Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นิพพานธาตุ ๒ อย่าง-พระอรหันต์ไม่ก้าวล่วงฐานะ ๙ ประการ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 8:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิพพานธาตุ ๒ อย่าง


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ มี ๒ อย่าง คือ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ กับ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน?

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจอันพึงทำอันได้ทำเสร็จแล้ว วางภาระแล้ว มีประโยชน์ของตนอันได้บรรลุแล้ว
สิ้นเครื่องผูกพันในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้นยังมีอินทรีย์ ๕ ดำรงอยู่ เพราะเหตุที่อินทรีย์ ๕ ยังไม่หมดสิ้นไป
จึงประสบสิ่งที่น่าพอใจบ้าง ไม่น่าพอใจบ้าง เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง

ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุนั้น เรียกว่า สอุปปานิเสสนิพพานธาตุ

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน?

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่พึงทำอันได้ทำเสร็จแล้ว วางภาระแล้ว มีประโยชน์ของตนอันได้บรรลุแล้ว
สิ้นเครื่องผูกพันในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

การเสวยอารมณ์ทั้งปวงของภิกษุนั้น ดับสนิท นี้เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

อิติวุตตก ๒๕/๒๕๘

สาธุ สาธุ สาธุ

หมายเหตุภาพ : จิตรกรรมพุทธศิลป์ “จิตหลุดพ้น” ผลงาน : อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์


(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ก.ย. 2007, 6:41 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 9:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระอรหันต์ไม่ก้าวล่วงฐานะ ๙ ประการ


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีฐานะอยู่ ที่นักบวชเจ้าลัทธิอื่นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

“สมณะศากยบุตรอยู่อย่างมีธรรมอันไม่ตั้งมั่น”

เมื่อนักบวชเจ้าลัทธิอื่นกล่าวอย่างนี้ ท่านพึงกล่าวว่า

“ผู้มีอายุ ธรรมที่พระผู้มีพระภาค ผู้รู้ผู้เห็น
ผู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว มีอยู่
เป็นธรรมอันไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต

เหมือนหนึ่งเสาเขื่อน เสาเหล็ก ฝังไว้ลึก ฝังไว้ดีแล้ว
เป็นของไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน


ฉะนั้น ผู้มีอายุ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ
ผู้มีกิจอันพึงทำได้ทำเสร็จแล้ว วางภาระแล้ว
มีความต้องการของตนอันบรรลุแล้ว
สิ้นกิเลสอันเป็นเหตุมัดไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ขีณาสพนั้น เป็นผู้ไม่เป็นไปได้ ที่จะก้าวล่วงฐานะ ๙ ประการ คือ

๑. ไม่เป็นไปได้ที่จะจงใจฆ่าสัตว์มีชีวิต
๒. ไม่เป็นไปได้ที่จะถือเอาสิ่งของมิได้ให้ อันกล่าวได้ว่าเป็นอาการของขโมย
๓. ไม่เป็นไปได้ที่จะเสพเมถุนธรรม
๔. ไม่เป็นไปได้ที่จะกล่าวเท็จโดยเจตนา
๕. ไม่เป็นไปได้ที่จะทำการสะสมบริโภคกาม เหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน
๖. ไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะรัก
๗. ไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะชัง
๘. ไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะหลง
๙. ไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะกลัว”


ปาสาทิกสูตร ๑๑/๑๔๗

สาธุ สาธุ สาธุ

ที่มา : พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน : ย่อความจากพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม โดย สุชีพ ปุญญานุภาพ, มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์, หน้า ๕๔ และ ๙๖.
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง