|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ค.2008, 12:02 pm |
  |
ข้อควรทราบทั่วไปเกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิ
-ทิฏฐิ หรือเขียนลดรูปเป็น ทิฐิ แปลว่า ความเห็น หมายรวม
ถึงความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี ความเข้าใจตามนัยเหตุผล ข้อที่เข้า
กับความเข้าใจของตน หลักการที่เห็นสม ข้อที่ถูกใจ ข้อที่เชิดชูเอา
ไว้ ความใฝ่นิยม
หรือ ที่ปัจจุบันเรียกกันว่า ค่านิยม รวมไปถึงอุดมการณ์ แนวทัศนะ
ในการมองโลกและชีวิต ที่เรียกกันว่า โลกทัศน์และชีวทัศน์ต่างๆ
ตลอดจนทัศนคติพื้นฐานที่สืบเนื่องจากความเห็นความเข้าใจและความ
ใฝ่นิยมเหล่านั้น
ถ้าจะจัดเข้าเป็นพวกๆ ก็คงมี 2 ระดับ คือ ความเห็น ความเข้าใจเกี่ยว
กับคุณค่า ว่าดี ไม่ดี ควรจะเป็น ไม่ควรจะเป็น เป็นต้น อย่างหนึ่ง
ความเห็น ความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงว่า คืออะไร เป็นอย่างไร
เพราะเหตุไร เป็นต้น อย่างหนึ่ง ดังจะเห็นได้ในเรื่องสัมมาทิฏฐิ 2
ประเภท |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ค.2008, 12:25 pm |
  |
-ต่อ
ทิฐิ คือ ความเห็น ความเข้าใจ ความใฝ่นิยมยึดถือต่างๆ นั้น
มีอิทธิพลครอบงำและมีบทบาทในการกำหนดวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์
เป็นอย่างมาก
ในกรรมบถ ท่านจัดทิฐิเข้าเป็นมโนกรรม ซึ่งเป็นกรรมที่สำคัญมีผลมาก
มายร้ายแรงที่สุดยิ่งกว่ากายกรรม และ วจีกรรม-
(เช่น องฺ.ทสก.24/165/285-290 ฯลฯ) เพราะเป็นตัวบันดาล
กายกรรมและวจีกรรมอีกชั้นหนึ่ง สามารถนำชีวิต สังคม หรือ
มนุษยชาติทั้งหมดไปสู่ความเจริญงอกงามรุ่งเรืองหลุดพ้น หรือนำไป
สู่ความเสื่อม ความพินาศก็ได้ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ค.2008, 12:29 pm |
  |
-ต่อ
ดังจะมองเห็นในชีวิตของบุคคล ทิฐิเป็นตัวชักจูงและกำหนดวิถี
ชีวิต ทั้งในด้านรับเข้าและด้านแสดงออก กล่าวคือ จะมองเห็น
โลกและชีวิตเป็นอย่างไร และจะปฏิบัติต่อโลกและชีวิตนั้นอย่างไร
เริ่มตั้งแต่จะแปลความหมายของประสบการณ์ที่รับรู้เข้าใหม่อย่างไร
จะตีค่า จะตัดสินวินิจฉัยว่าอย่างไร จะหันไปหาหรือเลือกรับสิ่งใด
ส่วนใด ในแง่ใด จะเห็นด้วยหรือไม่ จะอยู่ฝ่ายใด แล้วชักนำ
แนวความคิด การพูด การกระทำที่จะสนองตอบโต้
แสดงปฏิกิริยาออกไปว่าจะเอาอย่างไร พูดหรือทำอย่างไรกับบุคคล
สิ่ง สภาพแวดล้อม หรือสถานการณ์นั้นๆ พร้อมทั้งสร้างเหตุผล
ประกอบสำหรับการที่จะพูดจะจะทำเช่นนั้น
กล่าวสั้นๆ ด้วยศัพท์ธรรมว่า ปรุงแต่งชักนำองค์ธรรมต่างๆ ตั้งแต่
สังกัปปะ คือ ความคิดหรือความดำริเป็นต้นไป ให้เป็น
มิจฉา หรือ เป็นสัมมาตามทิฐินั้นๆ
............
มีต่อ่ที่ =>
http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=49&topic=ข้อควรทราบทั่วไปเกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |