ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
poivang
บัวตูม

เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ค.2006, 5:55 pm |
  |
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
ตอบปัญหาธรรมและการปฏิบัติธรรม (เรื่องที่ ๒๓)
คำถาม :
ดิฉันขอกราบรบกวนถามหลวงปู่ว่าการปฏิบัติภาวนา จะต้องพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมทั้ง ๔ อย่างใช่ไหมเจ้าค่ะ สำหรับกาย เวทนา จิตดิฉันพอเข้าใจ ส่วนธรรมนั้นดิฉันคิดเอาเองว่า จะต้องพิจารณาจากธรรมชาติที่เห็นอยู่เป็นประจำ เช่นเห็นใบไม้ที่ล่วงลงมาจากต้น ดิฉันก็พิจารณาว่าก่อนที่มันจะล่วงลงมา มันเคยเป็นใบอ่อนๆ เมื่อใบมันโตขึ้นสีก็ค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีเขียวแก่ เมื่อเซลของมันตายแล้วมันก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อธาตุน้ำในใบของมันแห้งหมดก็เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งกรอบล่วงลงสู่พื้นดิน ในไม่ช้าก็แตกละเอียดเป็นผุยผง ที่สุดก็กลายเป็นดิน
ย้อนมาดูตัวของเราเมื่อแรกเกิด ผิวเนื้อก็แดงระเรื่อพอโตขึ้นผิวก็เปลี่ยนเป็นสีขาวเหลือง ถ้าถูกแดดถูกลมมากๆ ก็เปลี่ยนเป็นสีคล้ำ พอเข้าสู่วัยชราผิวหนังก็จะตกกระเป็นไฝฝ้าจุดด่างดำทั้งตัว ทั้งยังเหี่ยวย่นผมก็หงอกขาวตามัวหูตึงฟันหลุดหลังโก่งเรียวแรงไม่มีเดินเซไปมาในไม่ช้าก็ตาย เมื่อตายแล้วธาตุลมก็หมดไป ธาตุไฟก็ดับไปขึ้นอืดพองเน่าเหม็นเป็นอาหารของหมู่สัตว์และหนอน ส่วนที่เป็นของแข็งก็กลายเป็นธาตุดิน ส่วนที่เป็นของเหลวก็กลายเป็นธาตุน้ำซึมลงไปในดิน นี่คือธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ทุกสิ่งเกิดขึ้นแปรปรวนไปดับสลายไปในที่สุด ดิฉันพิจารณาจากสิ่งที่เห็นอยู่เป็นประจำถูกต้องไหมเจ้าค่ะ ถ้าไม่ถูกหลวงปู่โปรดชี้แนะด้วยและจะพิจารณาอย่างไรเพื่อให้เกิดปัญญาเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป หลวงปู่โปรดเมตตาด้วยเจ้าค่ะ
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ตอบ :
การพิจารณาอย่างที่เล่ามานี้มันเป็นการถูกต้องแล้ว ขอให้พิจารณาเนืองๆ บ่อยๆ น้อมเข้ามาหาตัวบ้างน้อมออกนอกบ้างก็มีความหมายอันเดียวกัน ธรรมภายนอกที่น้อมเข้ามาหาตัวเรียกว่า “อัชฌัตตาธัมมา” ส่วนธรรมภายในน้อมออกไปข้างนอกเรียกว่า “พหิทธาธัมมา” และมีความหมายอันเดียวกัน
แม้ปัจจุบันที่กำลังเห็นอยู่จะเห็นพร้อมกับลมออกเข้าก็ยิ่งดี จะได้ไม่ติดอยู่ทั้งอดีตอนาคตทั้งปัจจุบันด้วย เรียกว่ารู้ตามเป็นจริงพ้นจากความสงสัยตามเป็นจริง ข้ามความหลงที่เคยหลงมาตามเป็นจริง ความหลงตัวมี ๔ ประเภท คือสำคัญว่าหนังหุ้มอยู่โดยรอบเป็นของสวยงามหนึ่ง เห็นสำคัญต่อไปว่าเป็นของเที่ยงหนึ่ง เห็นสำคัญว่าเป็นสุขหนึ่ง เห็นว่าเป็นตัวตนหนึ่ง
อนึ่งที่สงสัยว่าพิจารณา “ธรรม” นั้นเป็นอย่างไร ยกอุทาหรณ์เช่น ลมหายใจเข้าออก เห็นลมไม่เที่ยงแห่งหายใจเข้าออกก็เป็นการเห็นอนิจจัง แล้วก็เป็นทุกข์อยู่ในตัวแล้วก็ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา นี่เรียกว่าพิจารณาธรรมเรียกว่า “เห็นธรรมในธรรม” เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ก็เรียกว่าเห็นธรรมในธรรมเหมือนกัน คำว่าธรรมแปลว่าทรงอยู่
ธรรมมี ๒ ประเภทโดยย่อ ประเภทที่เราเห็นอยู่เดี๋ยวนี้เป็นประเภทของธรรมฝ่ายสังขาร เกิดขึ้นหาระหว่างมิได้แปรปรวนหาระหว่างมิได้ ความแก่ก็หาระหว่างมิได้ เราจะรู้ตามเป็นจริงหรือไม่ก็ไม่เป็นปัญหา ความเจ็บก็หาระหว่างมิได้ ความตายจากเช้า สาย บ่าย เที่ยง ก็หาระหว่างมิได้นี่ก็เป็นธรรมานุปัสนาเหมือนกัน เพราะรู้ตามเป็นจริงอยู่ในตัว ก็ตัดสินเผงว่า “ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” นี่เรียกว่าธรรมฝ่ายสังขาร
ประเภทที่ ๒ ธรรมฝ่ายพระนิพพานนั้น เมื่อสิ้นความสงสัยในนี้แล้วจิตก็ไม่เพลินในสังขารทั้งปวง ไม่หลงในสังขารทั้งปวงนั้นคือประตูเข้าสู่พระนิพพาน เพราะหมดปัญหาที่จะผูกขึ้นในตัว
พระนิพพานธรรมไม่ใช่ผู้รู้ เหนือผู้รู้ไปจนไม่มีที่หมาย พระนิพพานไม่ใช่เห็นด้วยตานอกแต่เห็นด้วยตาในจนไม่มีที่หมาย ไม่มีท่านผู้ใดเข้าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ไม่สำคัญตนเป็นผู้รู้และใจเป็นตน ก็จบปัญหากันเพียงนั้น ในพระพุทธศาสนาจบกันเพียงนั้น
ยกอุทาหรณ์ เพื่อให้เข้าใจชัด เมื่อดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่สำคัญตนว่าเป็นดิน เป็น น้ำ เป็นไฟ เป็นลม เมื่อมีผู้ใดไปทำอันตรายดิน น้ำ ไฟ ลมนั้นแล้ว ดิน น้ำ ไฟ ลมจะไปผูกเวรภัยกับใครเล่า แม้เขาจะไปขี้รดดิน น้ำ ไฟ ลม ก็คงจะไม่ยืนยันในโลภ โกรธ หลงอะไร เมื่อใจของพวกเราไม่เหมือนดิน น้ำ ไฟ ลมแล้วคอยรับคอยปัดอยู่ พวกเราก็ไม่พ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง จิตใจของพวกเราถ้าเป็นเหมือนดิน น้ำ ไฟ ลมแล้ว ไม่มีใครให้คะแนนก็ตาม พวกเราก็ไม่มีวิญญาณปฏิสนธิในที่ใดๆ ทั้งสิ้น ก็ข้ามความหลงโดยสิ้นเชิงไป ณ ที่นี้เอง
(โปรดติดตามอ่านเรื่องที่ ๒๔ ในคราวต่อไป) |
|
|
|
   |
 |
poivang
บัวตูม

เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ค.2006, 6:01 pm |
  |
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
ตอบปัญหาธรรมและการปฏิบัติธรรม (เรื่องที่ ๒๔)
ถาม :
การที่จิตใสอุปมาเหมือนเพชรมีประกายรัศมีเจิดจ้า ระยิบระยับหมดทั้งดวงออกทั่วบริเวณอกหรือภายนอกกาย คล้ายแสงอาทิตย์ที่ส่องทะลุตามฝาบ้าน เป็นผลที่เกิดสมาธิเป็นเหตุ สภาพจิตปัจจุบันอุปมาใสเหมือนเพชร เป็นประกายแจ่มจ้าหมดทั้งดวง เป็นดาวระยิบระยับเป็นประกายรัศมีออกทั่วบริเวณอก เป็นมานานแล้วและเป็นจนถึงทุกวันนี้ มองเมื่อไหร่ก็เห็นเมื่อนั้น ไม่มีลักษณะเกิดๆ ดับๆ หรือไปๆ มาๆ จิตของโยมอุปมาเหมือนเพชรเกิดจากอะไร ทำไมเป็นเช่นนี้
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ตอบ :
จิตใสเหมือนเพชรจัดเป็นนิมิตทั้งนั้นเกิดดับเป็นเหมือนกัน จิตเป็นเหมือนเพชรก็คือรูปจิตนั่นเอง รูปโลกนั่นเอง รูปธรรมนั่นเอง รูปสังขารนั่นเอง เกิดดับเป็นนั่นเอง มีทุกข์สัมปยุติอยู่ด้วย แต่ด้วยอำนาจปิติ ความยินดีในลูกแก้วนั้นก็เลยไม่รู้ตัวว่ามันเป็นทุกข์ หลักของความเป็นทุกข์ก็มีแผนที่ตายตัวอยู่แล้ว คือสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์อยู่ในตัวด้วย เป็นของว่างอนัตตาอยู่ในตัวด้วย ถ้าหมายอยู่ก็หยอกเงาอันละเอียดของเจ้าตัว เพราะมีอัตตวาทุปาทานอยู่ในตัวจนไม่รู้ตัวอีกด้วย เหตุนั้นจึงไม่มีญาณพิเศษว่าเบื่อหน่ายว่าหลุดพ้นโดยสิ้นเชิง ยังไม่รู้ตามเป็นจริง ปฏิบัติตามเป็นจริงหลุดพ้นตามเป็นจริงสุดท้ายของพระพุทธศาสนา ให้เข้าใจว่ารู้ตามเป็นจริงนั้นมันมีหลายชั้น รู้ตามเป็นจริงชั้นสุดท้ายก็คือพ้นจากกิเลสไปโดยสิ้นเชิงแล้ว
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
ตอบปัญหาธรรมและการปฏิบัติธรรม (เรื่องที่ ๒๕)
ถาม :
ขอให้หลวงปู่ช่วยสอนสมาบัติ ๘ อย่างละเอียด กสิณ ๑๐ และมีวิธีการทำอย่างไร เมื่อสำเร็จแล้วให้ได้อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘ ตลอดวิธีการใช้การรักษา และนำไปสอนคนอื่นได้
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ตอบ :
เรื่องสมาบัติ ๘ หลวงปู่จำได้แต่ปริยัติ แต่ไม่ได้ปฏิบัติเพราะฝืนกับนิสัย พอจิตลงสู่อัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิหลวงปู่ก็เพ่งไตรลักษณ์เลย บางทีปรากฏว่าเหาะเหินเดินอากาศ ตีลังกา เดินจงกรมในอากาศ หรือนอนไปในอากาศ บางทีปรากฎว่าเหาะทะลุภูเขา หมดกำลังฌานจิตก็ถอนออกมา หลวงปู่ก็พิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ หลวงปู่ถือว่าสิ่งเหล่านี้มันมีอยู่ใต้อนิจจังทั้งนั้น จิตใจของหลวงปู่ก็เลยไม่ติดอยู่ เพราะเห็นว่าใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ทั้งโลกอดีต โลกอนาคต โลกปัจจุบัน นับทั้งร้อยโกฏิจักรวาลด้วย ย่อมอยู่ใต้อำนาจไตรลักษณ์ทั้งนั้น หลวงปู่ชอบระเบิดปรมาณูลูกนี้ ทิ้งใส่โลกตูมเดียวแตกเลย ทิ้งใส่ความหลงตูมเดียวก็แตกเลย ก็ไม่สงสัยในโลกทั้งปวงอีกด้วย
และหลวงปู่นึกเห็นในปริยัติ เช่นอุทกดาบสรามบุตรได้สมาบัติ ๘ บริบูรณ์แล้วยังไม่ถึงพระโสดาบัน จึงเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหนีไปปฏิบัติแต่ลำพังพระองค์เอง เมื่อได้ตรัสรู้แล้วก็คิดเห็นพวกอาฬารดาบส อุทกดาบส แล้วมุ่งจะมาเทศนาโปรดและก็รู้ในญาณของพระองค์ว่า ท่านดาบสทำกาลกิริยา (ตาย) ไปแล้วได้ ๗ วัน ไปเกิดที่อรูปพรหม มีอานิสงส์ ๘๔,๐๐๐ กัลป์เสียแล้ว “ถ้าหากว่าพวกนี้ยังไม่ตาย เรามาทันก็จะสำเร็จพระโสดาบัน”
ท้ายจดหมายของหลวงปู่ :
ด้วยเดชพระพุทธศาสนา พวกเราทั้งหลายอย่าได้นอนใจในวัฏสงสารเลย จงรีบหลุดพ้นตามคำสั่งของพระบรมศาสดาที่ว่า “เมื่อพวกเธอทั้งหลายยังไม่มีญาณว่าพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง พวกเธออย่าได้นอนใจนะ” คล้ายๆ กับไฟไหม้หัวพวกเธออยู่ พรุ่งนี้พวกเธอจึงจะดับมันก็ไม่ถูก พวกเธอจะเสียใจในภายหลังดังนี้ ให้พิจารณาว่าธรรมอันนี้ไม่ควรเนิ่นช้าเน้อ.....
จบเรื่อง หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ตอบปัญหาธรรมของพระและฆารวาส เพียงนี้
อิทัปปัจจยตา : เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมี, เมื่อไม่มีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงไม่มี |
|
|
|
   |
 |
I am
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ค.2006, 8:38 am |
  |
โมทนากับคุณ poivang ในธรรมทานนี้ด้วยนะครับ สาธุ..
การให้ธรรมชนะการให้ทั้งปวง  |
|
|
|
|
 |
poivang
บัวตูม

เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2006, 8:02 pm |
  |
|
   |
 |
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065
|
ตอบเมื่อ:
13 ม.ค. 2024, 10:25 am |
  |
|
    |
 |
|