสี
ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตรนี้
บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกสมัยถือเป็นเหตุการณ์สำคัญอย่างยิ่งตอนหนึ่งในพุทธประวัติ
ซึ่งเรียกกันว่า"ปาง" เช่นเดียวกับอีก 3 ตอน คือ ปางประสูติ
ปางตรัสรู้ และปางปรินิพพาน ครั้งภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
จึงได้มีผู้สร้างรูปแสดงเรื่องตามปางเหล่านี้กันขึ้น แต่การที่จะสร้างพระรูปพระพุทธองค์ซึ่งเป็นที่เคารพขึ้นในประเทศอินเดียสมัยนั้น
เป็นของต้องห้าม บรรดาศิลปินของอินเดียจึงคิดหาวิธีสร้างเป็นรูปภาพแสดงเรื่องราวตามปางเหล่านั้นขึ้นแทน
โดยไมทำเป็นพระรูปพระพุทธองค์ ในเรื่องนี้สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ทรงนำเอาแนวความคิดของนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสมาอธิบายไว้ว่า "มูลเหตุของรูปภาพในพระพุทธศาสนา
ศาสตราจารย์ฟูแชร์ตรวจหลักฐานที่มีอยู่เห็นว่า เดิมจะเกิดขึ้น ณ ที่บริโภคเจดีย์
4 แห่ง คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ก่อนที่อื่น
ด้วยมีเงินตอกตราเป็นรูปดอกบัวเป็นเครื่องหมายที่ประสูติ รูปต้นโพธิ์เป็นเครื่องหมายที่ตรัสรู้
รูปธรรมจักรเป็นเครื่องหมายที่ปฐมเทศนา และรูปสถูปเป็นเครื่องหมายที่ปรินิพพาน
ปรากฎว่าเป็นของเก่าก่อนเจดีย์วัตถุของพระเจ้าอโศกมหาราช ช้านาน......ครั้นต่อมาตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชยกพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นศาสนาสำหรับประเทศ
และสร้างเจดีย์วัตถุใหญ่โตต่าง ๆ อันประกอบด้วยฝีมือช่าง พวกช่างเอาเครื่องหมายในเงินตรานั้นมาคิดประกอบเป็นลวดลายของเจดียสถาน
ในสมัยนั้นยังห้ามมิให้ทำพระพุทธรูปจึงทำดอกบัวเป็นเครื่องหมายปางประสูติ
บัลลังก์กับต้นโพธิ์เป็นเครื่องหมายปางตรัสรู้ ธรรมจักรกับกวางเป็นเครื่องหมายปางปฐมเทศนา
พระสถูปเป็นเครื่องหมายปางปรินิพพาน" ล้อธรรมจักรที่นักปราชน์ทางโบราณคดีได้พบว่ามีอายุเก่าที่สุด
เข้าใจว่า ธรรมจักร เครื่องหมายพระสัทธรรม ทำลอยตัว ซึ่งประดิษฐานอยู่เหนือสิงโต
4 ตัวหันหน้าออกสู่ทิศทั้งสี่ บนฐานกลมเหนือบัวหัวเสาศิลาของพระเจ้าอโศกมหาราช
สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโศก เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 3 (ดูรูปที่
1)

รูปที่
2 แผนผังพระมหาสถูปที่สาญจี
อัณฑะ เดิมก่ออิฐ ต่อมาก่อแผ่นหินหุ้ม เมื่อ พ.ศ. 493
แต่ต่อมาได้หักพังตกจมดินอยู่ที่ตำบลสารนาถ
ใกล้เมืองพาราณสี เพิ่งขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2447 แต่วงล้อธรรมจักรหักเสียหาย
ที่ฐานกลมรองรับเหนือบัวหัวเสา ตรงเท้าสิงโตทั้งสี่ลงมานั้น มีวงล้อจำหลักอีก
4 วง ประจำทั้งสี่ด้าน ระหว่างวงล้อ จำหลักเป็นรูปสัตว์คั่นช่วงล้อละตัว
รวม 4 ตัว คือ รูปช้าง รูปวัว รูปม้า และสิงโต* ภาพของสัตว์ทั้งสี่นี้มองเห็นว่ามิได้ยืนนิ่ง
แต่มีท่าวิ่งหรือเดินทุกตัว อันแสดงให้เห็นว่าวงล้อเหล่านั้นกำลังหมุน
มิได้หยุดเฉย ซึ่งรัฐบาลอินเดียสมัยนี้ ได้นำรูปบัวหัวเสามีสิงโต 4
ตัวนี้มาใช้เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศอินเดียในปัจจุบัน กับมีเสาสิงโตทรงธรรมจักร
เรียกว่า สิงหสตัมภะ ตั้งอยู่ริมประตูหรือโดรณด้านใต้ของพระมหาสถูปสาญจี
อีกเสาหนึ่ง (ดูรูปที่ 2 ) ต่อจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมาก็มีล้อธรรมจักรซึ่งนำหลักอยู่เหนือเสาประต
ูหรือโดรณของพระมหาสถูปสาญจี มีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 4 -
5 คือ ราว 2000 กว่าปีมาแล้ว
|