|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
20 ส.ค. 2007, 6:18 pm |
  |
วัดอภิธรรมพุทธวิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก ประเทศรัสเซีย
พระรศ.ดร.ชาตรี เหมพนฺโธ เจ้าอาวาส
วัดอภิธรรมพุทธวิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทย เป็นต้นแบบของวัดนิกายเถรวาทแห่งแรกในประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย โดยยึดหลักการและแนวทางการสอนตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎกทั้งพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
พระรศ.ดร.ชาตรี เหมพนฺโธ
.................................................................................................
พระรศ.ดร.ชาตรี เหมพนฺโธ
๑๕ ปี แห่งการปักธงธรรมจักรในรัสเซีย
จากสถิติของทางรัฐบาลรัสเซียที่สำรวจเมื่อปี ๒๕๔๗ พบว่า มีประชาชนชาวรัสเซียประมาณ ๖ แสนคนที่นับถือศาสนาพุทธ และมีชาวรัสเซียมากกว่า ๒๐ ล้านคนจากประชากรทั้งหมด ๑๔๔ ล้านคน สนใจและศึกษาพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับสูง และนักธุรกิจผู้เคยเดินทางมาท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจกับประเทศไทยหรือประเทศใกล้เคียง
พระพุทธศาสนาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่วัยรุ่นหรือนักศึกษา อีกทั้งกีฬาศิลปะการป้องกันตัวของชาวเอเชียก็ยังเป็นแรงดึงดูดให้วัยรุ่น และนักธุรกิจจำนวนมากหันมาสนใจพระพุทธศาสนา ทั้งการฝึกกังฟู คาราเต้ ยูโด เทควันโด และมวยไทย ซึ่งการฝึกฝนกีฬาดังกล่าวต้องอาศัยการเข้าใจในปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ทั้งนิกายเซน และนิกายเถรวาท การฝึกสมาธิก่อนการฝึกซ้อมกีฬาดังกล่าวทำให้ผู้ฝึกซ้อมซึมซับปรัชญา และคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี
พระรศ.ดร.ชาตรี เหมพนฺโธ อายุ ๓๗ ปี พรรษา ๑๖ เจ้าอาวาสวัดอภิธรรมพุทธวิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย เล่าว่า เป็นคนจังหวัดพัทลุง ก่อนบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้บวชเณรมาแล้ว ๙ ปี แล้วได้จำพรรษาที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จึงได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อปัญญานันทะภิกขุ ระหว่างเดินทางไปปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม พอดีเรียนจบคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คิดว่าจะทำงานเพื่อสานต่อของครูบาอาจารย์อย่างไร เพราะถ้ามีความรู้แล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ความรู้ที่มีก็จะสูญเปล่า ตรงนี้จึงคิดไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เพื่อให้เป็นการเปิดโอกาสเป็นช่องทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ต่อมาในปี ๒๕๓๙ สามารถสอบชิงทุนของสถานทูตออสเตรเลีย อังกฤษ รัสเซียได้ ส่วนสาเหตุที่ตัดสินใจไปเรียนต่อที่ประเทศรัสเซีย เนื่องจากมองเห็นว่า ชาวรัสเซียได้รับความเดือดร้อนจากการอยู่ภายใต้การปกครองศาสนาที่เขาเชื่อกันมาดั้งเดิม ประกอบกับระบบการเมืองทำให้คนได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ และเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมากที่รัฐบาลรัสเซียได้ให้ทุนเรียนต่อปริญญาโท-เอก ในคณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ความตั้งใจในการเดินทางไปรัสเซียครั้งแรก เพื่อให้ชาวรัสเซียรู้ว่าการมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเรามาด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้มาเพื่อที่จะมาเปลี่ยนศาสนาของคนรัสเซียแต่อย่างใด ซึ่งหน้าที่ต้องทำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามที่ตั้งใจไว้ คือ การเป็นพระอาจารย์สอนพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก (St. Petersburg State University) สัปดาห์ละ ๔ ครั้ง ของคณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและคณะปรัชญา รวมทั้งไปสอนพระพุทธศาสนาในวัดสายวชัรยานหรือสายทิเบต ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์จะสอนพระพุทธศาสนา มีการเทศนา และนั่งสมาธิปฏิบัติธรรมที่วัดอภิธรรมเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กพุทธวิหาร
แม้ในประเทศรัสเซีย ทั้งในส่วนที่อยู่ในทวีปเอเชียและยุโรป ทุกเมืองจะมีศูนย์ศึกษาและปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา แต่ก็ยังไม่มีศูนย์เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมแบบนิกายเถรวาทแม้แต่แห่งเดียว ดังนั้น การเปิดวัดอภิธรรมพุทธวิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศรัสเซียและประเทศใกล้เคียง ทั้งในยุโรปตะวันออกและสแกนดิเนเวีย
วัดอภิธรรมพุทธวิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จึงเป็นต้นแบบของวัดนิกายเถรวาทแห่งแรกในประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย โดยยึดหลักการและแนวทางการสอนตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎกทั้งพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
ปัจจุบันชาวรัสเซียจำนวนมากได้หันมาสนใจศึกษาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ทั้งที่ชาวรัสเซียสมัยก่อนไม่เคยรู้จักพุทธศาสนานิกายเถรวาท สาเหตุที่ชาวรัสเซียหันมาสนใจพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเนื่องจากได้รับข้อมูลที่ถูกต้องว่า การศึกษาพระพุทธศาสนาควรศึกษาจากแหล่งต้นกำเนิดจริงๆ คือ จากพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้ง ชาวรัสเซียยังสนใจการสอนพระพุทธศาสนาของท่านพุทธทาสภิกขุ และสายของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) หรือหลวงพ่อชา สุภทฺโท
ดังนั้นเมื่อชาวรัสเซียทราบความจริงดังกล่าว จึงมีการแปลและพิมพ์ตำราทางพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นจำนวนมาก ทั้งพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎกเป็นภาษารัสเซีย ส่วนพระอภิธรรมปิฎกยังไม่มีผู้สามารถสั่งสอนแนะนำพวกเขาได้ จากนี้ทางวัดมีโครงการที่จะแปลพระไตรปิฎกจำนวน ๔๕ เล่ม เป็นภาษารัสเซีย คาดว่าจะทำการแปลให้แล้วเสร็จภายใน ๑๐ ปี ส่วนโครงการที่คิดว่าจะทำได้ในเร็ววันนี้คือการขยายวัดไปตามเมืองต่างๆ ตั้งใจเอาไว้ว่าขอให้มีวัดสายเถรวาทเมืองละ ๑ วัด เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศรัสเซีย
วันนี้อาตมาได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลรัสเซียให้ทำงานวิจัยในมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะได้เป็น ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย แล้วก็ทำงานเพื่อสังคมทางด้านการพัฒนาจิตใจชาวรัสเซีย แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลรัสเซียให้การชื่นชม ทำให้การทำงานด้านศาสนามีความง่ายขึ้น เพราะก่อนหน้านี้คนรัสเซียไม่ค่อยยอมรับคนเอเชียเท่าไรนัก มาวันนี้อาตมาก็ภูมิใจว่า ชีวิตทั้งชีวิตได้มอบให้พระพุทธศาสนา เลือดทุกหยด แรงเหงื่อทุกหยดอาตมาก็มอบให้พระพุทธศาสนา เพื่อให้เป็นพุทธบูชา พระรศ.ดร.ชาตรี กล่าวทิ้งท้าย
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก - 1 สิงหาคม 2550 21:25 น.
เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง, ภาพ ศุภชัย เพชรเทวี
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ศาสนาพุทธบูม !! ในรัสเซีย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15161
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
    |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2007, 12:21 pm |
  |
หลวงตาโสบิน โสปาโกโพธิ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
หลวงตาโสบิน พระธรรมทูตผู้บุกเบิกวัดไทยในอเมริกา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13573
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
    |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ย. 2007, 9:39 am |
  |
วัดพุทธรังษี สแตนมอร์
88 ถ.สแตนมอร์ สแตนมอร์ นครซิดนีย์
รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย 2048
Wat Buddharngsee Stanmore,
88 Stanmore Road, Stanmore,
N.S.W. 2048 Australia
Tel : (61) 02-95572039
พระครูวัชรคุณาภรณ์ เจ้าอาวาส
วัดพุทธรังษี สแตนมอร์ นครซิดนีย์ ตั้งอยู่ที่ ถ.สแตนมอร์ ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นวัดพระพุทธศาสนาเถรวาทแห่งแรกในทวีปออสเตรเลีย เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาส เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดวัดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2518
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2538 ได้สร้างวัดสาขาขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่แอนนันเดล ตั้งอยู่ไม่ไกลกันนักคือ วัดพุทธรังษี แอนนันเดล
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดพุทธรังษี แอนนันเดล
(วัดสาขาของวัดพุทธรังษี สแตนมอร์)
49 ถ.ทราฟัลการ์ แอนนันเดล นครซิดนีย์
รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย 2038
Wat Buddharangsee
49 Trafalgar Street, Annandale, Sydney,
N.S.W. 2038 Australia
Tel/Fax : (61) 02-95572879
พระครูปลัดอภิชัย อภิปุญฺโญ เจ้าอาวาส
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2548 ได้สร้างวัดไทยอีกแห่งหนึ่งชื่อ วัดสังฆรัตนาราม ณ เมืองโกลด์โคสท์ รัฐควีนส์แลนด์
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดสังฆรัตนาราม
(วัดสาขาของวัดพุทธรังษี สแตนมอร์)
137 ถ.โบเดสเซิ่ท-นาแรง เมืองโกลด์โคสท์
รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย 4211
Wat Sangharatanaram (Gold Coast)
137 Beaudesert-Nerang Road,
Nerang QLD 4211 Australia
Tel/Fax : (61) 07-55020464
พระละม้าย อภิสโม ประธานสงฆ์
เมื่อปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา อุบาสก-อุบาสิกาและชุมชนชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองโกลด์โคสท์และเมืองบริสเบน รัฐควีนส์แลนด์ ได้นิมนต์พระสงฆ์จากนครซิดนีย์ อาทิ เช่น พระเทพญาณกวี, พระวิบูลสีลาภรณ์ (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชสีลาภรณ์) และพระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระปรีชาญาณวิเทศ) เพื่อการประกอบศาสนพิธีเป็นครั้งคราว ต่อมาได้ดำริต้องการนิมนต์พระสงฆ์ให้อยู่จำพรรษา เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
ต่อเมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ.2548 จึงได้ทำบุญเป็นการเปิดวัด โดยได้เช่าบ้านและนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 3 รูป เพื่ออยู่จำพรรษา โดยมีพระละม้าย อภิสโม เป็นประธานสงฆ์ อยู่ต่อมาประมาณ 2 เดือนคณะสงฆ์และฆราวาส จึงประชุมปรึกษาว่าควรแสวงหาซื้อบ้านหลังใหม่ดีกว่าที่จะต้องจ่ายค่าเช่าเเป็นรายเดือน เพื่อตั้งเป็นวัดต่อไป จึงได้ซื้อบ้านและที่ดิน 4,195 ตารางเมตร (ประมาณ 2.5 ไร่ ) เป็นจำนวนเงิน 550,000 เหรียญออสเตรเลีย (ประมาณ 16,500,000 บาท) โดยมีพระครูปลัดอภิชัย อภิปุญโญ เป็นผู้เซ็นสัญญา, พระละม้าย อภิสโม และพระมหาวิรัตน์ สุเมธิโก ร่วมเป็นสักขีพยาน และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ของวัดเรียบร้อยแล้ว แต่ยังต้องผ่อนชำระกับธนาคาร เป็นรายสัปดาห์ๆ ละ 800 เหรียญ เป็นระยะเวลา 30 ปี
วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 พระสงฆ์จึงได้ย้ายเข้าอยู่ในวัดสังฆนาราม ในพื้นที่มีต้นไม้รื่นรมย์อยู่ไม่ห่างไกลจากชุมชนไทยมากนัก จึงเป็นสถานที่เหมาะสม โดยทางวัดได้รับการสนับสนุนจากชุมชนชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี ปัจจุบันวัดสังฆรัตนารามได้กลายเป็นศูนย์รวมใจชาวไทย มีพี่น้องประชาชนได้มาทำบุญเยี่ยมเยือนวัด ถือศีล ปฏิบัติธรรม ในทุกกาลทั้งในกาลเข้าพรรษาและนอกพรรษา
ในอนาคตวัดจะตั้งเป็นองค์กรพุทธสมาคมหรือชุมชนชาวพุทธ เพื่อเป็นการประกาศพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีไทย และเพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมงานพระธรรมทูตไทย ณ ประเทศออสเตรเลีย พร้อมทั้งเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย
 |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
    |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ย. 2007, 7:51 am |
  |
วัดพุทธรังษี ลูเมียห์
39 ถ.จังชั่น ลูเมียห์ แคมป์เบลทาวน์
รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย 2560
Wat Pah Buddharangsee
39 Junction Road, Leumeah,
N.S.W. 2560 Australia
Tel. (61) 02-46257930
Fax (61) 02-4628 05410
พระราชสีลาภรณ์ เจ้าอาวาส
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์รา
80 ถ.อาร์ชิบอลด์ เขตลีนแฮม
กรุงแคนเบอร์รา รัฐ เอ ซี ที ประเทศออสเตรเลีย 2602
Wat Dhammadharo
80 Archibaid st., Lyneham,
Canberra ACT 2602 Australia
Tel/Fax : (61) 02-62498594
พระปรีชาญาณวิเทศ เจ้าอาวาส
วัดธัมมธโร ตั้งอยู่ในเมืองหลวงกรุงแคนเบอร์รา ซึ่งมีสถานเอกอัครราชทูตไทยตั้งอยู่ด้วย พุทธศาสนิกชนชาวไทยและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เห็นเป็นโอกาสมงคลที่จะร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แด่องค์พระมหากษัตริย์ไทย จึงพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างเขตพุทธาวาส ณ วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์รา เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยมีพระปรีชาญาณวิเทศ เจ้าอาวาส เป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายสงฆ์ และ ฯพณฯ เอกอัครราชทูตไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยการสนับสนุนจากวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
    |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ย. 2008, 11:45 am |
  |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
webmaster
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ย.2008, 11:40 am |
  |
(บน) โชติกา ผู้อำนวยการวิหารสังฆเมตตา
(ล่าง) ผู้ปฏิบัติธรรมกำลังเดินจงกรม
......................................................................
วิหารสังฆเมตตา
เมืองอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam)
ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
โชติกา ผู้อำนวยการวิหารสังฆเมตตาและครูสอนการนั่งวิปัสสนา
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ศิษยานุศิษย์วิปัสสนา วิหารสังฆเมตตา พุทธศาสนาในเนเธอร์แลนด์
โดย โสภาพร ควร์ซ จากหนังสือพิมพ์มติชน หน้า 20
วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11197
เวลาตีห้าสิบห้านาที สัญญาณการเริ่มวิปัสสนาของเช้าวันใหม่เสียงระฆังกังวานใสก็ดังขึ้นท่ามกลางความเงียบสงัด ครึ่งชั่วโมงผ่านไป ภาพผู้ปฏิบัติสมาธิแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสบายๆ ก้าวเดินจงกรมด้วยอาการสำรวม เงียบสงบ สลับกับการเจริญวิปัสสนาก็เริ่มปรากฏให้เห็น และเป็นภาพคุ้นตาในหมู่คนไทยเป็นอย่างดี
แต่เมื่อภาพเหล่าผู้ปฏิบัติสมาธิตรงหน้า มิใช่คนไทย แต่กลับเป็นชาวตะวันตก กว่าสามสิบชีวิตที่ทำสมาธิอย่างตั้งใจ ขะมักเขม้น ตลอดทั้งวัน โดยไม่มีการพูดคุยกันเลยนั้น ย่อมสร้างความแปลกใจให้กับผู้พบเห็นชาวไทยมิใช่น้อย
โชติกา วัย 76 ปี ผู้อำนวยการวิหารสังฆเมตตา ในเมืองอัมสเตอร์ดัม และครูสอนการนั่งวิปัสสนามาเกือบ 20 ปี เล่าให้ฟังว่า การสอนสมาธิที่วิหารนี้เป็นแบบพุทธศาสนาเถรวาทแบบวัดมหาธาตุ โดยเธอเองได้รับการสอนมาจาก ท่านเมตตาวิหารี จากวัดมหาธาตุ ซึ่งได้มาประจำอยู่ที่วัดในเนเธอร์แลนด์กว่า 20 ปีก่อนที่จะมรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.2550
เธอเล่าว่า ปัจจุบันชาวดัชต์ให้ความสนใจกับพุทธศาสนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งสมาธิเป็นอย่างมาก เพราะตอบสนองกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
ทุกวันนี้วิถีชีวิตของคนที่นี่เร็วขึ้นมาก ทุกคนมีอะไรให้ทำมากมายและรีบเร่งในแต่ละวัน ผู้คนจึงต้องการสมดุลให้ชีวิต เธอยกตัวอย่างบทบาทของคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราอย่างแยกไม่ออก
การมีคอมพิวเตอร์ มันไม่ได้ช่วยให้ชีวิตของเรายุ่งน้อยลงเลย เพราะว่าเมื่อเราติดต่อกันได้ตลอดเวลา ก็หมายความว่าเราพูดคุยโต้ตอบกันบ่อยขึ้น มีสิ่งที่ต้องทำมากขึ้น จนยุ่งตลอดเวลาเหมือนเดิม
ดังนั้น การได้มีโอกาสให้เวลากับตัวเอง อยู่กับตัวเองอย่างเงียบๆ จึงเป็นสิ่งที่คนหลายๆ คนถวิลหา ขณะนี้มีสถานฝึกสมาธิหลายแห่งทั่วประเทศ ไม่เฉพาะแต่การทำสมาธิแบบเถรวาท แต่ยังมี แบบเซน มหายาน และอื่นๆ มีนิตยสาร ชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องกับการนั่งสมาธิมากมาย บางทีเรายังพูดกันว่า นี่เป็นเหมือนแฟชั่น เป็นเรื่องฮิตของคนสมัยนี้เลยนะ
และความนิยมของชั้นเรียนสมาธิที่วิหารสังฆเมตตา ก็น่าจะเป็นเครื่องยืนยันข้อสันนิษฐานของโชติกาได้ดี
จากชั้นเรียนวิปัสสนาตอนเย็นอาทิตย์ละครั้ง ปัจจุบันนี้ทางวิหารมีชั้นเรียนสามวันต่อสัปดาห์ บางอาทิตย์ก็มีการสอนนั่งสมาธิเต็มวัน รวมทั้งมีคอร์สปฏิบัติสมาธิแบบเข้มข้นในระยะเวลาที่ยาวกว่านั้น เช่น 7 วัน 10 วัน 3 สัปดาห์ หรือตลอดทั้งปี โดยมักจัดกันที่ อินเตอร์เนชั่นแนล ธีโอโซฟิคัล เซ็นเตอร์ (International Theosophical Center) ในเมืองนาร์เด็น (Naarden) ซึ่งห่างออกมาจากอัมสเตอร์ดัม เพียงแค่หนึ่งชั่วโมง สะดวกในการเดินทางสำหรับทั้งผู้จัด และผู้เข้าร่วมปฏิบัติสมาธิ
คอร์สปฏิบัติสมาธิเหล่านี้มักจะเต็มเสมอ เพราะฉะนั้นผู้ที่สนใจต้องโทร. มาจองล่วงหน้า ส่วนมากจะเป็นผู้หญิง แต่ผู้ชายก็มีไม่น้อย แม้ว่าอายุของผู้ปฏิบัติจะค่อนข้างมาก แต่พบว่าอายุของผู้เข้าร่วมน้อยลงเรื่อยๆ เด็กๆ เหล่านี้เริ่มเห็นประโยชน์ของสมาธิ ว่ามันช่วยในชีวิตได้จริง โดยเฉพาะเรื่องการเรียน แต่บางคนก็ต้องการค้นหาความหมายของชีวิต บางคนก็ต้องการมาพักผ่อน และหาความสงบสุข
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งที่โชติกาเล่าให้ฟัง คือว่าหลายๆ คนที่มาร่วมปฏิบัติสมาธิไม่รู้ว่าการนั่งสมาธิเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ตัวโชติกาเองก็เป็นหนึ่งในนั้น เธอบอกว่า เธอได้รู้จักพุทธศาสนาและการทำสมาธิ จากคำแนะนำของเพื่อนตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 เธอบอกว่าเธอไปนั่งมาแล้วดีมาก ตอนนั้นฉันยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการนั่งสมาธินี้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ เสียงโชติกากล่าวขึ้น แต่เมื่อเธอมีโอกาสเดินทางมาที่วิหารสังฆเมตตา และมีโอกาสพูดคุยกับ ท่านเมตตาวิหารี ผู้สอนการทำสมาธิ
ท่านถามว่าเคยนั่งสมาธิมาก่อนไหม ฉันตอบว่าเคย แต่เป็นแบบคริสต์ ท่านตอบกลับมาว่าจะเป็นแบบไหนก็ไม่สำคัญ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นชาวพุทธแล้วถึงจะฝึกสมาธิได้ คำตอบของท่านทำให้ฉันรู้สึกดีมากๆ
โชติกาเล่าว่า มีคำสอนหลายอย่างจากเมตตาวิหารีที่เธอประทับใจ เช่น สิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกกับภิกษุสงฆ์เวลาที่ออกไปเทศนาธรรมว่า หน้าที่ของภิกษุไม่ใช่ไปโน้มน้าวจิตใจให้เขามาเป็นชาวพุทธ แต่เป็นการทำให้ผู้คนเหล่านั้นมีความสุข
หลังจากนั้นโชติกาไปปฏิบัติสมาธิทุกอาทิตย์ และเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนาระยะยาวครั้งแรกในปลายปีเดียวกันนั้น จากนั้นเธอปฏิบัติสมาธิมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2535 ท่านเมตตาวิหารี ก็ขอให้เธอรับช่วงต่อดูแลวิหาร เนื่องจากท่านต้องย้ายไปประจำที่วัดอื่น โชติกาดูแลศูนย์มาโดยตลอดระยะเวลา 16 ปี และชั้นเรียนสมาธิก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
เธอเล่าว่า หลักของการปฏิบัติสมาธิแบบเข้มข้นระยะยาว คือเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติสมาธิหลุดออกจากความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน มาอยู่ในที่ที่สามารถสำรวจดูพฤติกรรมของตัวเอง
ความเงียบเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการวิปัสสนาของที่นี่ ในแต่ละวันทุกคนจะมีโอกาสได้พูดเป็นเวลาสิบนาที ในช่วงที่ฉันสอบถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าหรือปัญหาในการทำสมาธิ และอาจจะมีโอกาสได้พูดอีกครั้งในช่วงหัวค่ำซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับธรรมะ เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง
โชติกาบอกว่า ปัญหาของผู้เข้าปฏิบัติสมาธิที่เจอบ่อยๆ คือ ง่วงนอน หรือหงุดหงิดจากการนั่งสมาธิ หรือการที่ความคิดเข้ามาในสมองอยู่เรื่อยๆ รวมทั้งความปวดเมื่อย แล้วนำไปสู่คำถามที่ว่า เอ..นี่คือ หนทางที่ถูกต้องหรือเปล่า?
คำแนะนำก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนต้องเดินจงกรมมากขึ้น บางคนต้องพยายามมากขึ้น บางคนต้องบอกให้เชื่อมั่น บางคนต้องปล่อยวาง ความมุ่งมั่น ความปรารถนาต่างๆ ของตัวเอง
การปฏิบัติสมาธิของวิหารสังฆเมตตาครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งอื่นๆ เพราะมี ภิกษุณีธัมมนันทา (อดีต ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) แห่งวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม มาบรรยายเกี่ยวกับพุทธศาสนา หัวข้อบรรยายนั้นประกอบด้วยพระพุทธประวัติ, ธรรมมะของพระพุทธเจ้า, การก่อกำเนิดสงฆ์ในพุทธศาสนา เพื่อปูพื้นฐานให้ชาวดัตช์บางคนที่ไม่มีโอกาสศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ ได้เข้าใจถึงแก่นสำคัญในพระพุทธศาสนา และในวันสุดท้ายพูดถึงบทบาทของผู้หญิงและภิกษุณีในศาสนาพุทธ
โชติกาบอกว่า ที่อยากให้ภิกษุณีธัมมนันทา พูดถึงเรื่องผู้หญิงและภิกษุณีในพุทธศาสนาเป็นพิเศษ เพราะว่าเมื่อได้ศึกษาพุทธศาสนาไประดับหนึ่งแล้วพบว่าไม่ค่อยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับพระเถรีเท่าไรนัก รวมทั้งมีคำถามต่างๆ มากมาย เช่น จริงหรือไม่ที่ว่าเมื่อมีภิกษุณีแล้วพุทธศาสนาจะมีอายุสั้นเหลือเพียงแค่ 500 ปี?[/size]
ภิกษุณีธัมมนันทา แห่งวัตรทรงธรรมกัลยาณี
......................................................................
วันสุดท้ายของการปฏิบัติธรรมมีพิธีมอบศีลห้า ให้กับชาวดัตช์ที่ถวายตัวเป็นพุทธมามกะ โดยมีญาติพี่น้องมาร่วมเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดี
แน่นอนว่าเมื่อสนใจพระพุทธศาสนาขนาดนี้ โชติกาเคยเดินทางมาเมืองไทยหลายครั้งแล้วและมีหลายอย่างของคนไทยที่เธอประทับใจ เช่น การเดินบิณฑบาตของพระ มีญาติโยมมารอตักบาตร แต่ที่สำคัญที่เธอได้เรียนรู้จากวิถีชีวิตของคนไทย คือการให้ทาน หรือความใจกว้างของคนไทยที่พร้อมจะให้เสมอ
โชติกาบอกว่า เธอไม่ค่อยคิดเกี่ยวกับอนาคตมากนัก เพราะถูกสอนให้อยู่กับปัจจุบัน แต่พอจะนึกภาพออกว่าศาสนาพุทธในวันข้างหน้าจะมีความสำคัญและยิ่งใหญ่มากขึ้น
ฉันว่าถ้ามีคนนับถือพุทธศาสนามากขึ้นในเนเธอร์แลนด์ มันจะดีกับประเทศนี้มาก เพราะจะทำให้ผู้คนตระหนักถึงการกระทำของตนเองมากขึ้น มีความรักและเมตตาแก่ผู้อื่นมากขึ้น มีพฤติกรรมที่ดี และดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องมากขึ้น
ในความเห็นของโชติกาเธอบอกว่า โดยมากคนไทยไปวัดมักจะไปหาพระหรือพบพระมากกว่า ผิดกับชาวดัตช์ที่ไปวัดเพื่อเรียนรู้และปฏิบัติธรรมและนั่งสมาธิ
ผู้เข้าร่วมการนั่งวิปัสสนา
@ มาครีท วัน ไรเซ่น
อายุ 37 ปี นักร้องโอเปร่า และนักแสดงละครเวที
ฉันรู้จักการนั่งวิปัสสนาจากสามี เขาไปเข้าคอร์สก่อน และฉันก็ตามไป หลังจากนั้นฉันก็เริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับการนั่งสมาธิแบบวิปัสสนา และศาสนาพุทธ เมื่อได้รู้จักทั้งสองสิ่งนี้แล้ว ฉันเป็นทุกข์น้อยลง ไม่จมอยู่กับความรู้สึกมากเหมือนเมื่อก่อน เพราะฉันเริ่มมีสติและสังเกตได้ว่าความรู้สึกที่เรามีทุกอย่างนั้นไม่เที่ยง และก็ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ฉัน ซึ่งกำลังเป็นทุกข์หรือเจ็บปวดด้วย ชีวิตเป็นกระบวนการหนึ่งที่ไม่มีความเป็นส่วนตัวว่าเป็นของใคร ฉันจึงปลงได้ ต่อสู้น้อยลง และดำเนินชีวิตไปตามกระแส มากกว่าที่จะพยายามควบคุมมัน การนั่งวิปัสสนา ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นเหตุเป็นผลสำหรับฉัน และแม้ว่ามันจะเป็นหนทางที่ยากลำบาก ฉันก็ไม่เคยคลางแคลงใจเลย
@ เชลลี่ แอนเดอร์สัน
อายุ 56 ปี เจ้าหน้าที่องค์กรไม่แสวงหากำไร
ตอนฉันอายุ 8-9 ขวบ เคยอ่านหนังสือนิยายเล่มหนึ่งที่ห้องสมุดของโรงเรียน เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความตายไว้ว่า เป็นเหมือนหยดน้ำหยดหนึ่ง ซึ่งกลับคืนสู่กระแสธาร ฉันจำคำเปรียบเทียบนี้ได้ไม่ลืม ตอนนั้นรู้สึกว่าถ้ามีอะไรสักอย่างที่ทำให้เรารู้สึกเกี่ยวกับความตายได้อย่างนี้ มันก็เป็นสิ่งที่ดีมาก ฉันจึงสนใจพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ตอนอายุสามสิบกว่าๆ และอ่านหนังสือเกี่ยวกับศาสนาพุทธมากมาย รวมทั้งเดินทางไปที่ หมู่บ้านพลัมของท่านติช นัช ฮันห์ เกือบทุกปี ในครั้งนี้ ฉันได้รู้ว่าผู้หญิงก็มีส่วนร่วมและมีบทบาทตั้งแต่ตอนที่เริ่มมีศาสนาพุทธ และรู้สึกดีที่มีบุคคลตัวอย่างให้เราปฏิบัติตาม
@ ครีน่า วัน เบลเซ่น
วัย 60 ปี อาจารย์สอนหนังสือ
ฉันนั่งสมาธิมากว่า 10 ปีแล้ว โดยที่ตอนแรกไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนา เหตุมาจากฉันรู้สึกเหนื่อยกับงานประจำที่ทำมาก เมื่อได้มาวิปัสสนาแบบเงียบๆ ฉันรู้สึกชอบมาก มันสงบ สบาย ฉันโตมาในครอบครัวที่เคร่งในคริสต์ศาสนามาก และรู้สึกมาตั้งแต่เด็กว่ามันไม่เท่าเทียมสำหรับผู้หญิง แต่การจะไม่มีศาสนาเลยก็ไม่ดี เพราะคนเราควรต้องมีที่พึ่งทางใจ การได้มานั่งสมาธิและรู้จักพุทธศาสนา นอกจากจะทำให้ฉันไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังทำให้ฉันกลับมามองศาสนาคริสต์ในแง่มุมที่ดีขึ้นอีกด้วย
@ มาเรีย ฮัช
อายุ 76 ปี อดีตเจ้าหน้าที่ UNDP
ฉันรู้จักพุทธศาสนามากว่า 40 ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยที่เคยไปประจำการในพม่า และได้รู้จักกับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้มาพำนักที่วัดแห่งหนึ่งตอนเหนือของประเทศไทย แม้เมื่อกลับมาเนเธอร์แลนด์แล้วฉันก็ยังไปปฏิบัติสมาธิที่ประเทศไทยทุกปี เป็นระยะเวลา 1 หรือ 2 เดือน ก่อนที่ฉันจะรู้จักการนั่งสมาธิ ฉันเป็นคนที่ขี้กลัว วิตกจริตมาก แต่หลังจากนั่งสมาธิแล้วฉันก็สงบมากขึ้น ปัจจุบันฉันนั่งสมาธิทุกวัน พระพุทธเจ้าท่านบอกวิธีการหลุดพ้นทุกข์ให้เราได้ แต่ว่าเราจะต้องเป็นคนเดินไปบนเส้นทางนั้นเอง
@ มิค่า โมลแมน
วัย 55 เป็นอาจารย์
ฉันรู้จักพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยทำงานอยู่ที่อินเดีย แม้จะไม่ใช่พุทธศาสนาแบบเถรวาท แต่ฉันก็สนใจ เพราะมันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันหลายอย่าง แต่ฉันไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง จนกระทั่งกลับมาที่เนเธอร์แลนด์ ฉันเริ่มฝึกวิปัสสนาอย่างจริงจังเมื่อสองปีที่แล้ว และรู้สึกว่านี่คือสิ่งที่ฉันค้นหามาตลอด และมันก็อยู่ใกล้ตัวมาตลอดเวลานี่เอง ฉันชอบการที่ได้อยู่กับความเงียบ และมีเวลาได้สำรวจดูการกระทำต่างๆ ของตัวเอง ในชีวิตประจำวันของทุกคน เรามีเวลาน้อยนิดเหลือเกินที่จะย้อนมามองดูตัวเอง ฉันรู้สึกมั่นใจมากที่ได้เป็นชาวพุทธ และจะเดินไปตามเส้นทางนี้ต่อไป |
|
_________________ ธรรมจักรดอทเน็ต |
|
   |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |