|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
phromin
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 10 พ.ย. 2007
ตอบ: 6
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ย.2007, 6:38 pm |
  |
พระพุทธกาญจนธรรมสถิต พระประธานในพระอุโบสถ
มาร่วมใจกันปลูกรากแก้วศาสนทายาท
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ
ถวายอุปถัมภ์การศึกษาต่อเนื่อง
ตลอดหลักสูตรการศึกษาสงฆ์
แก่พระภิกษุสามเณร
เพื่อร่วมใจกันสร้างศาสนทายาท
สร้างความมั่นคงสถาพร
แก่บวรพุทธศาสนา
การลงทุนที่มีแต่กำไรงาม
โดย ปิยโสภณ
การสร้างศาสนบุคคล แม้จะใช้เวลายาวนาน แต่ก็เป็นการทำบุญที่มั่นคง แม้จะเป็นงานยาก แต่ก็เป็นการลงทุนที่ไม่มีคำว่าขาดทุน การสร้างศาสนบุคคลได้หนึ่งคน เปรียบเสมือนได้ต้นไม้ซึ่งมีร่มเงาที่ร่มเย็น มีดอกมีผล มีรากแก้วที่มั่นคง ให้นกกาน้อยใหญ่ สัตว์ทุกชนิดเข้ามาอาศัย กรได้ศาสนทายาทที่ดีมาคนหนึ่ง ย่อมเป็นประโยชน์มหาศาลต่อการดำรงรักษาพระพุทธศาสนา เพราะท่านจะช่วยงานทั้งสร้างศาสนบุคคล ดูแลศาสนธรรม และศาสนวัตถุแทนเราต่อไปอีก ๑ ชั่วอายุคน
การได้ศาสนทายาทที่ดีมีความสามารถมารูปหนึ่ง อาจสร้างศาสนทายาทได้อีกเป็นร้อยเป็นพัน เหมือนต้นไม้ที่เราปลูกออกดอกออกผล มีจำนวนทวีคูณเป็นร้อยเป็นพันลูก สามารถนำไปขยายพันธ์ได้อีกมากมาย
แปลว่า เราได้ลงทุนที่ได้กำไรจริงๆ ให้มีผู้ทำหน้าที่แทนเราอย่างชัดเจน การสร้างศาสนทายาท จึงเป็นการสร้างถาวรวัตถุที่แท้จริง แม้เมื่อเราจากไป ก็จะได้ภาคภูมิใจว่า มีคนทำหน้าที่สืบอายุพระพุทธศาสนา ดำรงรักษาวัดวาอารามแทนเรา เหมือนพ่อแม่ นอนตายตาหลับ เมื่อมั่นใจว่ามีลูกหลานสืบสกุล ดูแลรักษามรดก พระพุทธศาสนาก็คือมรดกของชนชาติไทยที่พวกเราต้องช่วยกันสร้างคนมาดูแลนั่นเอง
พระ-เณรองค์น้อยๆ ที่เป็นลูกเณรของเราในวันนี้ วันหนึ่งข้างหน้า อาจเป็นเพชรเม็ดงามที่ช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในอนาคต อาจเป็นไม้ต้นใหญ่ที่งดงามมีร่มเงาร่มเย็น มีดอกมีผลเต็มต้นในอนาคต ท่านอาจเป็นบุคคลสำคัญที่พระศาสนาสามารถพึ่งพิงได้ในคราววิกฤติ อานเป็นหนึ่งในร้อยที่พวกเราชาวพุทธภาคภูมิใจ สามารถเป็นหลักชัยให้พระพุทธศาสนา และสถาบันสงฆ์พึ่งพาได้ในอนาคต
เมื่อการเกิดมาเป็นมนุษย์คือการมาลงทุน และชีวิตคือต้นทุนที่ทุกคนมีเท่ากัน การลงทุน และชีวิตคือต้นทุนที่ทุกคนมีเท่ากัน การลงทุนต่ออายุชีวิตของผืนแผ่นดินที่เราอยู่อาศัย ให้เรามีความสุขร่มเย็น การลงทุนสร้างคนสืบต่ออายุศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สอนให้เราเป็นคนดีมีความสุข ย่อมเป็นการลงทุนที่มีแต่คำว่า ได้กำไรงาม อย่างเดียว เพราะเป็นบุญนิธิที่ฝังไว้ในพระพุทธศาสนาและผืนแผ่นดินไทยโดยแท้
ศาสนทายาทช้างเผือก
อันช้างเผือกเชือกงามนั้น ต้องดั้นด้นแสวงหา
จากป่าดงพงพนา มาขับเคี่ยวฝึกฝนงาน
เป็นช้างเผือกเชือกงามผ่อง มันสมองผ่องไพศาล
เป็นช้างเผือกเอาการงาน ใจเบิกบานร่าเริงดี
ขยันหมั่นฝึกหัด ไม่บอกปัดหลบหลีกหนี
เป็นช้างเผือกเชือกงามที พุทธศาสน์ ได้พึ่งบุญ
พวกเราคือรากแก้วพุทธศาสน์ คือศาสนทายาทฉลาดเฉลียว
บวชสร้างอุดมการณ์เป็นหนึ่งเดียว คือเชี่ยวชาญในหลักพุทธธรรม
ปิยโสภณ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย phromin เมื่อ 10 พ.ย.2007, 6:49 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
  |
 |
phromin
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 10 พ.ย. 2007
ตอบ: 6
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ย.2007, 6:40 pm |
  |
พระโอวาท
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ทางบ้านเมืองนั้น การกระทำผิดพลาดบางอย่างของบรรพบุรุษ ย่อมให้อภัยได้ แต่การผิดพลาดอันเกิดจากการไม่รีบเร่ง บ่มเพาะผู้รับช่วงให้กับเยาวชนผู้มีอายุยังน้อยนั้นคือการกระทำความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่สามารถให้อภัยได้ ในทางพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน พระเถรานุเถระ คณะครู อาจารย์ที่มีหน้าที่อบรมบ่มเพาะ สั่งสอน พร่ำสอน ให้กับรากแก้วศาสนทายาท ก็คงไม่ละเลยภาระอันสำคัญนี้ จากศาสนทายาทที่เยี่ยมยอดแล้วก้าวสู่ความเป็นผู้สืบทอดที่ยอดเยี่ยมต่อไป
น้ำใจบริสุทธิ์เพื่อพระพุทธศาสนา
โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อุปเสโณ)
กล่าวเปิดประชุมที่มูลนิธิชัยพัฒนา ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ศาสนทายาทที่ตั้งไว้นี้ไม่ได้บวช ๗ วัน ๑๕ วัน หรือบวชหนึ่งเดือน แต่เป็นการบวชระยะยาว บวชเพื่อศึกษาเล่าเรียน พระพุทธศาสนา ท่านเหล่านี้จะเป็นศาสนทายาทจริงๆ คือจะได้รับการศึกษาเล่าเรียน และปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาจริงๆ
หากว่าการนี้ทำได้สำเร็จตามเป้าหมาย และทำกันอย่างต่อเนื่อง แม้จะต้องใช้เวลานานเท่าใด ก็จะเป็นคุณูปการเป็นอันมากต่อ สถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ เพียงแต่การริเริ่มเบื้องต้นก็จะเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่แล้ว
งานสำคัญนี้จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยท่านผู้มีน้ำใจที่เรียกว่า มีน้ำใจมากๆ น้ำใจบริสุทธิ์ที่แท้จริง
พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้ต้องมีศาสนทายาท
โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระเถระผู้รักษาพระศาสนารุ่นที่ผ่านๆมานี้ ดยมากบวชมาตั้งแต่เป็นเณร เพราะว่าการที่จะรู้หลักพระศาสนา และรักษาพระศาสนาได้นี้ ต้องอาสัยการศึกษายาวนานเหมือนกัน ก็เรียนกันมาตั้งแต่เป็นเณรอายุ ๑๒-๑๓-๑๔-๑๕ มาเรียนจบเอาก็เมื่อมาเป็นพระ มีพรรษาพอสมควร เช่นมีพรรษาสิบเป็นต้น ก็พอดีเริ่มรับผิดชอบงานพระศาสนาได้ ที่ลำบากกว่านั้นก็คือไม่มีเด็กจะบวชเณร ยิ่งขยายการศึกษาออกไป ตอนนี้เณรแทบไม่มีแล้ว
ต้องเอาใจใส่ให้การศึกษาจึงจะได้ศาสนทายาท เมื่อไม่มีเณรบวช ก็ไม่มีการศึกษาเล่าเรียน คนที่เริ่มต้นด้วยบวชเป็นพระแล้วเรียนนั้นมีจำนวนน้อย เพราะฉะนั้น การศึกษาปริยัติธรรมจึงเสื่อมดทรมลงไป ศาสนทายาทก็ขาดแคลน
จึงเป็นเรื่องที่จะต้องเอาจริงเอาจัง ว่าเราจะเอาปัญหานี้มาประสานกับการปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร จะให้การปฏิรูปการศึกษามาเอื้อแก่พระศาสนา และพระศาสนาก็เกื้อหนุนประเทศชาติ เช่น ให้มีการบวชเณรเพื่อเล่าเรียน เราลองมาหาทางประสานหลักสูตร ประสานระบบ ประสานแนวทางกันว่า จะเป็นไปได้ไหมเพื่อจะได้แก้ปัญหาจริยธรรมของเด็กนักเรียนไทย ได้การศึกษาราคาถูก ที่มีค่าสูงทางจิตใจ พร้อมกับสร้างศาสนทายาทไว้ด้วย |
|
|
|
  |
 |
phromin
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 10 พ.ย. 2007
ตอบ: 6
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ย.2007, 6:44 pm |
  |
การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน
๑. หลักสูตรแผนกธรรม-บาลี (น.ธ.ตรี,โท,เอก ประกาศใช้ ๒๔๔๕, เปรียญธรรม ๑-๙ ประโยคแบบปัจจุบัน ประกาศใช้ พ.ศ. ๒๔๓๙) ใช้เวลาเรียน ๑๐ ปี หรือจบเปรียญธรรม ๙ ประโยค
๒. หลักสูตรพระปริยัตธรรมสายสามัญ ประกาศใช้ พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ม.๑-๖) จบแล้วต่อปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ร.๕ ทรงสถาปนาเมื่อ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ มีวิทยาเขตทั่วประเทศ ๗ แห่ง) และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ร.๕ ทรงสถาปนา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ มีวิทยาเขตทัวประเทศ ๑๐ แห่ง) ใช้เวลาเรียน ๑๐ ปี จบปริญญาตรี
จากนั้นศึกษาต่อระดับปริญญาโทอีก ๒ ปี ในสถาบันการศึกษาเดิมหรือมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนได้ทั้งในและต่างประเทศ อาทิ อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า
นอกเหนือจากากรศึกษา ๒ ประเภทที่คณะสงฆ์ได้จัดไว้แล้ว ยังมีการศึกษากลุ่มพระคัมภีร์สัททาวิเสส หรือคัมภีร์ไวยากรณ์โบราณ อันเป็นวิชาพื้นฐานเพื่อความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ที่มีมาแต่โบราณกาล (เมื่อคณะสงฆ์ปรับปรุงการศึกษาใหม่ตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ข้างต้น ทำให้หยุดการศึกษาคัมภีร์เหล่านี้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖)
กลุ่มพระคัมภีร์สัททาวิเสส มีรายชื่อปรากฏในหอสมุดแห่งชาติจำนวน ๑๕๓ คัมภีร์ แยกเป็น ๔ กลุ่มดังนี้
๑. กลุ่มคัมภีร์ไวยากรณ์ เช่น คัมภีร์กัจจายนะ (ต่อมาเรียก มูลกัจจายน์), ปทรูปสิทธิ โมคคัลลานะ, สัททนีติ, สัททสังคหะ
๒. กลุ่มคัมภีร์พจนานุกรม หรือคัมภีร์นิฆัณฑุ เช่น อภิธานัปปทีปิกา
๓. กลุ่มคัมภีร์ฉันทลักษณ์ เช่น คัมภีร์วุตโตทัย
๔. กลุ่มคัมภีร์เกฏภะ (อลังการ) เช่น คัมภีร์สุโพธาลังกา
สำหรับสถานศึกษาเพื่อการฟื้นฟูพระคัมภีร์สัททาวิเสส ในปัจจุบันมี ๔ แห่งคือ :
๑. วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นครปฐม
๒. วัดท่ามะโอ จ. ลำปาง
๓. วัดมหาธาตุ คณะ ๒๕ กรุงเทพฯ
๔. วัดหาดใหญ่สิตาราม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา |
|
|
|
  |
 |
phromin
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 10 พ.ย. 2007
ตอบ: 6
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ย.2007, 6:46 pm |
  |
รายละเอียดการถวายอุปถัมภ์
หลักสูตรแผนกธรรม-บาลี
นักธรรม-บาลี ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค (เรียน ๑๐ ปี) ค่าใช้จ่ายปีละประมาณ ๑๑,๐๐๐ บาท
หลักสูตรพระปริยัตธรรมสายสามัญ
ทุนการศึกษา ม. ๑-๖ รวม ๖ ปี ปีละประมาณ ๖,๖๐๐ บาท (หรือเดือนละ ๕๕๐ บาท)
หลักสูตรอุดมศึกษา
ระดับปริญญาตรีรวม ๔ ปี ปีละประมาณ ๑๑,๐๐๐ บาท
ระดับปริญญาโทเรียน ๒ ปี
ในประเทศ ค่าใช้จ่ายปีละประมาณ ๕๕,๐๐๐ บาท หรืออุปถัมภ์ตามกำลังศรัทธา
ต่างประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายปีละประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ บาท หรืออุปถัมภ์ตามกำลังศรัทธา
พระคัมภีร์สัททาวิเสส คัมภีร์บาลีไวยากรณ์โบราณ
พระอภิธรรม-นักธรรม-พระไตรปิฎก (เรียน ๑๐ ปี) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยละประมาณ ๑๑,๐๐๐ บาท
ติดต่อเพื่อเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์
และสอบถามรายละเอียดได้ที่
กองทุนปลูกรากแก้วศาสนทายาท
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
โทร ๐-๒๓๑๘-๕๘๒๖-๗ โทรสาร ๐-๒๓๑๙-๑๑๒๓
หรือโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝาก
ชื่อบัญชี กองทุนปลูกรากแก้วศาสนทายาท
ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนพระราม ๙
บัญชีออมทรัพย์เลขที่ ๐๗๖-๑-๔๐๔๓๑-๗
กรุณาแฟ็กซ์สำเนาการโอนเงิน พร้อมที่อยู่ของท่านมาที่ โทรสาร ๐๒-๓๑๙-๑๑๒๓ เพื่อขอรับอนุโมทนาบัตร |
|
|
|
  |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ย.2007, 8:25 pm |
  |
|
    |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |