Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่อง สีลัพพตปรามาส อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 1:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เรื่องสีลัพพตปรามาส



-สีลัพพตปรามาส เป็นสังโยชน์ที่มักเข้าใจกันพร่ามากที่สุดข้อหนึ่ง

จึงเห็นควรนำหลักฐานมาแสดงเพื่อเสริมความเข้าใจ

ในสุตตนิบาต มีพุทธพจน์มากแห่งตรัสถึงสมณพราหมณ์และ

บุคคลบางพวกมีความเห็นผิด ถือว่า ความบริสุทธิ์จะมีได้ด้วยศีลและ

วัตร เป็นต้น-

(เช่น ขุ.สุ. 25/411/489; ฯลฯ)


ส่วนอริยสาวก หรือ ท่านผู้หลุดพ้น หรือ มุนีที่แท้ ไม่ยึดติด

ทิฏฐิทั้งหลาย ละได้ซึ่งศีลและพรตทั้งหมด-

(เช่น ขุ.สุ. 25/420/510; ฯลฯ)


คำว่า บริสุทธิ์ หรือ สุทธิ นี้หมายถึงจุดหมายสูงสุดของลัทธิ

ศาสนา ตรงกับความหลุดพ้น หรือวิมุตตินั่นเอง-

(เช่น ขุ.ม.29/120/105 ; ฯลฯ)


ความเห็นผิดนั้น อาจแสดงออกในรูปของการบำเพ็ญศีลพรต

เพื่อจะได้เป็นเทพเจ้า ดังปรากฏบ่อย ๆในพระสูตรต่างๆ โดยข้อความ

ว่า “มีปณิธาน (หรือ มีทิฏฐิ) ว่า ด้วยศีล หรือพรต หรือตบะ

หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์

หนึ่ง”

(ม.มู. 12/232/209; ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 1:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คัมภีร์มหานิทเทสและจูฬนิเทส ได้อธิบายเรื่องการยึดถือความ

บริสุทธิ์ด้วยศีลและวัตร เช่นนี้ไว้หลายแห่ง เช่นแห่งหนึ่ง

ว่า “มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถือความบริสุทธิ์ด้วยศีล

พวกเขาเชื่อถือสุทธิ วิสุทธิ ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น

วิมุตติ บริมุตติ เพียงด้วยศีล เพียงด้วยการบังคับควบคุมตน

(สัญญมะ) เพียงด้วยความสำรวมระวัง (สังวร) เพียงด้วยการไม่

ล่วงละเมิด...ฯลฯ... มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถือความบริสุทธิ์ด้วย

วัตร (หรือพรต)

พวกเขาถือหัตถิวัตร (ประพฤติอย่างช้าง) บ้าง

ถืออัสสวัตร (ประพฤติอย่างม้า) บ้าง

ถือโควัตร (ประพฤติอย่างวัว) บ้าง

ฯลฯ

ถือพรหมวัตรบ้าง

ถือเทววัตรบ้าง

ถือทิศวัตร (ไหว้ทิศ) บ้าง (ขุ.ม.29/120/105; ฯลฯ)

และดูคำอธิบายของอรรถกถา (นิทฺ.อ.1/170) คำอธิบายเช่น

นี้ ลงตัวเป็นแบบในคำจำกัดความ

คำว่า สีลัพพตปรามาสของคัมภีร์อภิธรรมว่า “ทิฏฐิ...การยึดถือ ...ของ

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ภายนอก (จากธรรมวินัย) นี้ ทำนองนี้

ว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยวัตร

ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีลและวัตร

นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส”

(อภิ.สํ.34/673/263; ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 1:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า “ของสมณพราหมณ์ภายนอก” นั้น บางทีทำให้

บางท่านเข้าใจผิดว่า การประพฤติศีลพรตของพวกนักบวชนอกศาสนา

เท่านั้น เป็นสีลัพพตปรามาส

ความจริง คำที่ว่านี้ ควรถือเป็นคำเน้นเพื่อชี้ตัวอย่างรูปแบบหรือ

แนวปฏิบัติเท่านั้น

อาจเลี่ยงแปลเป็นว่า “การยึดถืออย่างพวกสมณพราหมณ์ภาย

นอก” ก็จะชัดขึ้น หรือไม่ต้องเติมคำนั้นเข้ามาเลยก็ได้

(เหมือนอย่างพุทธพจน์ทั้งหลายในสุตตนิบาต และคำอธิบายใน

ขุ.ม.29/336/227 หรือ ในอรรถกถา เช่น สงฺคณี อ. 501

เป็นต้น ก็ไม่มีคำว่า “ของสมณพราหมณ์ภายนอก” เพราะเมื่อถือ

ผิดอย่างนี้ ถึงอยู่ในพุทธศาสนา ก็เป็นการถือย่างคนนอก

พระศาสนา)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 1:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สรุปความหมายตอนนี้ว่า สีลัพพตปรามาส หมายถึงการประพฤติ

ศีลพรตด้วยโมหะ คือ ความหลงงมงายว่า จะบริสุทธิ์หลุดพ้น

บรรลุจุดหมายของศาสนาเพียงด้วยการบำเพ็ญศีลพรตนั้น

และในความหลงผิดนี้ ลักษณะหนึ่งที่แสดงออกมา คือ การกระทำ

ด้วยตัณหาและทิฏฐิ เช่น ประพฤติอย่างนั้นเพราะอยากไปเกิดเป็น

เทวดา และมีความเห็นผิดแฝงอยู่ด้วยพร้อมกันว่าการบำเพ็ญศีลพรต

นั้น จะทำให้ไปเกิดเป็นเทวดาได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 3:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ว่าโดยความหมายของรูปศัพท์ สีลัพพตปรามาส ประกอบด้วย สีล

(=ศีล) + พต (=วัตรหรือพรต) + ปรามาส (=การถือเลยเถิด)

คำว่าศีลและพรต มีอธิบายในมหานิทเทส ดังยกมาอ้างข้างต้น

แล้ว (ขุ.ม.29/120/105) และยังมีอธิบายน่าสนใจเพิ่มอีก ใจความ

ว่า ข้อที่เป็นทั้งศีลและวัตรก็มี

เป็นแต่วัตรไม่เป็นศีลก็มี

เช่น วินัยของพระภิกษุมีทั้งศีลและวัตร กล่าวคือส่วนที่เป็นการบังคับ

ควบคุมตนหรือการงดเว้น (สังยมะ หรือ สัญญมะ)

ความสำรวมระวัง (สังวร) การไม่ล่วงละเมิด เป็นศีล

ส่วนการสมาทานหรือข้อที่ถือปฏิบัติ เป็นวัตร


ข้อที่เป็นแต่วัตรไม่เป็นศีลได้แก่ธุดงค์ทั้งหลาย เช่น ถืออยู่ป่า

ถือบิณฑบาตเป็นประจำ ถือทรงผ้าบังสุกุล เป็นต้น

(ขุ.ม.29/81/77; ฯลฯ )


ในการบำเพ็ญศีลพรตโดยหวังจะไปเกิดเป็นเทพ

ถ้าเป็นนักบวชนอกศาสนา เช่น พวกถือกุกุกรวัตร

อรรถกถาก็อธิบายว่า ศีลถึงประพฤติอย่างสุนัข

วัตรก็หมายถึงถือข้อปฏิบัติอย่างสุนัข (ม.อ. 3/96)


ถ้าเป็นชาวพุทธ ศีลก็ได้แก่เบญจศีล เป็นต้น

วัตรก็ได้แก่การถือธุดงค์ (นิทฺ.อ.2/132)

บางทีอรรถกถาก็พูดจำเพาะภิกษุว่า ศีลหมายถึงปาริสุทธิศีล 4

วัตรหมายถึงธุดงค์ 13

(ธ.อ.7/53; ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 4:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่พี่กรัชกาย ยกมาทั้งหมดนี้
ผมสรุปใจความว่าอย่างนี้ ถูกไหมคับ

มันเป็นความยึดมั่นถือมั่นในพฤติต่างๆ
เชื่อว่าการยึดนู่นนี่นั่น สามารถตอบสนองตันหาอยากเรื่องหนึ่งๆได้
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 6:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


น้องคามินธรรม กระทู้นี้และอีก 3 ลิงค์ด้านล่าง โพสต์ไว้ที่ห้องอื่น

เห็นหายจากที่ตั้งเดิม คิดว่าถูกลบไปแล้วนะเนี่ย อายหน้าแดง


-สัมมาทิฏฐิกับการศึกษา
V
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16736

-บุพภาคของการศึกษา หรือ บุพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา
V
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16733

-ข้อควรทราบทั่วไปเกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิ
V
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16735



ด้วยว่า เรื่องนั้นๆ นำมาจากหนังสือพุทธธรรม ค่อนข้างยาว

อีกทั้งเนื้อหาสาระก็มีความขัดเจนอยู่ในตัวแล้ว

จะโพสต์ที่บอร์ดสนทนาคงไม่ทัน เพราะกระทู้ไหลเร็ว

คงต้องปล่อยให้ตกไปแล้วล่ะ เศร้า



แต่หัวข้อนี้จะลงให้จบที่ลิงค์นี้ครับ

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=50&visitOK=1
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 9:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านกรัชกาย

ตัวอย่างของการตีความพระไตรปิฎกผิดๆ

เรียกว่าสีลัพพตปรามาส หรือมิจฉาทิฐิ

ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 9:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

mes พิมพ์ว่า:
ท่านกรัชกาย
ตัวอย่างของการตีความพระไตรปิฎกผิดๆ
เรียกว่าสีลัพพตปรามาส หรื่อมิจฉทิฐิ
ครับ


ความเห็นส่วนตัวกรัชกายนะครับ คุณ mes

การตีความพระไตรปิฎกผิดก็คือความเห็นผิด (= มิจฉาทิฏฐิ)

แต่เมื่อตนนำสิ่งที่เข้าใจผิดเห็นผิดนั้นไปปฏิบัติ ก็จึงผิดตามความเห็น

นั้น

ทีนี้อาจกลายเป็นสีลัพพตปรามาสได้ เช่น นำศีลหรือวัตรที่ตน

เห็นผิดเข้าใจผิดไปปฏิบัติ

แล้วคุณ mes ล่ะครับว่าอย่างไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 11:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สีลพตรปรามาส คือ การที่ประพฤติ ปฏิบัติอะไรไปผิดๆ โดยไม่ทราบเหตุทราบผล ทั้งนี้ เพราะไม่เข้าใจในความเป็นจริง

จิตใจที่ดำเนินไปตามวิถีแห่งกรรม ก็เปรียบเหมือนคนฝัน เช่นว่า เราเดินอยู่ดีๆ นึกขึ้นมาได้ว่า จะต้องไปทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วก็หันหน้าไปทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ตามที่นึก โดยลืมเป้าหมายเดิม แบบนี้เพราะว่า ขาดสติ ขาดสมาธิ ขาดการระลึกว่า เหตุผล ที่เราควรทำนั้นคืออะไร

ทั้งนี้ เกิดเนื่องจากว่า หลง หลงว่ามีเรา หลงว่า ความนึกความคิดต่างๆ คือเรา หลงว่า ความรู้สึกต่างๆ คือเรา ทั้งๆที่มันเกิดแล้วดับไปทั้งสิ้น

เมื่อหลงว่าเป็นเรา ก็สงสัยว่า ทำไมเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ ก็ควานหาหนทางแก้ไข หรือ วิ่งเข้าหา ตามแต่ว่าสิ่งนั้นเราจะชอบหรือชัง ควานหาอย่างไม่รู้เหตุรู้ผล

ถ้าละสักกายทิฎฐิได้ และ ละความสงสัย อาการที่เกิดขึ้นกับตน ก็ละสีลพตรปรามาสได้ คือ ไม่รู้จะไปแก้ไข เหตุที่ดับไปแล้วทำไม นั้นแหละ คือ การละสังโยชน์สาม สิ้น ด้วย ความเข้าใจที่ว่า จะไปแก้เหตุที่ดับไปแล้วทำไม ถ้าเราแก้เหตุที่ดับไปแล้ว ก็เท่ากับเราสร้างเหตุใหม่ อันเป็นการประพฤติสิ่งที่ผิดทาง
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 12:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โดยปริยัติผมเห็นตามกับ คุณขันธ์

ส่วนในแง่ปฏิบัติ ผู้ที่ปฏิบัติตามอริยมรรค หากอริยมรรคมีกำลังมากขึ้นเรื่อย ๆ จะรู้ด้วยสติ ทำให้ศีลเข้าใกล้ใจไปเรื่อย ๆ ตามกำลังอริยมรรค เมื่อถึงโสดาปัตติผล ศีลกับใจก็กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน คือ ใจเป็นศีล จึงละซึ่ง สีลัพพตปรามาส เสียได้

สีลัพพตปรามาส แปรง่าย ๆ หมายถึง การล่วงละเมิดต่อศีลของตน ถึงแม้ตนจะตั้งใจว่าจะรักษาศีลให้ได้

ถ้าละสีลัพพตปรามาสได้ ก็จะไม่ล่วงละเมิดต่อศีลของตนอีกต่อไป และไม่ต้องรักษาศีล เพราะใจเป็นศีลเองแล้ว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 8:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พอเข้าใจความหมายแล้วครับ

ขอบคุณทุกท่าน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 10:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
โดยปริยัติผมเห็นตามกับ คุณขันธ์

ส่วนในแง่ปฏิบัติ ผู้ที่ปฏิบัติตามอริยมรรค หากอริยมรรคมีกำลัง

มากขึ้นเรื่อย ๆ จะรู้ด้วยสติ ฯลฯ

Guest : 21 ก.ค.2008, 12:41 am


ตามหลักการเป็นเช่นนั้นครับคุณ Guest

แต่วิธีปฏิบัติตามอริยมรรคเช่นว่านั้น ต้องทำยังไงครับ บอกแนวทาง

ปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมพอมองเห็นเค้า เพื่อว่ากัลยาณชนจะพึงนำไปปฏิบัติ

กันเองได้ด้วยจะประโยชน์มากๆเลยครับ สาธุ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 10:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ กรัชกาย ครับ

สำคัญที่สติครับ "สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา" สติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง สติต้องเป็นพื้นฐาน

สมาธิจะเกิดได้ต้องมีสติเป็นพื้นฐาน

ปัญญาจะเกิดได้ต้องมีสติเป็นพื้นฐาน

การปฏิบัติตามอริยมรรค ต้องปฏิบัติให้รู้จักขันธ์ ๕ ตามเป็นจริงครับ

แต่จะรู้เหมือนอ่านตัวหนังสือไม่ได้นะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 11:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปฏิบัติ ในการละสีลพตรปรามาส

ต้องถามว่า ตัวเราเอง เข้าใจคำว่า สักกายทิฎฐิ ดีพอหรือยัง
สักกายทิฎฐิ คือ การมองสรรพสิ่งว่า ตั้งอยู่ เป็นตัวตน

การเดินวิปัสสนาญาณ กำหนดว่า ความรู้สึกทั้งปวงในตัวเรา เป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นแล้วดับ ก็ให้เห็นว่า มันเกิดมันดับไป พิจารณาบ่อยๆ ตัวที่ตั้งอยู่ ที่ไม่จริง เช่น พอจิตรับรู้สิ่งภายนอกแล้วมันตั้งอยู่นั้น ก็จะเป็นเหตุให้เราปรุงไปในทาง สงสัย และ ถ้าชอบใจก็หาทางให้สิ่งนั้นตั้งอยู่ ถ้าไม่ชอบก็หาทางให้สิ่งนั้นหายไป ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านั้น เกิดแล้วดับ ไม่จำเป็นต้องหาทางแก้ไข

ให้เห็นว่า มันเกิด มันดับ ในจิตในใจ ให้บ่อยๆ แล้วพอญาณเต็มภูมิขึ้นมา มันก็จะละได้ คือ เห็นจิตที่สัมประยุตด้วยองค์สมาธิ ไม่แตกออก พอเริ่มแตกออก ไปในทิศทางที่ เป็นการสร้างเรื่องราว หรือ สังขารแล้ว ก็เพิกเฉยต่ออาการปรุงนั้นได้ จึงเรียกว่า ละ

การละนี้ ละที่เหตุ ก่อนจะปรุงไปสู่อาการ แก้ไข ในเหตุที่ไม่รู้ทิศทาง ก็ดับที่ใจ ดับตัณหา

เรื่องก็มีอยู่เท่านี้ จะได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ การเพียรวิปัสสนา กำหนดดูรูป ดูนาม ให้แจ่มแจ้งและมองอาการที่ แปรปรวนของมัน
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 12:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ ขันธ์

ขอบคุณครับ คุณขันธ์รู้มากกว่าผมครับ เชิญทุกท่านรับฟังจากคุณขันธ์จะเกิดประโยชน์มากกว่าครับ

สาธุครับ :b8:
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 1:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
ความเห็นส่วนตัวกรัชกายนะครับ คุณ mes

การตีความพระไตรปิฎกผิดก็คือความเห็นผิด (= มิจฉาทิฏฐิ)

แต่เมื่อตนนำสิ่งที่เข้าใจผิดเห็นผิดนั้นไปปฏิบัติ ก็จึงผิดตามความเห็น

นั้น

ทีนี้อาจกลายเป็นสีลัพพตปรามาสได้ เช่น นำศีลหรือวัตรที่ตน

เห็นผิดเข้าใจผิดไปปฏิบัติ

แล้วคุณ mes ล่ะครับว่าอย่างไร


ความเชื่อ ความศรัทธา ความนึกคิด ที่ผิด คื่อมิจฉทิฏฐิ

ย่อมนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดเพี้ยน คื่อ สีลพรตปาลมาส

ความเชื่อ ความศรัทธา ความนึกคิด ที่ถูก คื่อสัมมาทิฏฐิ หากไม่สามารถประยุกต์นำไปใช้ให้ถูก คื่อไม่โยนิโสมนสิการ เพื่อให้ก่อเกิดปัญญา เป็นต้นว่า

เข้าใจพระไตรปิฎกถูกต้อง แล้วยึดเอาไว้ ท่องจำเอาไว้ เหมือนท่องมนต์ ไม่ให้ผิดเพี้ยน ไม่ยอมประยุกต์นำมาใช้

อย่างนี้ก็น่าจะเข้าหลักสีลพรตปาลมาส

สรุปคื่อ สีลพรตปาลมาสนั้น ตรงข้ามกับ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา

คื่อความคิดของผมครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 2:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(กระทู้นี้มีผู้สนใจแสดงความเห็นกันพอสมควร เห็นควรนำประเด็นเกี่ยว

กับสีลัพพตปรามาสจากหนังสือพุทธธรรมหน้า 300 มาลงต่อให้จบตรงนี้

เลยจะดีกว่า)


-ต่อจาก คห. 5


ปรามาส
- มักแปลกันว่า ลูบคลำ

แต่ความจริง ความหมายในบาลีทั่วไป ได้แก่ หยิบฉวย

จับต้อง จับไว้แน่น-

เช่น พระจับยุดตัวอุบาสกไว้ -วินัย.2/70/56; ทีฆาวุกุมารจับเศียร

พระเจ้ากาสีเพื่อจะปลงประชนม์-วินย.5/244/332; พระพุทธเจ้าไม่ทรง

ยึดมั่นความรู้ – ที.ปา.11/13/29; ฯลฯ...การจับฉวยท่อนไม้และศัสตรา

เพื่อทำร้ายกัน- ขุ.ม.29/384/258;

ที่แปลกันว่า ลูบคลำ คงจะมาจากชาดกว่า ด้วยกำเนิด

ของสุวรรณสาม กุสราช และมัณฑัพยกุมาร- (ชา.อ.7/6; ฯลฯ)

ว่าฤๅษีปรามาสนาภีของภรรยา เป็นต้น ซึ่งน่าจะเป็นการเอานิ้วแตะ

จี้หรือจดลงที่สะดือมากกว่า- (ดู สงฺคณี อ.369 และ ม.อ.2/418)

หรือ เทียบเคียงจาก วินย.1/378/254 ซึ่งอธิบาย ปรามาส

โดยไขความว่า อิโต จิโต จ สญฺโจปนา แปลได้ว่า ลูบหรือสีไปมา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 2:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

อย่างไรก็ตาม ความหมายของ ปรามาส ในด้านหลักธรรม

มีคำอธิบายเฉพาะที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า “สภาวํ อติกฺกมิตฺวา ปรโต

อามสตีติ ปรามาโส” แปลว่า จับฉวยเกินเลยสภาวะเป็นอย่างอื่น

ไป จึงแปลว่า ถือเลยเถิด คือ เกินเลย หรือ คลาดจาก

ความเป็นจริง กลายเป็นอย่างอื่นไปเสีย- (นิทฺ.อ.1/339; ฯลฯ)

เช่น ตามสภาวะที่จริง ไม่เที่ยง จับฉวยหรือยึดถือพลาดไปเป็นว่าเที่ยง

ศีลพรต มีไว้ฝึกหัดขัดเกลา เป็นบาทฐานของภาวนา กลับถือเลย

เถิดไปเป็นอย่างอื่น คือ เห็นไปว่าบำเพ็ญแต่ศีลพรต ก็จะบริสุทธิ์

หลุดพ้นได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 2:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


สีลัพพตปรามาส
ก็เป็นทิฏฐิ คือ ความเห็น หรือ การยึดถือ

อย่างหนึ่ง- (ขุ.สุ. 25/412/490; ฯลฯ)

จึงมีปัญหาว่า เหตุใดต้องแยกต่างหากจากสังโยชน์ข้อที่ 1 คือ

สักกายทิฏฐิ ซึ่งเป็นทิฏฐิเหมือนกัน

อรรถกถาอธิบายว่า สักกายทิฏฐิ ความเห็นยึดถือตัวตนนั้น

เป็นทิฏฐิพื้นฐานอยู่กับตนเองตามปกติ โดยไม่ต้องอาศัยตรรกะ

และการอ้างอิงต่อจากผู้อื่น


ส่วนสีลัพพตปรามาส เป็นทิฏฐิชั้นนอก เกี่ยวกับปฏิปทา คือ

ทางแห่งการปฏิบัติว่าถูกหรือผิด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก คนละขั้นตอน

กันทีเดียว- (นิทฺ.อ.1/339) จึงต้องแยกเป็นคนละข้อ

และเพราะสีลัพพตปรามาสเป็นเรื่องของปฏิปทานี่แหละ ท่าน

จึงอธิบายเชื่อมโยงให้เห็นว่า สีลัพพตปรามาส เป็นอัตตกิลมถานุโยค

อันเป็นอย่างหนึ่งในที่สุดสองด้านซึ่งชาวพุทธพึงหลีกเว้นเสีย

เพื่อดำเนินในมรรคาที่ถูกต้องคือ มัชฌิมาปฏิปทา (ดู อุทาน อ. 446)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง