|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ค.2008, 9:26 am |
  |
(นำมาจากหนังสือพุทธธรรมหน้า 621 โดยท่านเจ้าคุณ
พระพรหมคุณาภรณ์ = ป.อ.ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
บุพภาคของการศึกษา หรือ บุพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา
-สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้น
ของการปฏิบัติธรรม หรือ เป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการ
ของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ ชัดเจน
เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังนั้น
การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ก.ค.2008, 9:31 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ค.2008, 9:29 am |
  |
มีข้อความในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี 2 ประการ
ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ
(องฺ.ทุก.20/371/110)
ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิก็มี 2 ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะ
(ที่ไม่ถูกต้อง) และอโยนิโสมนสิการ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ค.2008, 9:36 am |
  |
1. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก
เช่น การสั่งสอน แนะนำการถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า
ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น
ในที่นี้หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม
ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or
learning from others; inducement by others)
ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ปัจจัยทางสังคม
อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งศรัทธา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ค.2008, 9:39 am |
  |
2. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูก
วิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น หรือ คิดอย่างมีระเบียบ
หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตามที่สิ่งนั้นๆ
มันเป็นของมัน และโดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาว
ให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นสภาวะ
และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึก
ด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical reflection; reasoned
or systematic attention)
ข้อสองนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ปัจจัยภายในตัวบุคคล
อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งปัญญา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ค.2008, 10:39 am |
  |
-ต่อ
มีพุทธพจน์แสดงปัจจัยทั้งสองนี้ในภาคปฏิบัติของการฝึกอบรม เน้นถึง
ความสำคัญอย่างควบคู่กัน ดังนี้
1. สำหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายนอก
อื่นใด มีประโยชน์มากเท่าความมีกัลยาณมิตรเลย
2. สำหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายใน
อื่นใด มีประโยชน์มากเท่าโยนิโสมนสิการเลย
(ขุ.อิติ. 25/194-5/236-7 เทียบ สํ.ม.19/518,520/141-2)
..........
มีต่อที่=>
http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=47&topic=บุพภาคของการศึกษา%20หรือ%20บุพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |