แสวงหาธรรม
รอบรั่วธรรม ในสวนธรรม ละความโกรธ กรรม การทำบุญให้ทาน ภารกิจของหิ่งห้อย
 
 กำลังอ่านอยู่ : 6 คน

ยอมรับในตัวเองว่าเป็นคนมักโกรธ
 


             เมื่อสมัยที่เรียนหนังสือ อาจารย์จะบอกว่าสัตว์แต่ละชนิดมี “ อุดมคติลักษณ์ “ คือมีรูปแบบเฉพาะตัว เช่น วัว โฮลสไตน์ เฟรเชียน จะต้องมีสีขาวดำ ฉันนึกไปถึงหมีแพนด้า ที่สีดำของมันไม่เคลื่อนที่ไปไหน จนเอามาทำตุ๊กตาได้ง่าย เพราะสีขาวสีดำจะอยู่ประจำตำแหน่งไม่เคลื่อนย้าย หมาปักกิ่งหน้าไม่เคยเรียบ ช้างไม่มีงาเดียวนอกจากถูกตัด นิสัยคนก็มี ‘ อุดมคติลักษณ์ ’ เหมือนกัน คือ ควรจะมีนิสัยดี ไม่เกเร ไม่ใจง่าย ฯลฯ อุดมคติของนิสัยมีประมาณ 35 ล้านอย่าง แต่การที่จะมีนิสัยอย่างนั้นให้ครบก็ต้องใช้ 35 ล้านนิสัยมาหลอมรวมกันแล้วโขลก

             แต่ตอนนี้จะพูดเรื่องเดียวคือเรื่องโกรธ

             โกรธนั้นเป็นเรื่องใหญ่ขนาดที่ในพระธรรมคำสอนบอกว่า คนมี 3 กิเลส คือ โลภ โกรธ หลง จึงเป็นประกันได้ว่า โกรธใหญ่จริง เป็น 1 ใน 3 ของมาเฟียคุมคน

             คนที่มีนิสัยมักโกรธนั้นเป็นทุกข์นัก มันเริ่มไม่สบายตั้งแต่ตัวเล็กตัวน้อยคือ รำคาญ วัยรุ่นคือหงุดหงิด เป็นผู้ใหญ่ของมันคือโกรธ แก่ของมันคือพยาบาท คนเราก็มีเหล่าร้ายนี้ประดับประดา มากน้อยแล้วแต่เคราะห์กรรม แต่ใจก็ไม่สบายไปเสียทั้งหมด เมื่อประสบพบพักตร์ไม่ว่าจะตัวไหนก็ตาม

             การจะแก้อะไรสักอย่าง จุดเริ่มต้นก็ต้องยอมรับว่ามีเรื่องต้องแก้ บางคนก็ไปมั่วสุมอยู่กับความโกรธโดยไม่รู้ตัว คือ รู้ตัวว่าโกรธเหมือนกัน แต่ไม่ยอมรับว่าเกิดมาจากนิสัยของตนเอง กลับไปโทษว่า เรื่องนั้นสมควรถูกโกรธต่างหาก สำหรับคนที่ไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นคนมักโกรธ และอยากจะเลิกนิสัยนี้ ก็คงไม่มีอะไรจะเล่าให้ฟังอีกต่อไป คงต้องให้เขาอยู่ในความคิดของเขาต่อไปเท่านั้น เพราะเมื่อคิดว่าตนเองไม่ได้มักโกรธ ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไขอะไร

             ส่วนคนที่อยากจะเลิกโกรธ ก็คือต้องยอมรับว่าตัวเองเป็นคนมักโกรธ และไม่ชอบอารมณ์นั้น มีความปรารถนาจะเลิกมันเสีย การรู้ตัวเช่นนี้ ก็เป็นบันไดขึ้นแรก ในการที่จะฝึกปรือเพื่อหยุดความโกรธ


<< กลับหน้าที่ผ่านมา
หน้าถัดไป >>
แสวงหาธรรม
รอบรั่วธรรม ในสวนธรรม ละความโกรธ กรรม การทำบุญให้ทาน ภารกิจของหิ่งห้อย

หน้าแรกธรรมจักร l กลับเรือนธรรม