ชาวพุทธชั้นนำ
ชาวพุทธที่เรียกว่า
อุบาสก อุบาสิกา นับว่าเป็นชาวพุทธชั้นนำจะต้องมีความเข้มแข็งที่จะตั้งมั่นอยู่ในหลัก
ให้เป็นตัวอย่างแก่ชาวพุทธทั่วไป นอกจากรักษา วินัยชาวพุทธ
แล้ว ต้องมี อุบาสกธรรม ๕ ดังนี้
๑.
มีศรัทธา เชื่อประกอบด้วยปัญญา ไม่งมงาย มั่นในพระรัตนตรัย
ไม่หวั่นไหว ไม่แกว่งไกว ถือธรรมเป็นใหญ่และสูงสุด
๒.
มีศีล นอกจากตั้งอยู่ในศีล ๕ และสัมมาชีพแล้ว
ควรถือศีลอุโบสถตามกาล เพื่อพัฒนาตนให้ชีวิตและความสุขพึ่งพาวัตถุน้อยลง
ลดการเบียดเบียน และเกื้อกูลแก่ผู้อื่นได้มากขึ้น
๓.
ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม มุ่งหวังผลจากการกระทำด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามตามเหตุผล
ไม่ตื่นข่าวเล่าลือโชคลางเรื่องขลังมงคล ไม่หวังผลจากการขออำนาจดลบันดาล
๔.
ไม่แสวงหาพาหิรทักขิไณย์ ไม่ไขว่คว้าเขตบุญขุนขลังผู้วิเศษศักดิ์สิทธิ์
นอกหลักพระพุทธศาสนา
๕.
ขวนขวายในการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ใส่ใจริเริ่มและสนับสนุนกิจกรรมการกุศล
ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หมายเหตุ :
- วินัยชาวพุทธ นี้ ปรับให้ง่ายขึ้น ณ ๑๐ ส.ค. ๒๕๔๓ จาก
ภาค ๑ : มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ ในหนังสือ ธรรมนูญชีวิต
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อเสร็จแล้ว ได้ขอให้ดร.สมศีล
ฌานวังศะ ปรับปรุงคำแปลภาษาอังกฤษฉบับเดิม ให้ตรงตามฉบับปรับปรุงนี้
- วินัยของคฤหัสถ์ คือ คิหิวินัย ได้แก่พระพุทธโอวาทในสิงคาลกสูตร
พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ (ที.ปา๑๑/๑๗๒๒๐๖/๑๙๔๒๐๗)
- อุบาสกธรรม ๕ มาในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ (องฺ ปญฺจก.
๒๒/๑
|